1 มิ.ย. 2020 เวลา 12:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
[CHAPTER 16]
KAIZEN ให้ได้ผล...ด้วยหลัก 5 GENS
สำหรับ Chapter 15 : OI Pillar Part-3 ขอพักไว้ซักแป็บละกันครับ ยังเขียนต่อไม่ทันช่วงนี้ ภารกิจมาหลายทาง แต่เพื่อไม่ให้เพจนี้ขาดตอน ก็เลยนำบทความเล็กๆ เกี่ยวกับ Technic การทำ Kaizen อย่างไรให้ได้ผล เรามาเริ่มกันเลยละกันครับ
ในภาคอุตสาหกรรม หรือการทำงานในลักษณะใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชน ภาครัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจ จะเป็นโรงงาน โรงแรม โรงพยาบาล หรืองานประเภทอะไรก็ตาม แต่สิ่งที่เรามักจะพบตลอดเวลาและทุกวันคือปัญหาต่างๆ ที่ต้องแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทั่วไปที่เกิดขึ้นมาแบบรุนแรงบ้าง ไม่รุนแรงบาง หรือเป็นปัญหาเรื้อรังที่เกิดขึ้นบ่อยๆ อาจจะไม่รุนแรง แต่เป็นปัญหาที่กวนใจเราตลอดเวลา ปัญหาต่างๆ เหล่านี้แน่นอนครับ เมื่อเกิดมาแล้วเราก็ต้องหาทางแก้ไข แล้วการแก้ไข หรือการปรับปรุง หรือ Kaizen ไม่ว่าจะเรียกอะไรก็ตาม มันก็คือความหมายเดียวกัน สิ่งสำคัญที่สุดคือ วิธีการที่จะนำพาไปถึงกระบวนการแก้ไขนี่สิที่สำคัญที่สุด
และสิ่งที่เป็นหลักเกณฑ์หรือแนวทางที่ชัดเจนที่สุดคือการทำ Kaizen ด้วยหลัก 5G หรือ 5Gens นั้นเอง วันนี้ผมก็เลยอยากจะมาอธิบายแนวทางการปรับปรุงด้วยหลัก 5Gens โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม หรือบริษัทส่วนใหญ่ 90% ถ้าเป็นบริษัทสัญชาติ หรือ Joint venture ที่มีญี่ปุ่นถือหุ้นหลักๆ พนักงานในบริษัทนั้น ๆ แถบจะถูกฟังหัวในการทำงานด้วยหลักการแบบนี้ตลอดเวลา ซึ่งที่ผมเขียนมาแบบนี้ได้เพราะเคยผ่านการทำงานกับบริษัทญี่ปุ่นมาแล้ว 3-4 บริษัท ก็จะถูกสอนถูกให้คิดแบบนี้ตลอดเวลาไม่ว่าจะปรับปรุงแก้ไขปัญหาอะไรก็ตาม
แต่ความจริงแล้วในการทำงานหรือการแก้ไขปัญหาอะไรก็ตามหลักการแบบนี้มันก็จะสอดแทรกเข้ามาตลอดเวลาอยู่แล้ว แต่บางครั้งเราอาจจะไม่รู้ตัว หรือลำดับขั้นตอนอาจจะมาแบบไม่เป็นเหตุเป็นผลทำให้เราแก้ไขปัญหาต่างๆ ไม่บรรลุผลเท่าที่ควร ในบทความนี้เราจะมาจัดลำดับ หลักเกณฑ์ เพื่อให้เรามีวิธีการจัดการวิธีคิด ให้เป็นระบบ ให้เราไม่หลงทาง ในการวิเคาะห์เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โดยหลักการปรับปรุงโดยการใช้หลัก 5 Gens ประกอบด้วย
1. Genba (เก็นบะ) หรือ Real place คือ สถานที่จริง ความสำคัญของ G ตัวที่ 1 คือ ในกรณีที่เกิดปัญหาต่างๆ ในกระบวนการผลิต ไม่ว่าจะเป็น Breakdown Quality defect หรือ Accident สิ่งแรกที่ต้องรู้คือ สภาพสถานที่จริงที่เกิดปัญหานะ Condition ตอนนั้นเป็นอย่างไร เพื่อที่จะได้ใช้เป็นเกณฑ์การตรวจสอบเบื้องต้นว่าสภาพปัจจุบัน ที่เกิดปัญหาสภาพต่างๆ มันอยู่ใน Standard ที่ดีหรือไม่ มีอะไรผิดปกติที่อาจส่งผลหรือไม่ สภาพแวดล้อม Environment เป็นอย่างไร แสงสี ความร้อน เป็นต้น การที่เราออกไปหน้างานที่เกิดปัญหาโดยทันที จะทำให้เราเห็นของจริง ปรากฏการณ์จริงนะเวลานั้นได้ทันที สามารถทำให้รับรู้ข้อเท็จจริงได้แน่นอน
การตรวจสอบโดยใช้หลัก 3Gens
2. Genbutsu (เก็นบุทซึ) หรือ Real part คือ เครื่องจักรหรือชิ้นส่วนของเครื่องจักรจริงที่เป็นสาเหตุของปัญหานั้นๆ แน่นอนสำหรับวิศวกร การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องที่สุด ไม่ได้มาจากข้อมูลประสบการณ์ แต่มาจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นตัวเลขทางสถิติที่จับต้องได้หรือ วัสดุอุปกรณ์ของจริงที่ได้ตรวจสอบทางกายภาพ ยิ่งเราเข้าถึง ชิ้นงานชิ้นส่วนจริงในเวลาเร็วที่สุด เราก็จะพบข้อเท็จจริงได้เร็วและครบถ้วนเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ต่อไป ยิ่งเราเข้าถึงช้าเท่าไหร่ โอกาสจะสูญเสียข้อมูลในการวิเคราะห์ก็มากตามเวลาที่เสียไปด้วย
3. Genjitsu (เก็นจิทซึ) หรือ Real condition คือ สภาวะจริงที่เกิดขึ้น หรือข้อเท็จจริง เช่น สภาวะของวิธีการปฏิบัติงาน สภาพวะของเครื่องจักรอุปกรณ์ สภาวะของคน หรือแม้แต่สิ่งแวดล้อมนะเวลานั้น ทีมวิศวกร หรือทีม Kaizen ต้องเก็บรายละเอียดให้ได้ครบที่สุด การวิเคราะห์ปัญหาจำเป็นต้องได้ข้อมูล ปัจจัยต่างๆ ที่ครบถ้วนที่สุด
หลักการ 3 Gens
4. Genri (เก็นริ) หรือ Principle of work คือ หลักการจริง หรือรู้จริงในเรื่องของหลักการของงานนั้นๆ เช่น การทำงานตาม Working standard หรือ Work Instruction แบบละเอียด ซึ่งเมื่อเราเข้าใจหลักการอย่างถูกต้องเราก็จะหาจุดที่มันผิดพลาดจากหลักการเดิมได้ง่ายขึ้น
5. Gensoku (เก็นโซกุ) หรือ Rule คือ กฎเกณฑ์จริง เช่น เราต้องเข้าใจกฏเกณฑ์จริงๆ ในการทำงานในแต่ละขั้นตอน แต่ละหน่วยงาน แต่ละเครื่องจักร อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ อะไรทำและเกิดปัญหา อะไรทำและไม่เกิดปัญหาเป็นต้น
วิถีซามูไรกับการแก้ไขปัญหาด้วยหลัก 5 Gens
จากทั้ง 5 หลักเกณฑ์ที่อธิบายมาเป็นเพียงพื้นฐานของการเตรียมความพร้อมด้านข้อมูลต่างๆ ในการวิเคราะห์ปัญหาหาสาเหตุเท่านั้น ยังมีเครื่องมือที่สามารถนำเข้ามาสนับสนุนให้เราวิเคราะห์ปัญหาให้ง่ายยิ่งขึ้นอีกมากมาย และผมจะมานำเสนออีกใน Chapter หน้าสำหรับ Chapter นี้ต้องบอกว่าสวัสดีครับ ขอบคุณสำหรับการติดตามและสนับสนุนเพจเล็กๆ เพจนี้ด้วยนะครับ
#นักอุตสาหกรรม ,TheSyndicate
สำหรับบทความใหม่ๆ หลักสูตรต่างๆ ที่ท่านสนใจสามารถ Comment ไว้ได้ครับและจะมาทำหัวข้ออธิบาย สำหรับ 16 ปีในภาคอุตสาหกรรม กับหลายธุรกิจการผลิต ผมก็น่าจะพอแนะนำแนวทางวิธีการที่ได้ผ่านการตกตะกอนมาแล้วว่าน่าจะใช้ได้จริงและได้ผลมาเล่าสู่กันฟังครับ
บทความ TPM ที่น่าสนใจ
1. [ Chapter 14 ] PART 5: PM Pillar - Planned แบบไหน Maintenance แบบไหนให้ซื้อใจเครื่องจักร https://www.blockdit.com/articles/5ece2b08c7238d0c776ee9d2
2. [CHAPTER 15] — PART 2
Education and Training Pillar (ET Pillar) https://www.blockdit.com/articles/5ecf648d36ef9147b1f47949
โฆษณา