23 ธ.ค. 2019 เวลา 12:11 • หุ้น & เศรษฐกิจ
โมเดลทั้ง 4 แบบของธุรกิจโรงแรม
ด้วยการท่องเที่ยวของประเทศไทยที่โตระเบิดเป็นพลุแตกโดยเฉพาะในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
ธุรกิจโรงแรมจึงได้รับอานิสงค์ไปด้วย โดยสามารถยืนยันจากการที่มีซัพพลายเข้ามาเติมซึ่งสะท้อนด้วยตัวเลขจำนวนห้องพักที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี
ปี 2559 676,167 ห้อง
ปี 2560 719,500 ห้อง
ปี 2561 741,557 ห้อง
ปี 2562 763,803 ห้อง
หลายคนอาจมีโอกาสได้เข้าพักในโรงแรมต่างๆมากมายแต่ไม่รู้ถึงเบื้องหลังว่าโรงแรมเหล่านั้นมีโมเดลที่แตกต่างกัน ต่างกันอย่างไร?
The Owner จะเล่าให้ฟัง
ธุรกิจโรงแรมโดยปกติจะมีโมเดลด้วยกันหลัก 4 แบบ โมเดลเหล่านี้จะอธิบายความแตกต่างของความเสี่ยงและผลตอบแทนของแต่ละโรงแรม
1.โรงแรมแบบเป็นเจ้าของเอง
สำหรับโรงแรมประเภทนี้ผู้ประกอบการจะต้องจัดการลงทุนเองทั้งหมดตั้งแต่ ซื้อที่ดิน สร้างโรงแรม ไปจนถึงบริหารโรงแรม ทำให้เจ้าของเป็นผู้แบกรับความเสี่ยงไว้เต็มๆ
แต่ความเสี่ยงนี้แลกมาซึ่งกำไรที่งดงาม เรียกได้ว่ากำไรมาไม่ต้องแบ่งกับใคร
โรงแรมประเภทนี้จะได้กำไรก่อนหักค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่าย ดอกเบี้ย และภาษี (EBITDA) อยู่ที่ประมาณ 35%
ตัวอย่างของโรงแรมประเภทนี้ เช่น
Hop Inn ของ The Erawan Group
Centara บางแห่ง เช่น
Centara Grand @ Central Plaza Ladproa
Centara Grand @ Central World
2.โรงแรมแบบใช้ HMA
HMA ย่อมาจาก Hotel Management Agreement เป็นโมเดลที่เจ้าของมีพื้นที่แล้วแต่ไม่มีความชำนาญ ไม่สามารถเข้าถึงลูกต่างประเทศได้ ทางเจ้าของจึงไปตกลงกับเชนโรงแรมที่มีแบรนด์เป็นที่รู้จักมาบริหารให้
โดยโมเดลนี้ปกติแล้วเจ้าของโรงแรมจะจ่ายให้แบรนด์ที่มาบริหารเป็น 2 ส่วน
ส่วนแรกเป็น Fixed ที่ตกลงกันไว้แล้วว่าจะจ่ายตายตัวทุกเดือน
อีกส่วนหนึ่งคือ Incentive ส่วนที่เจ้าของโรงแรมจะจ่ายเพิ่มให้ถ้าแบรนด์สามารถบริหารโรงแรมได้ดีกว่าเป้าที่ตั้งไว้
โมเดลนี้ความเสี่ยงจะยังอยู่ที่เจ้าของอยู่ แถมต้องแบ่งกำไรให้ brand อีกด้วย แต่นับว่าเป็นข้อดีของคนที่ไม่รู้ Know How ถ้ามา
บริหารเองอาจจะเจ๊งได้
