13 พ.ค. 2020 เวลา 11:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
[ Chapter 9 ]
IE Method เพื่อการ Kaizen อย่างมีประสิทธิภาพ
ขอต้อนรับผู้อ่านทุกท่านและขอบคุณสำหรับการติดตาม Page น้อยๆ Page หนึ่ง เรามาเจอกันอีกครั้งใน Chapter ที่ 9 กับบทความ TPM ที่ชี้ชัดและจัดให้แบบเต็มๆ
จาก Chapter 8 - Part 2 มีการพูดถึงวิธีการปรับปรุงโดยใช้ IE Method ด้วย ECRS วันนี้เราจะมาขยายความให้สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้จัก หรือรู้จักแต่อาจจะยังไม่เข้าใจหลักการวิธีการใช้ที่ถูกต้อง วันนี้เราจะมาเปิดความลับเครื่องมือที่มีชื่อว่า E C R S กัน ผู้เขียนจะอธิบายด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายที่สุด แบบจัดเต็มไม่มีกั๊ก
ซึ่ง เครื่องมือในส่วนของ IE Method เท่าที่ทราบและได้ใช้งานกันมา ผู้เขียนคิดเองว่าน่าจะ... ย้ำว่าน่าจะมี 5 เครื่องมือหลักๆ ดังนี้ ถ้าท่านใดมีเพิ่มสามารถ Comment มาแนะนำกันได้ครับ บ้างเครื่องมือผู้เขียนอาจไม่เคยได้ใช้งานจึงทำให้ตกหล่นไปได้ เริ่มจาก
1) ECRS
2) 5W1H
3) Motion Study
4) Motion Economic
5) Line balance analysis
ในบทความนี้ จะมาพูดถึงเฉพาะ ECRS เท่านั้นส่วนหัวข้ออื่นๆ สามารถติดตามได้ใน Chapter ต่อๆ ไปครับ
คำว่า IE Method หรือ Industrial Engineering Method นั้นเอง คือเทคนิคที่เกิดขึ้นมาเพื่อช่วยผู้ปฏิบัติงานทำงานได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น สบายขึ้น ต้นทุนต่ำ โดยที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็เพื่อจะลดความสูญเปล่า (Waste) หรือ Muda Muri Mura นั้นเอง
ภาพประกอบหลักการ 3MU
และ ECRS นิยามกันง่ายๆ ก็คือ 4 เครื่องมือหลักในการทำ Kaizen นั้นเอง ,ทำไม ECRS ถึงนิยมใช้ในการทำ Kaizen มาดูกันเลย เริ่มจาก
1. การกำจัด (Eliminate : E) หรือการทำให้งานนั้น “ไม่มี” ได้หรือไม่ จากเครื่องมือ 4 ตัวนี้ ในกรณีที่พบปัญหา หรือ Loss จากกระบวนการทำงาน สิ่งแรกที่ต้องคิดจะปรับปรุงหรือทำให้ Loss หายไป วิธีที่ดีที่สุดคือกำจัดทิ้งไปซะ ถ้าเราไม่สามารถที่จะกำจัดได้จริงๆ เราถึงจะมองหาเครื่องมือตัวอื่นๆ ต่อไป
2. การรวมเข้าด้วยกัน (Combine : C) คือ ถ้าหากเรากำจัด Loss นั้นให้หมดไปไม่ได้ ก็ลองเปลี่ยนวิธีการหาวิธีที่จะรวมกระบวนการ หรือวิธีการนั้นเข้าด้วยกัน ได้หรือไม่ เช่น การรวมขั้นตอน 2 ขั้นตอน ที่ทำงานเหมือนกัน ผลลัพท์เหมือนกันรวมเป็นขั้นตอนเดียว เป็นต้น
3. การปรับเปลี่ยน (Rearrange : R) คือถ้าหากเราไม่สามารถ รวมเข้าด้วยกันได้ เราสามารถปรับเปลี่ยนได้หรือไม่ เช่น ปรับเปลี่ยนลำดับของกระบวนการทำงาน เป็นต้น
4. การทำให้ง่ายขึ้น (Simplify :S) คือถ้าหากไม่สามารถเปลี่ยนลำดับการทำงาน หรือกระบวนการได้ เราสามารถที่จะทำให้ง่ายขึ้นได้หรือไม่ เช่น การจัดตำแหน่งสิ่งของ เปลี่ยนแปลงพื้นที่ เป็นต้น
Trick : จากคำนิยายของเครื่องมือดังกล่าว ตามประสบการณ์ของผู้เขียน การนำไปแก้ไขปัญหาร่วมกันกับเครื่องมือการวิเคราะห์ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุดเครื่องมือหนึ่งคือ การนำ ECRS ไปใช้กับ Makigami หรือเรียกอีกอย่างว่า Roll paper analysis ในแง่ของการลด Loss ในกระบวนการทำงาน จาก Work flow process chart นั้นเอง
หลักการ 3MU
Note : ขยายความเพิ่มเติมในส่วนหลักการ 3 MU
1 Muda หรือ Waste หรือความสูญเปล่า หมายถึงการสูญเสีย สูญเปล่าในกระบวนการผลิต กระบวนการทำงาน จากรูปสิบล้อคันที่ 1 จะเห็นว่ายังมีพื้นที่เหลือบนรถส่งสินค้า จากกรณีนี้สิ่งที่เกิดขึ้นคือ รอบการขนส่งต่อหนึ่งรอบปกติควรบรรทุกก้อนหินได้ 2 ก้อน ก้อนละ 200 หรือ 250 kg แต่กับบรรทุกก้อนหินมาแค่ก้อนเดียว ทำให้เกิดความสูญเปล่าจากการขนส่ง
ตัวอย่างการทำงานที่เกิดความสูญเปล่า
2 Muri หรือ Imbalance หรือการทำงานที่ไม่สม่ำเสมอจากรูปรถสิบล้อคันที่ 2 จะเห็นว่าในการบรรทุกสินค้าบนรถ ปกติควรจะบรรทุกหินได้ 3 ก้อนโดยน้ำหนักแต่ละก้อนควรจะเท่ากัน แต่จากตัวอย่างหินสามก้อนที่บรรทุกปริมาณการขนเพื่อส่งสินค้าไม่เท่ากัน ทำให้เกิดความสูญเปล่าเกิดขึ้น
ตัวอย่างการทำงานที่เกิดความสูญเปล่าจากการทำงานไม่สม่ำเสมอ
3 Muri หรือ Overload หรือการทำงานเกินกำลัง คือการทำงานที่เกินขีดความสามารถของตัวเอง ของเครื่องจักร ซึ่งอาจส่งผลต่อการบาดเจ็บ ,อุบัติเหตุ ,หรือ loss จากการเสียหายได้ ดังตัวอย่างรถสิบล้อที่บรรทุกหินที่หนักเกินกำลังหรือขีดความสามารถการบรรทุก อาจส่งผลให้ยางระเบิดได้ หรือขับเคลื่อนได้ช้าลง เป็นต้น
ตัวอย่างความสูญเสียจากการทำงานเกินกำลัง
จากบทความข้างต้นผู้เขียนหวังว่าจะเป็นประโยชน์สูงสุดกับผู้อ่านในการนำไปใช้งาน
เพื่อเป็นกำลังใจสำหรับบทความต่อๆ ไป ช่วยติดตามและแชร์บทความด้วยนะครับ
บทความ TPM ที่เกี่ยวข้อง
1. [ Chapter 8 ] Part 2 บันได 7 ขั้นสู่ความสำเร็จของกิจกรรม AM https://www.blockdit.com/articles/5eb8d1398cf6960ca191cfcc
2. 10 อุตสาหกรรมที่เติมโตเร็วที่สุดในอเมริกา โดยเทียบกับเปอร์เซ็นต์การเติมโตด้านรายได้ (%) ปี 2563 !!! https://www.blockdit.com/articles/5eb97d1ce4634f0cc45740eb
โฆษณา