21 เม.ย. 2020 เวลา 13:26
ประวัติศาสตร์รำลึก,
#สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
#เล่าย่อๆพอเข้าใจ,
1
สวัสดีครับ เพื่อน,
ตาม request ของ คุณกู๊ดแห่งตำหนักพระราชชายาฯ ที่อยากให้โพสต์เรื่องการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ครับ,
ดังนั้น จึงขออนุญาตถือโอกาสนี้,#เล่าให้ย่อพอเข้าใจ,ครับ
#รัตนโกสินทร์,
-หมายถึง ส่วนหนึ่งของกรุงเทพมหานครฯ ที่มีชื่อเต็มว่ากรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์,
-ซึ่งนำชื่อยาวๆเหล่านี้มาแปลให้เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย อีกครั้งได้ว่า
“พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร อันเป็นที่สถิตของพระแก้วมรกต เป็นนครที่ไม่มีใครสามารถรบชนะ มีความงามอันมั่นคงและเจริญยิ่ง เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วยแก้ว 9 ประการ น่ารื่นรมย์ยิ่ง มีพระราชนิเวศน์ใหญ่โตมากมาย เป็นวิมานเทพที่ประทับของพระราชาผู้อวตารลงมา ซึ่งท้าวสักกเทวราช, พระราชทานให้พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตไว้”
-ซึ่งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงเปลี่ยนจาก “...บวรรัตนโกสินทร์…” เป็น “…อมรรัตนโกสินทร์…”
โดยสรุปให้เข้าใจตรงกันอีกครั้ง ได้ว่า “..วันที่ 21 เมษายน เป็นวันคล้ายสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ หรือ วันสถาปนากรุงเทพฯ นั่นเอง..”
-ตำนานเล่ากันมาเรื่อง โยนคนชื่อ อินจันมั่นคง แล้วตอกเสาหลักเมืองกรุงเทพฯ..จริงหรือไม่
-พบปรากฎว่ามีกระทำเช่นนั้นกับ ผู้หญิงท้องในการก่อสร้าง พระราชวัง หอคอย หรือตำหนัก ตามเอกสารเรื่อง "Description of the Kingdom of Siam" ซึ่งเขียนใน ค.ศ.1638 (พ.ศ.2181) ของเยเรเมียส ฟาน ฟลีต (Jeremias Van Vliet) ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระราชบิดาของสมเด็จพระนารายณ์,
-แต่ที่เสาหลักเมืองในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ไม่ปรากฏในบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรใดๆ ตามที่ผมเคยอ่านมาจนถึงในขณะนี้ครับ,
1
-คงมีแต่เรื่องราวในจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวีฯถึง งูเล็ก 4 ตัว ที่ได้เลื้อยเข้าไปอยู่ในหลุม จนถูกเสาตอกกลบ และถือเป็น อวมงคลซึ่งถูกแก้ใน 7 ปี 7 เดือนต่อมา ซึ่งในภายหลัง จึงถือเป็น อีกหนึ่งส่วนตามคำทำนายใน วิสัยทัศน์แห่ง ความสงบสุขของกรุงรัตนโกสินทร์ใน 150 ปีต่อมานั่นเอง ครับ,
-ดังนั้น เราไม่ต้องเสียวสันหลัง เย็นวูบๆ เวลาไปเยี่ยมชมเสาหลักเมือง กรุงเทพฯ กันนะครับ, :)
#เกร็ดเพิ่มเติม,
-หลักฐานการเรียกชื่อ “รัตนโกสินทร์”
ปรากฏ สำเนาจารึกแผ่นสุพรรณบัฏ ตั้งเจ้าหลวงพระบาง เมื่อปีกุน ตรีศก พ.ศ. 2334 มีความตอนต้นว่า
“สมเดจพระพุทธิเจ้าอยู่หัว ผู้ผ่านพิภพ”กรุงรัตนโกสิน” อินทอยุทธยา ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสั่งว่า…ฯลฯ” จาก “เรื่องทรงตั้งเจ้าประเทศราชกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ 1 สำนักนายกรัฐมนตรีจัดพิมพ์ พ.ศ. 2514 อ้างในศิลปวัฒนธรรม ฉบับตุลาคม 2525 หน้า 36
ร้อยเรียงข้อมูล (T.Mon)
21/4/2020,
ภาพและข้อมูลสนับสนุนส่วนหนึ่ง: เรื่องทรงตั้งเจ้าประเทศราชกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ 1 สำนักนายกรัฐมนตรีจัดพิมพ์ พ.ศ. 2514 อ้างในศิลปวัฒนธรรม ฉบับตุลาคม 2525 หน้า 36, "Description of the Kingdom of Siam", จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวีฯ
โฆษณา