24 พ.ค. 2020 เวลา 17:09 • การศึกษา
รู้หมือไร่..เราทุกคนต่างเคยดื่ม “ปัสสาวะ” ของตัวเองกันมาแล้วทั้งนั้น..
.
.
พวกเราทุกคนเคยดื่ม ’น้ำปัสสาวะ’ ของตัวเองตอนที่อยู่ใน”ครรภ์”ของมารดาค่ะ
น้ำปัสสาวะของทารกเป็นส่วนประกอบหนึ่งของ ‘น้ำคร่ำ’
ซึ่ง ‘น้ำคร่ำ’ มีหน้าที่ พยุงตัวของทารก ป้องกันการกระทบกระเทือน รักษาอุณหภูมิ รวมไปถึงเป็นแหล่งอาหารส่วนหนึ่งให้แก่ทารก
และเพื่อให้ปริมาณของน้ำคร่ำนั้น ไม่มาก หรือน้อยเกินไป...
ในครรภ์ของมารดาจึงต้องมีกลไกการควบคุมปริมาณของ’น้ำคร่ำ’
โดย..น้ำคร่ำ จะสร้างขึ้นจาก ผิวหนังของทารก และตัวรก และสารน้ำจากทางเดินหายใจของทารกเอง รวมๆแล้วประมาณ 100 มิลลิลิตรต่อวัน บวกกับ ทารกปัสสาวะออกมาเรื่อยๆประมาณ 7-10 มิลลิลิตร/กิโลกรัม/ชั่วโมง
และน้ำคร่ำจะถูกกำจัดโดยการ ’กลืน’ ของทารกในอัตราที่มากถึง 1 ลิตร/วัน
** ดังนั้นกลไกหลักๆในการควบคุมสมดุล ในการไหลเวียนของน้ำคร่ำ คือการปัสสาวะและการกลืนของทารกนั่นเอง **
.
.
เคยดื่มปัสสาวะตอนเป็นทารกกันมาแล้ว..ตอนนี้โตๆกันแล้ว..
ไม่ดื่มปัสสาวะตัวเองกันนะคะ5555555
#รณรงค์ไม่ดื่มน้ำปัสสาวะและไม่แนะนำคนอื่นดื่มปัสสาวะ
รักนะ..ให้สาระตอนดึก/ฝันดีนะคะทุกคน
หน่องง’หมอวว
Reference รูปภาพ&เนื้อหา

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา