14 เม.ย. เวลา 14:59 • หุ้น & เศรษฐกิจ
วันนี้ ผมได้ลองแงะโครงสร้างรายได้ ของธุรกิจโรงหนังดูเล่น ๆ
อย่าง Major ที่น่าจะเป็นโรงหนังใน set เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย
ถ้าดูงบปี 2566 จะเห็นว่า
รายได้กว่า 83% มาจากธุรกิจขายตั๋ว และธุรกิจขายอาหารและเครื่องดื่ม อย่างป๊อปคอร์น
ซึ่งผมเสียดายอย่างนึงคือในปี 2566 บริษัทไม่ได้แยกรายได้จากอาหารและเครื่องดื่มออกมาให้เห็น
แต่ถ้าเราดูข้อมูลของปี 2565 เราจะเห็นรายได้ของ Major มาจาก
- ธุรกิจจำหน่ายตั๋วภาพยนตร์ 48%
- ธุรกิจพ็อปคอร์นและเครื่องดื่ม 25%
ซึ่งถ้าเราพิจารณางบ ของธุรกิจขายตั๋วหนังอย่างเดียว
แน่นอนว่า ก็จะต้องมีต้นทุนคงที่ ที่สูงมาก
เพราะต่อให้การฉายหนังในโรงภาพยนตร์ 1 ครั้ง จะมีคนนั่งแค่ 1-2 คน หรือมีคนนั่งดูหนังเต็มโรง แน่นอนว่า ถ้นทุนการฉายหนังนั้น ก็เท่ากัน
ไม่ว่าจะเป็น ค่าไฟ และค่าเสื่อมราคา
เมื่อเป็นอย่างนี้ทาง Major เอง ก็ต้องพยายามโปรโมตหนังดัง ๆ เพื่อให้คนมาดูหนังเยอะ ๆ จนกระทั่ง Break Even ให้การฉายหนัง 1 ครั้ง มีกำไรที่รับรู้ได้นั่นเอง
แต่เพียงเท่านี้ยังไม่พอ สำหรับเจ้าของโรงภาพยนตร์
อย่าง Major หรือ SF ต่างก็มีหมัดอีกอย่าง นั่นคือ
การขายเครื่องดื่ม และอาหารต่าง ๆ
อย่างป๊อปคอร์นเอง ที่ผมเจอล่าสุดเค้าขายกันแก้วละ 100 บาทขึ้นไปแล้ว
ถ้าลองหลับตานึกถึงต้นทุนของตัวป็อปคอร์น เอาจริง ๆ ก็คงไม่เท่าไหร่
ซึ่งถ้าให้เดา ค่าวัตถุดิบ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเสื่อมราคาบวกลบแล้ว
ต้องไหลลงเป็นกำไรเยอะแน่ ๆ
นอกจากนี้ ธุรกิจโรงภาพยนตร์ก็ยังมีช่องทางหาเงินอีกเยอะแยะ
อย่าง
- ธุรกิจ Ads ที่ขึ้นจอโรงภาพยนตร์ก่อนฉาย
รวมถึงชื่อโรงหนัง อย่าง Krungsri Imax หรือ Toyota Imax เป็นต้น
- ตั่วที่นั่งแบบพรีเมียม ที่อัพราคาค่าตั๋วได้อีกเยอะ
- ค่าเช่าที่ร้านค้า ถ้าเป็นสแตนอโลน
ซึ่งถ้าดูดีดี ธุรกิจที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ หักต้นทุนจริง ๆ ไปไม่เท่าไหร่ ที่เหลือไหลลงกำไรหมด
กล่าวโดยสรุปก็คือ แม้ธุรกิจโรงหนัง จะมีรายได้หลักมาจากค่าตั๋ว
แต่โรงหนังจะทำกำไรได้ดีดี ก็ต้องมีธุรกิจอื่น ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เสริมเข้าไปด้วย
โฆษณา