5 ก.ค. 2021 เวลา 06:31 • สุขภาพ
ปัจจุบันบุคลากรการแพทย์ได้รับวัคซีน Sinovac เป็นวัคซีนหลัก จำนวน 1,716,802 โดส หรือคิดเป็น 90.58% ในขณะที่มีรายงานออกมาเรื่อยๆ ว่าบุคลากรการแพทย์ที่ฉีด Sinovac ครบ 2 โดสแล้ว ยังติดโควิด-19
2
จากกรณี 'เอกสารหลุด' ที่ระบุว่าไทยจะได้รับวัคซีน Pfizer จำนวน 1.5 ล้านโดส ช่วงเดือน ก.ค. - ส.ค. 64 จึงมีการประชุมหารือของคณะทำงาน 3 ชุด เพื่อสรุปแนวทางการฉีดวัคซีน แต่ประเด็นร้อนอยู่ที่ความเห็นของคณะกรรมการบางคน ระบุว่า "ถ้าเอา (Pfizer) มาฉีดกลุ่ม 3 (บุคลากรการแพทย์ด่านหน้า) แสดงว่าเรายอมรับว่า Sinovac ไม่มีผลป้องกัน แล้วจะแก้ตัวยากมากขึ้น"
1
ความเห็นดังกล่าวส่งผลให้ประชาชนและแพทย์หลายคนออกมาแสดงความไม่เห็นด้วย เนื่องจากขณะนี้แพทย์และบุคลากรการแพทย์ด่านหน้าเป็นผู้มีความเสี่ยงสูงสุด และมีความสำคัญมากเพราะต้องดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ทั้งหมด บุคลากรการแพทย์จึงควรได้รับวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงอย่าง Pfizer
ทั้งนี้ทีม workpointTODAY ได้ไปสำรวจข้อมูลจาก 'ระบบติดตามตรวจสอบย้อนกลับโซ่ความเย็นวัคซีนโควิด-19' โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และมหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าปัจจุบัน (5 ก.ค. 64) สัดส่วนของวัคซีนที่บุคลากรการแพทย์ได้รับ แบ่งออกเป็น
• Sinovac จำนวน 1,716,802 โดส คิดเป็น 90.58%
• AstraZeneca จำนวน 177,924 โดส คิดเป็น 9.39%
• Sinopharm จำนวน 558 โดส คิดเป็น 0.03%
ในขณะที่มีรายงานออกมาเรื่อยๆ ว่าบุคลากรการแพทย์ที่ฉีดวัคซีน Sinovac ครบ 2 โดสแล้ว ยังติดโควิด-19 เช่น อายุรแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี, บุคลากรการแพทย์ จ.เชียงราย รวมถึงโรงพยาบาลอีกหลายๆ แห่ง ที่ประกาศปิดห้องฉุกเฉินชั่วคราวเนื่องจากพบบุคลากรการแพทย์ติดโควิด-19
1
#workpointTODAY
#สาระความรู้เพื่อวันนี้
ไม่พลาดข่าวธุรกิจ การตลาดที่สำคัญ ติดตาม TODAY Bizview https://bit.ly/3picIeS
ติดตามรายการของ workpointTODAY ทาง YouTube https://bit.ly/2YDfyiK
โฆษณา