11 ก.ย. 2019 เวลา 14:48 • สุขภาพ
EAR ตะกอนหินปูน​ในหูชั้นในหลุด
"อย่าทำงานหาเงิน เพื่อไปรักษาตัวเองที่โรง'บาล"
"โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด...คืออะไร"
.
อาการเวียนหัว บ้านหมุน เกิดขึ้นได้บ่อยในแทบจะทุกช่วงอายุ
แต่พบบ่อยที่สุดในวัยทำงานที่ขาดการออกกำลังกายและเครียด
.
รู้กันหรือไม่ ว่าภายในหูชั้นใน นั้นมีอวัยวะควบคุมเกี่ยวกับการทรงตัว
และมีตะกอนหินปูนที่เคลื่อนไปมา เพื่อรับรู้การเคลื่อนไหวของศีรษะ
แต่เมื่อมีสาเหตุให้ตะกอนนั้นหลุด! จะทำให้เกิดการส่งสัญญาณไปยังระบบประสาทส่วนกลาง และส่งผลให้มีอาการวิงเวียน คล้ายบ้านหมุนได้
.
สาเหตุของโรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด
มีหลายสาเหตุ โดยเฉพาะวัยทำงานที่งานหนักและเครียดเป็นประจำ
การพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือเคยประสบอุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บบริเวณศีรษะ
ก็เกิดอาการเวียนหัวบ้านหมุนได้
.
อาการของโรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด
ผู้ป่วย มักมีอาการเวียนหัว บ้านหมุน รู้สึกโคลงเคลง หรือเสียการทรงตัว
เมื่อมีการเคลื่อนไหวของศีรษะโดยเฉพาะในแนวดิ่งอย่างรวดเร็ว เช่น ล้มตัวลงนอน
หรือลุกจากที่นอน ก้มหยิบของ หรือเงยหน้ามองที่สูง ก้มหน้ามองที่ต่ำ เอียงคอ
ซึ่งท่าเหล่านี้ แรงดึงดูดของโลกจะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของตะกอนหินปูน อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนตามมาได้
.
การรักษาโรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด
1.รักษาด้วยยา เวลาผู้ป่วยมีอาการ
2.ทำกายภาพบำบัด เพื่อลดอาการเวียนหัว
3.ผ่าตัด ในกรณีที่ใช้ยาและกายภาพบำบัดแล้วไม่ได้ผล
.
วิธีป้องกันไม่ให้อาการของโรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุดกำเริบ
1.นอนหนุนหมอนสูง ไม่ควรนอนราบ
2.ทุกกิจกรรมทำอย่างช้าๆ
3.หลีกเลี่ยงการก้มเก็บหรือเงยหยิบสิ่งของ
4.ไม่ควรออกกำลังกาย ที่มีการเคลื่อนไหวของศีรษะ หรือลำตัวมาก
.
หากสังเกตอาการตัวเองแล้วพบว่ามีอาการเวียนศีรษะบ่อยมาก
โดยเฉพาะเมื่อขยับศีรษะหรือก้ม ๆ เงย ๆ ก็ควรรีบไปปรึกษาแพทย์นะคร่ะ
"หินปูนในหูหลุด"
#เป็นห่วงนะรู้ป่าว #Inspire to live a BETTER LIFE #แรงบันดาลใจเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น #ต่อมสุขแตก
😵😵😵 สาเหตุของอาการเวียนหัวนั้นมีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น…
 
