1 ส.ค. 2024 เวลา 03:00 • การศึกษา

สรุป 💰 Money Explained ตอน Credit Card 💳

เมื่อปี 1958 แคลิฟอร์เนียเติบโตอย่างรวดเร็ว
มีห้างเปิดตัวใหม่ และคนเริ่มมาอยู่เยอะ
Bank Americard เลยลองส่งบัตรเครดิต
ที่มีวงเงิน 500$ หรือ 45,000$ ในตอนนี้
ให้คนในเมืองประมาณ 60,000 คน
แน่นอนว่าคนชอบกันมากเพราะมันสะดวก
แต่พอถึงเวลาจ่ายคืนก็มีบางส่วนจ่ายไม่ไหว
ในช่วงไม่กี่ปีหลังจากส่งบัตรให้ลูกค้าตามบ้าน
ธนาคารเลยเสียเงินไปถึง 15 ล้านดอลลาร์
ลูกค้าบัตรเครดิตจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
คือกลุ่มจ่ายเต็มจำนวน กับจ่ายขั้นต่ำ
ซึ่ง 2 กลุ่มนี้จะอยู่ที่ 40% เท่ากัน
และอีก 20% จะเป็นกลุ่มที่ไม่ถือบัตรเครดิต
สำหรับกลุ่ม "จ่ายเต็มจำนวน"
ธนาคารจะทำเงินจากเราได้แค่...
การเก็บค่าธรรมเนียมจากร้านที่เราซื้อของ
ซึ่งถ้าเป็นลูกค้าทั่วๆ ไป ก็ไม่ได้น่าตื่นเต้นอะไร
เพราะลูกค้าที่น่าสนใจกว่าของประเภทนี้
คือ "กลุ่มคนรวย" นั่นเอง
เมื่อปี 2014 เศรษฐีชาวจีน👲🇨🇳 ซื้อถ้วยชา
ในราคา 36 ล้านดอลลาร์โดยการรูดบัตร
Black Card ของ American Express
ด้วยค่าธรรมเนียม 3% ที่ได้จากร้านค้า
ธนาคารก็รับไปเต็มๆ 1 ล้านดอลลาร์
นี่จึงเป็นเหตุผลที่ธนาคารอยากได้คนกลุ่มนี้
ในส่วนของข้อเสนอและโปรโมชั่นต่างๆ
ที่เราจะได้จากธนาคาร ก็มาจากวิธีการจ่ายของเรา
โดยมี Credit Score ที่ประเมินความสามารถจ่ายคืน
กลุ่มรายได้สูง จะได้ดอกเบี้ยประมาณ 12%
กลุ่มรายได้ต่ำ จะได้ดอกเบี้ยประมาณ 23%
และกลุ่มรายได้ต่ำมักจะเป็นกลุ่มที่ "จ่ายขั้นต่ำ"
สำหรับกลุ่ม "จ่ายขั้นต่ำ"
มักจะได้ข้อเสนออย่างดอกเบี้ย 0% ในปีแรก
และเพิ่มดอกเบี้ยสูงในปีถัดไป
กลยุทธ์ที่ธนาคารใช้คือ "Low & Grow"
ซึ่งเป็นการให้วงเงินน้อย แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นทีละนิด
เพราะจากการศึกษาพบว่า...
พอขยายวงเงินให้ กลุ่มนี้ก็แทบจะใช้เต็มวงเงินทันที
อ่านมาถึงตรงนี้อาจดูเหมือนบัตรเครดิตน่ากลัว
แต่จริงๆ ถ้าเรารู้จัก “หลักในการใช้” ตามล่างนี้
บัตรก็เป็นแค่เครื่องมือที่ทำให้สะดวกขึ้นเท่านั้น
1️⃣ อย่าให้บัตรเลือกเรา
หาบัตรที่เหมาะกับความต้องการของเราเอง
โดยเลือกดอกเบี้ยต่ำสุดเท่าที่จะหาได้
2️⃣ ใช้บัตรเครดิตให้เหมือนเงินสด
แม้จะมีข้อเสนอดอกเบี้ย 0% ก็ควรจ่ายเต็มให้ครบ
3️⃣ เริ่มใช้หนี้ไปทีละระดับ
คำนวณยอดหนี้ทั้งหมด แล้วหารว่าต้องจ่ายปีละเท่าไหร่
เดือนละเท่าไหร่ จะช่วยหัวโล่ง ปลดหนี้ง่ายขึ้น
4️⃣ ตั้งชำระเงินอัตโนมัติ
ไม่ต้องมานั่งจำ เผลอลืมจ่าย
เพื่อให้ชีวิตง่ายและไม่ต้องตัดสินใจบ่อยๆ
รับชมได้ทาง: Netfilx
มารู้จักที่มาที่ไปของการเกิด “บัตรเครดิต”
กันต่อได้ที่ลิงก์ล่างนี้เลยค่ะ
โฆษณา