10 พ.ค. 2020 เวลา 13:35 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
[ Chapter 8 ] Part 1
บันได 7 ขั้นสู่ความสำเร็จของกิจกรรม AM
ขอบคุณภาพจาก Softbankthai.com
แน่นอนใน Chapter นี้เราจะมาขยายบทความใน Chapter ที่ 7 ที่ผ่านมาในเรื่องการดำเนินกิจกรรม Autonomous Maintenance 7 Step รายละเอียดบทความเก่าด้านล่าง
ก่อนที่เราจะเข้า Step 1-7 ในส่วนของ AM Small group ยังมีจุดเริ่มต้นที่จะต้องปูทางการดำเนินกิจกรรมเบื้องต้นก่อน คือ การทำ AM Pillar ในส่วนของ Manager Model line โดยตามจริงนั้น AM Manager Model ต้องเริ่มตั้งแต่เราประกาศเริ่มทำ TPM ในช่วงการเตรียมการ TPM 12 Step ผู้อ่านสามารถกลับไปดูบทความอ้างอิงได้ตาม Link ด้านล่าง
โดยแนวทางการทำในส่วน Manager Model (Mgr. Model) นั้นจะต้องมีการทำ AM ตั้งแต่ Step 1 จนถึง Step 3 เป็นอย่างน้อย โดยจะต้องมีการกำหนดเครื่องจักรที่จะทำ AM เป็น Model line สำหรับแนวทางการเลือก Model line จะต้องเลือกจากไลน์ที่มีปัญหามากที่สุดในช่วงเวลานั้น หรือตามความเหมาะสม แต่ส่วนมากจะใช้เกณฑ์การเลือกดังที่กล่าวมา หรือเลือกจากข้อมูลสถิติการเกิด Breakdown หรือ Minor stopage ที่สูงผิดปกติจากไลน์อื่นๆ ทั่วไป และจุดสำคัญในการเลือกทีมงานสำหรับ Manager model, Small group นั้นจะต้องเป็นทีมผู้บริหารหน่วยงาน เพื่อมาเป็นทีมงานพิเศษในการทำ เช่น ผจก.ฝ่ายผลิต ,ผจก.ฝ่ายซ่อมบำรุง ,ผจก.ฝ่ายคุณภาพ เป็นต้น
เหตุผลที่ต้องเป็นทีม ผจก. คือ เป็นการแสดงให้เห็นบทบาทแนวทางการทำ AM ที่ถูกต้อง สร้างความมุ่งมั่น ความจริงใจในกิจกรรม AM และสร้างขวัญกำลังใจ ให้กับเหล่าพนักงานเกิดความตระหนักถึงความสำคัญและการเอาจริงเอาจังผ่านความตั้งใจในการปรับปรุง ในการคืนสภาพจากทีม ผจก. รวมถึงความสำเร็จที่จะแสดงเป็นตัวอย่างกับ Small group อื่นๆ ที่จะมีการจัดตั้งขึ้นมาในอนาคต เพื่อเป็นเส้นทางที่ถูกต้องในการนำพาแนวทางการปฏิบัติจาก Tentative standard ที่มีการกำหนดไว้ในส่วนของ Manager model นั้นเอง
สิ่งที่พลาดไม่ได้ในส่วนของ Mgr.Model คือ ความผิดพลาดความล้มเหลว จะให้เกิดขึ้นไม่ได้โดยเด็ดขาด เพราะว่า มันจะเกิดคำถามขึ้นมาทันทีว่า ระดับผู้จัดการยังทำไม่ได้ ยังล้มเหลว แล้วจะมาหวังอะไรกับ Small group อื่นๆ ที่กำหนดขึ้นมาจากทีมฝ่ายปฏิบัติการเท่านั้นหรือ
เอาละต่อจากนี้เราก็เริ่มเข้ามาในส่วนของ AM 7 step ในส่วนของ AM Small group (AM SG) กันซักที เริ่มจาก
Step 0 : ขั้นเตรียมการ สำหรับขั้นตอนนี้คือขั้นก่อนการเริ่มต้น โดยจะเริ่มการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ดังนี้ โดยจะขออธิบายมาเป็นข้อๆ เพื่อจะได้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
1) การจัดตั้ง Small group คือ การกำหนดหน้าที่ของพนักงานในการรับผิดชอบการปรับปรุงเครื่องจักรหรือพื้นที่ที่รับผิดชอบ โดย 1 SG จะมีพนักงานอยู่ ประมาณ 8-10 คน เพราะฉะนั้นการจะกำหนด Small group ได้ ในเสา AM จึงต้องมีการกำหนด AM Overlaping Small Group เรียบร้อยแล้วเท่านั้น
2) การกำหนดพื้นที่การดูแลของหน่วยงาน AM รวมถึงจำนวนเครื่องจักรที่มี มีการแบ่งจำนวนชัดเจน เพื่อให้ง่ายต่อการแบ่งสัดส่วนให้กับ SG ดูแล รวมถึงมีการแยก Category ของ Equipment และ Machine ออกมาให้ชัดเจนที่สุด เป็นจำนวนที่จับต้องได้ เช่น ประเภท Pump มีเท่าไหร่ จุดไหนบ้าง ประเภทลักษณะการทำงาน มีกี่ประเภท เป็นต้น
3) การฝึกอบรมทักษะ TPM รวมถึง AM พื้นฐานให้กับ TPM Member ในเรื่องที่เกี่ยวข้องต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการทำกิจกรรม
4) Know my machine คือ การส่งเสริมทักษะ การฝึกอบรมให้พนักงานเข้าใจเครื่องจักรที่ตัวพนักงานรับผิดชอบเบื้องต้น เช่น เครื่องจักรมีหน้าที่อะไร ผลิตอะไร ควบคุมแบบไหน ใช้สารหล่อลื่นชนิดใด วิธีการเติมแต่ละชนิดแตกต่างกันมั้ย จุดอันตรายมีกี่จุด ดังประโยคที่ว่ารู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง การที่เราจะรบกับปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต เราต้องรู้จักสิ่งที่เราใช้ผลิตเสียก่อน ใครคนหนึ่งได้กล่าวไว้ 😁
5) AM Activity board คือ แน่นอนการทำกิจกรรมและแสดงสิ่งที่กิจกรรมดำเนินการง่ายที่สุด ก็คือนำเสนอผ่าน Board กิจกรรม และควรกำหนด layout board ให้จัดเจนว่าอันไหนเตรียมการ อันไหน Step 1 อันไหน Step 2 อันไหน 3 เป็นต้น รวมถึงกำหนด โครงสร้างเนื้อหาที่จะนำเสนอแต่ละ Step ให้สอดคล้องในการอธิบายเล่าเรื่อง และเข้าใจง่ายที่สุด รวมถึงมี Status การผ่าน Step มีการระบุการ Audit มีการลงนามกำกับวันที่ผ่านแต่ละ Step ชัดเจน
ขอบคุณตัวอย่าง AM board Step 1จาก https://leanmanufacturing.online
6) การจัดทำ VFP : Visual feedback photography ถ้าพูดแบบภาษาชาวบ้านก็คือการถ่ายภาพก่อนการปรับปรุง และทำการแก้ไขคืนสภาพเพื่อกำหนดให้เป็น Standard พื้นที่เบื้องต้น ผ่านการ Audit แต่ละครั้ง หรืออาจจะทำอย่างง่ายในรูปแบบ Kaizen (Before/After) ก็ได้
Step 1 : การทำความสะอาดแบบตรวจสอบ เริ่มจากขั้นตอนดังนี้
1) เริ่มจาก Backgroud ปัญหาในหน่วยงานฝ่ายผลิตที่จะเป็นตัวตั้งต้นในการทำกิจกรรมว่ามีอะไรบ้าง ถ้าเราไม่รู้ปัญหา เราก็คงไม่รู้ว่าจะเข้าไปแก้ไขปัญหาอะไร เช่น ปัญหา OEE ไม่ได้ตาม Target ,ปัญหา Minor stoppage ,ปัญหา quality defect ,ปัญหา loss tome จาก 7 Abnormal และปัญหาเกี่ยวกับ Safety เป็นต้น (สำหรับ 7 Abnormal ไว้ part หน้าจะมาเขียนบทความนำเสนออีกครั้ง)
2) การกำหนด KPI ,KAI จากปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อให้เป็นตัวตั้งต้นไว้สำหรับ BM กิจกรรมว่าประสบความสำเร็จหรือไม่
3) แผนการดำเนินกิจกรรมเสา หรือ Master plan คือ การกำหนดทิศทาง การกำหนดแนวทาง หัวข้อและเวลาอย่างชัดเจนเพื่อเป็นการควบคุม กิจกรรมแต่ละขั้นตอนว่าเราจะมีแผนการผ่าน Step แต่ละ Step ด้วยระยะเวลาเท่าใด และต้องทำอะไรบ้างแต่ละ Step
4) มีการจัดทำ Mapping ต่างๆ เช่น
4.1 Tightening map คือ มีการกำหนดแผนที่ บอกตำแหน่งขันแน่นต่างๆ ที่เครื่องจักรว่ามีจุดเสี่ยงจุดไหนหรือไม่ ที่มีโอกาสหลวมคอน หรือขาดเสียหายในขณะที่เครื่องทำงานหรือไม่ เช่น Bolt Nut ที่อยู่ในจุดสั่นไหวตลอดเวลา หรืออยู่ในจุดที่มีความร้อนสูงเสี่ยงที่โลหะจะขยายตัวและหลวมคอนได้เป็นต้น
4.2 Oilling map คือ จุดที่มีการใช้สารหล่อลื่นกับเครื่องจักร ไม่ว่าจะเป็น Oil หรือ grease ต้องระบุชัดเจนว่ามีกี่จุด ตรงไหนบ้าง แต่ละจุดคือสารเคมีอะไร คุณสมบัติเป็นอย่างไร ใช้เพื่อป้องกันอย่างไรเป็นต้น
4.3 Difficult Area map คือ จุดที่เข้าถึงได้ยาก ทำงานได้ยาก ทำความสะอาดได้ยาก จะต้องกำหนดเพื่อทำการแก้ไขปรับปรุง
4.4 Safety map หรือ Risk map คือจุดที่ระบุว่าจุดนั้นๆ คือจุดที่มีความเสี่ยงในการทำงาน ที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้
5) มีการกำหนด check sheet และการแสดงในเรื่องของเวลาการตรวจสอบ และเวลาของการทำความสะอาด โดยเริ่มต้นที่ Step 1 กำหนดเพื่อเป็นตัว BM หลังจากที่ปรับปรุงว่าทิศทางดีขึ้นหรือไม่
6) มีการกำหนด Rank ของเครื่องจักร ว่าแต่ละเครื่องจักรความสำคัญในการทำงานอยู่ใน Rank ใดกันบ้าง เช่น มีเครื่องจักร Rank A กี่เครื่อง B กี่เครื่อง และ C กี่เครื่อง เพื่อเป็นตัวกำหนดความสำคัญในการเข้าไปปรับปรุง (ความหมายของ Machine Rack จะมานำเสนอใน Part หน้า)
7) AM Tag list และ AM tag Graph คือ List รายการที่มีการแขวน Tag ขาวเหลืองแดง ต่างๆ ที่เจอในกระบวนการตรวจสอบเครื่องจักร และที่มีการกำหนดอยู่ใน Map ต่างๆ เป็นต้น โดยหน้าที่ของ Tag แต่ละสีมีดังนี้
Tag ขาว = เป็นสิ่งผิดปกติที่หน่วยงาน AM แก้ไขได้
เอง
Tag เหลือง = เป็น Tag เกี่ยวกับจุดที่ไม่ปลอดภัย
Tag แดง = เป็น Tag ที่ AM SG แก้ไขเองไม่ได้ต้อง
ส่งให้เสา PM มาทำการแก้ไขให้
ตัวอย่าง TPM Tag
8) Kaizen sheet คือ การปรับปรุงตามเงื่อนไขต่างๆ เช่น ปัญหาจาก Map ต่างๆ จาก VFP จาก KAI ที่มีการดำเนินกิจกรรมเป็นต้น
ตัวอย่าง Kaizen Sheet
9) One point Lesson คือ บทเรียนเฉพาะจุด หมายถึงการเขียนคู่มือการสอนงานเป็นบทเรียนสั้นๆ เฉพาะหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง ให้จบภายใน 1 แผ่น เน้นรูปภาพในการอธิบาย มีข้อความอีก 1-2 บรรทัดเท่านั้น
ตัวอย่าง OPL แบบเขียนมือ
ตัวอย่าง OPL sheet ขอบคุณภาพจาก http://www.bigqtraining.com
โดยทุกๆ หัวข้อที่กล่าวมา ถ้าสามารถทำ item list และกราฟนำเสนอ ได้ให้นำเสนอบน AM Activity board เสมอ
นี่เป็นเพียงข้อมูลการดำเนินกิจกรรมพื้นฐานเบื้องต้นสำหรับ Step 1 เท่านั้น ในแต่ละหัวข้อย่อยๆ ยังมีรายละเอียดอีกมากมาย ไว้จะมาต่อให้ใน Part 2 และ 3 ต่อไป หรือสามารรถสอบถามมาในหัวข้อที่สงสัยทิ้งไว้ และจะมาทำบทความอธิบายในครั้งต่อๆ ไปครับ สำหรับ Part นี้ขอจบเพียงเท่านี้ นะครับ....
ฝากติดตามเพื่อเป็นกำลังใจในการเขียนบทความต่อๆ ไปด้วยนะครับ
บทความ TPM ที่เกี่ยวข้อง
1. [ Chapter 8 ] Part 2 บันได 7 ขั้นสู่ความสำเร็จของกิจกรรม AM https://www.blockdit.com/articles/5eb8d1398cf6960ca191cfcc
ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์ช่วยสนับสนุนดาวด้วยนะครับ
โฆษณา