23 พ.ค. 2020 เวลา 13:56 • ท่องเที่ยว
Egypt : Queen’s Valley : Tomb of Queen Nefertari สุสานของพระนางเนเฟอตารี
ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์ (West Bank) หรือ นครธีบส์ในสมัยอียิปต์โบราณ ในอดีตเชื่อว่าเป็นที่อยู่ของคนตาย หรือ นครของผู้วายชนม์ (Necropolis of Thebes) เต็มไปด้วยกลุ่มโบราณสถานที่มีประวัติน่าพิศวง
แต่เดิมบนฝั่งนี้แทบไม่มีชาวบ้านอาศัยอยู่ เนื่องจากแต่ก่อนรัฐบาลประกาศห้ามไม่ให้มีการนำน้ำขึ้นไปบนฝั่ง เนื่องจากเกรงว่าความชื้นจากน้ำจะไปทำลายโบราณสถาน
1
อียิปต์อยู่มาได้เพราะไม่ชื้น ไม่มีฝนตก ประชาชนที่อาศัยอยู่ฝั่ง West Bank จะต้องข้ามฝั่งมาเพื่ออาบน้ำ ทำธุระส่วนตัวเกี่ยวกับน้ำให้หมด ถึงจะกลับข้ามฝั่งไปได้ ... แต่ปัจจุบันความเชื่อดังกล่าวหมดสิ้นไปแล้ว จึงทำให้มีประชาชนเข้าไปอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก สภาพของฝั่ง West Bank ค่อนข้างแห้งแล้ง เราสามารถมองเห็นหุบเขาที่แห้งแล้งขนาดใหญ่ตั้งตระหง่านอยู่
หุบผาราชินี ในสมัยโบราณเรียกว่า Ta set Neferu มีความหมายว่า The place of beauty ใช้เป็นสถานที่ฝังพระศพของพระราชินีและพระราชวงศ์ผู้หญิง เริ่มใช้มาตั้งแต่สมัยอาณาจักรใหม่
1
จากจุดจอดรถ เราเดินผ่านร้านค้าที่ระลึกที่ตั้งเรียงรายอยู่สองข้างทาง หลังจากซื้อตั๋วเข้าชมเรียบร้อยแล้ว ใครที่มีแรงก็เดินเท้ากันต่อเพื่อไปยังตัววิหาร ระยะทางประมาณ 300 เมตรเห็นจะได้ แต่ถ้าใครไม่มีแรงเดิน สามารถใช้บริการรถไฟฟ้าที่คอยให้บริการก็ได้
สุสานของราชินีเนเฟอร์ตารี (Nefertari)
หุบผาราชินี เป็นที่ฝังศพของเหล่าราชินีแดนไอยคุปต์ ในยุคกลางและยุคใหม่ สุสานในหุบผาราชินี ส่วนมากเล็กและไม่อลังการเท่าสุสานกษัตริย์ แต่มีอยู่สุสานหนึ่งที่สวยงามมาก และอยู่ในสภาพดีมากจนเหลือเชื่อ คือสุสานของพระราชินีเนเฟอตารี มเหสีอันเป็นที่รักยิ่งของฟาร์โรห์รามเสสที่ 2
คนส่วนมากมักจะจำสับสนกันระหว่าง เนเฟอร์ติตี (Nefertiti) และเนเฟอร์ตารี (Nefertay) จริงๆแล้วยุคสมัยของ 2 พระองค์นี้ ต่างกันพอสมควร เนเฟอร์ติตีเป็นมเหสีของฟาโรห์ อัคเคนาเต็น ผู้ยิ่งใหญ่ ที่ทำการปฏิวัติทางศาสนา และเป็นแม่เลี้ยงของฟาโรห์ตุตันคามุนด้วย
ส่วนพระนางเนเฟอร์ตารี เจ้าของสุสานที่เรากำลังจะไปเยี่ยมชมนี้ เป็นมเหสีของฟาโรห์รามเสสที่ 2 มหาราชผู้เกรียงไกรแห่งยุค New Kingdom .. ช่วงระยะเวลาห่างกัน 70 กว่าปี เนเฟอตารีเกิดทีหลัง
พระนางเนเฟอร์ตารีก็ได้ชื่อว่าเป็นหญิงงามแห่งยุค ถึงกับมีคำกล่าวว่า พระนางคือ Beauty of all beauties .. แต่ที่มาของพระนางนั้นลึกลับ ไม่มีบันทึกหลงเหลืออยู่ว่าพระนางมาจากไหน พ่อแม่เป็นใคร
พระนางโด่งดังในประวัติศาสตร์ เพราะพระนางเป็นที่รักเหนืออื่นใดของฟาโรห์รามเสสที่ 2 ผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์ที่ 19 ของอียิปต์ที่ได้มอบความรักล้นเหลือให้กับพระนาง
ฟาโรห์รามเสส ยกพระนางไว้เหนือสตรีอื่นใด และสูงส่งเทียบเท่าองค์ฟาโรห์เลยทีเดียว พระองค์ทรงสร้างวิหารให้พระนางโดยเฉพาะ รูปจำหลักของพระนางเนเฟอร์ตารีที่หน้าวิหารนั้น ก็สูงใหญ่ยืนเทียบเทียมเท่ากับองค์ฟาโรห์ อย่างที่ไม่เคยมีปรากฏมาก่อน
พระนางเนเฟอร์ตารีได้เสด็จไปร่วมพิธีเปิดวิหารหินตัดแห่งอาบูซิมเบลในปีที่ 24 แห่งรัชสมัยของฟาโรห์รามเสสที่ 2 แต่หลังจากนั้นพระองค์ก็หายไปจากประวัติศาสตร์ .. จึงมีการคาดการณ์และเชื่อว่าพระองค์น่าจะสิ้นพระชนม์ราวปีที่ 25 แห่งรัชสมัยของฟาโรห์รามเสสที่ 2 เมื่อมีพระชนมายุได้ราว 40-50 พรรษา
ด้วยความรักมากมายที่มีต่อพระมเหสี ฟาร์โรห์รามเสสที่ 2 จึงสร้างสุสานที่พำนักชั่วนิรันดรให้กับมเหสีอันเป็นที่รักยิ่งของพระองค์อย่างงดงาม หรูหรา และอลังการ ราวปี 1264 BC โดยใช้เวลาก่อสร้างราว 20 ปี .. ช่วงที่เราเดินลงไปชมสุสานแห่งนี้ จึงรู้สึกว่าเราโชคดีมากๆที่สุสานของพระนางถูกกาลเวลารักษาไว้ได้อย่างดีเยี่ยม และได้ร่มชื่นชมในพระเกียรติยศที่รามเสสมอบให้พระนาง
***ขณะที่เขียนก็อดไม่ได้ที่จะคิดถึงตำนานความรักอมตะของกษัตริย์ ชาร์ จาฮาล แห่งราชวงศ์โมกุล ของอินเดีย ที่โปรดให้สร้าง ทัชมาฮาล เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความรักของพระองค์ที่มีต่อ พระนางมุมตัสมาฮาล มเหสีอันเป็นที่รักยิ่งของพระองค์
QV66 … เป็นระหัสของสุสานของพระนางเนเฟอร์ตารี ในหุบผาราชินี .. ให้เข้าชมได้ไม่เกินคนละ 15 นาที ด้วยเหตุที่ภายในสุสานยังมีสภาพดี มีภาพวาดสวยงามข้ามกาลเวลา ที่วาดขึ้นด้วยขนาดเทียบเท่าพระองค์จริง ซึ่งผิดปกติวิสัยของงานจิตรกรรมยุคเดียวกัน
ความอลังการนี้เองที่จึงทำให้ค่าตั๋วแพง แต่หลังจากได้ชม ได้ถ่ายรูป (ใช้กล้องที่ไม่ใช่กล้องถ่ายภาพมาตรฐาน DSLR) ก็รู้สึกว่าคุ้มค่ามาก
สุสานของพระนางเนเฟอร์ตารี มีหลักฐานว่าถูกปล้นมาตั้งแต่ยุคโบราณ และร่างมัมมี่ของพระนางก็ถูกทำลายเป็นชิ้นๆ … จนกระทั่งในปี 1904 นักการทูตและนักโบราณคดีชาวอิตาลี ชื่อ เอร์เนสโต สเกียปาเรลลี (Ernesto Schiaparelli) ไปเปิดสุสานสำรวจและพบซากโบราณวัตถุหลายชิ้น รวมถึงโลงศพที่ทำจากหินแกรนิตสีชมพู ซึ่งป็นโลงที่เคยบรรจุมัมมีของ พระนาง เนเฟอร์ตารี รองเท้าแตะหนึ่งคู่ และซากมัมมี่ส่วนขาอีกหนึ่งคู่
เข่าคู่หนึ่งของมัมมี่ปริศนาในตอนนั้นยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นผู้ใด .. จนกะทั่งในปี 2006 ได้มีการตรวจสอบและพบว่า เป็นมัมมี่ของสตรีวัยราว 40 ปี ซึ่งสอดคล้องกับช่วงเวลาที่พระนางเนเฟอตารีหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ จึงมีความเป็นไปได้ว่า เข่าคู่นั้นอาจจะเป็นของพระนาง
ต่อมาได้มีการตรวจ DNA ที่ไม่สามารถสรุปผลการวิเคราะห์ได้ เนื่องจากตัวอย่างมีการปนเปื้อน ขณะที่การหาอายุด้วยคาร์บอนกัมมันตรังสี กลับได้ผลออกมาน่าประหลาดใจ เพราะผลออกมาว่า มันมีอายุเก่าแก่กว่าช่วงเวลาที่ ราชินีเนเฟอร์ตารี มีชีวิตอยู่ ถึง 200 ปี
หลังจากมีการค้นพบสุสานแห่งนี้ในปี 1904 แล้วก็ไม่มีการดำเนินการอะไร จนล่วงมาถึงปี 1986 จึงได้เริ่มมีการบูรณะ ภายใต้โปรแกรมการบูรณะของ The Getty Conservation Institute จนสามารถเปิดให้ผู้คนเข้าไปชมได้ในปี 1995 .. แต่ก็ปิดอีกครั้งในปี 2003 แต่อนุญาตเฉพาะผู้ขอเข้าชมกลุ่มเล็กๆ ด้วยค่าเข้าที่แสนแพง
ปัญหาของสุสานแห่งนี้ คือมีการขุดลงไปเพื่อสร้างสุสานไม่ค่อยลึกเท่าไหร่ ภายในพื้นที่ในหุบผาราชินีที่พื้นหินไม่แข็งมาก การตัดหินให้ผนังหรือเสามีผิวเรียบแทบจะทำไม่ได้ ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้คนสร้างต้องใช้ปูนปลาสเตอร์ฉาบหนาๆก่อนที่จะวาดภาพ … แต่น้ำหนักปลาสเตอร์ที่หนาทำให้มันร่อนหลุดง่าย แม้ในภายหลังจะมีความพยายามที่จะชะลอการหลุดร่อน แต่ไม่สำเร็จเท่าไหร่ ผู้ที่ทำการอนุรักษ์ก็ได้แต่หวังว่าจะมีเทคนิคใหม่ๆที่จะช่วยให้ปัญหานี้หมดไป
1
ความชื้นที่มาพร้อมกับการเข้าเยี่ยมชมสุสานของผู้คน จะไปเร่งการหลุดร่อนของปลาสเตอร์ให้เร็วขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีการจำกัดจำนวนผู้เข้าชมในแต่ละวัน รวมถึงระยะเวลาในการเข้าสุสานในแต่ละรอบด้วย
สุสานของพระนางเนเฟอร์ตารี .. เป็นอุโมงค์ลงลึกไปใต้ภูเขาหิน โดยมีบันได 18 ขั้นลงไปในโถงสุสาน สกัดหินออกเป็นห้องเก็บโลงศพและห้องเก็บสมบัติ ในลักษณะเช่นเดียวกับสุสานอื่นๆในหุบผากษัตริย์ และหุบผาราชินี …
สุสานนี้ไม่ได้โด่งดังเพราะสมบัติที่ทำด้วยวัสดุมีค่าที่พบในสุสานเหมือนสุสานฟาร์โรห์ตุตันคามุน … แต่มีชื่อในด้านของภาพวาดสีขนาดเท่าคนจริงที่งดงามข้ามกาลเวลา จนได้รับการยกย่องว่าเป็น The most beautiful murals ever known in the history of mankind.
ภาพวาดในสุสานแห่งนี้อยู่ในสภาพดี สมบูรณ์มาก และสีสันสดใส เหมือนภาพกระโดดออกมาจากพื้นสีขาว แทบจะไม่น่าเชื่อว่าภาพเหล่านี้มีอายุสามพันปีแล้ว ..
เพดานสุสานเป็นภาพท้องฟ้ายามค่ำคืน เป็นดาวห้าแฉก ตามผนังและเสาภายในสุสานสลักเรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทางไปสู่ชีวิตหลังความตาย โดยมีภาพจากคัมภีร์มรณะและคัมภีร์อื่นๆสลักเอาไว้มากมาย
เรามาดูความงามอมตะของภาพวาดในสุสานของพระนางเนเฟอตารี กันค่ะ
บันไดทางเดินลงไปสุสานด้านในซึ่งเป็นโถงฝังพระศพ (Burial Chamber)
ด้านบนช่องทางเข้าสุสานชั้นใน มีภาพวาดของเทพี Maate (เทพีแห่งความยุติธรรม) นั่งสยายปีก ในลักษณะปกป้องสุสาน
ด้านบนสุดของกำแพงเป็นงู “Mehen” .. สยายปีกเพื่อปกป้องป้ายชื่อของ พระนางเนเฟอตารี
รูปสุนัขจิ้งจอก … รอบคอ คือ ผ้าลินิน ที่จะใช้ในขบวนการทำมัมมี่
ผนังทั้งสองด้านที่ขนาบบันได มีภาพของพระนางเนเฟอตารียืนอยู่ข้างๆสิ่งของต่างๆที่นำมาถวายเทพเจ้า และในมือมีถ้วยไวน์ที่จะถวายให้กับเทวี Isis และ Hathor
บนผนังด้านตรงข้ามคือเทพี Isis และ Goddess Select (รูปร่างเป็นหญิงสวมศิราภรณ์รูปแมลงป่อง) เทพทั้งหมดถือ Ankh ซึ่งก็คือ กุญแจแห่งชีวิต .. Goddess Select เป็นหนึ่งในเทวีแห่งโลกแห่งความตายที่ถูกส่งมาเพื่อปกป้องพระนางเนเฟอตารี
โดยมีเทพี Maat นั่งคุกเข่าอยู่ด้านหลังเทวีทั้งสองในลักษณะกางแขนและปีกออก เพื่อปกป้องป้ายชื่อของพระนาง
Maate .. เทพแห่งความยุติธรรม ยืนอยู่ที่ประตูทางเข้าที่จะไปสู่ห้องโถงใหญ่ เพื่อต้อนรับพระนางเนเฟอตารี
เพดานของสุสาน .. วาดด้วยสีเข้มคล้ายสีน้ำเงินอันหมายถึงท้องฟ้า โดยมีดวงดาวกระจายอยู่เต็ม
Burial Chamber :
โถงขนาด 10.4X8.2 เมตร มีกำแพงล้อมรอบ และมีห้องเล็กๆที่เจาะเข้าไปในกำแพง ซึ่งคาดว่าจะเป็นที่เก็บอุปกรณ์และสิ่งของที่จะใช้ในการทำมัมมี่ของพระนาง ด้านในมีภาพวาดสิ่งของต่างๆ
ภายในห้องโถงใหญ่มีเสาขนาดใหญ่ตั้งเรียง การตกแต่งแบ่งเป็น 2 ส่วน ทางด้านขวาของห้องเป็นภาพที่เกี่ยวกับบทที่ 146 ของคัมภีร์มรณะ ส่วนทางด้านซ้ายเป็นส่วนของบทที่ 144
ในโถง Burial Chamber นี้มีภาพของพระนางเนเฟอตารีกับเทพเจ้าและเทวีต่างๆ และเรื่องของโลกหลังความตายทั้งบนผนังห้อง และบนเสา
ด้านซ้ายของภาพ พระนางนั่งอยู่ในเต้นท์เพื่อเล่นเกม Checker ที่เรียกว่า Senet พระนางต้องเล่นให้ชนะเพื่อผ่านด่านต่างๆ และเข้าสู่โลกหลังความตาย ซึ่งมีระบุในคัมภีร์มรณะ บทที่ 17
**Note: ในระหว่างเดินทางจากโลกมนุษย์ไปสู่โลกหลังความตาย เพื่อรับการพิพากษา ดวงวิญญาณจะต้องผ่านด่านต่างๆที่เป็นอุปสรรค และคัมภีร์มรณะจะบอกว่าการจะเอาชนะและอุปสรรคจะต้องทำอยางไร .. คงคล้ายกับการเฉลยข้อสอบ
ภาพที่อยู่ติดกัน คือภาพของนก “Alba” ซึ่งมีร่างเป็นนก ศรีษะคือหน้าของพระนางเนเฟอตารี .. นกจะทำหน้าที่นำวิญญาณของพระนางสู่สวงสวรรค์
ภาพถัดไป เป็นภาพที่พระนางกำลังคุกเข่าสวดมนต์ โดยมีภาพพระนางในวัยเด็กในรูปของนกคุกเข่าสวดมนต์อยู่ต่อหน้าเทพ Akeru อยู่ ณ ขอบฟ้า ซึ่งแทนโดยภาพของภูเขาและสิงโต
ภาพมัมมี่ของพระนางเนเฟอตารีที่ถูกห่อด้วยผาลินินสีขาว นอนอยู่บนเตียงหัวสิงห์ภายในเต้นท์ บนใบหน้ามีหน้ากากเทพ Osiris .. มัมมี่ขนาบข้างด้วย Isis และ Nephtis ส่วนด้านหลังของ Nephtis คือ ภาพนก El-beno ซึ่งก็คือสุริยะเทพ Ra นั่นเอง
God Ptah … ผู้ทำพิธีพันผ้าปาริรุสรอบๆร่างคนตายเพื่อทำมัมมี่
Harnagit Eff … นักบวชชั้นผู้ใหญ่ (Grand priest)
ผู้พิทักษ์ประตู .. คนแรกคือ เทพ Khanoum หัวเป็นไฮยีน่า คนที่สอง คือเทพ Sekhnet หัวเป็นสิงโต คนที่สามมีลักษณะเป็นมนุษย์ แต่ละองค์ถือกริชในมือ เพื่อป้องกันวิญญาณชั่วร้ายไม่ให้เข้าในห้องฝังพระศพ .. ทั้งหมดเป็นผู้พิทักษ์ตามคัมภีร์มรณะ บทที่ 144
ผู้พิทักษ์ .. คนหนึ่งอยู่ในรูปของมนุษย์ ส่วนอีกร่างเหมือนฮิปโปโปเตมัส มีหน้าที่พิทักษ์พระนางเนเฟอตารีให้พ้นจากสิ่งชั่วร้ายต่างๆ และไปให้ถึงสวรรค์ของเทพโอซิลิส
ภาพพระนางเนเฟอตารี ในชุดเครื่องแต่งกายสีขาวยืนอยู่เบื้องหน้าผู้พิทักษ์ประตู (Guard of the gate) เพื่อขออนุญาตผ่านไปยังสวรรค์ (Paradise 0f God Osiris) ซึ่งพระนางจะต้องตอบคำถามให้ได้ทั้งหมดเสียก่อน ส่วนผู้พิทักษ์สองคนที่เห็นในมือถือกริช มีหน้าที่ป้องกันพระนางจากสิ่งชั่วร้าย และช่วยให้พระนางเดินทางไปถึงดินแดนสวรรค์ของเทพโอริซิส
ผู้พิทักษ์ตามคัมภีร์มรณะ .. คนแรกอยู่ในร่างของสัตว์ ส่วนอีกคนอยู่ในรูปของมนุษย์ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ปกป้องเทพโอริซิส ในมือถือกริช เพื่อป้องกันสิ่งชั่วร้ายที่จะเข้ามาทำร้ายผู้ล่วงลับ
เทพ Waggit พิทักษ์ประตูที่จะผ่านไปยังโถงที่ฝังพระศพ
พระนางเนเฟอตารี อยู่เบื้องหน้าของ … Osiris มหาเทพแห่งโลกหลังความตาย
