Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เล่าหุ้นให้มันง่าย
•
ติดตาม
15 ต.ค. 2019 เวลา 11:59 • ธุรกิจ
ก่อนซื้อหุ้นต้องรู้ งบการเงิน ep.3
หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักกับงบกำไรขาดทุนไปแล้ว ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ "งบดุล" กันครับ
ตรวจสอบฐานะการเงินด้วยงบดุล
งบดุล แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
1.สินทรัพย์
2.หนี้สินและส่วนผู้ถือหุ้น
โดยในส่วนสินทรัพย์ จะประกอบด้วย เงินสด ลูกหนี้การค้า สินค้าคงคลัง ที่ดิน อาคาร โรงงาน เครื่องจักร
ส่วนหนี้สิน จะประกอบด้วย หนี้สินหมุนเวียนและหนี้สินไม่หมุนเวียน
หนี้สินหมุนเวียน คือ หนี้ที่ครบกำหนดชำระภายใน 1 ปี
หนี้สินไม่หมุนเวียน คือ หนี้ที่มีภาระผูกพันธ์มากกว่า 1 ปี
ส่วนของผู้ถือหุ้น ก็คือเงินทุนของผู้ถือหุ้นนั้นเอง
ก็จะได้สมการ
สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน
หรือ สินทรัพย์ - หนี้สิน = ทุน
อยู่ที่การย้ายสมการเมื่อต้องการหาตัวเลขจากสิ่งไหนเท่านั้นเอง
เราจะดูรายการของสินทรัพย์ว่ามีอะไรบ้าง
งบดุล/สินทรัพย์
หน่วย :ล้านบาท
เงินสดและเงินลงทุนระยะสั้น ฿4,208
สินค้าคงคลัง 2,220
ลูกหนี้การค้า-สุทธิ 3,317
ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า 2,260
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ 0
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 12,005
ที่ดิน/โรงงาน/เครื่องจักร 8,493
ค่าความนิยม-สุทธิ 4,246
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน-สุทธิ 7,863
การลงทุนระยะยาว 7,777
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่นๆ 2,675
สินทรัพย์อื่นๆ 0
รวมสินทรัพย์ ฿43,059
วิธีการจดจำที่ง่ายที่สุด ในการเรียงในสินทรัพย์ คือ การแปลงเป็นเงินสดได้ไว จะอยู่บนสุด และ เรียงลงมาตามสภาพคล่องที่แปลงเป็นเงินสดได้เร็วครับ
ที่นี้เราจะตีความแต่ละตัวอย่างไรกัน ตามมาครับ
งบดุล/สินทรัพย์
หน่วย:ล้านบาท
🔜เงินสดและเงินลงทุนระยะสั้น ฿4,208
🔜สินค้าคงคลัง 2,220
🔜ลูกหนี้การค้า-สุทธิ 3,317
ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า 2,260
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ-รวม 0
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน ฿12,005
สินทรัพย์หมุนเวียน มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า working asset หรือสินทรัพย์เพื่อการดำเนินกิจการ
โดยปกติวัฎจักรจะหมุนเวียนแบบนี้
เงินสด➡สินค้าคงคลัง➡ลูกหนี้การค้า➡เงินสด
นี้คือวิธีการทำเงินของธุรกิจครับ
-เงินสด หรือสินทรัพย์ที่เทียบเท่าเงินสด เช่น ตั๋วเงินฝากระยะสั้น มีสภาพคล่องสูง
โดยปกติบริษัทที่เป็นบริษัทที่มีการแข่งขันอย่างยั่งยืน มักเป็นบริษัทที่มีเงินสดเยอะ
โดยปกติบริษัทมีการสร้างเงินสดด้วย 3 ปัจจจัยหลักๆคือ
1.ขายพันธบัตรหรือออกหุ้นเพิ่ม
2.ขายกิจการที่มีอยู่หรือสินทรัพย์ที่เป็นเจ้าของ
3.บริษัทมีธุรกิจที่กำลังสร้างเงินมหาศาล
บริษัทที่เข้าหลักเกณฑ์ที่ดีคือ บริษัทที่มีธุรกิจที่กำลังสร้างเงินมหาศาลอยู่