ส่วนสำหรับ brand ที่มาบริหารจะทำให้ไม่ต้องลงทุนในสินทรัพย์มากมาย แถมยังได้ขยาย Brand Awareness อีกด้วย แต่ถ้าเทียบรายได้แบบเข้าไปบริหารกับเปิดโรงแรมเองแล้ว แบบบริหารคิดเป็นไม่ถึง 10% ของรายได้แบบเป็นเจ้าของเอง
ตัวอย่างของโรงแรมประเภทนี้มีอยู่เยอะมากในไทย ที่เราเห็นๆว่าใช้ชื่อ Hilton, Marriott, Holiday Inn, Hyatt หรือแม้แต่บางโรงแรมของ Centara และ Anantara ที่เป็นของคนไทยล้วนเป็นแบรนด์ที่เข้าไปบริหาร
3.โรงแรมแบบแฟรนไชส์
โมเดลนี้อารมณ์ประมาณลูกผสมของแบบที่ 1 กับ 2 คือ เจ้าของมีโรงแรมแต่ถ้าให้สร้างแบรนด์เองลูกค้าคงไม่รู้จัก แต่ก็อยากบริหารเอง ไม่อยากแบ่งกำไรให้คนอื่นเยอะ จึงเกิดเป็นการซื้อแฟรนไชส์ คือ ซื้อชื่นเชนโรงแรมดังๆมาแปะแต่ยังบริหารเองอยู่
โมเดลนี้ความเสี่ยงยังคงอยู่กับเจ้าของแต่ส่วนแบ่งจะเยอะกว่าการให้เชนโรงแรมอื่นมาบริหารเพราะค่าแฟรนไชส์จะถูกกว่าค่าบริหาร
3
ตัวอย่างของโรงแรมประเภทนี้ เช่น Ibis ที่ทาง The Erawan Group ซื้อแฟรนไชส์มา
1
4.โรงแรมแบบปล่อยเช่า
เป็นโมเดลสำหรับผู้ที่มีโรงแรมแต่ไม่อยากรับความเสี่ยง จึงปล่อยเช่าและโยนความเสี่ยงไปให้ผู้เช่าด้วย ลักษณะนี้จะได้ผลตอบแทนที่ต่ำประมาณ 5-6% และยังไม่มีในประเทศไทย ส่วนมากจะอยู่ในประเทศที่มีดอกเบี้ยต่ำ ทำให้เจ้าของโรงแรมรู้สึกว่า 5-6% ถือว่าน่าพอใจแล้วและไม่ต้องรับความเสี่ยง
ส่วนผู้ที่เข้ามาเช่าจะได้ประโยชน์ตรงที่ไม่ต้องแบกรับค่าเสื่อมราคาในการลงทุนสร้างโรงแรมจำนวนมาก
ตัวอย่างของโรงแรมประเภทนี้ถึงจะไม่มีในไทยแต่บริษัทธุรกิจโรงแรมอย่าง Minor International ของคนไทยได้นำโมเดลนี้ไปใช้ที่โปรตุเกส
ดีลนี้ตอนแรกทาง Minor ได้เข้าไปซื้อกิจการโรงแรม Tivoli ทั้งหมด 12 โรง แต่ภายหลังทาง Minor จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากในการเข้าไปซื้อกิจการ NH Hotel ของประเทศสเปน จึงทำการขาย Tivoli ทั้งหมด แต่ด้วยความเสียดายโรงแรมคุณภาพดี 3 ใน 12 โรงนั้น Minor จึงกลับไปเช่า 3 โรงนี้คืนมา เรียกได้ว่าเป็นดีลที่ยอดเยี่ยมเพราะ Minor ได้เงินไปลดหนี้ แถมยังได้สิทธิ์ใน 3 โรงแรมคุณภาพดีของ Tivoli อยู่ โดย 3 โรงนี้สร้างรายได้มากถึง 75% จาก 12 โรงเดิม
1
The Owner ลงทุนหุ้นอย่างเจ้าของกิจการ
สนับสนุนให้ทุกท่านลงทุนอย่างรู้จริง ปลอดภัย และ ยั่งยืน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา