5 พ.ค. 2020 เวลา 03:00 • การศึกษา
Chapter 4 :
Basic concept สำหรับเสา Focused Improvement (FI Pillar)
หลังจากผ่านมา 3 Chapter หลายๆท่านคงเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า TPM ไม่มากก็น้อยสำหรับ Chapter นี่ เราจะเริ่มเข้ามาใน 8 เสาหลักโดยเริ่มที่ความรู้พื้นฐานในส่วนของเสา FI ทางผู้เขียนจะขอใช้ตัวย่อตลอดการอธิบาย...
โดยเรามาเริ่มกันก่อนเลย คำว่า Focused Improvement หรือ Kobetsu Kaizen หรือการปรับปรุงเฉพาะจุด หรือถ้าแปลให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือการเจาะจงค้นหา และมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาเฉพาะเรื่อง โดยทำการวิเคราะห์ค้นหาสาเหตุจนถึงรากของปัญหา (Root cause analysis) และทำการปรับปรุงเพื่อไม่ให้เรื่องนั้นเกิดขึ้นมาอีก เป้าหมายต้องเป็น 0 โดยการใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ต่างๆ (Analysis tools) เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ ค้นหาสาเหตุ และแนวทางแก้ไขที่ถูกต้องและชัดเจน จากสิ่งที่อธิบายมันดูเหมือนง่าย แต่การนำไปปฏิบัติจริงนั้นมันไม่ง่ายเลยใน Chapter หน้าถ้ามีเวลาผมจะมาขยายความว่า อะไรที่บอกว่ามันไม่ง่ายเลย
เหตุผลว่าทำไมเราถึงจำเป็นต้องมีเสา FI ในส่วนของ TPM เหตุผลหลักๆ ที่ผมได้สรุปย่อๆ ตาม Style Syndicate แยกออกมาเป็น 3 คำคือ
1 Finding (ค้นหา)
2 Distribution (แจกจ่าย)
3 Improvement (ปรับปรุง)
ทำไมผมถึงได้กำหนดนิยาม 3 คำนี้เป็นนิยามเสา FI เนื่องจากทุกๆ องค์กร ทุกๆ บริษัทล้วนมีปัญหารวมถึง Loss อยู่ในบริษัท ทั้งที่มองเห็นชัดเจน และซุกซ้อนอยู่ เพื่อที่จะค้นหาและเอาออกมาแก้ไข อาจจะต้องใช้ทุกๆ เครื่องมือที่มี ทุกๆ ความสามารถของทีมงานจึงจะสามารถค้นหา loss หรือปัญหานั้นพบ และนี่คือ 1 บทบาทหลักของเสา FI ทำการค้นหารวบรวม loss ที่เกิดขึ้นในบริษัท และทำการกระจาย Loss ให้กับเสาให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปรับปรุงแก้ไขผ่านเครื่องมือในการวิเคราะห์ต่างๆ เช่น Loss finding system / Loss cost matrix / Loss cost tree / สุดท้ายแต่ละหน่วยงานจะนำ Loss หรือปัญหาที่ได้รับเอาไปปรับปรุงแก้ไขและสรุปผลการปรับปรุงกลับมาให้กับเสา FI สรุปผลการปรับปรุงว่า สิ่งที่แก้ไขสามารถลด loss ได้จริงเป็นผลที่น่าพอใจหรือไม่
1
โดยการปรับปรุงยังสามารถแบ่งระดับการปรับปรุงได้ 3 ระดับ คือ
1) Project theme คือ การปรับปรุงที่เป็นปัญหาใหญ่ของโรงงาน เป็นปัญหาเรื้อรัง ที่ต้องใช้ความรู้ในการแก้ไขปัญหาและอำนาจการสั่งการ การอนุมัติที่รวดเร็ว ส่วนใหญ่ Theme leader จะเป็นผู้บริหารที่มีอำนาจการสั่งการ
2) Department theme คือ การปรับปรุงที่เป็นปัญหาที่ยากในระดับหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานมากกว่า 1 หน่วยงานขึ้นไป จำเป็นต้องทำงานร่วมกันแบบ Crossfunction (การทำงานแบบข้ามสายงาน) เพื่อให้ได้ผลรับและการตอบสนองอย่างรวดเร็ว
3) Individual theme หรือ Small group คือ การปรับปรุ่งเรื่องง่ายๆ ที่สามารถแก้ไขได้เพียงคนเดียวแบบการทำ Kaizen หรือปัญหาที่ต้องแก้ไขโดยทีมงาน 5-6 คน แต่เป็นคนที่อยู่ในหน่วยงานเดียวกัน
โดยเป้าหมายเพื่อลดปัญหา ลดความสูญเสียในกระบวนการผลิต ให้เป็นศูนย์ ซึ่งเมื่อกลับมามองที่ Loss ที่ทำการแก้ไขปรับปรุงยังมีอีกหลาย loss หลายความสูญเสียมากมากที่เรายังไม่ได้พูดถึงหรือจำแนกออกมา ตั้งแต่การกำหนด Loss definition การแก้ไขอ้างอิงจาก 16 Major loss เป็นต้น
จากพื้นฐานที่กล่าวมาในส่วนของเสา FI เป็นเพียงบ้างส่วนเพื่ออธิบายหน้าที่ของเสา FI เบื้องต้นเท่านั้น ยังคงมีรายละเอียดอีกมากมายทาง The Syndicate จะเรียบเรียงมานำเสนออีกครั้งใน Chapter ต่อไป ...
ยังไงถ้าชอบเนื้อหาก็ฝากกด Like กดติดตามด้วยนะครับ
โฆษณา