เราต้องดูย้อนหลังไป อย่างน้อย 5 ปี เพื่อดูว่ากิจการ สร้างเงินจากวิธีนี้หรือเปล่า หรือเพียงสร้างเงินจากการขายหุ้นกู้ เพิ่มทุน บริษัทที่ดีก็ควรที่จะต้องเลี้ยงตนเองได้นั้นเอง
-สินค้าคงคลัง
คืิอผลิตภัณฑ์ในคลังสินค้าของบริษัทที่เก็บไว้ขายแก่ผู้ค้า
สิ่งที่นักลงทุนต้องรู้เกี่ยวกับ สินค้าคงคลัง คือเรื่องของความล้าสมัย
ยกตัวอย่างเช่น หากบริษัทมีสินค้าคงคลังที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี สินค้าที่เคยขายได้ในอดีตไม่สามารถว่าจะขายได้ในอนาคต แล้วถ้ามันล้าสมัยไปแล้ว ก็จะอยู่ในสต๊อคเยอะไปแปลงมาเป็นเงินสดได้ยาก หรือถ้าต้องระบายของ ก็ต้องลดกระหน่ำ บัฟเฟตต์จึงไม่ชอบบริษัทที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีเพราะสาเหตุนี้ด้วยครับ
-ลูกหนี้การค้า-สุทธิ
เมื่อบริษัทขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ เราจะบันทึกเป็นลูกหนี้การค้า หลังจากที่ผู้ซื้อได้รับสินค้าไปแล้ว
ทั้งนี้ เราสามารถคิดลูกหนี้การค้า-สุทธิได้จากสมการดังต่อไปนี้
ลูกหนี้การค้า-หนี้เสีย = ลูกหนี้การค้าสุทธิ
ตัวเลขนี้หากมีปริมาณน้อยก็แสดงว่า บริษัทมีความได้เปรียบในการเก็บเงินสดได้มาก ก็ป้องกันการสูญเสียเงินจากผิดนัดชำระเงินไปได้มากครับ
-ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า
หากบริษัทชำระค่าสินค้าหรือบริการสำหรับสิ่งที่จะได้รับในระยะเวลาอันใกล้ แม้ว่าจะยังไม่ได้รับสินค้าหรือบริการ แต่บริษัทได้ชำระล่วงหน้าไปแล้ว จะลงบันทึกทางบัญชีเป็น "ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า"
เช่น ค่าเบี้ยประกัน จ่ายล่วงหน้า เป็นต้น
มาสรุปหน้าตา งบดุลในฝั่งสินทรัพย์ ได้ดังนี้
งบดุล/สินทรัพย์
หน่วย:ล้าน
เงินสดและเงินลงทุนระยะสั้น ฿4,208
สินค้าคงคลัง 2,220
ลูกหนี้การค้า-สุทธิ 3,317
ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า 2,260
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ-รวม 0
สินทรัพย์หมุนเวียน ฿12,005
เมื่อรวมบันทึกรายการแล้วผลรวมจะได้เป็น สินทรัพย์หมุนเวียน
เราสามารถเอาสินทรัพย์หมุนเวียนมาใช้ได้อย่างไร
จริงๆแล้วในเราสามารถเอาส่วนของสินทรัพย์หมุนเวียน มาเปรียบเทียบ กับหนี้สินหมุนเวียนได้
โดยสามารถหาจากสูตร
อัตราการหมุนเวียน = สินทรัพย์หมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน
โดยหากมีอัตราส่วน 1 หรือมากกว่า 1 แสดงว่า มีสภาพคล่องในการหมุนเวียนดีนั้นเองครับ
เมื่อเราได้ส่วนของสินทรัพย์หมุนเวียนแล้ว เราก็จะมาบันทึกในส่วนของ สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนต่อไปครับ โดยมีหน้าตาแบบนี้
งบดุล/สินทรัพย์
หน่วย:ล้าน
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน ฿12,005
🔜อาคาร-ที่ดิน/โรงงาน/เครื่องจักร 8,493
ค่าความนิยม-สุทธิ 4,246
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน-สุทธิ 7,863
การลงทุนระยะยาว 7,777
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่นๆ 2,675
สินทรัพย์อื่นๆ 0
รวมสินทรัพย์ ฿43,059
-อาคาร-ที่ดิน/โรงงาน/เครื่องจักร ตัวเลขเหล่านี้เกิดจากต้นทุนเดิม - ค่าเสื่อมสะสม ซึ่งเกิดจากการเสื่อมสภาพไปตามเวลา ทุกปีเราจะหักค่าเสื่อมจำนวนหนึ่งออกจากมูลค่าของโรงงานและเครื่องจักร
บริษัทที่มีการแข่งขันอย่างยั่งยืน จะไม่มีการปรับปรุงโรงงานบ่อยๆ เพราะนั้นเท่ากับเป็นการเพิ่มต้นทุนให้สูงขึ้นในทุกๆปี
และการที่มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นทุกปี คงไม่ส่งผลดีแน่ในการสร้างความมั่งคั่งให้กับผู้ถือหุ้น นั้นเอง
-ค่าความนิยม
เมื่อบริษัท mk restaurant ซื้อ บริษัท แหลมเจริญ ซีฟู้ด ในราคาเกินกว่ามูลค่าตามบัญชี จำนวนที่เกินจะถูกบันทึกในงบดุล ในรายการ "ค่าความนิยม"
เมื่อใดที่ค่าความนิยมเพิ่มขึ้น เราสามารถเดาได้ว่าบริษัทซื้อธุรกิจใหม่ๆ เราสามารถเข้าไปดูว่าบริษัทที่ซื้อมาใหม่นั้นมีความได้เปรียบอย่างยั่งยืนหรือไม่
-สินทรัพย์ไม่มีตัวตน-สุทธิ
คือสินทรัพย์ที่ไมาสามารถจับต้องได้ ซึ่งรวมถึง สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์แฟรนไชส์ ตราสินค้า
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ถือเป็นหมัดเด็ดของบัฟเฟตต์ในการค้นหาบริษัทที่มีความได้เปรียบอย่างยั่งยืน ซึ่งไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริง
เช่น โคคา โคล่า หรือ โค้กที่คนไทยดื่มประจำ มูลค่าแบรนด์ก็ตีเป็น 100,000 ล้านดอลลาร์ ก็ไม่สะท้อนไปที่งบการเงิน
หากเราสามารถประเมินสินทรัพย์ไม่มีตัวตนได้ขาดเราจะค้นพบ ขุมทรัพย์ก็เป็นได้ครับ
ในยุคนี้ชื่อแบรนด์มีมูลค่าสูงกันเลยที่เดียว
การลงทุนระยะยาว
คือบัญชีสินทรัพย์ที่บันทึกมูลค่าของการลงทุนระยะยาว (มากกว่า 1 ปี)
การลงทุนในระยะยาว จะบันทึกในราคาต้นทุนที่ได้มาหรือในราคาตลาด (ราคาใดก็ตามที่ต่ำกว่า)
เราสามารถตรวจสอบการทำงานของผู้บริหารในการเอาเงินไปลงทุนในบริษัทที่ได้เปรียบการแข่งขันอย่างยั่งยืนหรือไม่ หรือว่าไปลงทุนในบริษัทธรรมดากันแน่
-สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่นๆเป็นรายการที่นอกเหนือจากรายการอื่นๆที่กล่าวมาแล้ว เนื่องจากเป็นรายการบอกอะไรไม่ได้มาก ในการนำมาคำนวณ จึงของข้ามประเด็นนี้ไปครับ
เมื่อเรารวมระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนก็จะได้สินทรัพย์รวม
เราสามารถเอาสินทรัพย์รวมมาคำนวณได้
ด้วยสมการนี้
กำไรสุทธิ/สินทรัพย์รวม
หากกำไรสูงสม่ำเสมอ แสดงว่า สินทรัพย์ของบริษัทที่มีสามารถสร้างผลกำไรได้ดี นั้นเอง
ในบทนี้ เราก็เรียนรู้เกี่ยวกับงบดุลในด้านสินทรัพย์ว่ามีรายการอะไรบ้าง มีความหมายยังไง เอาไปใช้ตีความได้อย่างไร
หวังว่าเพื่อนๆจะเข้าใจความหมายของมันเพื่อจะนำไปอ่านงบการเงินในบริษัทต่างๆได้ดียิ่งขึ้น มีหลายส่วนที่เพื่อนอาจจะงงได้เช่น ค่าความนิยม และสินทรัพย์ไม่มีตัวตน แต่ถ้าเข้าใจตรงนี้ จะทำให้เราเจอขุมทรัพย์ ก็เป็นได้
ติดตาม ในส่วนของงบดุลในฝั่ง หนี้สินและทุน ใน ep.หน้าครับ ฝากติดตามเพจด้วยครับ ช่วยกด like กด share เป็นกำลังใจให้แอดด้วยนะครับ
reference:
-www.set.or.th
-วอร์เรน บัฟเฟตต์และการตีความงบการเงิน
ช่องทางการติดตาม:twintrade เล่าหุ้นให้มันง่าย
FB:
www.facebook.com/twintrade
website:
www.twintrade.blogspot.com
blockdit:
www.blockdit.com/twintrade
LINE:
https://line.me/ti/g2/RKPFY7TDYF
13 บันทึก
5
13
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ก่อนซื้อหุ้นต้องรู้งบการเงิน
13
5
13
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย