Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องเล่าคนเข้าป่า
•
ติดตาม
26 ม.ค. 2020 เวลา 03:36 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
กรณีศึกษา "ไวรัสโคโรน่า" จากการบริโภคสัตว์ป่า
เหตุการณ์การระบาดของ "ไวรัสโคโรน่า" ไวรัสสายพันธ์ุใหม่ที่ก่อให้เกิดโรคปอดอักแสบที่รุนแรง และแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว
โดยมีจุดเริ่มต้นจากประเทศจีน และกำลังแพร่ระบาดไปยังต่างประเทศ อย่างประเทศไทย ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนน่าตกใจ
สาเหตุหลักน่าจะมาจากพฤติกรรม "การบริโภคสัตว์ป่า" ที่พิศดารของมนุษย์
มีความนิยมมองว่า สัตว์ป่าเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ ในบางประเทศบริโภคเนื้อสัตว์อย่าง กวาง จิงโจ้ เป็นจำนวนมาก
ส่วนอีกความนิยมคือการบริโภคเพื่อเป็นยา เช่น ลิ่น(ตัวนิ่ม) และงู เพราะเชื่อว่าเป็นยาชูกำลัง มากกว่าการบริโภคเพื่อดำรงชีวิต
ในเอเชียตะวันออก มีการบริโภคเนื้อเต่าในปริมาณมากแม้ว่า 3 ใน 4 ส่วนจากทั้งหมด 90 สปีชีร์ กำลังถูกคุกคาม และอีก 18 สีปีชีร์ กำลังใกล้สูญพันธ์ุ เช่น เต่ากระอาน เนื่องจากเต่ามีอายุที่ยืนยาวผู้บริโภคจึงนิยมเพราะเชื่อว่าจะทำให้อายุยืนเหมือนเต่า
.
หรือในประเทศจีน ที่มณฑลอู่ฮั่น ที่คนนิยมนำค้างคาวมาประกอบอาหาร เช่น การนำค้างคาวมาทำซุป เพราะเชื่อว่าเป็นยารักษาโรค และอีกหลายความเชื่อเกี่ยวกับการบริโภคสัตว์ป่า
มีความเชื่อในการกิน "สมองลิง" เพื่อบำรุงความคิด
จากวิถีชีวิตของมนุษย์ที่ขึ้นกับทรัพยากรสัตว์ป่าหลายด้าน เช่น อาหาร ยา เครื่องนุ่งห่ม และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ประกอบกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีชื่อเสียงด้านความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์
การเติบโตของเศรษฐกิจ การค้าเสรีที่แพร่หลายอย่างรวดเร็ว การกฎหมายการค้าเสรีทางสิ่งแวดล้อม และความอยากลองอะไรที่แปลกใหม่ของมนุษย์ ทำให้ "การค้าสัตว์ป่า" เป็นเรื่องที่ง่ายเหมือนกับระบบอื่น ๆ
ในช่วง 5-10 ปีมานี้การค้าสัตว์ทวีความรุนแรงขึ้น จึงกลายเป็นอาชญากรรมข้ามชาติที่มีความรุนแรงเป็นลำดับที่ 4 ของโลก
การค้าสัตว์ป่าเป็นต้นเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้สัตว์ป่า" สูญพันธุ์ " นอกเหนือจากการพัฒนาที่ดินของเหล่านายทุน ซึ่งศาสตราจารย์เดวิด เอ็ดวาร์ด จากมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ มีความเห็นว่า “การซื้อขายสัตว์ป่าหลากหลายสายพันธุ์กันอย่างครึกโครมทั่วโลกทุกวันนี้ เพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าสัตว์ป่าสายพันธ์ุต่างๆจะสูญพันธุ์”
ขณะที่ ทราฟฟิก (TRAFFIC) ซึ่งเป็นองค์กรต่อต้านการค้าสัตว์ป่าระหว่างประเทศ เผยแพร่รายงานวิจัยการลักลอบค้าสัตว์ป่าในยุคดิจิทัลในปีนี้ ระบุว่า ตลาดซื้อขายสัตว์ป่าออนไลน์ในประเทศไทยมีขนาดใหญ่และขยายตัวอย่างรวดเร็ว และสัตว์ต่างถิ่นบางชนิดไม่อยู่ในบัญชีสัตว์คุ้มครอง เพราะมีช่องโหว่ด้านการบังคับใช้กฎหมาย
รายงานวิจัยของทราฟฟิก บ่งชี้ว่า ไทยเป็นประเทศที่ตลาดลักลอบซื้อขายสัตว์ป่าออนไลน์เติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้!! และยิ่งไปกว่านั้นคือสัตว์ที่ลักลอบซื้อขายกัน เป็นสัตว์ที่มีชื่ออยู่ในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
news.thaipbs.or.th
เปิดโปงเส้นทางค้าสัตว์ป่าไทย-ลาว ทั้ง “เสือ-นอแรด-งาช้าง-จระเข้-ลิง”
การค้าและบริโภคสัตว์นอกจากผลกระทบทางด้านความหลากหลายของสัตว์ที่ลดลงนั้น ยังส่งผลต่อมนุษย์โดยตรงอย่างโดยเฉพาะเรื่องโรคระบาดที่แพร่จากไวรัสในสัตว์มาสู่คน ซ้ำร้ายไวรัสนั้นสามารถถ่ายทอดจากคนสู่คนได้...
จนเกิดเหตุการณ์บานปลายที่ยากจะควบคุม
ไวรัสของโรคระบาดต่าง ๆ เหล่านี้เป็นไวรัสที่อยู่ในตัวสัตว์ ซึ่งสัตว์จะไม่แสดงอาหารป่วย และไม่ได้ส่งผลกระทบต่อตัวสัตว์
แต่ความพิศดารและความเชื่อผิด ๆ ของคนเราที่สรรหาการรับประทานของแปลก เช่น สัตว์ เพื่อสนองความต้องการของตนเอง จนสุดท้ายความโลภนั้นก็ย้อนกลับมาทำร้ายตัวเอง...
คุณก็สามารถหยุดวงจรนี้ได้โดยการ
⛔️"เลิกอุปโภคบริโภคสัตว์ป่า" หรือ "ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่า" ทุกประเภท รวมถึง "การเลี้ยงสัตว์ป่า" ⛔️
เพื่อไม่ให้สัตว์ป่าเป็นช่องทางการทำเงินของตลาดมืด และทำให้เกิดการล่าไม่มีที่สิ้นสุด
เมื่อคุณไม่บริโภค ไม่สนับสนุน คนล่าสัตว์ป่าก็จะลดลง และช่วยลดค่านิยมและความเชื่อที่ผิดๆ เกี่ยวกับการบริโภคสัตว์ป่าและการมีสัตว์ป่าไว้ในครอบครอง
Ref :
https://www.trafficj.org/cop13/pdf/cop13briefing_SoutheastAsia.pdf
3 บันทึก
46
14
6
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ข้อคิด COVID-19
3
46
14
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย