Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
MOJO THAI NEWS
•
ติดตาม
27 พ.ค. 2021 เวลา 15:07 • สุขภาพ
อว. แถลงผลงานเรื่อง “ วิจัยและนวัตกรรมนำไทยสู้ภัย Covid-19 ”
อว. ทำระบบควบคุมอุณหภูมิวัคซีน จากต้นทางถึงปลายทางได้สำเร็จทันเวลา พร้อมทำห้องความดันลบแบบถาวรมอบหลายโรงพยาบาล ทันกับความต้องการใช้ “ เอนก ” ย้ำ อว. เป็นทั้งกองหน้าและกองหนุน
เมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2564 ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) เป็นประธานแถลงผลงานและแถลงข่าว เรื่อง “ วิจัยและนวัตกรรมนำไทยสู้ภัย Covid-19 ” พร้อมแถลงนโยบายและผลงาน อว. วิจัยและนวัตกรรมนำไทยสู้ภัย Covid-19 และผลสำเร็จของงานวิจัยและนวัตกรรม Cold Chain Logistics การพัฒนาโซ่ความเย็นของวัคซีน Covid-19 เพื่อควบคุมอุณหภูมิและติดตาม ตรวจสอบ ย้อนกลับ ในการขนส่งและเก็บรักษา รวมถึงการส่งมอบนวัตกรรมห้อง ICU ความดันลบสำหรับติดตั้งในโรงพยาบาลและโรงพยาบาลสนาม แก่โรงพยาบาล 4 แห่ง คือ ธรรมศาสตร์ ศิริราช ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ กรมการแพทย์และกรุงเทพมหานคร
ศ.(พิเศษ) ดร. ' เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ' รมว.อว.
รมว.อว. กล่าวว่า การระบาดของโควิด -19 สิ่งที่สำคัญในการรับมือ ไม่ใช่เพียงแต่การบริหารจัดการที่ดีเท่านั้น แต่การนำองค์ความรู้ด้านงานวิจัยและนวัตกรรม หรือ ผลงานที่สำเร็จ มาใช้งานได้จริง คือ เครื่องพิสูจน์ ว่า บุคลากร อว. มีประสิทธิภาพเพียงใด ทั้งด้านเทคโนโลยี ด้านนวัตกรรม หรือแม้แต่ด้านการแพทย์ สถานที่รองรับการรักษาและการจัดตั้ง รพ.สนาม เป็นต้น ทั้งนี้ อว.มีจุดแข็ง คือ มีบุคลากรทางการแพทย์ที่เชี่ยวชาญ มีโรงเรียนแพทย์เพื่อรองรับการรักษา และในด้านการสนับสนุนก็พร้อมที่จะเข้าไปช่วยเหลือในทุกๆ ด้าน เช่น การจัดพื้นที่เพื่อ รพ.สนาม การเตรียมพื้นที่เพื่อการฉีดวัคซีน หรือการตรวจหาเชื้อโควิด -19 ดังนั้น ขอให้มั่นใจว่าเราจะก้าวผ่านโควิด -19 ไปได้อย่างแน่นอน
“ ขอย้ำว่า อว. ไม่ได้เพียงแค่ทำงานร่วมกับรัฐบาลในการรับมือด้านบริหารจัดการเพื่อสู้ภัยโควิด-19 เท่านั้น แต่เรายังได้คิดค้นนวัตกรรมต่างๆ ทั้งที่เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงและขั้นกลางเพื่อนำมาใช้ในช่วงวิกฤตินี้ได้ อย่างรวดเร็ว พร้อมยังร่วมมือกับทุกฝ่าย ทุกกระทรวง เพื่อเป็นทั้งด่านหน้าจากกองกำลังของโรงเรียนแพทย์ในสังกัด อว. ที่ระดมกันเต็มสรรพกำลังเพื่อมาช่วยรักษาผู้ป่วย หรือนายแพทย์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับต่างก็ออกมาให้ความเชื่อมั่นกับประชาชน โดยเฉพาะในเรื่องของการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน รวมถึงยังเป็นกองหนุนที่มีคุณภาพและไว้ใจได้ว่าพร้อมจะสนับสนุนการทำงานใน ทุกๆ ด้านของรัฐบาลเพื่อฝ่าวิกฤติครั้งนี้ จริงอยู่ว่าการทำงานย่อมมีปัญหาหรือติดขัดบ้างเป็นเรื่องปกติ แต่ผมก็มีความมั่นใจว่าเราจะผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้ด้วยดีจากความร่วมมือ ร่วมใจของทุกฝ่าย ” รมว.อว. กล่าว
ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก กล่าวต่อว่า ที่สำคัญ ขณะนี้ อว.ประสบผลสำเร็จจากงานวิจัยและนวัตกรรมเรื่อง “ Cold Chain Logistics: การพัฒนาโซ่ความเย็นของวัคซีนโควิด -19 เพื่อควบคุมอุณหภูมิและติดตามสอบย้อนกลับในการขนส่งและเก็บรักษา ” ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม ระบบติดตาม-ตรวจสอบย้อนกลับ " โซ่ความเย็น " วัคซีนโควิด-19 ที่สามารถพัฒนาระบบบริหารจัดการการกระจายวัคซีนได้ตั้งแต่ต้นทาง คือ ผู้ผลิตจนถึงปลาายทางคือผู้ได้รับวัคซีน โดยเป็นการบริหารจัดการด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในเส้นทางการกระจายวัคซีนโควิด -19 พร้อมใช้ห้อง ICU ความดันลบเคลื่อนที่สำหรับติดตั้งในโรงพยาบาลและโรงพยาบาลสนาม ซึ่งได้ส่งมอบให้กับโรงพยาบาล 4 แห่ง ได้แก่ กรมการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รวมถึงกรุงเทพมหานคร
ดร. วิภารัตน์ ดีอ่อง ผอ.วช.
ดร. วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวว่า งานแถลงข่าวดังกล่าวจัดขึ้น ณ อาคารอุดมศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ (ถนนศรีอยุธยา) และถ่ายทอดสดรูปแบบออนไลน์ทางไกลด้วยระบบ ZOOM และผ่าน Facebook live ของ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งภายในงาน ยังมีกิจกรรมอีกมากมาย เช่น การเสวนา เปิดประเด็นวัคซีน Covid-19 ไขข้อสงสัย การเดินหน้าประเทศไทยด้วยวิจัยและนวัตกรรม และการส่งเสริมงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาโรคอุบัติใหม่ การส่งมอบนวัตกรรม “ ห้อง ICU ความดันลบเคลื่อนที่ ” สำหรับติดตั้งในโรงพยาบาลและโรงพยาบาลสนาม โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก วช.นอกจากนี้ยังมี การนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบาย การป้องกัน การดูแลรักษา การแก้ไขปัญหาและการบริหารจัดการสถานการณ์อันเนื่องมาจาก Covid-19 ในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งผลงานวิจัยและนวัตกรรมดังกล่าวได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก วช.
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย