9 ส.ค. 2019 เวลา 09:21 • สุขภาพ
เบาหวาน
เบาหวาน มี 4 ชนิด
อ่านบทความ จาก ผศ.พญ. พิมพ์ใจ อันทานนท์ สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ตามลิงค์ https://www.dmthai.org/index.php/knowledge/for-normal-person/health-information-and-articles/health-information-and-articles-old-3/846-2019-04-20-01-49-18
📌 #โรคเบาหวาน คือ โรคที่เซลล์ร่างกายมีความผิดปกติในขบวนการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน โดยขบวนการนี้เกี่ยวข้องกับอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อนเพื่อใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อน้ำตาลไม่ได้ถูกใช้จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นกว่าระดับปกติ โรคเบาหวานแบ่งเป็น 4 ชนิด ตามสาเหตุของการเกิดโรค
1. #โรคเบาหวานชนิดที่1 (type 1 diabetes mellitus, T1DM) เกิดจากเซลล์ตับอ่อนถูกทำลายจากภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ขาดอินซูลิน มักพบในเด็ก
2. #โรคเบาหวานชนิดที่2 (type 2 diabetes mellitus, T1DM) เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด ร้อยละ 95 ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด เกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน มักพบในผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนร่วมด้วย
3. #โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (gestational diabetes mellitus, GDM) เป็นโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ มักเกิดเมื่อไตรมาส 2-3 ของการตั้งครรภ์
4. #โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ (specific types of diabetes due to other causes) มีได้หลายสาเหตุ เช่น โรคทางพันธุกรรม โรคของตับอ่อน โรคทางต่อมไร้ท่อ ยาบางชนิด เป็นต้น
📌การวินิจฉัยเบาหวาน ทำได้โดยวิธีใดวิธีหนึ่งใน 4 วิธี ดังต่อไปนี้
1. มีอาการโรคเบาหวานชัดเจน ได้แก่ หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อยและปริมาณมาก น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่มีสาเหตุ ร่วมกับตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเวลาใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องอดอาหาร ถ้ามีค่า ≥200 มก./ดล.
2. ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (อย่างน้อย 8 ชั่วโมง) ≥ 126 มก./ดล.
3. การตรวจความทนต่อกลูโคส โดยให้รับประทานกลูโคส 75 กรัม แล้วตรวจระดับน้ำตาลในเลือดที่ 2 ชั่วโมง ถ้ามีค่า ≥ 200 มก./ดล.
4. การตรวจระดับน้ำตาลสะสม (A1C) ≥ 6.5% โดยวิธีการตรวจและห้องปฏิบัติการต้องได้รับการรับรองตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งยังมีน้อยในประเทศไทย ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้
ตามแนวทางเวชปฏิบัติของสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2560 กล่าวว่าการวินิจฉัยโรคเบาหวานตามข้อที่ 2-4 ต้องมีการตรวจยืนยันอีกครั้งโดยใช้ตัวอย่างเลือดอันใหม่ ด้วยวิธีเดียวกันหรือต่างกันในวันถัดไป อย่างไรก็ตามแนวทางเวชปฏิบัติของสมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2562 ได้มีการเปลี่ยนแปลงว่า สามารถตรวจยืนยันอีกครั้งโดยใช้ตัวอย่างเลือดอันเดิมหรืออันใหม่ก็ได้ เพื่อให้การวินิจฉัยโรคเบาหวาน
เมื่อได้รับการวินิจฉัยโรคเบาหวานควรได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนระยะยาวจากเบาหวาน ทำได้โดยการควบคุมระดับน้ำตาล ในปัจจุบันระดับน้ำตาลที่เป็นเป้าหมายจะมีค่าที่เหมาะในผู้ป่วยแต่ละราย โดยขึ้นกับอายุ ระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน การมีโรคแทรกซ้อน ความเจ็บป่วยและโรคร่วม รวมถึงประวัติการเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำ
ถ้าเป็นเบาหวานมาไม่นาน ไม่มีภาวะแทรกซ้อนหรือโรคร่วม ควรควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงค่าปกติ หรือระดับ A1C < 6.5% (ถ้าเป็นไปได้) หรือ < 7%
ในขณะผู้ที่เป็นเบาหวานมานานและมีภาวะแทรกซ้อน หรือโรคร่วมหลายโรคที่รุนแรง เป้าหมายของระดับ A1C ประมาณ 7-8%
ส่วนในผู้ที่อายุมากกว่า 65 ปี ถ้าไม่มีโรคร่วม ควรควบคุมให้เป้าหมายของ A1C < 7%
ถ้ามีโรคร่วมแต่ยังช่วยเหลือตัวเองได้ เป้าหมายของ A1C ควรอยู่ที่ 7-7.5%
ถ้าเป็นผู้สูงอายุที่มีเปราะบาง อาจให้เป้าหมาย A1C สูงได้ถึง 8.5% ดังนั้นการตั้งเป้าหมาย A1C
**บทความจาก ผศ.พญ. พิมพ์ใจ อันทานนท์ สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย
ด้วยความปรารถนาดีจากเพจ #เกร็ดความรู้คู่เบาหวาน
ค่า “น้ำตาลในเลือด” ดูกันยังไง
1. การตรวจ Fasting blood sugar (FBS) คือ การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังจากอดอาหาร 8 ชม. เพื่อใช้ในการคัดกรอง และวินิจฉัยผู้มีปัจจัยเสี่ยงเป็นเบาหวาน นอกจากนั้นใช้ติดตามระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อประเมินผลการรักษา และตรวจป้องกัน
สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน ค่าเป้าหมาย FBS ในการรักษาช่วงระหว่าง 70 ถึง 130 mg/dL
2. การทดสอบการตอบสนองของฮอร์โมนอินซูลินต่อระดับน้ำตาลในเลือด หรือ Oral Glucose Tolerance Test (OGTT) คือ การทดสอบ OGTT จะใช้ตรวจเมื่อผู้ป่วยได้รับการตรวจน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารแล้วได้ค่าสูงกว่าปกติเล็กน้อย (110-126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) การวินิจฉัยเบาหวานจึงจำเป็นต้องทำการทดสอบเพิ่มเติม โดยทำการทดสอบการตอบสนองของฮอร์โมนอินซูลินต่อระดับน้ำตาลในเลือด
3. ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด (HbA1c หรือ Hemoglobin A1c) คือ การตรวจค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา เพื่อพิจารณาและประเมินผลการรักษาในภาพรวมช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ว่าคุณสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้หรือไม่ และใช้เพื่อการคัดกรองและวินิจฉัยภาวะเบาหวานในปัจจุบันด้วย
สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน ค่าเป้าหมาย Hb A1c ในการรักษาน้อยกว่า 7 mg% [หากเป็นไปได้ควรน้อยกว่า 6.5 mg%]
องค์การอนามัยโลกและสมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐฯ สนับสนุน HbA1c ให้เป็นวิธีตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน
การติดตามและรักษา
เป้าหมายหลักในการรักษาเบาหวานเพื่อลดระดับน้ำตาลให้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงระดับปกติมากที่สุด ด้วยการใช้ยากินและการฉีดอินซูลินหรือการรักษาความคำแนะนำของแพทย์ที่รักษาควบคู่ไปกับการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย โดยจะช่วยป้องกันการเกิดอาการแทรกซ้อนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
โรคไตจากเบาหวานและความดันสูง
การมีน้ำตาลในเลือดที่สูงมากเป็นระยะเวลานาน ส่งผลเสียต่อหลอดเลือดเล็กๆ ที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ
ทั่วร่างกาย เมื่อหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตเสียการทำงาน ทำให้กรองของเสียไม่ได้ จนเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง
ถ้าไม่ได้รับการรักษาก็จะทำให้เสียชีวิตได้
โรคไต เป็นภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ความชุกของโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน
และความดันโลหิตสูง สูงถึงร้อยละ 17.5 ส่งผลต่อภาระค่ารักษาพยาบาล ทั้งส่วนของภาครัฐ ผู้ป่วยและครอบครัว
ผลจากโรคไต
ทำให้เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
การป้องกันโรคไต
1.ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับดี คือน้อยกว่า 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตรหลังทานอาหาร 2 ชม.
2.ควบคุมระดับความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท
3.ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
4.ควบคุมน้ำหนัก
5.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
6.งดสูบบุหรี่ งดดื่มสุรา
ปัญหาโรคเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน
- หนึ่งในหกของผู้ป่วยเบาหวานจะเกิดแผลที่เท้าในช่วงของชีวิต
- แต่ละปีมีผู้ป่วยเบาหวาน 4 ล้านคนทั่วโลกเกิดแผลที่เท้า
- ทุกๆ 30 วินาที จะมีผู้ป่วยเบาหวานในโลกนี้ถูกตัดขาหนึ่งราย
- ในบรรดาผู้ที่ถูกตัดขา พบว่ามีสาเหตุจากโรคเบาหวานได้ถึง 70%
- ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสถูกตัดขามากกว่าผู้ที่ไม่เป็นเบาหวาน 40 เท่า
- โรคเท้าเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาล
- ผู้ที่ถูกตัดขาหรือเท้า ทำให้คุณภาพชีวิตเลวลง
- การถูกตัดขามักเริ่มจากการเกิดแผลที่เท้า
- การเกิดแผลและการถูกตัดขา สามารถป้องกันได้โดยการดูแลเท้าที่เหมาะสม
12 วิธีดูแลสุขภาพเท้า ก่อนถูกตัดขาจาก เบาหวาน
ปัญหาที่น่ากลัวของผู้ป่วยเบาหวานอย่างหนึ่ง นั่นคือการเป็นแผลที่เท้า เพราะหากไม่ดูแลให้ดีอาจสูญเสียและเสียชีวิตได้
ซึ่งปัจจุบันผู้ป่วยเบาหวานก็มีแรวโน้มการถูกตัดขาพิ่่มขึ้นจากการเป็นแผลที่เท้า
1.ล้างเท้าด้วยน้ำธรรมดา และสบู่ที่มีฤทธิ์อ่อนทุกวันตอนเช้าและก่อนนอน ไม่ควรใช้แปรงหรือขนแข็งขัดเท้า ไม่จำเป็นต้องแช่เท้า
2.สำรวจเท้าด้วยตนเองทุกวันในสถานที่มีแสงสว่างเพียงพอว่ามีแผล รอยช้ำ ผิวเปลี่ยนสี เมื่อพบความผิดปกติควรพบแพทย์
3.ควรใช้กระจกส่องในการตรวจฝ่าเท้า ถ้าไม่สามารถก้มดูแลเท้าด้วยตนเอง หรืออาจขอให้ญาติช่วยสำรวจเท้า
4.ทาครีมหรือโลชั่นถ้าผิวแห้ง เพื่อป้องกันการเกิดรอยแตกทาบางๆโดยเว้นบริเวณซอกนิ้วเท้าและรอบเล็บเท้า ถ้าผิวหนังมีเหงื่อมากควรใช้แป้งฝุ่นหรือผงโรยเท้า
5.สวมรองเท้าตลอดเวลา ทั้งในและนอกบ้าน ไม่ควรเดินเท้าเปล่า
6.สวมรองเท้าขนาดพอดี ไม่คับหรือหลวมเกินไป วัสดุที่ทำควรใลักษณะนิ่ม ไม่ใส่รองเท้าส้นสูงก่อนใช้รองเท้าควรตรวจดูว่าสิ่งแปลกปลอม อยู่ในรองเท้า
7.ควรใส่ถุงเท้าด้วทุกครั้ง โดยใช้ถุงเท้าที่ทำด้วยผ้าฝ้ายนุ่ม ไม่ควรใช้ไนล่อนหรือถุงเท้าที่รัดมาก
8.หลังอาบน้ำอาจใช้หินขัดเท้าเบาๆ ที่แคลตัส เพื่อลดการหนาตัว ห้ามใส่สรเคมีที่ซื้อตามร้านทั่วไปเพื่อลอกตาปลาหรือจี้หูด
9.การตัดเล็บ ให้ตัดหลังอาบน้ำใหม่ๆ เพี่ะเล็บเท้าจะนิ่มขึ้น ทำให้ตัดง่าย
10.เมื่อมีบาดแผล ควรทำความสะอาดแผลด้วยน้ำเกลือล้างแผล ห้ามใช้ทิงเจอร์ไอโอดีน
11.งดการสูบบุหรี่ เนื่องจากมีผลให้หลอดเลือดตีบแข็ง อาจขาดเลือดมาเลี้ยงเท้า ทำให้เกิดแผลเนื้อตาย
12.การบริหารเท้าทุกวัน ช่วยทำให้การหมุนเวียนของเลือดที่เท้าดีขึ้น โดยบริหารดังรี้ บริหารขาในท่าแกว่งเท้า ให้ยืนเกาะขอบโต๊ะ แกว่งเท้าไปมา ไม่งอขาขณะแกว่งในด้านหน้า
เบาหวาน (diabetes mellitus) เป็นโรคที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของร่างกายตามมาในหลายระบบ อาทิเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ไตวาย เบาหวานขึ้นจอตา แผลที่เท้า เป็นต้น ในปัจจุบันพบโรคเบาหวานมาขึ้นเรื่อยๆ และเป็นปัญหาสำคัญทั่วโลก
เบาหวานทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางตาหลายอย่าง เช่น ผิวกระจกตาหลุดลอก ต้อหิน ต้อกระจก ปลายประสาทเสื่อม เป็นต้น แต่ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นสาเหตุของตาบอดที่สำคัญคือ ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา (diabetic retinopathy)
เบาหวานขึ้นจอตาแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
1.เบาหวานขึ้นจอตาระยะตายใจ หรือระยะที่ยังไม่มีหลอดเลือยฝอยงอกใหม่ (non-proliferative diabetic retinopathy หรือ NPDR)
2.เบาหวานขึ้นจอตาระยะทำใจ หรือระยะที่มีหลอดเลือยฝอยงอกใหม่ (proliferative diabetic retinopathy หรือ PDR)
การมีจอตาบวมน้ำบริเวณจุดภาพชัด (macular edema) เป็นสาเหตุของตามัวที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีเบาหวานขึ้นจอตา สามารถพบได้ทั้งเบาหวานขึ้นจอตาในระยะต้นและระยะรุนแรง ดังนั้นแม้ว่าเบาหวานขึ้นจอตาโดยรวมจะยังไม่รุนแรง แต่ถ้าถ้ามีจอตาบวมน้ำบริเวณจุดภาพชัด ก็อาจทำให้ตามัวมากได้ ซึ่งต้องการการรักษา
ขอบคุณข้อมูลจาก คณะแพทยศาสตร์ ภาควิชาจักษุแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เหนื่อยเพราะชานมไข่มุก
วันนี้มีหญิงอายุ46ปี มาปรึกษาเรื่องเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เธอตั้งใจมาตรวจสุขภาพและขอให้ผมเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพหัวใจให้ ผมจึงเลือกให้เธอไปก่อนตามประสงค์
หลังจากได้ผลเลือด และตรวจechocardiogramแล้ว พบว่าผลตรวจหัวใจปกติหมด แต่ผลเลือดนี่สิ....เจ็บจริง
ผมถามประวัติเพิ่มเติมจึงทราบว่าในช่วง1-2 เดือนนี้ เธอน้ำหนักลด ปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย บางวันเพลียมากไปทำงานไม่ไหว
ผลเลือดพบว่าน้ำตาลและไตรกลีเซอไรด์สูงมาก ต่างจากเมื่อ1-2ปีที่แล้วอย่างหน้ามือเป็นหลังเท้า
ถามเธอว่าช่วงนี้ทานอะไรหวานๆมากไหม??
เธอเล่าว่าเธอทานชานมไข่มุกวันละแก้ว จากร้านในซอยแถวบ้าน
นี่ล่ะ เจอสาเหตุแล้ว
ชานมไข่มุกวันละแก้ว ทำให้เกิดอะไรบ้าง
น้ำตาลเธอขึ้นจาก 105 เป็น 359!!
น้ำตาลสะสมพุ่งไปที่ 12.6 (ค่าปกติไม่เกิน5.7)
ไตรกรีเซอร์ไรด์ เพิ่มจาก 222 เป็น 801!!
สรุปได้ว่าชานมไข่มุกวันละแก้วนี่ล่ะ ทำให้เธอเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย น้ำหนักลด คือเป็นอาการของเบาหวานที่มีน้ำตาลสูงมากนั่นเอง
เพราะเหตุใดการรับประทานยา Metformin ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไตเสื่อม จึงควรงดก่อนและหลังการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) http://livewithdrug.com/2019/08/25/why-do-not-take-metformin-in-diabetes-with-kidney-failure-if-get-computerized-tomography-scan/
190911
โฆษณา