Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นักอุตสาหกรรม
•
ติดตาม
14 พ.ค. 2020 เวลา 11:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
[ความแตกต่าง] ระหว่างวิกฤติ ต้มยำกุ้ง แฮมเบอร์เกอร์ และ Covid-19 ที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในประเทศไทย
เริ่มจากวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย หรือเรียกทั่วไปในประเทศไทยว่า “วิกฤตต้มยำกุ้ง” เป็นช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงินซึ่งส่งผลกระทบถึงหลายประเทศในทวีปเอเชียเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540 ก่อให้เกิดความกลัวว่าจะเกิดการล่มสลายทางเศรษฐกิจทั่วโลกเนื่องจากการแพร่ระบาดทางการเงิน
วิกฤตดังกล่าวเริ่มขึ้นในประเทศไทย เมื่อค่าเงินบาทลดลงอย่างมากอันเกิดจากการตัดสินใจของรัฐบาลไทย ซึ่งได้ลอยตัวค่าเงินบาท ตัดการอิงเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ หลังจากความพยายามทั้งหมดที่จะสนับสนุนค่าเงินบาทเมื่อเผชิญกับการแผ่ขยายแบบเกินเลยทางการเงิน (Financial overextension) อย่างรุนแรง โดยเฉพาะส่วนขับเคลื่อนอสังหาริมทรัพย์ ในเวลานั้น ประเทศไทยมีภาระหนี้สาธารณะซึ่งทำให้ประเทศอยู่ในสภาพล้มละลาย ในแง่อุตสาหกรรมก็ได้รับผลกระทบจำนวนมากจากภาวะค่าเงินที่อ่อนตัวลงอย่างมาก ทำให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบสูงขึ้นตามตัว
วิกฤติต้มยำกุ้ง 2540
วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ หรือ วิกฤติซับไพรม์ และยังรู้จักกันในชื่อ วิกฤติสินเชื่อด้อยคุณภาพ (ในประเทศไทยอาจเรียกว่า วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์) เป็นปัญหาเศรษฐกิจที่ปรากฏให้เห็นชัดในช่วงปี พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2551 จุดเด่นของวิกฤตินี้คือการที่ความคล่องตัวของตลาดสินเชื่อทั่วโลกและระบบธนาคารลดลง ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากความซบเซาของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา การกู้ยืมและการให้กู้ยืมที่มีความเสี่ยงสูง และระดับหนี้สินของบริษัทและบุคคลที่สูงเกินไป วิกฤติครั้งนี้มีผลหลายขั้นและค่อย ๆ เผยให้เห็นความอ่อนแอในระบบการเงินและระบบการควบคุมทั่วโลก
วิกฤติครั้งนี้เริ่มจากการที่ภาวะฟองสบู่ในตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐอเมริกาแตกและการผิดชำระหนี้ของสินเชื่อซับไพรม์และสินเชื่อดอกเบี้ยลอยตัว ที่เริ่มต้นขึ้นในช่วง พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2549 ผู้กู้ยืมนั้นกู้ยืมสินเชื่อที่เกินกำลังโดยคิดว่าตนจะสามารถปรับโครงสร้างเงินกู้ได้โดยง่าย เพราะในตลาดการเงินนั้นมีมาตรฐานการปล่อยกู้ที่ต่ำลง ผู้ปล่อยกู้เสนอข้อจูงใจในการกู้ยืม เช่นเงื่อนไขเบื้องต้นง่าย ๆ และแนวโน้มราคาบ้านที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ทว่าการปรับโครงสร้างเงินกู้กลับเป็นไปได้ยากขึ้นเมื่ออัตราดอกเบี้ยเริ่มสูงขึ้นและราคาบ้านเริ่มต่ำลงในปี พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2550 ในหลายพื้นที่ในสหรัฐ การผิดชำระหนี้และการยึดทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อหมดเงื่อนไขเบื้องต้นอย่างง่าย ราคาบ้านไม่สูงขึ้นอย่างที่คิด และอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเริ่มสูงขึ้น การยึดทรัพย์สินในสหรัฐเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2549 และทำให้ปัญหาทางการเงินนั้นแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วทั่วโลกในปี พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2551
Hamburger Crisis
และวันนี้วิกฤติไวรัส Covid-19 หรือ ไวรัสอูฮั่น ที่มีสายพันธ์มาจาก Corona Virus ต้นกำหนดมาจากเมืองอู่ฮั่นประเทศจีนช่วงประมาณปลายเดือนธันวาคม 2562-ปัจจุบันนี้ ซึ่งส่งกระทบเป็นวงกว้าง โดยเริ่มจากประเทศจีนที่พบเชื้อ ต่อด้วยประเทศไทยเป็นประเทศที่สอง และก็ลามจนทุกวันนี้ครอบคุมไปเกือบทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งไวรัสได้มีรูปแบบและความรุงแรงที่ถูกส่งผ่านวิวัฒนาการทางโครงสร้างและรูปแบบต่างๆ มาจากรุ่นพ่อ รุ่นปู่ ของพวกมันเอง แน่นอนสามเหตุการณ์สามช่วงเวลาที่เกือบจะลงล็อกทุกๆ 10 ปีในการเกิดปัญหาป่วนโลกอันบอบบางใบนี้
Covid-19 Virus Crisis
แต่ถ้าเราเจาะลึกลงไปที่ปัญหาอย่างจริงจัง เราจะพบว่า ไม่ว่าวิกฤติโลกจะใหญ่รุนแรงขนาดไหน ผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้ง 2 ครั้งระหว่างต้มยำกุ้ง และแฮมเบอร์เกอร์นั้นเรายังสามารถที่จะเดินและมีหนทางที่จะเดินต่อ ถึงแม้จะขรุขระบ้างก็ตามอันเนื่องมาจากวิถีชีวิต เรายังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ถึงแม้ด้านการเงิน ด้านเศรษฐกิจจะเจ็บลึกแค่ไหน เราก็สามารถหลุดรอดและผ่านมันไปได้ทั้งสองครั้งโดยผลกระทบที่เกิดขึ้น ถึงจะหนักแต่ก็ไม่ได้หนักถึงกับไปต่อไม่ได้
แต่กับวิกฤติ Covid-19 นี้แตกต่างออกไป ถึงแม้มันจะไม่ได้เริ่มจากปัญหาด้านการเงิน ด้านเศรษฐกิจ แต่ไม่น่าเชื่อ เจ้าวิกฤติตัวนี้กับส่งผลทางเศรษฐกิจรุ่นแรงกว่า 2 ครั้งที่ผ่านมา ทำไมนะหรือ คือ
1) เกิดการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตมนุษย์ในขั้นที่เรียกว่ารุนแรงที่สุดเท่าที่ผู้เขียนได้ผ่านมา แน่นอนการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้เกิดแค่วงแคบๆ ในจังหวัด ในประเทศ หรือในโซนทวีป แต่มันขยายวงกว้างไปทั่วโลก รวมถึงวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ยิ่งส่งผลกับการฟื้นตัวกลับมาให้เป็นปกติได้ยากมากๆ เนื่องจากเกิดการ Shutdown ทุกองค์กรเป็นวงกว้าง
2) เปลี่ยนแปลงรูปแบบของโครงสร้างธุรกิจแบบเก่าๆ ซึ่งไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้ ในปัจจุบันที่ได้รับผลจากการเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตของมนุษย์ไปแล้วจากผลกระทบทาง Virus Covid-19
3) แนวทางการฟื้นตัวที่ไม่ได้มีผลจากการกระตุ้นหรือลงทุน หรือออกนโยบายทางเศรษฐกิจ แต่กับเป็นว่าต้องรอผลจากเทคโนโลยีทางการแพทย์ในเรื่องของยารักษาและวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัส
ซึ่งจากผลกระทบดังกล่าวทำให้ปัจจุบันมีหลากหลายธุระกิจตอนนี้ได้รับผลกระทบนั้นเรียบร้อยแล้ว ตัวอย่างเช่น
1. ธุรกิจท่องเที่ยว
2. ธุรกิจการบิน
3. ธุรกิจโรงแรมที่พัก
4. ภาคอุตสาหกรรม ก็ได้รับปัญหานั้นไม่แพ้กันโดยเฉพาะธุรกิจผลิตรถยนต์ ณ วันนี้ 100% บริษัทประกอบรถยนต์ คิดมูลค่าความเสียหาย ณ วันนี้น่าจะมากกว่า 100,000 ล้านบาทเข้าไปแล้ว จากระยะเวลา 5 เดือนที่ผ่านมา และยังไม่มีทีทาจะกลับคืนสู่สภาพปกติ ทำให้หลายๆ บริษัทเริ่มมีมาตรการหลายอย่างที่ส่งผลโดยตรงกับแรงงานภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ไปเรียบร้อยแล้วในวันนี้
จากวิกฤติที่เกิดขึ้นทางผู้เขียนหวังว่ามันจะกลับคืนมาปกติในเร็ววัน และผลกระทบที่เกิดขึ้นขอให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด และเป็นกำลังใจกับผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติครั้งนี้ ให้สู้และผ่านมันไปให้ได้
ขอบคุณที่ติดตามเพจเล็กๆ และเป็นกำลังใจในการเขียนบทความที่เป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย..สวัสดีครับ
บทความ TPM และบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
1. [ Chapter 9 ]IE Method เพื่อการ Kaizen อย่างมีประสิทธิภาพ
https://www.blockdit.com/articles/5ebac94e619e280c97b6bb22
2. [ Chapter 2 ] : 5 ปัจจัยที่ส่งผลให้กิจกรรม TPM ไม่ประสบผลสำเร็จ
https://www.blockdit.com/articles/5eba3f732174e80cbaf66635
3. [ Chapter 1] Beginnings TPM Activity
https://www.blockdit.com/articles/5eba1acc9801350cae642ab0
4 บันทึก
8
8
4
8
8
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย