23 ต.ค. 2019 เวลา 07:28 • ธุรกิจ
Special Topic: วิเคราะห์สภาวะเศรษฐกิจไทยรายจ่ายเพื่อการบริโภคของภาคเอกชน ตอนที่ 1
ทุกครั้งที่เราใช้จ่าย "เงิน " ของเราไปอยู่ที่ไหนกันบ้าง
เมื่อเราใช้เงินแต่ละครั้งเงินจะหมุนไปอยู่ในส่วนต่างๆทางเศรษฐกิจหลายส่วนมากมาย
ขอยกตัวอย่าง อย่างง่ายให้ทุกท่านเห็นภาพ
รูปที่ 1 การใช้จ่ายสิ่งที่เรียกว่า เงิน
หมูน้อยทำงานที่บริษัทผลิตลูกชิ้นหมูเพื่อการส่งออก
เมื่อทำงานครบ 1 เดือน ก็จะได้เงินเดือนมา 60000 บาท
นำเงินเดือน 50000 บาท ไปให้คุณภรรยาบริหารจัดการในบ้าน
คุณภรรยา ก็จะนำเงินส่วนนี้ ไปซื้อ กับข้าว สบู่ ยาสีฟัน
จ่ายค่าอินเตอร์เน็ต ค่าไฟฟ้า น้ำประปา ค่านมลูก
ซึ่งสินค้าอุปโภค(ใช้) บริโภค(กิน) แปลอย่างง่ายครับ
พวกนี้ก็จะมี ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เช่น
ในสินค้า 100 แบ่งออกเป็น ค่าสินค้า 93 บาท และภาษีอีก 7 บาท
ค่าน้ำมันลิตรละ 36 บาท ราคาน้ำมันจริงๆ อาจจะเพียงแค่ 15 บาทเท่านั้น
อีก 21 บาทคือส่วนที่เราต้องจ่ายเป็นมูลค่าเพิ่ม เเบ่งเป็น
ภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล ภาษีมูลค่าเพิ่ม เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
เงินกองทุนเพื่อการส่งเสริมอนุรักษ์พลังงาน ค่าการตลาด
รูปที่ 2 โครงสร้างราคาน้ำมันเบนซิน อ้างอิงเมื่อวันที่ 11/07/2019
ล่าสุดก็มี"ภาษีความเค็ม" กำลังจะนำมาบังคับใช้ต่อจาก "ภาษีความหวาน"
หมูน้อยกำลังรอ "ภาษีอากาศ" อันแสนสดชื่น ที่เราใช้หายใจอยู่ทุกวันครับ
คงจะเป็นรายได้ที่มากมายมหาศาลเลยทีเดียว (อันนี้มุขนะครับ)
*หมูน้อยเคยอ่านมุขตลกของต่างประเทศเรื่องนึงครับ เค้าบอกว่า
เพื่อนที่สนิทที่สุดของคุณคือภาษี ยามคุณเกิด พ่อแม่ เป็นคนจ่ายเงินให้เพื่อนของคุณ ยามคุณโตภาษีก็จะเดินเคียงข้างคุณไม่จากไปไหน แม้กระทั่งยามคุณตาย ลูกๆของคุณก็อ้าแขนต้อนรับเพื่อนคนนี้ของคุณ
ดังนั้นทำความรู้จักเค้าไว้เถอะครับ
หลังจากนั้นรายได้เหล่านี้ก็จะหมุนไปที่ผู้ผลิตสินค้าและบริการ
ซึ่งผู้ผลิตเหล่านี้ก็จะนำเงินที่ได้มาไป
จ่ายค่าจ้างให้พนักงาน,ซื้อปัจจัยการผลิตสินค้าของบริษัท อีกทอดนึง
รูปที่ 3 เส้นทางของเงิน
เมื่อถึงสิ้นปี/ครบรอบบัญชีของ ร้านค้า/บริษัท ซึ่ง ขาย/ผลิตสินค้า ที่เราไปซื้อมา
พอครบรอบบัญชี/สิ้นปีปฏิทิน
พวกเขาเหล่านั้นก็ต้องสรุป งบการเงิน เพื่อนำไปคำนวณรายได้ และ
"เสียภาษี” ให้ “รัฐบาล”
รูปที่ 4 ท้ายที่สุดเงินไปอยู่ที่ใด
เพื่อนำเงินมาบริหารประเทศ(Government spending) ต่อครับ
โดยสรุป คืออัตราขยายในธุรกรรม(transactions) การเงิน แต่ละครั้ง ปริมาณเงินในระบบจะถูกขยายออกไปอีกหลายเท่า มากๆ
และแต่ละส่วนล้วนพึ่งพาซึ่งกันและกัน ผลกระทบในส่วนนึงอาจจะลุกลามจนทำให้ระบบเศรษฐกิจหยุดชะงักเป็นช่วงๆ
ดังนั้นตอนที่เค้าพิจารณางบประมาณประจำปี ถ้าเป็นไปได้ อยากให้ทุกท่านลองอ่านข้อมูลเพิ่มเติม ว่าภาษีที่เราจ่ายให้รัฐบาลไป จะหมุนกลับมาหาเรา อย่างมีประโยชน์และคุ้มค่าหรือเปล่า
ถ้าชอบบทความที่มีสาระดีๆและเข้าใจง่ายเช่นนี้
ฝากกดถูกใจและติดตามเพจ พื้นฐานการลงทุนหมูน้อยออมเงิน
หมูน้อยขอขอบคุณทุกท่านมากครับ
ติดตามตอนต่อไปใน
Special Topic: วิเคราะห์สภาวะเศรษฐกิจไทยรายจ่ายเพื่อการบริโภคของภาคเอกชน ตอนที่ 2
keywords : โครงสร้างราคาน้ำมัน,gdp,government spending,consumer spending
reference :
2. ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน. ผลิตภัฑณ์มวลรวมในประเทศ. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเงินและการลงทุน;ตุลาคม 2560
3. FINOMENA.GDP คืออะไร ตัวเลขเศรษฐกิจที่ทุกคนควรรู้จัก https://www.finnomena.com/getwealthsoon/what-is-gdp
โฆษณา