16 พ.ค. เวลา 03:44 • ศิลปะ & ออกแบบ
แยกห้วยขวาง

ท้าววัชรปาณิ เทวะยักษาผู้เป็นธรรมบาลหรือพุทธารักษ์ที่โด่งดังที่สุดในศาสนาพุทธทุกนิกาย!

วัชรปาณี หรือ วัชรปาณิ เป็นชื่อเฉพาะของสัมมาเทวดาในตระกูลเทวะยักษ์ตนหนึ่งของศาสนาพุทธทุกนิกาย ในคัมภีร์ชั้นต้นและเทวรูปมักจะจำลององค์ให้ท้าววัชรปาณิมีรูปร่างหน้าตาถมึงทึง กายากำยำล่ำสัน แต่งกายแบบกึ่งเปลือย ด้วยผ้าเนื้อพลิ้วไสว คล้ายชาวกรีกผสมอินเดียเหนือ บางคติก็ปั้นให้เปลือยเสีย ตามอย่างศิลปธรรมเนียมกรีกโบราณผสมอินเดียโบราณตอนเหนือ
พระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า มีท้าววัชรปาณิยืนขนาบข้างในลักษณะจอมบุรุษเปลือยที่จำลองแบบมาจากมนุษย์กึ่งเทพ นามว่า เฮอร์คิวลีส ในศาสนากรีก
ในแถบประเทศรัสเซียตะวันออก บางส่วนของยุโรป บางส่วนของเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศเอเชียตะวันออกและตะวันออกไกล ถือกันว่าท้าววัชรปาณีเป็นธรรมบาลหรือพุทธารักษ์ ปกป้องพระสัทธรรมคำสอนจากการว่าร้ายของปุถุชนชั่ว ปกป้องคนดีมีศีลมีธรรมไม่ให้ถูกมิจฉาทิฏฐิชนประทุษร้าย
แต่คติความเชื่อจะแตกต่างกันไปตามแต่จริตและการตีความของแต่ละชนชาติ คัมภีร์ทางเถรวาท เช่น อรรถกถาอัมพัฏฐสูตร ทีฆะนิกาย และอรรถกถาจูฬสัจจักสูตร มัชฌิมนิกาย ได้จาระบรรยายไว้ว่าท้าววัชรปาณีเป็นท้าวศักราเทวราช หรือพระอินทร์ แปลงกายมากำราบท้าวอัมพัฏฐะ ผู้มืดบอดปรามาสต่อพระสัทธรรมคำสอน เพื่อให้อัมพัฏฐะสะดุ้งกลัว โดยที่ท้าววัชรปาณีกระทำการเงื้อค้อนสายฟ้าในมือตั้งท่าจะฟาดทุบศีรษะของอัมพัฏฐะให้แหลกเป็นเจ็ดเสี่ยง
กล่าวคือ ท้าววัชรปาณีเป็นเทวะยักษาที่จำแลงกายมาโดยพระอินทร์ มีหน้าที่ใช้กำลังห้ำหั่นต่อกรกับผู้ที่ทำลายพระไตรรัตน์ หรือ กล่าวร้ายพระธรรมนั่นเอง ส่วนใหญ่ท้าววัชรปาณีจะทำให้ปุถุชนชั่วผวากลัวก่อนจะหันกลับมาน้อมรับศรัทธาแห่งพระธรรม รวมถึงพระรัตนตรัย
ท้าววัชรปาณิโพธิสัตว์ ศิลปะจิตรกรรมผสมกรีก - อินเดีย ภาคปรานี
ในคติของมหายานกล่าวต่างออกไปเล็กน้อยในด้านสถานะของท้าววัชรปาณี โดยยกให้ท้าววัชรปาณีเป็นทั้งพุทธารักษ์ และเป็นทั้งผู้ปรารถนาพระโพธิญาณเพื่อจะได้บรรลุพุทธภูมิกลายเป็นพระพุทธเจ้าอีกองค์ในอนาคตกาลนานไกลโพ้น จึงเรียกขานท้าววัชรปาณีว่า พระวัชรปาณิโพธิสัตวะเทพราช ดำรงสถานะเป็นพระโพธิสัตว์ และมีความคล้ายกับคติพุทธเดิมว่าเป็นร่างแปลงขององค์วัชรสัตว์
องค์วัชรสัตว์เป็นองค์สัมโภคกาย หรือ กายในฌาน ขององค์พระสมันตภัทรโพธิสัตว์อีกที กล่าวกันว่าพระสมันตภัทรเป็นสัมมาเทวดาชั้นดุสิตผู้กระทำโพธิสัตว์บารมีและเที่ยวเดินทางข้ามไปข้ามมาในโลกธาตุต่างๆ เพื่อโปรดสรรพสัตว์ให้เดินเข้าหามรรคผลนิพพาน มีพาหนะเป็นช้างไอยราวรรณ หกงา ตัวสีขาว
บางมิติศรัทธาถือว่าองค์พระสมันตภัทรโพธิสัตว์เคยดำรงตำแหน่งบัลลังก์พระอินทร์ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาในจักรวาลสมัยก่อนคราหนึ่ง จึงไปพ้องกับบันทึกอรรถกถาฝ่ายมคธ-เถรวาทที่จาระว่าท้าววัชรปาณีเป็นเทวะยักษาที่จำแลงกายมาจากพระอินทร์นั่นเอง
พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ได้ตั้งปณิธานไว้ 10 ประการ ปรากฏอยู่ในคัณฑวยูหสูตร ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านได้รับการยกย่องในฐานะพระโพธิสัตว์ที่มีจริยาวัตรงดงามสะพรั่งพร้อมปณิธาน 10 ประการ ได้แก่
1 เคารพพระพุทธเจ้าทุกพระองค์
2 ยกย่องพระพุทธเจ้าทุกพระองค์
3 สักการบูชาพระพุทธเจ้าทุกพระองค์
4 สารภาพความผิดที่ทำมาในอดีตทั้งหมด
5 ตั้งมุทิตาจิต อนุโมทนาในความดีและความเจริญของผู้อื่น
6 วิงวอนให้พระพุทธเจ้าสั่งสอนธรรม
7 วิงวอนให้พระพุทธเจ้าสถิตอยู่ในโลก
8 ปฏิบัติตามหลักธรรมสม่ำเสมอ
9ช่วยเหลือสรรพสัตว์เป็นนิจ
อ้างอิงจาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C
รูปสลักหินทรายพระโพธิสัตว์วัชรปาณีทรงครุฑ ในภาคยักษ์ ตามคติของศาสนาพุทธนิกายมหายานแบบลพบุรี ขุดค้นพบ ณ โบราณสถานกู่แก้ว บ้านหัวสระ ตำบลดอนช้าง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น หน่วยศิลปากรที่ 7 ขอนแก่น มอบให้เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2530
และ 10 อุทิศความดีทั้งหมดที่ตนทำไว้เพื่อความรู้แจ้งและเพื่อบุคคลอื่น
โดยพระปรัชญามหาเถระ ตรีปิฎกธราจารย์ชาวเมืองกปิศา อินเดียเหนือ ได้แปล สมันตภัทรจริยาปณิธานวรรค (大方廣佛華嚴經普賢行願品 ) จากสันสกฤตพากย์สู่จีนพากย์ ในวันที่ 5 เดือน 6 (ตามจันทรคติ) เมื่อรัชสมัย貞元 ปีที่ 12 (พ.ศ.1339) ถึงวันที่ 24 เดือน 2 ปีที่ 14 ของรัชสมัยเดียวกัน ที่วัดฉ่งฝู (崇福寺) นครฉางอาน และพระวิศวภัทร (釋廣度) แปลจากจีนพากย์สู่ไทยพากย์ เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2552 ภายในพระสูตรนี้ระบุถึงปณิธาน 10 ของพระสมันตภัทร
เรียบเรียงโดย แอดมินยักเขนทร์ แห่งเฟซบุ๊คเพจ "ธรรมะแฟนตาซี"
โฆษณา