Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
หมอเก่งกระดูกและข้อ
•
ติดตาม
4 พ.ค. 2020 เวลา 05:53 • สุขภาพ
ท่านเคยใช้ยาแก้ปวด ลดการอักเสบบ่อยๆกันมั้ยครับ
เมื่อมีอาการปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่ เราก็มักจะไปตามร้านขายยาซื้อยามาทานกันเอง ทานแล้วก็รู้สึกสบายขึ้น อาการปวดหายไปสักพักก็กลับมาเป็นอีก
เราลองมาทำความรู้จักกับยาที่เราใช้กันบ่อยๆหน่อยนะครับ เพื่อความปลอดภัยของพวกเราทุกคน
ในประเทศไทยประชาชนทั่วไปสามารถหาซื้อยารับประทานเองได้ มียากลุ่มหนึ่งที่มีการใช้อย่างแพร่หลายคือ ยาลดการอักเสบ หรือภาษาอังกฤษที่เรียกว่า NSAIDs (non-steroidal anti-inflammatory drugs) เพื่อใช้บรรเทาอาการปวด ลดการอักเสบ ปวดเมื่อย
ยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ มีฤทธิ์ในการยับยั้งกระบวนการอักเสบของร่างกาย และบรรเทาอาการปวด
บางท่านใช้เสร็จบอกเลยครับว่าเป็นยาวิเศษ แก้ปวดได้ชะงัก บางครั้งก็แนะนำเอาไปให้คนข้างบ้านทานอีก
เวลาเราไปซื้อยาที่ร้านขายยา เภสัชกรก็มักจะถามว่า เอายาลดอักเสบแบบที่ไม่กัดกระเพาะมั้ย? มันมีกี่แบบ แล้วมันต่างกันอย่างไร?
ลองมาทำความรู้จักกันนะครับว่ายากลุ่มนี้จะมีการแบ่งง่ายๆออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่
1. ยาลดการอักเสบที่ลดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร (selective Cox2 inhibitor) หรือบางคนไปซื้อยาบอกว่าเอายาลดอักเสบแบบที่ไม่กัดกระเพาะอาหาร ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ได้แก่
a. Celecoxib หรือที่มีชื่อทางการค้าได้แก่ Celebrex (เซเลเบร็กซ์)
b. Etoricoxib หรือที่มีชื่อทางการค้าได้แก่ Arcoxia (อาร์คอกเซีย)
ยาลดการอักเสบที่ลดการระคายเคืองกับกระเพาะอาหาร
2. ยาลดการอักเสบแบบทั่วไป (conventional NSAIDs)ซึ่งออกฤทธิ์ลดการอักเสบและมีผลระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารมากกว่ากลุ่มที่ 1 ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ได้แก่
a. Diclofenac หรือที่มีชื่อทางการค้าได้แก่ Voltaren(โวลทาเรน)
b. Ibuprofen หรือที่มีชื่อทางการค้าได้แก่ Junifen, Brufen (จูนิเฟน,บรูเฟน)
c. Naproxen หรือที่มีชื่อทางการค้าได้แก่ Aleve
ยาลดการอักเสบทั่วไป
ฤทธิ์ของยาในกลุ่มเหล่านี้สามารถลดการอักเสบได้ดี แก้ปวดได้ดี คนจึงใช้ยากลุ่มนี้กันมาก อย่างแพร่หลายเพื่อลดอการปวดหลัง ปวดตามข้อต่างๆของร่างกาย บางคนก็ใช้นานอย่าง
ต่อเนื่อง เพราะหายปวดดี สามารถไปทำงานได้
อย่างไรก็ตามยาก็เปรียบเสมือนเหรียญ 2 ด้าน ที่มีทั้งคุณและโทษ ถ้าใช้ได้อย่างถูกต้องก็สามารถลดอาการปวด และลดการอักเสบได้ดี แต่ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีอาจทำให้มีผลข้างเคียงตามมาได้มากมาย เช่น ภาวะไตวาย เลือดออกในกระเพาะอาหาร โรคหลอดเลือดหัวใจ
1
ใครบ้างที่ไม่ควรใช้ยากลุ่มนี้
1. คนที่มีปัญหาโรคไตวาย หรือมีปัญหาเกี่ยวกับโรคไต เพราะยาจะทำลายไตมากขึ้น
2. คนที่เป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ หรือที่เคยรับการผ่าตัดเปลี่ยนเส้นเลือดหัวใจ หรือทำการสวนหัวใจมาก่อน เพราะยาทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและเสียชีวิตได้
3. คนที่รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดเช่น warfarin หรือยากลุ่ม antiplatelet เพราะยา NSIADs นี้จะมีผลทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น เช่น เลือดออกในกระเพาะอาหาร เลือดออกในสมอง
4. คนที่เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารหรือเคยมีเลือดออกในทางอาหาร ถึงแม้ว่าจะเป็นยาในกลุ่มที่ลดการระคายเคืองกระเพาะอาหารแล้วก็ตาม ผู้ป่วยที่มีแผลในกระเพาะอาหารก็มีความเสี่ยงในการเกิดเลือดออกในระบบทางเดินอาหารได้อีก และมีอาการปวดแสบปวดร้อนภายในช่องท้อง
ดังนั้นก่อนใช้ยาท่านต้องถามตัวเองก่อนนะครับว่าท่านเป็นโรคเหล่านี้มาก่อนหรือเปล่า ?
แล้วเมื่อจะใช้ยา เราจะใช้อย่างไรให้ถูกต้อง ลองมาดูกันนะครับ
1. เราไม่ควรใช้ยานี้ติดต่อกันนานมากกว่า 2 สัปดาห์ เพราะการใช้ยากลุ่มนี้นานๆ จะมีผลต่อการเกิดไตวาย แผลในกระเพาะอาหาร มีผลต่อการแข็งตัวของเลือดซึ่งมีรายงานการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง
2. ไม่ควรใช้ยาในปริมาณที่สูง เช่น ยา Etoricoxib หรือ diclofenac เพราะยาที่ปริมาณสูงมากจะทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน ที่ว่าปริมาณสูงนี่คือ เอาขนาดสูงๆ อาการปวดจะได้หายไป เช่น เอาแบบแรงๆเลย จะได้หายปวด ที่แรงๆนี่ก็คือปริมาณสูง Max dose นี่อันตรายมากนะครับ
3. เมื่อต้องรับประทานยากลุ่มนี้ต้องมั่นใจว่าในร่างกายมีสารน้ำเพียงพอ เพราะถ้าร่างกายขาดน้ำจะทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ ดังนั้นเมื่อรับประทานยากลุ่มนี้ควรต้องดื่มน้ำมากๆ
4. รับประทานยากลุ่มนี้หลังอาหารทันที เพราะยากลุ่มนี้จะมีผลระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร
ดังนั้นเมื่อท่านได้รับยาเหล่านี้จากแพทย์ หรือซื้อยามารับประทานเองก็ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากนะครับ ยาเปรียบเสมือนเหรียญที่มี 2 ด้าน ถ้าเราสามารถใช้ยาอย่างถูกต้องก็จะช่วยรักษาภาวะโรคที่ท่านเป็นอยู่ได้ครับ
page.line.me
หมอเก่งกระดูกและข้อ | LINE Official Account
หมอเก่งกระดูกและข้อ’s LINE official account profile page. Add them as a friend for the latest news.
ติดต่อสอบถามได้ที่
Line OA
https://lin.ee/swOi91Q
หรือ Line ID search @doctorkeng
ติดตามสารพันปัญหาโรคกระดูกและข้อ ได้ที่
Website
www.taninnit.com
YouTube
https://www.youtube.com/results?search_query=taninnit+leerapun
Facebook ปวดหลังรักษาได้ ไม่ผ่าตัด - Home
https://www.facebook.com/backpainnonop/
Blockdit
https://www.blockdit.com/doctorkeng
สถานที่ Check out คลินิกกระดูกและข้อ หมอเก่ง สันป่าข่อยคลินิก on Google
https://g.page/doctorkeng?gm
10 บันทึก
43
11
22
10
43
11
22
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย