9 พ.ค. 2020 เวลา 15:31 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
[ Chapter 7 ]
7 Step Autonomous Maintenance...เปลี่ยนพนักงานฝ่ายผลิต เป็นผู้ดูแลเครื่องจักรการผลิต
ขอบคุณภาพจาก https://www.slideshare.net
ก่อนจะเข้าเนื้อหา ผู้แต่งขอบอกว่าเนื้อหาที่จะนำเสนอนี้ มาจากประสบการณ์และขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม Base on รางวัล TPM Excellence Award Category A จากสถาบันหนึ่งของประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น
ซึ่งหลายๆ เนื้อหา หรือวิธีการอาจจะแตกต่างจากที่ผู้อ่านหลายๆ ท่านเคยศึกษามา แน่นอนในทฤษฎีเดียวกัน อาจจะไม่ได้ปฏิบัติเหมือนกันเสมอไป ทุกอย่างต้องปรับให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมการทำงานของสถานที่นั้นๆ ซึ่งผมได้ผ่านการทำ TPM ทั้งในส่วน Heavy Industry และ Automotive ซึ่งหลายอย่างใช้แนวทางเดียวกัน แต่ขั้นตอนและวิธีการที่จะเดินกิจกรรมให้บรรลุผลนั้นแตกต่างกันอย่างมาก บางอย่างใช้ได้ดีกับที่หนึ่ง แต่อาจไม่ได้ผลกับอีกที่หนึ่ง เป็นต้น
เรามาเริ่มจาก Autonomous Maintenance (AM Pillar) หรือ การบำรุงรักษาด้วยตัวเอง ในภาษาญี่ปุ่นจะเรียกว่า Jishu Hozen หมายถึง การบำรุงรักษาที่มุ่งเน้นให้ผู้ใช้งานเครื่องจักรดูแลรักษาเครื่องจักรได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ปล่อยภาระหน้าที่นี้ให้เป็นของหน่วยงานซ่อมบำรุงเพียงหน่วยงานเดียว ผมขอขยายความคำว่าดูแลเครื่องจักรเสียก่อน แน่นอนฝ่ายผลิตจะไปดูแลรักษาซ้อมแซมเครื่องจักรเหมือนหน่วยงานซ่อมบำรุงได้ยังไง การดูแลรักษานี้ หมายถึงดูแลรักษาภายใต้เงื่อนไขการฝึกอบรม ถ่ายทอดหลักสูตรทางช่าง 6 Module หรือ 9 Module หรือจะกำหนดมากี่หลักสูตรก็แล้วแต่ ผ่านกระบวนการฝึกอบรมจากผู้เชียวชาญการดูแลรักษาเครื่องจักร จะมาจากเสา PM หรือ ET และรวมถึงหัวข้อการถ่ายโอนงานข้างต้นมาจากหน่วยงานซ่อมบำรุงเท่านั้น เอาเป็นว่าเราอย่าพึ่งลงเนื้อหาลึกเกินไป เดี๋ยวจะงงกันไปก่อน รอให้ผมอธิบายแนวทางเบื้องต้นของแต่ละเสาจนครบและจะมาเจาะลึก แต่ละเสาโดยละเอียดอีกครั้งละกัน
โดยขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมของเสา AM มีทั้งหมด 7 ขั้นตอนดังนี้
1 Initial Cleaning หรือ การทำความสะอาดแบบตรวจสอบ หมายถึง การที่พนักงานทำความสะอาดที่ไม่ใช่การทำความสะอาดพื้นที่หรือทำความสะอาดเครื่องจักรเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงการสังเกต การตรวจความผิดปกติของเครื่องจักร ว่ามีความผิดปกติอะไรบ้าง โดยการเขียนความผิดปกติลงใน AM Tagโดยเราสามารถอาศัยแนวทางความผิดปกติ 7 ประการได้ สำหรับ 7 Abnormal เราจะมากล่าวใน Chapter หน้าว่าความผิดปกติ 7 ประการ รวมถึงขั้นตอนการทำในแต่ละ Step แบบละเอียด
TPM tag หรือ AM tag
2 Elimination of contaminate sources and difficult access areas หรือ การขจัดแหล่งที่ก่อให้เกิดสิ่งสกปรก รวมถึงจุดที่เข้าถึงได้ยากในการทำงาน หรือถ้าจะอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ การแก้ไขปรับปรุง การคืนสภาพ รวมถึงการหามาตรการ การป้องกันการเกิดปัญหาที่เราได้แก้ไขปรับปรุงไปแล้วไม่ให้กลับมาเป็นปัญหาซ้ำอีก
เครื่องมือวิเคราะห์ปัญหา Why Why Analysis
3 Tentative Standard หรือ การจัดทำมาตรฐานชั่วคราว ขยายความได้ว่า อะไรก็แล้วแต่ที่เราได้ปรับปรุงไปแล้วใน Step 1,2 แล้วนั้นจะต้องมีการจัดทำ Standard ขึ้นมาใหม่เสมอ เพื่อเป็นการควบคุม การทำงาน ไม่ให้ปัญหานั้นๆ เกิดซ้ำขึ้นมาใหม่นั้นเอง
