Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Antfield
•
ติดตาม
1 ม.ค. 2020 เวลา 14:08 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
"เมฆาฟ้าคะนอง" พายุฝนฟ้าคะนองอันเกิดจากลมหายใจของไฟป่า 🔥⚡
เมื่อไฟป่าในออสเตรเลียกำลังสร้างพายุฝนฟ้าคะนองอันเป็นสาเหตุให้เกิดไฟป่าเพิ่มขึ้น 😯🌩
ไฟป่าสร้างพายุฝนและพายุสายฟ้าฟาด
ซึ่งพายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดจากไฟป่านี้สร้างฟ้าผ่ารุนแรง อันเป็นสาเหตุให้ไฟป่าแผ่ขยายพื้นที่และกำลังสร้างปัญหาให้กับออสเตรเลียในปัจจุบัน
ไพโรคิวมูโลนิมบัส (pyrocumulonimbus) คือเมฆฝนชนิดพิเศษที่ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนองอย่างรุนแรงอันเนื่องมาจากแรงยกตัวของกระแสอากาศร้อนที่เกิดจากไฟป่า
อากาศร้อนยกตัวขึ้นทำให้เกิดก้อนเมฆแนวตั้งยกตัวสูง ซึ่งทำให้เกิดฝนฟ้าคะนอง, เครดิตภาพ: Dake/Wikimedia Commons
ปกติพายุฝนฟ้าคะนองจะเกิดจากเมฆฝนที่เรียกว่า คิวมูโลนิมบัส ซึ่งเกิดจากกระแสอากาศร้อนยกตัวสูงขึ้นไปเจออากาศเย็นในบรรยากาศชั้นสูงทำให้ไอน้ำกลั่นตัวเป็นเมฆฝนกลุ่มใหญ่
เมฆคิวมูโลนิมบัส (cumulonimbus) และกระบวนการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองรวมถึงพายุฤดูร้อน, เครดิตภาพ: Wikipedia
ซึ่งเป็นสาเหตุของพายุฝนฟ้าคะนอง ทั้งลมพายุ ฝนตกหนักและฟ้าร้องฟ้าผ่า ซึ่งบ้านเราพบเจอบ่อยในช่วงหน้ามรสุม และพายุฤดูร้อน
กระบวนการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองจากไฟป่า, เครดิตภาพ: Bureau of Meteorology
แต่เมฆ pyrocumulonimbus นั้นพิเศษกว่าตรงที่มันได้แรงเสริมจากความร้อนของกลุ่มควันไฟป่า และเมฆที่ผสมกับหมอกควันจะทำให้เกิดฟ้าผ่ารุนแรงกว่าพายุฝนฟ้าคะนองปกติ
โดยเมฆ pyrocumulonimbus นั้นสามารถก่อตัวสูงขึ้นไปในชั้นบรรยากาศได้เกือบ 50 กิโลเมตร
ตัวอย่างของพายุฟ้าผ่า เช่น พายุฟ้าผ่าที่เกิดจากภูเขาไฟระเบิด
ภาพพายุสายฟ้าจากการระเบิดของภูเขาไฟ, เครดิตภาพ: tokkoro.com
ในปีที่ผ่านมาออสเตรเลียต้องต่อสู้กับปัญหาไฟป่าที่สร้างความเสียหายเป็นพื้นที่กว่า 12 ล้านเอเคอร์ มีผู้เสียชีวิตกว่า 10 รายซึ่งรวมถึงเจ้าหน้าที่ดับไฟป่าด้วย
twitter.com
Bureau of Meteorology, Victoria on Twitter
“Pyro-cumulonimbus clouds have developed to altitudes over 16km in East #Gippsland this afternoon. These fire-induced storms can spread fires through lightning, lofting of embers and generation of severe wind outflows #VicWeather #VicFires https://t.co/gZN6sC7meU”
ซึ่งจากภาพถ่ายดาวเทียมด้านบนแสดงให้เห็นถึงเมฆ pyrocumulonimbus ที่สูงทะลุขึ้นไปในชั้นบรรยากาศสูงจากพื้น 16 กิโลเมตร
youtube.com
Pyrocumulonimbus at the Sedgerly Fire, Queensland
Fire initiated thunderstorm, captured by PhD student Nicholas McCarthy working on the BCPE. Follow the BCPE on Twitter at @mccarthy_nfm
วีดีโอด้านบนแสดงถึงการทดลองเพื่อศึกษาการเกิดเมฆ pyrocumulonimbus จากไฟป่า ซึ่งจะเห็นได้ถึงการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองอันมีสาเหตุจากไฟลามทุ่งในบริเวณใกล้เคียง
ไฟป่าที่เป็นต้นตอของกลุ่มเมฆฝนและพายุฝนฟ้าคะนอง
ทั้งนี้เมฆ pyrocumulonimbus ก็ไม่ได้เกิดทุกครั้งที่มีไฟป่า ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมอื่นเช่น กระแสลม ความชื้น ด้วย
ก็เป็นอีกความรู้ที่มนุษย์เราต้องเรียนรู้เพื่อนำมาปรับกลยุทธ์สู้ไฟป่า "ตัดไฟแต่ต้นลม" ยังคงใช้ได้ดีเสมอ 😔
Source:
https://interestingengineering.com/australia-bushfires-are-generating-thunderstorms-that-can-start-more-fires
https://www.nasa.gov/topics/earth/features/pyrocb.html
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%AA
6 บันทึก
66
26
13
6
66
26
13
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย