28 พ.ค. 2020 เวลา 12:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
[ Chapter 14 ] PART 4
PM Pillar - Planned แบบไหน Maintenance แบบไหนให้ซื้อใจเครื่องจักร
6 Step Planned Maintenance (PM Pillar)
Step 1: Assess the condition of machinery and explore the current condition ประเมินสภาพเครื่องจักรและสำรวจสภาพปัจจุบัน
Step 2: Restore deterioration and improve machine weaknesses ฟื้นฟูสภาพเสื่อมและปรับปรุงจุดอ่อนของเครื่องจักร
Step 3: create a maintenance information management system สร้างระบบบริหารการซ่อมบำรุง
Step 4: Build a periodic maintenance system สร้างระบบการบำรุงรักษาตามคาบเวลา
Step 5: Build a predictive maintenance system สร้างระบบบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์
Step 6: Assess maintenance according to the plan ประเมินการบำรุงรักษาตามแผน
กลับมาต่อใน Step ที่เหลือกันเลยครับจะได้ไม่เสียเวลา เริ่มที่ Step 3
Step 3: สร้างระบบการบริหารข้อมูลการซ่อมบำรุง คือ
1. การสร้างระบบการตรวจสอบ การบันทึก การประมวลผล สุดท้ายคือ การสรุปผลข้อมูลต่างๆ ที่ครบคุมเป้าหมายการจัดการเกี่ยวกับเครื่องจักร ทำให้เป็นรูปแบบที่เป็นมาตรฐานจับต้องได้ ซึ่งในโรงงานอุตสาหกรรมไทย ส่วนใหญ่ต้องบอกว่า ยังเป็นปัญหาต้นๆ ของหน่วยงานซ่อมบำรุงในปัจจุบัน
2. รวมถึงต้องมีระบบการบริหารข้อมูลการบำรุงรักษาเครื่องจักร ( PM Plan ) เช่น ประวัติเครื่องจักร แผนการซ่อม แผนการตรวจสอบเป็นต้น
3. สร้างระบบการบริหารงานงบประมาณเครื่องจักร เพื่อควบคุมต้นทุนต่างๆ ในการซ่อมบำรุง การซ่อมบำรุงที่ดีเพื่อลดปัญหาการ Breakdown นั้นจะมีประสิทธิผลอย่างเดียวคงไม่ได้ คงต้องมีประสิทธิภาพ ในเรื่องของต้นทุนในการดูแลที่เหมาะสมด้วย
4. สร้างระบบการจัดการอะหลั่ย และการจัดการเอกสาร เช่น Stock inventory , Part control ด้วย เช่นการคำนวณ การประเมินเรื่อง Leadtime การสั่งซื้อ Part มาใช้งานได้ในเวลาที่เหมาะสม ในต้นทุนการจัดการที่ต่ำที่สุด การ Control first in first out เพื่อป้องกัน Equipment Part ที่สั่งมาใช้งานหมดอายุก่อนที่จะใช้งาน
Step 4: สร้างระบบการบำรุงรักษาตามคาบเวลา เริ่มจาก
1. กิจกรรมเตรียมการเพื่อการบำรุงรักษาตามคาบเวลา เช่น ขั้นตอนการเตรียมอะหลั่ย อุปกรณ์ช่วงเครื่องจักร Standby การเตรียมอุปกรณ์เครื่องวัด การหล่อลื่น แบบแปลนเครื่องจักร และการจัดการเอกสารทางด้านเทคนิค
2. สร้างระบบ Work flow การบำรุงรักษาตามคาบเวลา
3. มีรูปแบบการคัดเลือกเครื่องจักร และชิ้นส่วนประกอบเพื่อการบำรุงรักษา และสร้างแผนงานซ่อมบำรุง
4. สร้างและปรับปรุงมาตรฐาน เช่น มาตรฐานวัสดุ มาตรฐานการทำงาน มาตรฐานการตรวจสอบ มาตรฐานการตรวจรับ เป็นต้น
5. เพิ่มประสิทธิภาพการซ่อมบำรุงตามคาบเวลา และเพิ่มพูนคุณภาพในการดูแลผู้รับเหมา
Step 5: การสร้างระบบการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์
1. การใช้เทคโนโลยี ใหม่ๆ สำหรับเครื่องมือที่จะนำมาตรวจวิเคราะห์
2. สร้างระบบ Work flow การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์
3. การคัดเลือกเครื่องจักร และชิ้นส่วน ในการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ และสร้างแนวทางการขยายผลให้มากขึ้น
4. สร้างระบบพัฒนาเทคโนโลยีและเครื่องมือการตรวจวิเคราะห์
Step 6: การประเมินผลการบำรุงรักษาตามแผน คือ
1. มีขั้นตอนการประเมินผลระบบการบำรุงรักษาตามแผน
2. มีขั้นตอนการประเมินผลการปรับปรุงค่าความน่าเชื่อถือ (Reliability) เช่นระบบการเก็บข้อมูล การหยุดเล็กๆ น้อยๆ (Minor stoppage) ค่าความถี่ MTBF เป็นต้น
3. มีขั้นตอนการประเมินผลการปรับปรุงการบำรุงรักษา (Maintainability) เช่น อัตราการบำรุงรักษาตามคาบเวลา อัตราการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ ค่า MTTR เป็นต้น
4. มีขั้นตอนการประเมินผลการลดต้นทุนการบำรุงรักษา รวมถึงการปรับปรุงการกระจายของต้นทุนค่าซ่อมบำรุง
จากที่อธิบายมาทั้งหมด อาจจะแตกต่างจากผู้เชียวชาญหลายท่าน แต่รายละเอียดทั้งหมดนี้อ้างอิงจากแนวทางการปฏิบัติจริงในการทำ TPM ในโรงงานอุตสาหกรรม สุดท้ายก็หวังว่าจะเป็นแนวทางเบื้องต้นให้ผู้ที่กำลังทำ TPM ได้ไม่มากก็น้อย ใน Part หน้าจะเป็น Part สุดท้ายของกิจกรรม Planned Maintenance จะมาเจาะลึงในสิ่งที่ JIPM ต้องการ กดรอติดตามไว้เลยครับ จะได้ไม่พลาดทุกๆ บทความสำคัญ สำหรับวันนี้ ลาไปก่อน “ช่วยกดติดตามและแชร์บทความให้ด้วยนะครับถ้าเห็นว่ามีประโยชน์ ขอบคุณครับ”
#นักอุตสาหกรรม ,#TheSyndicate
บทความที่เกี่ยวข้อง
1. [ Chapter 14 ] PART 1 : PM Pillar - Planned แบบไหน Maintenance แบบไหนให้ซื้อใจเครื่องจักร https://www.blockdit.com/articles/5ec400935e3bb40c64eb1cbd
2. [ Chapter 14 ] PART 2 : PM Pillar - Planned แบบไหน Maintenance แบบไหนให้ซื้อใจเครื่องจักร
3. [ Chapter 14 ] PART 3 : PM Pillar - Planned แบบไหน Maintenance แบบไหนให้ซื้อใจเครื่องจักร https://www.blockdit.com/articles/5ecddf09de0a710372416dd0
โฆษณา