Hathor เทวีประจำทิศตะวันตก และเทวีแห่งความสวยงาม ความรัก
Anubis เทพเจ้าในการทำมัมมี่ และเป็นผู้พิทักษ์พิธี
ภาพด้านหนึ่งของโถงสุสาน มีภาพของเทพ Osiris ซึ่งเป็นเทพแห่งโลกหลังความตาย และเป็นผู้พิพากษาที่เรียกว่า Judge of the divine court สวมเครื่องแต่งกายสีขาวเหมือนมัมมี่ มือถือพู่ปัดแมลง
ภาพของเทวี Hathor จูงแขนพระนางเนเฟอตารี ในลักษณะปกป้องอยู่บนเสาหลายต้น โดยอีกด้านหนึ่งของเสาแต่ละต้นจะมีภาพของเทพเจ้าต่างๆ
Anubis และพระนางเนเฟอตารี … Anubis ในท่าอำนวยพรแด่พระนางเนเฟอตารี ให้มีสุขภาพดี ชีวิตยืนยาว และมั่นคง ในดินแดนหลังความตาย
Isis มอบกุญแจประตูโลกหลังความตายแก่พระนางเนเฟอตารี
วัว 7 ตัว คือเทวี Hathor 7 ร่าง และกระทิงคือ เทพ Horus .. ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์มรณะ บทที่ 148 โดยภาพถัดไปเป็นภาพพระนางเนเฟอตารีในลักษณะเคารพต่อวัวและกระทิงศักดิ์สิทธิ์ .. ถัดมาเป็นภาพของเทวี Isis และ Nephthys ยืนขนาบข้างเทพ Raเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการผสานร่างของ Ra และ Orisis
ด้านขวาของภาพ … God Ra มีหัวเป็ไฮยีนา ร่างของเทพเจ้า Orisis ขนาบซ้ายขวาด้วยเทพ Isis และ Nephtis อันเป็นสัญลักษณ์ของการรวม เทพ Ra และ Osiris
พระนางเนเฟอตารี คือสิ่งอันเป็นสัญลักษณ์ของความมั่นคงในมือขวา และถวายเครื่องสักการะต่อเหล่าเทพ อันประกอบด้วยเนื้อสัตว์และผลไม้ ซึ่งเป็นการแสดงความแนบแน่นระหว่างดวงวิญญาณของเทพและของผู้สักการะ
Tahaut เทพเจ้าแห่งความรู้และความเฉลียวฉลาด หัวเป็นนก เบื้องหน้าของพระองค์คือ เทพ Hakkat ในมือมีม้วนผ้าปาปิรัสที่มีชื่อของพระนางเนเฟอตารี
Isis นำพระนางเนเฟอตารี มาอยู่ต่อหน้าเทพ Tahaut เทพเจ้าแห่งความรู้และความเฉลียวฉลาด
Goddess Nekhbet … สัญลักษณ์ของการปกป้องคุมครองและสุสาน ในร่างของ นกแร้ง .. มองเห็นอยู่ตรงทับหลังของประตู
ผนังด้านขวา คือ เทพ Ra Hour Okhti กับ Hathor เทพแห่งดนตรีและความรัก ส่วนด้านซ้าย คือ เทพ Tahout .. ซ้ายสุด คือ เทพี Select ขวาสุด คือ Hathour
ฉากบริเวณช่องบันได มีภาพของพระนางกำลังถวายเครื่องบรรณาการแด่เหล่าเทพเจ้า นอกจากนี้ยังมีการค้นพบเศษฝาโลงศพหินที่ทำจากหินแกรนิตสีชมพูซึ่งเคยตั้งอยู่ตรงกลางหลุมฝังพระศพ (Burial Chamber)
โฆษณา