Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ฉุดคิด
•
ติดตาม
10 พ.ค. 2020 เวลา 05:54 • ความคิดเห็น
เคยคิดรึเปล่าว่า ทำไมปัญหาที่เราเจอ ๆ กันในทุกวันนี้ มันถึงแก้ไม่หมดสักที??
หรือเพราะว่า คนที่คิดแก้ปัญหา นั่นคือคนที่นั่งอยู่แต่ในห้องแอร์ และไม่เคยออกมารับฟังเสียงที่แท้จริง ตามท้องถนนเลย พอออกวิธีแก้ปัญหา มาสักที มันเลยไม่ตอบโจทย์ และแก้ปัญหาได้จริง ๆ
กรุงเทพฯ รถติด ยังไง ก็ยังคงเป็นอย่างนั้น มาตลอดไม่เคยเปลี่ยน ถึงแม้ ช่วงเวลาที่ผ่านมา จะมีการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อแก้ปัญหามากมาย เช่น สะพาน ทางด่วน อุโมงค์ รถไฟฟ้า
แต่ทำไม ปัญหานี้ไม่เคยหายไป??
หรือจะปัญหา ลอตเตอรี่ที่ขายเกินราคา ทำไม ถึงแก้ไม่ได้ซักที ทั้ง ๆ ที่ ออกกฎหมายก็แล้ว ควบคุมก็แล้ว แต่ปัญหานี้ก็ไม่เคยหมดไปอีกเช่นกัน
ไม่ว่าจะในอดีตหรือในปัจจุบัน ภาพที่เราเห็น มักจะเป็น แบบเดิม ๆ ปัญหาที่เกิดขึ้น ก็ยังเป็นแบบเดิม ๆ ซะส่วนใหญ่ เหตุผลนั่นก็เพราะ ว่าเราไม่รู้จักการนำ Empathize มาใช้สักที!!!
หลายคนคงจะงง ว่า Empathize คืออะไร มาครับ จะอธิบายให้ฟัง
คิดว่า น่าจะเคยได้ยินคำว่า Design Thinking มากันบ้าง Empathize คือหนึ่งในขั้นตอนของกระบวนการ Design Thinking ซึ่งเป็นขั้นตอนที่เรียกว่าสำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ บทความนี้ผมจะไม่มานั่งอธิบายว่า กระบวนการทั้งหมดมันคืออะไร แต่จะขอพูดถึงแค่ Empathize อย่างเดียว
กระบวนการ design thinking
Empathize (อ่านว่า เอม-พา-ไทซ์) แปลเป็นไทยได้ว่า เข้าอกเข้าใจ <<< คำนี้น่าจะตรงตัวมากที่สุด
และทำไมต้องเข้าอกเข้าใจ แค่เข้าใจอย่างเดียวไม่ได้หรอ??
คำตอบคือไม่ได้ครับ เพราะมันไม่ลึกพอ
ต้องถึงขั้นเข้าอก เข้าใจ คือ การคิดและก็รู้สึกไปเลยว่า เราคือตัวของเขาจริง ๆ
ถ้าเป็นแบบนั้น เราจะเข้าอก เข้าใจ เขาได้มากกว่า เพราะบางที แค่เข้าใจมันยังไม่พอ
ต้องไปสวมบทบาทเป็นตัวเขาเลย เช่น จะแก้ปัญหาวินมอเตอร์ไซค์ ก็ต้องลองไปขับดูเองจริง ๆ ว่าเจอปัญหาอะไรบ้าง
เพื่อให้ เข้าใจกับคำนี้มากยิ่งขึ้น ขอยกตัวอย่างเพิ่มเติมนะครับ
มี ผู้หญิงวัยกลางคน คนหนึ่ง ที่กำลังหาสินค้า เกี่ยวกับ หน้ากากอนามัย หรือ Face shield ถุงมือ และอื่น ๆ สำหรับใช้ในช่วง Covid นี้ ซึ่ง ก็ไม่น่าจะแปลกใช่ไหมครับ
คำถามคือ ถ้าเราจะช่วยผู้หญิงคนนี้ จะทำยังไงครับ??
คำตอบ ก็น่าจะประมาณ แนะนำร้านให้ หรือซื้อของมาให้ หรือส่งไปให้ฟรี ๆ เลย แค่นั้นก็น่าจะช่วยผู้หญิงคนนั้นได้
แต่นี่คือสิ่งที่พวกเราเจอมาทั้งชีวิตครับ คือการช่วย แบบไม่มีความเข้าใจ
ถ้าจะไปให้ถึง Empathize ต้องถามให้เยอะขึ้น และลึกขึ้นอีก ยิ่งเป็นคำถามปลายเปิดให้เขาเล่าเรื่องได้ยิ่งดี
ดังนั้นผมจึงถามผู้หญิงคนนั้นไปอีกว่า แล้วต้องการหาของพวกนี้ไปทำอะไร??
คำตอบ ก็ได้กลับมาว่า เพราะเขาต้องออกจากบ้าน ไปทำธุระ เลยต้องหาเพื่อป้องกัน
ในตอนนี้ ผมจะขอแวะถาม กับทุกคนอีกครั้ง เราจะช่วยผู้หญิง ที่ต้องการออกจากบ้านในช่วง Covid นี้ยังไงได้บ้าง??
คราวนี้ คำตอบน่าจะหลากหลายมากขึ้น อาจจะมีอุปกรณ์ ที่เพิ่มออกมา อย่างเช่น ใส่ชุดหมี หรือเสื้อกันฝนคลุมทั้งตัว หรือ ใส่ถุงมือ+face shield (สังเกตได้ว่า คำตอบที่มีจะเริ่มเปิดกว้างมากขึ้น)
และผมก็จะถามไปอีกว่า แล้วที่ออกไปทำธุระนั้น ไปทำเรื่องเกี่ยวกับอะไร??
คำตอบคือ ไปทำธุรกรรม กับหน่วยงานราชการ
แล้วผมก็จะถามไปอีกว่า หน่วยงานที่ว่าคืออะไร ในเรื่องไหน?? และถามลึกไปอีก จนกว่าจะรู้ว่าความต้องการที่แท้จริง ของผู้หญิงคนนี้คืออะไร??
ซึ่งสรุปว่า เขาต้องการที่จะไปต่อทะเบียนรถ ที่ขนส่ง
สุดท้าย ผมจึงแนะนำไปว่า แค่เข้าเวปไซต์ และก็พิมพ์ข้อมูลตรงนี้ ตรงนี้ โอนเงินผ่าน application ของธนาคาร แค่นั้น เราก็รอทะเบียนให้มาส่งที่บ้านได้เลย
เห็นไหมครับ สรุปสุดท้ายแล้ว จากคนที่หาซื้ออุปกรณ์ป้องกัน เชื้อโรค ในตอนแรก
กลายมาเป็น ต้องการต่อทะเบียนรถ และเราก็ได้วิธีการที่ทำให้เขาไม่ต้องเสียเงินสักบาท เพื่อซื้อ แถมยังแก้ปัญหาได้
นี่แหละครับคือ ผลของการที่เรา Empathize
ขั้นตอนต่อไปหลังจากที่ได้เรื่องราวหรือความรู้สึกมาแล้ว บางทีก็เป็นโจทย์หลัก ๆ เลย เราต้องนำมา Define หรือค้นหาความต้องการที่แท้จริงของเขาต่อ เราถึงจะได้ กรอบของปัญหาแบบใหม่ ๆ
ลองคิดกลับดูสิครับว่า ในแต่ละคำถาม โจทย์ในการแก้ปัญหามันเปลี่ยนไปรึเปล่า
ตอนแรกเราช่วยแนะนำร้านให้เขา เมื่อรู้ว่าต้องการจะซื้อ
ต่อมาเราจะแนะนำว่าควรปฎิบัติยังไง ถึงจะปลอดภัย เมื่อรู้ว่าต้องออกนอกบ้าน
ต่อมาเราอาจจะแนะนำว่าไปถนนเส้นไหนจะถึงเร็ว เมื่อรู้สถานที่
ต่อมาเราอาจจะหาวิธีให้เขาต่อทะเบียน online อย่างง่าย ที่สุด เมื่อรู้ว่าแท้จริงแล้วเขาต้องการต่อทะเบียนรถ
กรอบของปัญหามันจะเปลี่ยนไปทุก ๆ ครั้งที่เราเข้าไปลึกมากขึ้น เข้าใจเขามากขึ้น และสุดท้าย ถึงขั้นที่เข้าอกเข้าใจอย่างแท้จริง
คราวนี้เรามาลองดูเคสจริง
ทำไม กรุงเทพฯ ถึงรถติด??
ปัญหาหลัก ๆ เลยเกิดมาจาก คนส่วนใหญ่ใช้รถส่วนตัว และนั่นก็นำไปสู่ปัญหา หนี้ที่เกิดขึ้นกับตัวบุคคลอีกด้วย
เมื่อย้อนถามกลับไป จริง ๆ เรามักจะพบว่า เหตุผลที่คนส่วนมากซื้อรถยนต์ และขับไปทำงาน นั้นมีแค่ อย่างเดียว นั่นคือ เพราะมันสะดวกสบายมากกว่า
คราวนี้ผมขอถามผู้อ่านทุกคนดูหน่อยและกันว่า ระหว่างคำถาม 2 ข้อนี้ อันไหนที่คุณจะคิดคำตอบได้หลากหลายมากกว่ากัน??
1. ทำยังไงให้รถในกรุงเทพฯ ไม่ติด??
กับ
2. ทำยังไงที่จะทำให้การเดินทางของคนในกรุงเทพฯ นั้นสะดวกสบาย??
ผมว่า มันน่าจะเป็นข้อที่ 2 นะ เพราะข้อแรก เรามักจะไปยึดติดกับคำว่ารถ แต่ในข้อที่ 2 มันคืออะไรก็ได้ เผลอ ๆ เราอาจจะได้ไอเดีย เจ๋ง ๆ ออกมาก็ได้ สำหรับในความคิดแบบ ที่ 2 ก็เป็นได้
กรอบความคิดในแก้ปัญหา นั้นจะเปลี่ยนไปตามคำถามที่ให้ แค่ตั้งคำถามผิด คำตอบมันก็ไม่มีวันถูกแล้วครับ
ที่ผ่านมา ผมคิดว่าเขาคงไม่ได้ตั้งคำถามแบบข้อ 2 สักเท่าไหร่ เพราะมัวแต่ไปสร้าง อุโมงค์ข้ามแยก สะพานข้ามแยก เพิ่มทางด่วน สร้างรถไฟฟ้า
จนลืมไปว่า ต่อให้สร้างอีกมากแค่ไหน ถ้ามันไม่ตอบโจทย์ คำว่า "สะดวกสบาย" คนเขาก็ยังใช้รถส่วนตัวในการไปทำงานอยู่ดี
สร้างถนน มากขึ้น ทางด่วนมากขึ้น รถจะโล่งขึ้นในตอนแรก สุดท้ายก็กลับมาติดอยู่ดี เพราะอะไรหรอ?? เพราะว่า Google map แนะนำแต่ถนนสีเขียวให้คุณวิ่งมากกว่าสีแดงยังไงหละครับ
เมื่อมันโล่ง ก็จะมีคนมาใช้ จนในที่สุดมันก็แน่น และก็ติด เหมือนเดิมนั่นแหละ!!
**กรณีรถไฟฟ้าถือว่าตอบโจทย์พอสมควร แต่ก็ยังไม่ทั้งหมด เพราะว่ายังมีคนที่ บ้านห่างไกลจากสถานี ต้องต่อรถหลาย ครั้งเพื่อจะมาขึ้นรถไฟฟ้า และที่สำคัญ ค่ารถรวมทั้งหมดแล้ว มันก็แพง พอ ๆ กับที่เขาผ่อนรถ+น้ำมันในแต่ละเดือน นั่นเองจึงไม่ตอบโจทย์ คำว่า "สะดวกสบาย" ในมุมมองของหลาย ๆ คน
ข่าวรถไฟฟ้าสายสีม่วงขาดทุน
ดังนั้นมันจึงไม่ได้เคยแก้โจทย์ที่ตั้งมา และปัญหาที่เคยมีก็ไม่ได้หมดไป
หากผู้ที่มีอำนาจแก้ปัญหา นั้นลองไป Empathize ผู้คนที่ใช้งานจริง ๆ ดูสักหน่อยหละก็ ผมว่าปัญหาที่มี มันก็คงถูกแก้ไปได้นานแล้ว
เราเคยเห็น รมต. คนไหนขึ้นรถไฟฟ้าไปประชุมด้วยตัวเองรึเปล่าหละครับ
เน้นย้ำคำว่าด้วยตัวเองนะครับ แบบไปคนเดียวไม่ต้องมีคนติดตาม ทำเองทุกขั้นตอนตั้งแต่แลกเหรียญแล้วก็ซื้อตั๋ว คิดว่าน่าจะไม่เคยเห็นใช่ไหมครับ
นั่นแหละครับ ตรรกะมันเลยได้ผิดเพี้ยนไปจากความจริง
เพราะความจริง คนที่มีอำนาจทั้งหลายแหล่ ไม่ได้รับรู้ปัญหาที่แท้จริง เห็นแต่เพียงตัวเลข ภาพ หรือข้อมูลประกอบการตัดสินใจ แล้วจึงสั่งการแก้ปัญหา แต่ไม่ได้ลงมาเพื่อสัมผัสกับวิถีชีวิตจริง ๆ เลยสักคน
แต่ถ้าวันใดที่ ท่าน ๆเหล่านั้น ได้มาสัมผัสด้วยตัวเองแล้ว บางทีมุมมอง ความคิดทัศนคติ ที่เคยมองมันอาจจะเปลี่ยนไปก็ได้
ดังคำที่ พระพุทธเจ้าท่านเคยบอกไว้ว่า "หากไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงของทุกข์ แล้วจะดับทุกข์นั้นได้อย่างไร"
อยากให้ทุกคน รู้จัก และ เข้าใจใน Empathize มากขี้นนะครับ เพราะนี่ คือหนึ่งใน Future Skill ที่คนจะต้องมีในอนาคต เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องใช้ในโลกแห่งนี้ ไปอีกนาน
สุดท้ายนี้ผมของฝาก ลิงค์ สำหรับเรียน Design Thinking แบบฟรี ๆ กันไว้ให้นะครับ
สำหรับใครที่สนใจ คลิกได้เลย
phonlamuangdee-academy.teachable.com
พลเมืองดี(จิทัล)
พื้นที่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
บอกเลยว่า คุ้ม!! เพราะคนที่สอน ก็คือ คุณ ต้อง กวีวุฒิ เจ้าของเพจ 8 บรรทัดครึ่งนี่แหละ และที่สำคัญ หลักสูตรดี ๆ แบบนี้ ไม่ค่อยมีแบบฟรี ๆ มาให้เห็น ขอแนะนำให้กับทุกคน ว่าควรที่จะเรียนเป็นความรู้ ให้กับตัวเองไว้ครับ
10 บันทึก
60
22
16
10
60
22
16
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย