28 มี.ค. 2019 เวลา 00:10 • สุขภาพ
กินน้ำพริกน้ำปู๋แล้วลุต๊อง ...
บอกว่าอย่ากินก็ไม่ยอม ... คนมันมัก ...
แล้วก็มาหาซื้อยาฆ่าเชื้อ ซึ่งไม่จำเป็นต้องกินเลย
ท้องเสีย เพราะ น้ำปู๋มีเชื้อ หรือ เพราะเสาะท้อง หรือ เพราะสาเหตุอะไรก็ตาม แต่เหตุผลยังไม่ถึงขั้นต้องกินยาฆ่าเชื้อ
ห้ามก็ไม่ฟัง แล้วจะให้ทำยังไง
กินยาฆ่าเชื้อบ่่อยๆ เชื้อดื้อยาขึ้นมา ก็ช่วยไรไม่ได้นะจ๊ะ ....
SEARCH คำว่า น้ำปู๋ จนได้เรื่อง
หรือว่ามันลุต๊องเพราะมีพาราควอทในน้ำปู๋
พบการปนเปื้อนสารพาราควอต   ในกบหนอง ปูนา หอยกาบน้ำจืด และปลากะมัง มีค่ามากกว่าระดับสูงสุด
มีข้อมูลว่ามีการตกค้างในร่างกายคน สารกำจัดวัชพืชส่งต่อจากแม่ไปสู่ลูกได้ มีการตกค้างของพาราควอตในซีรัมเด็กแรกเกิดและมารดาระหว่าง 17-20 %
คนท้องที่ทำเกษตรช่วง 6-9 เดือนของการตั้งครรภ์ พบพาราควอต ตกค้างมากกว่าคนท้องที่ไม่ได้ทำงานถึง 5.4 เท่าและตรวจพบพาราควอตในขี้เทาเด็กแรกเกิดสูงถึง 54.7%
เด็ก 2 คนที่เกิดในพื้นที่เกษตร อาจจะมี 1 คนที่ได้สารอันตรายแถมมาโดยที่เขาไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
#ความจริงเพียงครึ่งเดียวเรื่องที่5
🔥อย่าตกใจกับข่าวพาราควอตตกค้างในน้ำปู ถ้าคุณกินน้ำปูไม่เกินวันละ 7 กิโลกรัม💥
ข่าวประจำวันที่ 25 กันยายน 2563 คงไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นเท่าข่าวมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แถลงว่า พบการตกค้างของสารกำจัดวัชพืชพาราควอตในน้ำปู 8 ตัวอย่างจากทั้งหมด 24 ตัวอย่าง โดยค่าเฉลี่ยที่พบคือ 0.04 275 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม 🦀🦀🦀🦀🦀
🤔ซึ่งเรื่องนี้ทางสมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทยได้ตั้งข้อสังเกตมาหลายครั้งแล้วว่ากลุ่ม NGO เช่น thai-pan และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นิยมการแถลงข่าว ว่าตรวจพบผลตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทั้งในผักสด ผลไม้ รวมถึง"น้ำปู "🦀
(น้ำปู เป็นอาหารพื้นบ้านประจำท้องถิ่นในภาคเหนือ ที่ใช้ปูนา มาตำให้ละเอียดแล้วนำไปต้มกับน้ำเกลือ เคี่ยวไปเรื่อยๆจนแห้งลักษณะคล้ายๆน้ำพริกตาแดง นิยมทานกับหน่อไม้ต้ม หรือใส่ในแกงหน่อหรือใส่ในตำส้มโอ ด้วยน้ำปูมีรสเค็มจัดปกติแล้วจะใส่ประมาณไม่เกิน 1-2 ช้อนโต๊ะ ต่อแกง 1 หม้อเท่านั้น)
🤐แต่สิ่งที่ NGO ไม่เคยพูดถึง คือ ผัก ผลไม้ หรือน้ำปู มีค่าตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคเลย 🤐🤐🤐🤐 เพราะในแต่ละวัน ไม่มีมนุษย์คนใดในโลกนี้สามารถจะกินน้ำปูได้มากกว่า 7 กิโลกรัมต่อวัน หรือประมาณ 60 กระปุก ( 1 กระปุกหนัก 120 กรัม) ใช่หรือไม่❓
▶️สมาคมฯ ขอร้องให้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค🚫 หยุดพฤติกรรมสร้างความตื่นตระหนกให้กับสังคม และหันกลับมาให้ความรู้ทางวิชาการที่ถูกต้องแก่สังคมดีกว่า ให้สมกับชื่อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค การป้อนข้อมูลให้สังคมไม่ครบถ้วน ส่อเจตนาต้องการให้เกิดความตื่นตระหนกใช่หรือไม่⁉️
แต่หากมูลนิธิ ทำไปด้วยความไม่รู้ สมาคมก็ขออธิบายให้ฟังง่ายๆดังนี้ว่า
ค่าตกค้างไม่ได้บ่งบอกถึงมาตรฐานความปลอดภัยต่อผู้บริโภค เราต้องดูค่า ADI (Acceptable Daily Intake) ของสารเคมีแต่ละชนิด ด้วยว่าถูกกำหนดไว้เท่าไหร่ ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. /วัน จากนั้น ให้นำมาคำนวณกลับ ว่า คนน้ำหนักตัวเฉลี่ย 60กก.จะบริโภคน้ำปู ที่มีการตกค้างของพาราควอต ได้ทุกวันอย่างปลอดภัย วันละกี่กิโลกรัม
สมาคมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า...นับจากวันนี้ไปคงไม่มีการเสนอข่าวที่ไม่ครบถ้วนอีกนะคะ
หากยังมีพฤติกรรมเช่นนี้ต่อไป ก็ชวนให้ผู้คนในสังคมสงสัยว่ามีผลประโยชน์อะไรแอบแฝงจากการนำเสนอข่าวหรือไม่..⁉️
ที่มาของข่าว *น้ำปู*
พบ 10 เมนูอันตรายดังนี้...
1.ลาบ/ก้อยดิบ เช่น ลาบหมู ก้อยปลาดิบ
2.ยำกุ้งเต้น 3.ยำหอยแครง
4.ข้าวผัดโรยเนื้อปู โดยเฉพาะกรณีที่ทำในปริมาณมาก เช่น อาหารกล่องแจกนักเรียนหรือคณะท่องเที่ยว
5.อาหาร/ขนม ที่ราดด้วยกะทิสด
6.ขนมจีน 7.ข้าวมันไก่ 8.ส้มตำ 9.สลัดผัก และ 10.น้ำแข็ง
อาหารเป็นพิษ มีอาการสำคัญคือ คลื่นไส้ อาเจียน เป็นไข้ อุจจาระร่วง ซึ่งทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่จากการถ่ายอุจจาระ การรักษาในเบื้องต้นควรให้สารละลายเกลือแร่โอ อาร์ เอส เพื่อป้องกันการขาดน้ำ
อาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรค อาหารไม่สะอาด อาหารปรุงสุกๆ ดิบๆ และอาหารที่ทำล่วงหน้าเกิน 4 ชั่วโมง โดยอากาศร้อน เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้เร็ว ส่งผลให้อาหารบูดง่าย
“โรคพยาธิขึ้นสมองในคน” ทำให้เกิดโรคสมองและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ จนถึงขั้นเสียชีวิต ที่พบบ่อย ๆ มี 2 ชนิด
1. พยาธิหอยโข่ง
พบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีประวัติการกินเนื้อหอยโข่ง หอยเชอรี่ หรือเนื้อสัตว์จำพวก กุ้ง ปู กบ และตะกวด ปรุงแบบดิบๆหรือดิบ ๆ สุกๆ
การกินเนื้อสัตว์ชนิดอื่นที่ปรุงไม่สุก อาทิ กุ้งฝอย ปู กบ ตะกวด ซึ่งกินหอยที่มีพยาธิ ก็มีโอกาสได้รับพยาธิเข้าสู่ร่างกายได้เช่นกัน
โรคสมองและเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากโรคพยาธิหอยโข่งนั้น เป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ เพราะปัจจุบันไม่มียาชนิดใดที่เฉพาะเจาะจงในการรักษาโรคพยาธิหอยโข่ง
2. พยาธิตัวจี๊ด
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ติดโรคพยาธิตัวจี๊ดจากการกินเนื้อสัตว์ เช่น ปลาน้ำจืด กบ งู เป็ด ไก่ นก ที่ปิ้งหรือย่างไม่สุก หรือปรุงแบบสุกๆ ดิบๆ
ยังไม่มียาใดที่ใช้รักษาโรคพยาธิตัวจี๊ดโดยเฉพาะ การรักษาให้รับประทานยาอัลเบนดาโซล (Albendazole) ขนาด 400 มิลลิกรัม นาน 21 วัน ให้ผลการรักษาประมาณร้อยละ 94
พยาธิขึ้นสมอง...กับอาหารสุกๆดิบๆ
กินปลาร้าติดพยาธิ?
—> ขอนำมาลงอีกครั้ง เนื่องจากมีข้อคำถามสนใจเข้ามาเยอะมาก เพื่อให้เกิดความตระหนัก มากกว่าตระหนก และเข้าใจมากขึ้น
—> น้อยคนนักจะไม่เคยล้ิมรสปลาร้า เมนูนิยมก็คือนำมาทำส้มตำปลาร้า ซึ่งปลาร้านั้นมีสูตรการทำที่หลากหลายตามท้องถิ่นวัฒนธรรม รสชาติก็แตกต่างกันไป
—> ส่วนประเด็นสำคัญคือแล้วกินปลาร้าติดพยาธิหรือไม่ ถ้ากลัวว่าจะติดแล้วติดพยาธิอะไร และที่กินเข้าไปก่อนหน้านั้นล่ะจะต้องทำอย่างไร
<> กินปลาร้าติดพยาธิหรือไม่
กับคำถามนี้ ตอบได้ว่าทั้งติดและไม่ติด
~ จะติดก็ต่อเมื่อกินปลาร้าดิบที่หมักเพียงสองสามวัน (ปกติปลาร้าหมักเป็นเดือนขึ้นไป) และเป็นปลาเกล็ดขาวกลุ่มวงศ์ปลาตะเพียน เช่น ปลาขาวนา ปลาสร้อย กระสูบ ตะเพียน เป็นต้น
~ จะไม่ติดพยาธิกรณีกินปลาร้าที่หมักนานนับปีหรือปลาร้าต้มสุก และในเนื้อปลาเองก็ไม่ใช่ว่าทุกตัวจะมีพยาธิ
<> กินปลาร้าติดพยาธิอะไร
ปลาน้ำจืดมีตัวอ่อนของพยาธิมากมายหลายชนิด ส่วนมากจะเป็นปลาเกล็ดขาว กลุ่มวงศ์ปลาตะเพียน ซึ่งเป็นที่นิยมนำมาทำปลาร้า
~ ปลากลุ่มนี้มักจะมีตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิใบไม้ตับ พยาธิใบไม้ขนาดกลาง และพยาธิใบไม้ลำไส้ขนาดเล็ก ตัวที่อันตรายสุดก็พยาธิใบไม้ตับ (Opisthorchis viverrini) ตัวนี้มีความสำคัญต่อการพัฒนาเป็นมะเร็งท่อน้ำดี มีงานวิจัยทั้งในสัตว์ทดลองและทางระบาดวิทยา พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดเป็นมะเร็งท่อน้ำดี ซึ่งพบอุบัติการณ์สูงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และสูงที่สุในโลก
~ นอกจากกลุ่มพยาธิใบไม้แล้ว ก็อาจจะพบพยาธิตืดปลา พยาธิตัวกลม (ตัวจี๊ด)ในปลาอื่นๆ เช่น ปลาช่อน ปลาดุก แต่พยาธิเหล่านี้พบไม่บ่อย
<> กินปลาร้าเป็นประจำต้องทำอย่างไร
- กรณีทำเอง
~ นำปลามาแช่แข็งที่ -20 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่านั้น ประมาณ 3-4วัน ความเย็นที่อุณหภูมิต่ำจะทำให้พยาธิตาย ใช้ช่องแช่แข็งตู้เย็นทั่วไปก็ได้ ถ้าความเย็นใกล้เคียง -20 องศาเซลเซียส
~ ระยะเวลาหมักปลาร้า ต้องหมักอย่างน้อย 1 เดือนขึ้นไป ระยะเวลานานก็จะทำให้พยาธิตาย
~ ต้มปลาร้าให้สุก ความร้อนเป็นการกำจัดพยาธิและรวมถึงแบคทีเรียด้วย
- กรณีกินตามร้านทั่วไป
~ สอบถามเจ้าของร้านเกี่ยวกับกระบวนการทำปลาร้า
~ สังเกตเนื้อปลา หากยังแดงๆและเนื้อแน่นๆ มีกลิ่นคาว แสดงว่าหมักไม่นาน
~ ปลาร้าไม่ควรเติมดินประสิว เพราะเป็นสารกลุ่มที่ทำให้เกิดมะเร็ง
~ ควรตรวจพยาธิอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
เอกสารอ้างอิง
- Onsurathumab S et al. Contamination of Opisthorchis viverrini and Haplorchis taichui metacercariae in fermented fish products in northeastern Thailand markets. Food Control 2016;59: 493-498
- Sripan P., et al., Simplified Techniques for Killing the Carcinogenic, Opisthorchis Viverrini Metacercariae in Cyprinid Fish. Asian Pacific Journal of Cancer Prevention, 2017;18:1507-1511
- ณัฏฐวุฒิ แก้วพิทูลย์. พยาธิใบไม้. ตำราปรสิตวิทยาทางการพยาบาลและสาธารณสุข. 2562, 410 หน้า
UPDATED 2020.09. 26
โฆษณา