Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นั่งคิด
•
ติดตาม
27 เม.ย. 2020 เวลา 02:17 • การศึกษา
ทำไมการนอนหลับถึงทำให้คุณเก่งแคลลูลัสขึ้น
สิ่งที่มนุษย์ใช้เวลา 1 ใน 3 ของชีวิตทั้งหมด นั้นคือ "การนอน" การนอนเป็นเสมือนเพื่อนคู่กายเวลาเหนื่อยล้า และเสมือนเป็นศัตรูในเวลาเรียนหรือทำงาน แต่ทำไมธรรมชาติถึงสร้างการนอนหลับมาให้มนุษย์ และมันมีบทบาทอะไรกันแน่ ซึ่งผมจะมานำเสนอว่า การนอนมีส่วนช่วยให้เราเรียนรู้ได้อย่างไรและเราจะใช้ประโยชน์จากสิ่งที่ธรรมชาติให้เรามาได้อย่างไร คงไม่มากเกินไปถ้าผมจะบอกว่า "การนอนหลับคือการเรียนรู้"
บทบาทของการนอนหลับที่เรารู้อยู่แล้วคือ มันทำให้เราหายเหนื่อยจากการทำงาน หรือหลีกหนีกับวันอันแสนเลวร้าย(อย่างเช่น ...ผมรู้ว่าคำตอบคงอยู่ในหัวคุณแล้ว) แต่เรื่องของการเรียนรู้ทักษะๆต่าง การนอนหลับมีบทบาทอย่างมาก
การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่ผ่านมามีเบาะแสที่บ่งบอกว่าการนอนช่วยส่งเสริมการพัฒนาการด้านสติปัญญาแบบก้าวกระโดดเลยทีเดียว ยกตัวอย่างเช่น ฟรีดริช ออกุสต์ เคดูเลล นักเคมีสมัยศตววรษที่ 19 เขาบอกว่าเราบังเอิญค้นพบกับ โครงสร้างทางเคมีของเบนซีน เพราะเขาเห็นงูกัดหางตัวเองขณะกำลังนอนหลับฝันอยู่ หรือ อีกคน ดมินทรี เมนเคลีฟ นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย เคยอดหลับอดนอนเพื่อจะทำ ตารางธาตุในวิชาเคมี จนเขาได้หลับไปสักคืน พอตื่นขึ้นมาก็สามารถเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ และเข้าใจ จนสามารถทำตารางธาตุออกมาให้พวกเราได้เรียนได้
ทำให้เกิดคำถามสำคัญที่ว่า "สมองที่กำลังนอนหลับ ทำอะไรอยู่กันแน่?"
(ภาพจาก : https://www.discovermagazine.com/)
มีทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่า การนอนหลับถือเป็นการปรับตัวเพื่อบริหารเวลา เพราะว่า มนุษย์มีนาฬิกาชีวิต(นาฬิกาชีวภาพ) วิวัฒนาการมาเพื่อไม่ให้เราตื่นตอน "ไม่มีอะไรทำ " และตื่นเมื่อมันมีอะไรให้เราทำ อย่างเช่น มนุษย์จะทำงานกันในตอนพระอาทิตย์ขึ้นและพากันแยกย้ายเข้าตอนพระอาทิตย์ตกหรือหลังจากกลับจากที่ทำงาน ตรงกันข้ามกับสัตว์อย่าง ค้างคาว ที่จะออกล่าอาหารในตอนกลางคืน และนอนตอนกลางวัน เห็นได้ชัดว่า เราจะตื่นก็ต่อเมื่อมีอะไรให้ทำจริงๆ
นักประสาทวิทยาชื่อ เจอโรม ซีเกลบอกว่า การที่เราหมกหมุ่นอยู่กับเรื่องของคุณภาพและเวลาการนอน ถือเป็นความคิดที่ล้าหลังแล้ว
ทฤษฎีที่สองกล่าวว่า เหตุผลของการนอนหลับคือการเสริมสร้างความจำและการเรียนรู้ เนื่องจากในชีวิตประจำวันเราจะเจอเหตุการณ์ต่างๆเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นเจอจราจรติดขัด เจอเพื่อนสนิท ได้ฝึกเล่นเปียโน ได้อ่านหนังสือ รวมไปถึงอารมณ์และความคิดที่ถาโถมเข้ามาอย่างไม่หยุดหย่อนเมื่อเวลาเรากลัว ตื่นเต้น หรือ มีความสุข ดังนั้น สมองจึงต้องทำการคัดกรองสิ่งที่สำคัญออกจากสิ่งที่ไม่สำคัญ
ภายหลังจึงมีการทำการทดลองการนอนหลับกับมนุษย์เพื่อศึกษากิจกรรมของสมองระหว่างที่กำลังนอนหลับ พวกเขาค้นพบว่า มีช่วงการกลอกตาปรากฎครั้งแรกประมาณ 3 ชั่วโมงหลังจากการนอนและปรากฎซ้ำอีกครั้งในอีก 2 - 3 ชั่วโมงต่อมา จากนั้นเกิดขั้นโดยมีระยะที่แคบลงในครั้งที่สามและสี่ก่อนจะตื่นนอน เราเรียกว่า การนอนหลับระยะที่มีการกลอกตาเร็วที่สุดหรือ REM(rapid eye movement)
ระยะของ REM จะเกิดขึ้น 4-5 ครั้งระหว่างการนอนหลับโดยกินเวลา 20 - 30 นาที การนอนหลับมีอย่างน้อย 2 ระยะ คือ ไม่มีการกลอกตาอย่างรวดเร็ว NREM (non-rapid eye movement) และ REM
โดย NREM มีระยะแยกย่อยของมันอีก 5 ระยะโดยเรียงตามลำดับตามนี้ จากระยะที่1 ไป ระยะที่2 สู่ระยะที่3 และลงลึกถึงระยะที่ 4 ก่อนจะขึ้นสู่ระยะที่ 3 และ 2 จากนั้นก็เข้าสู่ระยะ REM นักวิทยาศาตร์เรียกว่า โครงสร้างกรนนอนหลับ(sleep architecture)
โครงสร้างกรนนอนหลับ(sleep architecture)
* วงจรนี้จะเกิดขึ้นซ้ำไปมาตลอดการนอนหลับของเรา *
ยังมีคำถามที่น่าสนใจอีกว่า หากสมองตื่นตัวอย่างมากในขณะที่เรายังหลับ สิ่งที่สมองทำอยู่ในตอนนั้นคืออะไรกันแน่?
มีการทดลองที่น่าสนใจอย่างหนึ่ง จากนักวิจัยมหาลัยฮาวาร์ด โดยทดลองกับนักศึกษาให้ทำความเข้าใจกับข้อเท็จจริงและจำข้อเท็จจริงอย่างหนึ่ง โดยแบ่งนักศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ ทำความเข้าใจและจดจำในตอนเช้าและทดสอบความรู้ ในตอนเย็น กลุ่มแรกจะเรียกว่า กลุ่มไม่ได้นอน กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ทำความเข้าใจในตอนเย็นและได้นอนหลับเต็มอิ่มหลังจากนั้นตอนเช้าก็จะได้รับการทดสอบในตอนเช้า ผลออกมาว่า กลุ่มที่ได้นอน ทำคะแนนได้ถูก 93 % ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้นอน ทำคะแนนได้เพียง 63% และเมื่อผ่านไปอีก 24 ชม. นักวิจัยก็ทำให้แบบทดสอบโดยไม่บอกล่วงหน้าอีก กลุ่มที่ได้รับการนอนหลับยังก็ยังได้เปรียบกว่ากลุ่มที่ไม่ได้นอน โดยคะแนนต่างกัน 35% ถึงแม้กลุ่มที่ไม่ได้นอนได้นอน1คืนในการทดสอบครั้งที่2 แต่ดูเหมือนว่า กลุ่มที่ได้นอนมากกว่าก็ยังทำคะแนนดีกว่า
ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการนอน คือ คุณเปิดประตูไปสู่คลังความจำและสามารถมองเห็นภาพใหญ่ขึ้นได้
(ภาพจาก : https://gradsingapore.com/)
แมทธิว วอล์กเกอร์ ผู้เขียนหนังสือ why we sleep บอกว่ามีหลักฐานที่บ่งบอกว่า ระยะ REM มีบทบาทในการสร้างความจำเชิงสร้างสรรค์เวลาที่คุณต้องการสร้างความเชื่อมโยงสิ่งที่แตกต่างหรือว่าผสมผสานหลายๆสิ่งเข้าไว้ด้วยกัน ด้วยวิธีที่แตกต่างกัน
หลักฐานส่วนใหญ่ในตอนนี้แสดงให้เห็นถึงว่า การนอนหลับช่วยเสริมสร้างความจำและความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่เราได้เรียนรู้ไปได้ อย่างเช่น การท่องคำศัพท์ การเรียนภาษาอังกฤษ แคลลูลัส(เป็นวิชาที่สนุก ๆ มากสำหรับผมแต่มีบางคนกำลังสร้างภาพอันน่ากลัวให้กับนักเรียน ม.ปลายอยู่) หรือ ทุก ๆ อย่างที่คุณต้องการพัฒนาให้ตัวเองดีขึ้น การนอนคือกระบวนเร่งการเติบโตคุณยังไงล่ะ
เรารู้แล้วว่าถ้าเราเรียนรู้ทักษะวิชาอะไรได้แล้ว จากนั้นก็เข้านอนทักษะนั้นก็จะติดตัวคุณแน่นขึ้น แต่ถ้าเราโดยขัดขวางการนอนหลับละ จะมีเกิดอะไรขึ้นในสมองบ้าง?
มีทฤษฏีการเสริมสร้างการเรียนรู้ของ จูดิตตา-สมิท-สติโกลด์ หรือ ชื่อง่ายๆว่า "ทฤษฎีกลางคืน(Night Shift Theory)" เมื่อแสงไฟดับลง งานซ่อมถนนก็เสร็จแล้ว คุณเข้าใจความหมายมันไหม ประมาณว่า ถ้าคุณปวดหัวแล้วได้นอนหลับสักคืน ตื่นมามันก็หายปวดหัวแล้ว
เรามาดูกันดีกว่าว่า แต่ระยะของการนอนหลับของเรามีหน้าที่อะไรกันบ้าง
ระยะที่ 1 ระยะ REM ช่วงนี้ระบบประสาทจะทำงานอย่างบ้าคลั่งเลยล่ะ ถึงแม้เราจะหลับไม่รู้เนื้อรู้ตัว แต่ขอบอกว่าเป็นพระเอกที่เก่งมาก ๆ คือ ช่วยเรื่องการจดจำแบบแผน ,การแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรคค์ และการรับรู้ความสัมพันธ์ที่มันไม่เด่นชัด อย่างเช่น โจทย์แคลลูลัสยากๆที่ตอนตื่นเราว่าความสัมพันธ์ไม่ออกเลยว่าจะใช้สูตรไหนหรือต้องใช้หลักการอะไรมาแก้บ้าง
ระยะนี้จึงมีบทบาทสำคัญที่สุดในการสร้างการซึมผ่านนั้นเอง และระยะนี้ยังตีความควาามจำที่เต็มไปด้วยอารมณ์ได้ด้วย เพราะเราจะจดจำได้ได้ดีหากมีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างเช่น มีความสุขขณะพาแม่ไปเที่ยว กับ ทุกข์เรื่องงาน แน่นอนว่ามันจะบำบัดอารมณ์ที่ไม่ดีออกไปจากหัวเราและยังคงประทับใจกับความสุขอยู่ (ถ้าคุณหงุดหงิดหรือเจอเรื่องแย่ๆมา แล้วนอนหลับหนึ่งคืน คุณก็จะตื่นราวกับว่า "ทำไมฉันต้องโกรธขนาดนั้นด้วย ไม่เห็นจำเป็นเลย")
ระยะที่ 2 เชี่ยวชาญในเรื่องการเรียนรู้ด้านการ เคลื่อนไหว
การเคลื่อนไหวในที่นี้ ไม่ว่าจะเป็นด้านกีฬา เล่นฟุตบอล ด้านดนตรี เล่นเปียโน ทำอาหาร รวมไปถึงทักษะด้านเครื่องยนต์กลไกด้วยนะ อะไรที่ก็ตามที่ใช้การเคลื่อนไหวร่างกายนั้นแหละครับ
ระยะที่ 3 และ 4 ระยะหลับลึกหรือ ระยะคลื่นช้า
ถ้าเราขาดการหลับลึก สิ่งที่ทำให้เสื่อมถอยลงไม่ใช่เพียงความงามเท่านั้น แต่ยังขาดประโยชน์ของการหลับลึกอย่าง การจำขอเท็จจริงที่เพิ่งเรียนรู้ไป คำศัพท์ต่างๆ สูตรคณิตศาสตร์ วัน ชื่อของคนที่แอบชอบ(อันนี้น่าจะลืมยากแหะ) งั้นชื่อของ หัวข้อที่เรียนไปละกัน(เป็นสิ่งที่ผมอยากจำให้ได้ก่อนและหลังเรียนแต่มันคงหน้าตาไม่ดีเท่าคนที่ผมแอบชอบละมั้ง)
การนอนหลับระยะคลื่นช้ามีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความจำเชิงประกาศ(ง่ายๆเลย ความจำระยะยาวแบบว่า นึกปุ๊บ ออกปั๊บ ยังกะประกาศให้โลกรู้เลยทีเดียว)
ตอนนี้เราก็ได้รู้บทบาทของระยะการนอนหลับของเรากันแล้วว่ามีบทบาทขนาดไหน แต่ แต่ แต่ ยังมีคำถามอีกว่า ถ้าเราปรับเปลี่ยนชั่วโมงการนอนของเราล่ะ เพื่อเตรียมตัวสำหรับอะไรบ้างอย่าง เช่น การพูดพรีเซ็นต์งาน การทดสอบความสามารถ หรือ การสอบที่โรงเรียน?
ถ้าคุณถูกขัดในช่วงระยะที่ 2 ของการนอน คือช่วงระยะพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว และคุณกำลังจะขึ้นโชว์แสดงดนตรีในวันพรุ่งนี้ การนอนดึกส่งผลดีกว่าตื่นเช้าแล้วมาซ้อม หรือ ถ้าคุณมีสอบคณิตศาตร์ หรือ เคมี หรือวิชาที่ต้องใช้การค้นหาแแบบแผนละก็ การอ่านให้ดึกขึ้นแล้วนอนดีกว่าการตื่นเช้าแล้วมาอ่านเอาตอนเช้า
แต่ถ้าไม่ต้องเตรียมอะไร การนอนในเวลาปกติจะส่งผลต่อการนอนหลับของคุณให้นอนได้อย่างตรงเวลาและมีคุณภาพมากกว่าอยู่แล้ว งั้นเก็บเทคนิคนี้ไว้ใช้ในยามจำเป็นก็พอนะครับ
ส่วนต่อไปคือเรื่องของ การงีบหลับ (NAP) นักวิจัย ซาร่า เมดนิก จากมหาลัยแคลิฟอเนีย ซานดิเอโก พบว่า การงีบหลับ หนึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงครึ่ง จะได้รับประโยชน์จากการเสริมสร้างการเรียนรู้ระหว่างการนอนหลับในระดับใกล้เคียงกับนอนตอนกลางคืน 8 ชม.เต็ม ถ้าคุณได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆในตอนเช้า การนอนกลางวัน จะเป็นตัวช่วยให้คุณได้พักผ่อนเพื่อพร้อมสำหรับงานตอนบ่ายและเสริมสร้างความรู้ไปพร้อมๆกัน
(ภาพจาก : https://www.pexels.com)
ดูเหมือนว่า สิ่งที่ธรรมชาติให้เรามาอย่างการนอนหลับไม่ได้มีแต่เอาชีวิตรอดในป่าดงดิบในอดีต เมื่อพยายามจะหาอาหารตอนกลางคืนแต่กลับไม่มีอาหารให้ล่า จึงกลายเป็นความอันตรายต่อมนุษย์ชาติ อย่างไรก็ตามตอนนี้มันยุคที่โทรศัพท์มันปลุกเราได้เองแล้ว แต่มันก็ยังมีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตของเราอยู่และเสริมสร้างการทำงานและการเรียนรู้ให้กลับเราซึ่งอยู่โลกแห่งความเร็วทำให้ข้อมูลบางข้อมูลอาจจะล้าสมัยไป เมื่อกาลเวลาผ่านไปแต่สิ่งที่จะช่วยปรับปรุงความรู้เคียงข้างเราคือ การนอนหลับ
ผมชอบการนอนหลับมากนะครับ ตอนเด็กนี่นอนเป็นตาย แต่พอเข้าสู่วัยเรียนผมก็มองมันเป็นอุปสรรค แต่ว่าความจริงแล้วมันไม่ใช่เลยครับ งานวิจัยระบุไว้ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงว่า เวลาที่เรานอนหลับช่วยให้ความจำชัดเจนและขัดเกลาทักษะให้เฉียบคม มันเป็นขั้นตอนที่จำเป็นสำหรับการทำให้สองอย่งมั่นคง หากมองในแห่พื้นฐานนะครับ
การนอนหลับ คือ การเรียนรู้นั่นเอง
จูลิโอ โทโนนี จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ได้ค้นพบหลักฐานที่บ่งบอกว่า การนอนหลับทำให้ความเชื่อมโยงของเซลล์ประสาทที่ก่อตัวขึ้นในวันก่อนลดลง อย่าพึ่งตกใจนะครับ เซลล์ประสาทที่ว่านั้นคือ "สิ่งที่ไม่สำคัญกับชีวิตของเรา" การนอนจะช่วยกำจัดความเชื่อมโยงที่ไม่สำคัญที่ก่อตัวขึ้นมาในแต่ละวัน และ ช่วยเสริมสร้างความเชื่อมโยงที่สำคัญ(สิ่งที่พัฒนาชีวิตคุณไงละครับบ) เปรียบเสมือนปุ่มลดความดังของความคิด ที่ดังเกินจดทำให้เราปวดหัว และ มันก็ปรับสมดุลให้เพลงในชีวิตขึ้นไพเราะขึ้นเมื่อคุณตื่นลืมตาขึ้นมาใหม่ในวัน ถัด ไป..
2 บันทึก
6
5
2
2
6
5
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย