17 พ.ค. 2020 เวลา 03:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
[ Chapter 11 ] เปิดความลับ : การค้นหาความสูญเสียด้วย Loss-Cost Matrix (Part 2)
ส่วนที่ 2 Loss ที่เป็นอุปสรรคต่อประสิทธิภาพการทำงานของคน ประกอบด้วย
1. Management loss คือ Loss ที่เกิดจากการรอคอยจากการตัดสินใจที่ล่าช้า ของฝ่ายบริหาร เช่น การรอคอยชิ้นส่วนเครื่องจักร การรอคอยวัตถุดิบการผลิต รวมถึงการสั่งการและการวางแผนงานต่างๆ เราสามารถวัดได้อย่างไรว่าสิ่งที่เราพบนั้นคือ Loss ที่เป็นอุปสรรคกับการสร้างประสิทธิภาพกับคน จากประสบการณ์และสิ่งที่รับการอบรมจากหน่วยงานต่างๆ ได้กำหนดนิยมขึ้นมาว่า
การสร้างและวัดผลประสิทธิภาพกับคนวัดได้จาก
** การเปรียบเทียบกระบวนการที่ต้องทำจริง กับกระบวนการที่เป็นมาตรฐาน **
ถ้าเราจะมองคำนิยามให้ออกมาในรูปวิชาการ เราจะกำหนดได้แบบไหน เท่าที่ผมได้เรียนรู้จากการทำงานและเข้ารับการอบรมคือ
“ กระบวนการที่มีคุณค่า / กระบวนการสุทธิ = ประสิทธิภาพของงาน “
หรืออธิบายให้ชัดเจนลงไปอีกคือ “ กระบวนการมาตรฐาน / กระบวนการทำงานจริง = ประสิทธิภาพของงาน “ จากคำนิยามข้างต้นหวังว่าจะพอตีความและเข้าใจ Loss ในแต่ละหัวข้อมากขึ้น
2. Motion loss คือ Loss ที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวด้านกายภาพ ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวมากเกินความจำเป็น หรือการเคลื่อนไหวที่ส่งผลให้เกิดโรคจากการทำงาน เช่นการออกแบบการทำงานด้านการยศาสตร์ไม่เหมาะสม
ตัวอย่าง Line Assembly ที่มีโอกาสเกิด Motion loss
จากหัวข้อ Motion Loss ผมจะอธิบายวิธีการแก้ไขที่คาดว่าจะได้ผลมากกว่า 90% โดยใช้วิธีการศึกษาการเคลื่อนไหวหรือ Motion Study ที่ผมเคยเขียนบทความเบื้องต้นก่อนหน้านั้นในหัวข้อ ECRS ได้มีการเกิ่นหัวเรื่องของ Motion study เอาไว้ตาม Link ด้านล่าง
* [ Chapter 9 ]IE Method เพื่อการ Kaizen อย่างมีประสิทธิภาพ https://www.blockdit.com/articles/5ebac94e619e280c97b6bb22
สำหรับระบบและหลักการเพื่อแก้ไขปัญหา Motion loss มีดังนี้
1 Work study หรือการศึกษางาน เพื่อศึกษาวิธีการทำงานให้เหมาะสมที่สุดกับงาน การศึกษาโดยใช้นาฬิกาจับเวลาการทำงานเพื่อศึกษาเวลา
2 Motion study หรือการศึกษาการเคลื่อนไหวเพื่อเอาไปเทียบความสอดคล้องกับเวลาที่เราได้มีการศึกษาไว้ ถ้าพูดแบบง่ายๆ ตามภาษาที่เข้าใจง่ายคือใช้หลักการ 3MU (Muda ,Mura ,Muri) นั้นเอง
ตัวอย่างเอกสาร Work combination chart
ตัวอย่างเอกสาร Work study
3. Line balance loss คือ Loss จากการทำงานร่วมกับคนอื่นที่อยู่ในไลน์การผลิตเดียวกัน ขยายความให้ชัดเจนคือ การทำงานแต่ละจุดมีการกำหนด Takt time ไม่เท่ากันทำให้เกิด Bottleneck หรือคอขวด ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวจะส่งผลในการทำงานแต่ละจุดดังนี้
การรองาน งานกองในแต่ละกระบวนการ งานล้น ปัญหาต่างๆ เกิดได้ทั้งไลน์ Assembly ที่ใช้คนผลิตงานและไลน์ Assembly ที่ใช้ Robot ประกอบชิ้นงาน
ตัวอย่างเอกสาร Standard work table
ตัวอย่างเอกสาร Standard work table
4. Automation loss คือ Loss ที่เราไม่สามารถนำระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้งานได้ ทั้งๆ ที่เราได้มีการปรับเปลี่ยนระบบเป็นระบบอัตโนมัติแล้ว ส่งผลให้ปัญหาต่างๆ ที่จะดีขึ้นหลังจากนำระบบเข้ามาไม่หายไป เช่นการนำระบบ Poka-Yoke มาป้องกันความผิดพลาดจากการทำงานเพื่อไม่ให้เกิด Defect หรืออุบัติเหตุต่างๆ และไม่สามารถใช้งาน Poka-Yoke ได้จึงถือว่า Loss ได้เกิดขึ้นแล้ว
ตัวอย่างเช่น ใช้ระบบ Sensor มาตรวจจับการประกอบงานผิดรุ่น แต่ดันเกิด Proximity sensor เสียหายและเกิดการประกอบงานผิดเพราะไม่มีอะไรตรวจจับ
ข้อเสียคือ เงินลงทุนสูงมาก ในการลงทุนต้องเปรียบเทียบกับผลลัพท์ความสามารถคุ้มกับการลงทุนหรือไม่
ตัวอย่าง Body Line Assesmbly ที่ใช้ Robot ในการประกอบ
5. Inspection and adjustment loss หมายถึง Loss ที่เกิดจากความไม่ชำนาญ ทักษะในการทำงานมีไม่เพียงพอ ทำให้การปรับและตรวจสอบ Condition ก่อนการผลิตไม่ดี จึงเกิดปัญหากับเครื่องจักรและส่งผลให้เกิด Defect ในกระบวนการ ทำให้ต้องมีการ rework ชิ้นงานใหม่ หรืออาจต้องทิ้งเป็น Scrap part ในการจะลดปัญหานี้แบบถาวรคือ การกำหนด Q-Condition ,และ Equipment condition ที่เป็น Good standard โดยแยกตามรุ่นตาม Spec ของสินค้านั้นๆ ส่วนใหญ่เราจะจัดทำเงื่อนไขนี้ในช่วง Step 4 และ 5 ของเสา AM เพราะพนักงานได้ผ่านการเรียนรูป Maintenance module มาแล้ว แต่ปกติแล้วเครื่องจักรทั่วไปจะมีการกำหนด Adjustment condition จากหน่วยงานวิศวกรรมตอนติดตั้งเครื่องจักรใหม่อยู่แล้ว
จากที่กล่าวมาทั้งหมดตอนนี้ผมได้อธิบายไปแล้วสามส่วน คือ 1 ประสิทธิภาพการทำงาน 2 ประสิทธิภาพกับเครื่องจักร และ 3 ประสิทธิภาพกับคน อีกหนึ่งส่วนที่เหลือสามารถติดตามต่อใน Part หน้าครับ ขอบคุณครับสำหรับการติดตามเพจเล็ก ๆ เพจนี้
ถ้าผู้อ่านเห็นว่าบทความมีประโยชน์ช่วยกดติดตามและแชร์บทความนี้ให้ด้วยครับ ขอบคุณครับ
#นักอุตสาหกรรม ,#The Syndicate
บทความ TPM ที่เกี่ยวข้อง
1. [ Chapter 9 ]IE Method เพื่อการ Kaizen อย่างมีประสิทธิภาพ https://www.blockdit.com/articles/5ebac94e619e280c97b6bb22
2. [ Chapter 11 ] เปิดความลับ : การค้นหาความสูญเสียด้วย Loss-Cost Matrix (Part 1) : https://www.blockdit.com/articles/5ebe4120164846088f9a9c7a
3. Chapter 4 : Basic concept สำหรับเสา Focused Improvement (FI Pillar) https://www.blockdit.com/articles/5eb0ce51344f963b0d2a7af2
โฆษณา