• การมองเห็นที่ผิดปกติ เช่น สายตาสั้น ยาว หรือเอียงที่ไม่ได้รับการแก้ไข
 
• การใส่แว่นที่ไม่เหมาะสมกับสายตา
 
• ความผิดปกติในสมองส่วนหลังที่เป็นศูนย์ควบคุมการรับรู้การทรงตัว
• ความผิดปกติในหูชั้นใน (inner ear) เป็นสาเหตุที่มักจะพบมากที่สุด เช่น โรคตะกอนหินปูนในหูหลุด (Benign paroxysmal positional vertigo; BPPV) ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการวิงเวียนที่พบบ่อยมากที่สุด
นอกจากนี้ยังมีโรคที่คุ้นหูอีกโรคหนึ่ง คือ นํ้าในหูไม่เท่ากัน หรือ Meniere’s disease เกิดจากความผิดปกติของหูชั้นในตรงส่วนที่มีหน้าที่ควบคุมการทรงตัวของร่างกาย ถึงแม้ว่าสาเหตุเหล่านี้จะไม่มีอันตรายถึงชีวิต แต่อาการเวียนหัวมักจะเป็นมากและรุนแรงจนก่อให้เกิดความหงุดหงิดรำคาญ และอาจส่งผลเสียต่อการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ หรือแม้กระทั่งก่อให้เกิดอันตรายได้เลยทีเดียว
นอกเหนือไปจากโรคที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติในหูแล้ว อาการเวียนหัวยังอาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติในสมองดังเช่นที่กล่าวไปแล้วในเบื้องต้น โดยเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นบริเวณสมองส่วนหลังหรือสมองน้อย (Cerebellum) ซึ่งเป็นศูนย์หลักในการควบคุมการทรงตัวของร่างกาย ดังนั้นเมื่อเกิดความเสียหายต่อสมองส่วนนี้จึงส่งผลให้ไม่สามารถทรงตัวได้ และเกิดอาการเวียนหัวที่รุนแรงได้ในแบบที่ต่างไปจากโรคที่เกิดจากความผิดปกติของหู
นั่นคือ ลักษณะอาการเวียนจะเป็นการหมุนในแนวตั้งหรือที่เรียกว่า Vertical vertigo (หมุนจากบนลงล่างหรือล่างขึ้นบน) ร่วมกับมีอาการเดินเซคล้ายคนเมาสุรา เดินเป็นเส้นตรงไม่ได้ อาจมีอาการตามัว เห็นภาพซ้อน มีอาการร่วมของสมองขาดเลือด อาทิเช่น หน้าเบี้ยว หรือลิ้นแข็งพูดไม่ชัด อาจมีอาการแขนหรือขาอ่อนแรงร่วมด้วย เหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกว่าอาการเวียนหัวที่เกิดขึ้นไม่ใช่อาการเวียนหัวธรรมดา แต่มีโรคร้ายบางอย่างเกิดขึ้นกับสมอง ซึ่งต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป
👉 สำหรับอาการอื่น ๆ ที่ควรจะต้องไปพบแพทย์ ได้แก่
 
• อาการเวียนหัวเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยไม่ดีขึ้น
 
• มีอาการปวดหัวรุนแรง และมักเป็นมากในตอนเช้าหลังตื่นนอน ซึ่งเป็นอาการของการมีความดันในสมองเพิ่มสูงขึ้น อาจเป็นสัญญาณของการมีก้อนหรือมีเลือดออกในสมอง
• มีไข้ร่วมด้วย ในหูมีเสียงวี้ดังตลอดเวลา หรือการได้ยินผิดปกติไปจากเดิม ซึ่งอาจบ่งบอกว่าเป็นอาการเวียนหัวที่เกิดจากประสาทหูชั้นในอักเสบ
 
• มีอาการเหงื่อแตกใจสั่น หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นลักษณะอาการวิงเวียนจากการเกิดความดันต่ำ (Pre-syncope) และอาจเป็นสัญญาณแรกของโรคหัวใจ ไม่ว่าจะเป็นหัวใจขาดเลือด หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจล้มเหลว ซึ่งล้วนแต่ต้องได้รับการรักษาเร่งด่วนทั้งสิ้น
👉 การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
 
ถ้ามีอาการเวียนหัวที่ไม่รุนแรง และไม่มีอาการต่าง ๆ ที่กล่าวไปแล้วร่วมด้วย การดูแลในเบื้องต้นคือ ทำร่างกายให้ผ่อนคลาย และทำใจให้สบาย เนื่องจากความกังวลจะส่งผลให้อาการวิงเวียนเป็นมากขึ้น เพราะความกังวลจะทำให้สมองปรับตัวต่อการรับรู้การทรงตัวที่ผิดปกติได้ช้าลง ทำให้ยิ่งเวียนหัวมากขึ้น นอกจากนี้ยาบางชนิด เช่น ยากลุ่มยาแก้เมารถ (dimenhydrinate) ก็มีผลช่วยปรับการไหลเวียนของโลหิตในหูชั้นใน ทำให้อาการเวียนหัวดีขึ้นได้
หากยังคงมีอาการอยู่ ควรไปพบแพทย์ เพื่อทำกายภาพบำบัดที่จำเพาะกับโรคเวียนหัวบ้านหมุน หรือรับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุอื่นๆ ที่อาจซุกซ่อนอยู่และเป็นสาเหตุที่แท้จริงของภาวะเวียนหัวบ้านหมุนที่เกิดขึ้น
190911
UPDATE 2022.09.24
บทความอื่น
✈️ หูอื้อ​ จากการขึ้นเครื่องบิน​ 🛬
โฆษณา