Control Plan ที่มีการ Revise มาตรฐานชั่วคราวในการทำงาน
แนวทางการกำหนด Tentative หรือ New Standard
4 Equipment Inspection หรือส่วนใหญ่จะเรียกว่า General Inspection ผู้เขียนขอนิยามเองว่า Equipment Inspection แล้วกัน เพราะมันน่าจะตรงกับความหมายในการปฏิบัติที่มากกว่า พอมาถึง Step ที่ 4 พนักงานที่เป็นผู้ใช้เครื่องจักร ต้องเป็นผู้ที่มีทักษะ และมีความชำนาญในการใช้เครื่องจักรนั้นๆ สูงมาก เนื่องจากจะต้องได้รับการอบรมหลักสูตร Module ต่างๆ มาแล้ว ดังนั้น คำว่า Equipment Inspection หมายถึง พนักงานผู้ใช้งานจะต้องเข้าใจโครงสร้างทางกายภาพของเครื่องจักร (Mechanism) อย่างลึกซึ้ง ซึ่งการเข้าใจที่ลึกซึ้งนั้น พนักงานจะต้องรู้โครงสร้างของเครื่องจักร รายละเอียดของ Components part หน้าที่การทำงานของ Component part แต่ละตัว เงื่อนไขที่ดีของเครื่องจักรเป็นอย่างไร เงื่อนไขที่ผิดปกติเป็นอย่างไร ในกรณีที่ผิดปกติ สามารถรับรู้ได้ด้วยสัมผัสต่างๆ ได้ เช่น ตาดู หูฟัง กายสัมผัส เป็นต้น
ขอบคุณตัวอย่างภาพโครงสร้างทางกายภาพของ Pump จาก Noria Cooperation
ตัวอย่าง Cut model
5 Process Inspection การตรวจสอบกระบวนการโดยรวม หลังจากที่เราเข้าใจโครงสร้างทางกายภาพของเครื่องจักรใน Step 4 ไปแล้ว ใน Step 5 เราจำเป็นต้องเข้าใจภาพรวมระหว่าง Process กับ Process หรือระหว่างเครื่องจักรกับเครื่องจักรนั้นเอง หรืออธิบายให้เข้าใจง่ายๆลงไปอีกคือ สิ่งที่เครื่องจักร A และเครื่อง B ทำงานร่วมกัน พนักงานจะต้องทราบว่าเครื่องจักร A Condition เป็นอย่างไร เครื่องจักร B เป็นอย่างไร และ Condition ที่ส่งผ่านกันคืออะไร ถ้าเกิดกระบวนการที่ A ผิดปกติ จะส่งผลกับ B อย่างไร ถ้า B ผิดปกติ A จะรับผลนั้นอย่างไร เป็นต้น ทำให้เห็นว่า ผู้ใช้งานต้องเข้าใจ Process condition และความสัมพันธ์ระหว่าง Process กับ Process เป็นอย่างดี
ตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่าง Process กับ Process
6 Standardization : คือ การกำหนดมาตรฐานในการทำงาน ในที่นี้คือมาตรฐานที่มีการรับรอง การทดลองมาแล้วว่าคือมาตรฐานการทำงานที่พร้อมที่สุด ณ เวลานั้นๆ พร้อมที่จะใช้เป็น ต้นแบบมาตรฐานที่เราสามารถจะขยายผลไปในส่วนงานอื่นๆ มี่มีแนวทางมีรูปแบบที่เหมือนกัน ในที่นี้คำว่ามาตรฐานไม่ได้เจาะจง Focus เฉพาะมาตรฐานการทำงานเท่านั้น แต่รวมถึงมาตรฐานอื่นๆ เช่น มาตรฐานการตรวจสอบ มาตรฐานการหล่อลื่น มาตรฐานทำความสะอาด มาตรฐานการใช้งานและอื่นๆ เป็นต้น
7 Autonomous Management คือ การจัดการ การบำรุงรักษาแบบอัตโนมัติ ถ้าจะขยายความให้เห็นภาพคือ ยังคงดำเนินกิจกรรมตั้งแต่ Step 1-6 อย่างต่อเนื่องด้วยหลักการ Continuous Improvement รวมถึงภาพรวมนโยบายต่างๆ จะต้องมีการยกระดับขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น
จากทั้ง 7 Step ที่กล่าวมาเป็นเพียงพื้นฐานเบื้องต้นเท่านั้น ใน Chapter ต่อๆ มา ผมจะมาอธิบายแตกย่อยแต่ละ Step ว่ามีวิธีการ มีขั้นตอน มีเอกสารที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง ฝากผู้ที่สนใจ ช่วยสนับสนุนติดตามเพื่อเป็นกำลังใจให้ด้วยนะครับบบบ และเจอกันใหม่ Chapter หน้า
บทความ TPM ที่เกี่ยวข้อง :
1. [ Chapter 8 ] Part 1 บันได 7 ขั้นสู่ความสำเร็จของกิจกรรม AM https://www.blockdit.com/articles/5eb7821d2e69d20ca3007e14
2. [ Chapter 8 ] Part 2 บันได 7 ขั้นสู่ความสำเร็จของกิจกรรม AM https://www.blockdit.com/articles/5eb8d1398cf6960ca191cfcc
โฆษณา