12 มิ.ย. 2020 เวลา 13:30
เศรษฐศาสตร์อิสลามกับการทำธุรกิจแชร์ลูกโซ่
ด้วยสังคมปัจจุบัน ประชาชนมีความต้องการ "เงิน" เพื่อมาจับจ่ายสินค้า อาหารการกิน กอปรกับเหตุการณ์โรคระบาดได้ซ้ำเติมเศรษฐกิจให้คนรากหญ้าดำดิ่งลงสู่เหว ก็มีกลุ่มคนผู้หนึ่งที่มาซ้ำเติมคนเหล่านี้ด้วยการหลอกขายฝันที่ไม่มีวันเป็นจริง
หนำซ้ำข้อเสนอที่กลุ่มเหล่านี้เสนอมาก็มักตอบสนองความอยากอันจะนำมาซึ่งความโลภ และอาจจะตกเป็นเหยื่อของกลุ่มคนหัวใส ที่ใช้ "เงินน้อย" เพื่อหลอกเอา "เงินเยอะ" ซึ่งอย่างนี้ในต่างประเทศ เค้าเรียกว่า : ธุรกิจแบบระบบพีระมิด (Pyramid Scheme) บ้านเราเรียกว่า : แชร์ลูกโซ่
ธุรกิจประเภทนี้จะมีหรือไม่มีสินค้า บางบริษัทอาจมีจริง ๆ แต่ไม่ใช่รายได้หลัก ไม่มีบริการแต่จะมุ่งขาย "ฝัน" กับ "ความน่าเชื่อถือ" เมื่อประชาชนนำเงินมาลงทุนมาก ๆ เจ้าของหรือผู้บริหารระดับต้นก็มักจะไซฟ่อน (Syphon) เงินของ "เหยื่อ" ออกไปเหมือนกาลักน้ำ และทิ้งความปวดร้าวให้กับ ผู้ที่นำเงินมาลงทุน (เหยื่อ) นั่นคือ ธุรกิจที่อยู่ในระบบพีระมิดนั่นเอง
แล้วธุรกิจแบบระบบพีระมิดคืออะไร?
ธุรกิจแบบระบบพีระมิดคือ การระดมทุนรูปแบบหนึ่ง แต่จะมีข้อสังเกตจากการเน้นระดมทุนจากสมาชิกโดยให้ผลตอบแทนที่สูงมาก ๆ บางธุรกิจมักกล่าวอ้างว่าเป็นการนำเงินที่ระดมไปลงทุนต่อในธุรกิจกำไรดี กลยุทธ์การลงทุนที่สลับซับซ้อน หรืออ้างว่านำเงินไปลงทุนในต่างประเทศ
แต่จริง ๆ แล้ว วัตถุประสงค์ของระบบพีระมิด คือ ต้องการหาสมาชิกใหม่ให้ได้จำนวนมาก ๆ เพื่อนำรายได้ที่ได้จากสมาชิกใหม่ไปจ่ายให้รายเก่าที่ถูกหลอกมาก่อนหน้า ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ เป็นทอด ๆ จึงถูกเรียกว่า แชร์ลูกโซ่ (Ponzi scheme) โดยผู้ที่อยู่บนจุดสูงสุดจะพยายามใช้รูปแบบกาลักน้ำในการนำเงินเข้ากระเป๋าตัวเอง จะไม่กินรวบทีเดียว แต่จะค่อย ๆ กินทีนิดหรือหากมีการเก็บค่าสมัคร หรือค่าบริการสูง ก็จะมีการกินเงินทีละมาก ๆ แต่อยู่ได้นาน ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมระบบแบบนี้มักจะไม่ค่อยเอะใจว่าผู้บริหารนำเงินมาจากไหน ถึงได้ให้ผลตอบแทนสูงขนาดนี้ แต่ตนเองไม่สนใจเพราะได้เงินตามที่เขาสัญญาไว้แรก ๆ โดยคิดเพียงแค่ว่ามันทำแล้วได้เงินจริง ๆ
และเมื่อถึงห่วงโซ่ท้าย ๆ ก็จะเกิดการหมุนเงิน และด้วยคำโฆษณาที่ระบุผลตอบแทนสูง เมื่อหมุนเงินไม่ทัน ก็จะเริ่มเข้าสู่ลูปของการเลื่อนจ่ายผลตอบแทน และหนีไปในที่สุด ทิ้งสมาชิกที่เป็นเหยื่อจำนวนมากไว้ข้างหลัง
ลักษณะของผู้ประกอบการ มีทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล โดยอาจตั้งมาในรูปบริษัทจำกัดมีหนังสือจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจจากกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งการจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจดังกล่าวนั้นไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันว่าทางบริษัทจะไม่มีการทำธุจกิจแบบแชร์ลูกโซ่ ซึ่งการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายถูกต้องก็จริง แต่บริษัทแชร์ลูกโซ่จะไม่ดำเนินธุรกิจตามกฎหมาย ส่วนใหญ่จะเริ่มจากการโฆษณาชักชวนประชาชนให้มาร่วมลงทุนอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในปัจจุบันแชร์ลูกโซ่มักแฝงตัวมาในรูปแบบขายตรงมากขึ้น ซึ่งการขายตรงจะเน้นการขายสินค้า แต่แชร์ลูกโซ่ก็มีการขายสินค้าเช่นกัน แต่การขายสินค้าตรงนี้ ทำไปเพียงเพื่อเป็นฉากบังหน้าเพียงเท่านั้น คนหัวใสจึงรู้ถึงเส้นคั่นบาง ๆ นี้ดี จึงทำแชร์ลูกโซ่ผ่านการขายสินค้าบังหน้า เพื่อเลี่ยงบาลีไม่ให้โดนจับได้โดยง่าย แต่ความเป็นจริงแล้วใช้กลยุทธ์แบบแชร์ลูกโซ่ทุกอย่างคือเน้นการหาสมาชิกทีมเยอะ ๆ ทุบหัวเอาเงินเข้าบ้าน ก่อนจะหนีหายเข้ากลีบเมฆ
ตัวอย่างรูปแบบแชร์ลูกโซ่คือ
เมื่อบุคคลใดพอใจกับบริษัทหรือสินค้าของบริษัท เขาก็จะลงทะเบียนในเว็บไซต์ของบริษัท โดยการกรอกรายละเอียดของตัวเอง และหมายเลขของผู้ที่แนะนำเขามาให้สมัคร (หากมี และผู้ที่แนะนำก็จะได้ % จากการชักชวนด้วย) พร้อมกับจ่ายค่าลงทะเบียนเป็นเงินจำนวนหนึ่ง หรืออาจจะมีการบังคับให้ซื้อสินค้า และจากนั้นก็รับหมายเลขรหัสของตัวเองโดยถูกบรรจุภายใต้สายของผู้ที่แนะนำเขามา
ซึ่งทางบริษัทมีการตลาดโดยตรงให้กับลูกค้า และให้ลูกค้าทุกคนมีสิทธิ์ในการมีส่วนร่วมในการทำธุรกิจกับคนอื่น ๆ โดยที่งานของเขาคือ เขาจะต้องดึงคนอื่น ๆ ให้มาซื้อสินค้าและลงชื่อเป็นสมาชิก โดยอยู่ภายใต้สายของเขาต่อ ๆ กันไปเป็นขั้น ๆ จนเกิดเป็นเครือข่ายแบบพีระมิด
โดยที่ผู้ถือสิทธิ์จะได้รับเป็นค่าคอมมิชชั่นที่สะสมเป็นแต้ม หรือเลเวลที่ได้รับจากการหาลูกค้าที่จะมาเป็นสมาชิกทางสายของเขา ซึ่งค่าคอมมิชชั่นนี้จะได้รับเมื่อเสร็จสิ้นการระบุจำนวนของลูกค้าที่จะมาเป็นสมาชิกที่ผู้ถือสิทธิ์ชวนให้ซื้อผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ และกลายเป็นสมาชิกในสายของเขา และบริษัทก็ให้สิทธิ์เช่นเดียวกันสำหรับลูกค้าใหม่รายอื่น ๆ และจะเป็นอย่างนี้ต่อ ๆ กันไปเป็นขั้น ๆ
หากเข้าไปดูกลยุทธ์การขายแล้วจะพบว่าแชร์ลูกโซ่มักไม่ค่อยพูดถึงสินค้าเลย แต่จะพูดแต่คำว่ารวย ซึ่งขั้นตอนการทำแชร์ลูกโซ่นี้แทบจะเป็นเหมือนกันหมด
ซึ่งแชร์ลูกโซ่นั้นมักจะมีการวิวัฒนาการอยู่ตลอด บางธุรกิจก็ไม่จำเป็นต้องมีสินค้าใด ๆ ก็สามารถหมุนเวียนเงินได้ตลอดทั้งปีโดยใช้เงินค่าสมัครมาหมุนกันเรื่อย ๆ บางธุรกิจก็มาแบบรับจ้างโฆษณาเหมือนดังที่ Nice Review ได้ทำ ซึ่งการยิงโฆษณาให้กับบางบริษัทนั้นก็เป็นเรื่องจริง แต่บางบริษัทที่ได้อ้างว่า มีการทำสัญญาจ้างกับเขาไว้ ก็เป็นเรื่องโกหก สุดท้ายคนที่ไม่มีความรู้ และไม่คิดให้รอบคอบก็จะกลายเป็นเหยื่อของคนฉลาดต่อไป
หรือสรุปเป็นข้อสังเกตได้ดังนี้
-มักบอกว่าเป็นการลงทุนระยะสั้น ผลตอบแทนสูง แถมบางครั้งโฆษณาด้วยว่ามีความเสี่ยงต่ำ
-มีการอ้างชื่อคนดัง ไม่ว่าจะเป็น ดาราคนนี้ก็ลงทุน ผู้มีอิทธิพล หรือคนที่เป็นที่รู้จัก ต่างก็ร่วมลงทุน
-รูปแบบการลงทุนแชร์ลูกโซ่จะไม่ชัดเจน สินทรัพย์เป็นอะไรที่เข้าใจยาก ใหม่ หรือยังไม่เป็นที่รู้จัก หรือบางครั้งเป็นสินทรัพย์ที่อยู่ต่างประเทศ ตรวจสอบได้ยาก
-จะมีรูปแบบของการหาสมาชิกเพิ่มเป็นประเด็นหลัก เช่น ชวนเพื่อนมาสมัคร จะทำให้เราได้ผลตอบแทนที่มากขึ้น ๆ ไป
-อ้างว่าถ้าไม่รีบคว้า อาจเสียโอกาสนี้ไป
-ชักจูงให้เราลงทุนเพิ่ม โดยช่วงแรก มักจ่ายผลตอบแทนคืนให้จำนวนสูงตามที่ตกลงไว้ และเมื่อสมาชิกตายใจ ก็จะชักจูงให้นำเงินมาลงทุนในแชร์ลูกโซ่เพิ่ม เพื่อผลตอบแทนที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย
ทำไมธุรกรรมประเภทนี้จึงเป็นที่ต้องห้ามในบทบัญญัติ?
ธุรกิจดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่ต้องห้ามตามบทบัญญัติด้วยเหตุผลหลาย ๆ ประการด้วยกัน ซึ่งสังเกตุได้จากคำวินิจฉัยของบรรดานักวิชาการอิสลามที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐศาสตร์โดยตรงดังต่อไปนี้
1.ดร.ฮัซซามุดดีน ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์อิสลาม ได้กล่าวไว้ว่า :
وَبَعْـدَ الْإِطْلَاعِ عَلَى آرَاءَ أُخْرَىْ فِيْ الْمَوْضُوْعِ يُظْهَرُ لِيْ أَنَّ أُسْلُوْبِ تَعَامُلِ الشَّرِكَةِ غَيْرُ شَرْعِيٍّ لِمَا يَلِيْ :
إِنَّ مُعَامَلَةَ الشَّرِكَةِ الْمَذْكُوْرَةِ تَقُوْمُ عَلَى الْغَرَرِ وَهُوَ مَا كَانَ مَجْهُوْلُ الْعَاقِبَةِ لَا يُدْرَىْ هَلْ يَحْصُلُ أَمْ لَا؟ وَقَدْ صَحَّ فِيْ الْحَدِيْثِ عَنْ أَبِيْ هُرَيْرَةَ - رَضِيَ اللهُ عَنْهُ - : أَنَّ النَّبِيَّ - صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - نَهَىْ عَـنْ بَيْعِ الْغَرَرِ فَمُعَامَلَةُ الشَّرِكَةِ كَـــأَنَّــهَا نَـوْعٌ مِـنَ الْقِـمَـارِ حَـيْــثُ إِنَّ الـزُّبُـوْنَ يُـدْفَـعُ مَبْــلَغًا مِنَ الْمَالِ وَهُنَالِكَ احْتَمَالُ أَنْ يُرْبَحَ أَوْ لَا يُرْبَحُ.
“หลังจากได้ทำการพิจารณาดูจากหลายๆ มุมมองในเรื่องนี้ มันจึงปรากฏแก่เราว่า :
“แบบแผนหรือวิธีการในการดำเนินธุรกรรมของบริษัทดังกล่าว ผิดต่อหลักบทบัญญัติด้วยเหตุดังต่อไปนี้ :
“แท้จริงการทำธุรกรรมของบริษัทที่กล่าวถึงนั้น ตั้งอยู่บนความคลุมเครือที่ผิดต่อหลักการ ( الْغَرَرُ ) ซึ่งเป็นผลพวงมาจากไม่มีความแน่นอนในผลลัพธ์ที่จะได้รับว่า มันจะได้รับหรือไม่เท่าไหร่? และได้ถูกระบุไว้ในวจนะหนึ่งที่รายงานจากอบู ฮุรอยเราะฮ์ว่า :
نَهَى رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَنْ بَيْعِ الْغَرَرِ
“ท่านศาสดาได้ห้ามไม่ให้มีการขายสิ่งที่คลุมเครือ”
รายงานโดยอิบนุ ฮิบบาน
ดังนั้นการทำธุรกรรมของบริษัทนี้ เสมือนกับว่าเป็นธุรกรรมที่จัดอยู่ในชนิดของการพนัน ที่ลูกค้าจะต้องจ่ายเงินจำนวนหนึ่งที่ถูกกำหนดไว้ และขณะเดียวกันก็มีความเป็นไปได้ ที่จะได้รับกำไรหรือไม่ก็ได้”
2.ดร.ซามีย์ อัซซุวัยลิม ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์อิสลามอีกคนหนึ่ง ได้กล่าวไว้เช่นกันว่า :
إِنَّ الدُّخُوْلَ فِيْ هَذَا البَرْنَامِجِ فِيْ حَقِيْقَتِهِ مُقَامَرَةٌ : كُلٌّ يُقَامِرُ عَلَى أَنَّهُ سَيَرْبَحُ قَبْلَ تَوَقُّفِ الْهَرَمِ . وَلَوْ عَلِمَ الشَّخْصُ أَنَّهُ سَيَكُوْنُ مِنَ الْمُسْتَوِيَّاتِ الدُّنْيَا حِيْنَ يَتَوَقَّفُ الْهَرَمُ لَمْ يَكُنْ لِيَقْبَلَ بِالدُّخُوْلِ فِيْ الْبَرْنَامِجِ وَلَا بِرُبُعِ الثَّمَنِ الْمَطْلُوْبِ وَلَوْ عَلِمَ أَنَّهُ سَيَكُوْنُ مِنَ الْمُسْتَوِيَّاتِ الْعُلْيَا لَرَغَبَ فِيْ الدُّخُوْلِ وَلَوْ بِأَضْعَافِ الثَّمَنِ.
وَهَذَا حَقِيْقَةُ الْغَرَرِ الْمَحَرَّمِ إِذْ يَقْبَلُ الشَّخْصُ بِالدُّخُوْلِ عَلَى أَمَلِ الْإِثْرَاءِ حَتَّى لَوْ كَانَ احْتِمَالُ تَحَقُّقِ هَذَا الْأَمَلِ ضَعِيْفًا جِدًّا مِنْ حَيْثُ الْوَاقِعِ.
فَالثِّرَاءُ هُوَ الذِّيْ يُغْرِيْ الْمَرْءِ لِكَيْ يَدْفَعَ ثَمَنَ الْاِنْضِمَامِ لِلْبَرْنَامِجِ فَهُوَ يُغِّرُهُ بِالْأَحْلَامِ وَالْأَمَانِيِّ وَالْوَهَمِ بَيْنَمَا حَقِيْقَةُ الْأَمْرِ أَنَّ احْتِمَالَ خَسَارَتِهِ أَضْعَافُ احْتِمَالِ كَسْبِهِ.
قَدْ يُقَالُ بَيْعَتَانِ فِيْ بَيْعَةٍ : عَنِ الثَّمَنِ الذِّيْ يَدْفَعُهُ الْمُشْتَرِكُ هُوَ مُقَابِلُ السِّلْعَةِ وَلَيْسَ مُجَرَّدُ الْاِنْضِمَامِ لِلْبَرْنَامِجِ فَهُوَ يَنْتَفِعُ بِشِرَاءِ السِّلْعَةِ سَوَاءٌ اسْتَمَرَّ الْهَرَمُ فِيْ النَّمْوِ أَمْ لَا.
وَهَذِهِ هِــيَ الْحُجَّةُ الَّتِيْ تَسْتَنِــدُ إِلَيْــهَا الشَّـرِكَـاتُ الَــّتِيْ تَنْــفَذُ الْــبَــرَامِجِ فِيْ إِقْنَاعِ الْجُمْهُوْرِ بِأَنَّهَا تَخْتَلِفُ عَنِ الْبَرَامِـِجِ الْمَمْنُوْعَةِ قَانُوْنًا.
لَكِنَّ الْجَمِيْعَ يُعْلَمُ أَنَّ الذِّيْ يَنْضَمُّ إِلَى هَذَا الْبَرْنَامِجِ لَا يُرِيْدُ السِّلْعَةَ ذَاتَهَا بَلْ يُرِيْدُ الْاِنْضِمَامَ لِلْبَرْنَامِجِ الْهَرَمِيِّ وَهَذَا مَعْنَىْ قَاعِدَةِ مَنْعِ بَيْعَتَيْنِ فِيْ بَيْعَةٍ وَأَصْلُ ذَلِكَ أَنَّ النَّبِيَّ - صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - نَهَى عَنْ بَيْعَتَيْنِ فِيْ بَيْعِةٍ وَحَقِيْقَةُ بَيْعَتَيْنِ فِيْ بَيْعَةٍ أَنَّهَا مُحَاوِلَةُ لِلْاِلْتِفَافِ عَلَى الْأَحْكَامِ الشَّرْعِيَّةِ مِنْ خِلَالِ ضَمِّ عَقْدٍ غَيْرِ مَقْصُوْدٍ لِلطَّرْفَيْنِ أَوْ لِأَحَدِهِمَا مِنْ أَجْلِ تَنْفِيْذِ الْعَقْدِ الْآخَرِ وَلَوْ اسْتَقَلَّ الْعَقْدُ الْآخَرُ لَمْ يَكُنْ جَائِزًا.
وَفِيْ بَرَامِجِ التَّسْوِيْقِ الْهَرَمِيِّ فَإِنَّ امْتِلَاكِ السِّلْعَةِ غَيْرُ مَقْصُوْدٍ لِلْمُشْتَرِيْ وَلَا مُرَادَ لَهُ بَلْ مُرَادُهُ هُــوَ الْاِنـْضِـمَامُ لِلْبَـرْنـَامِـجِ عَـــلَى أَمَلِ الثِّــرَاءِ السَّـــرِيْـعِ فَالشِّرَاءُ مُجَرَّدُ سِتَارٍ لِلْاِنْضِمَامِ لِلْبَرْنَامِجِ بَيْنَمَا الْاِنْضِمَامُ لِلْبَرْنَامِجِ مُقَابِلُ ثَمَنٍ مِنَ الْغَرَرِ وَأَكْلِ الْمَالِ بِالْبَاطِلِ.
“เมื่อพิจารณาในความเป็นจริงแล้ว การเข้าไปมีส่วนร่วมในบริษัทแชร์ลูกโซ่เหล่านี้ คือการเล่นการพนันหรือการเสี่ยงโชคนั่นเอง :
“ซึ่งทุกๆ คนมีการเดิมพันกับการได้รับกำไรก่อนที่เครือข่ายพีระมิดนี้จะสิ้นสุดลง หากว่าเขาล่วงรู้อย่างแน่นอนว่า เขาขาดทุนเมื่อเครือข่ายพีระมิดหยุดลง แน่นอนว่าเขาจะไม่ยอมเข้าสู่ระบบแชร์ลูกโซ่นี้ แม้จะต่องจ่ายเพียงหนึ่งในสี่ของราคาค่าสมัครก็ตาม และหากเขาล่วงรู้อย่างชัดเจนว่าเขาจะได้รับกำไรที่สูงขึ้น แน่นอนว่าเขาจะต้องมีความปรารถนาที่จะเข้าสู่โปรแกมนี้ แม้จะต้องลงทุนด้วยจำนวนเงินหลายเท่าตัวกับราคาของค่าสมัครก็ตาม
ดังนั้นตามความเป็นจริงแล้ว สิ่งนี้คือความคลุมเครือที่ต้องห้ามในบทบัญญัติ เนื่องจากการเข้าสู่ระบบของเขาก็เพื่อหวังเดิมพันถึงความมั่งคั่งร่ำรวย แม้ว่าความน่าจะเป็นของความหวังนี้จะอ่อนแอมากในแง่ของความเป็นจริงก็ตาม
ดังนั้นความมั่งคั่งนี้คือกลลวงหนึ่งที่ล่อลวงคน ๆ หนึ่งให้จ่ายเงินค่าสมัครในการเข้าร่วมระบบแชร์ลูกโซ่ โดยทำการล่อลวงด้วยความฝันลม ๆ แล้ง ๆ และแรงบันดาลใจและภาพลวงตา ในขณะที่ความจริงที่ว่าน่าจะเป็นการเสียเปรียบกว่าที่สิ่งเขาสมควรที่จะได้รับ
และอาจจะกล่าวได้ว่าสิ่งนี้ถูกจัดอยู่ในฮุก่มของ “สองการตกลงทางการค้าที่ทับซ้อนการตกลงทางการค้าหนึ่ง” :
“โดยหนึ่งในการตกลงทางการค้าที่ว่าคือ ค่าสมัครที่จ่ายโดยผู้ร่วมหุ้นที่จะคิดแทนที่การซื้อสินค้าในการขายแบบปรกติ และมันก็ไม่ใช่แค่การตกลงทางการค้าอันเดียวที่เป็นการสมัครเข้าสู่ระบบแชร์ลูกโซ่
การขายที่บริษัทจะได้รับผลประโยชน์ด้วยสาเหตุจากการซื้อสินค้าของผู้บริโภค (การเป็นนายหน้า) ไม่ว่าเครือข่ายพีระมิดนี้ยังคงเติบโตหรืออยู่หรือไม่ก็ตาม
ซึ่งสิ่งนี้เป็นแค่หลักค้ำจุนที่เป็นข้ออ้างของบริษัทเหล่านี้ เพื่อโน้มน้าวต่อคนอื่น ๆว่า สิ่งที่พวกเขาทำนั้นมันแตกต่างจากธุรกิจการขายตรงที่ต้องห้ามตามกฏหมาย
แต่ทุกคนก็ย่อมรู้ดีว่าคนที่เข้าร่วมธุรกิจแชร์ลูกโซ่นี้ ไม่ได้ต้องการสินค้าแต่อย่างใด แต่ต้องการที่จะเข้าร่วมเล่นแชร์ลูกโซ่ต่างหาก และสิ่งนี้ก็จัดอยู่ในนัยยะของหลักการห้ามสองการตกลงทางการค้า ที่ทับซ้อนกับการตกลงทางการค้าหนึ่ง โดยที่มีหลักฐานห้ามมาจากท่านศาสดาได้ห้ามไม่ให้มีสองข้อตกลงทางการค้า ที่ทับซ้อนกับข้อตกลงทางการค้าหนึ่ง
และโดยความจริงแล้ว สองการตกลงทางการค้าทับซ้อนการตกลงหนึ่งนั้นคือความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงบทบัญญัติระหว่างการถือครอง โดยไม่ใช่เป้าหมายหลักแก่ทั้งสองฝ่ายหรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด โดยการดำเนินสัญญาทำการซื้อขายอื่นทับซ้อนกับสัญญาการซื้อขายแรก แม้ว่าจะจัดการทำสัญญาโดยเอกเทศก็ตามถือว่าไม่อนุญาต
และพอมาดูในเรื่องของการทำธุรกิจแบบพีระมิด ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการการครอบครองสินค้าของผู้ซื้อนั้นไม่ใช่เป้าหมาย แต่เป้าหมายของเขาคือการเข้าร่วมธุรกิจแชร์ลูกโซ่ เพื่อหวังที่จะได้รับความมั่งคั่งอย่างรวดเร็ว
ดังนั้นการซื้อขายก็เป็นเพียงแค่หน้ากากบังหน้าเพื่อที่จะล่อลวงให้เข้าร่วมโครงการ โดยมีข้อแลกเปลี่ยนเป็นเงินตราที่ไม่แน่นอน และยังเป็นการบริโภคทรัพย์สินของมนุษย์โดยไม่มีความชอบธรรมอีกด้วย”(1)
3.ดร.ฮามิด อัล-อลีย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ อีกท่านได้กล่าวไว้ในหนังสือเล่มเดียวกันนี้ว่า :
ثُمَّ بَعْدَ ذَلِكَ تَوَالَتْ عَلَيْنَا أَسْئِلَةٌ كَثِيْرَةٌ تُسْأَلُ عَنْ بَزْنَاسٍ وَهِيَ شَرِكَةٌ عَلَى شَبْكَةِ الْإِنْتَرْنِتْ تَقُوْمُ بِعَمَلِيَّاتٍ تِجَارِيَّةٍ تَبَيَّنَ لَنَا بَعْدَ ذَلِكَ أَنَّهَا تَدْخُلُ فِيْمَا يُـسَــمَّىْ بَرَامِجُ التَّسَلْسُلِ الْهَرَمِيُّ أَوْ شَبْكَاتُ التَّسْوِيْقِ وَبَعْدَ النَّظَرِ فِيْ حَقِيْقَةِ مَا تَقُوْمُ بِهِ تَبَيَّنَ لِيْ أَنَّهَا مُعَامَلَاتٌ مُحَرَّمَةٌ تَشْتَمِلُ عَلَى الْغَشِّ وَالْخِدَاعِ وَالْوَهَمِ وَتَتَضَمَّنُ مُقَامَرَةً وَغَرَرًا وَعَلَيْهِ فَلَا يَجُوْزُ التَّعَامُلُ مَعَ الشَّرِكَةِ الْمَذْكُوْرَةِ.
“มีคำถามเกิดขึ้นมากมายที่ถูกถามเกี่ยวกับบริษัทหนึ่ง ที่ได้ก่อตั้งบนอินเทอร์เน็ต โดยมีการดำเนินงานในเชิงพาณิชย์ ซึ่งได้ประจักษ์ชัดให้เราเห็นในภายหลังว่า มันคือสิ่งที่เขาเรียกกันว่าธุรกิจเครือข่ายแบบพีระมิดพีระมิด หรือธุรกิจแชร์ลูกโซ่
หลังจากพิจารณาถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นกับมันแล้วจึงประจักษ์ชัดแก่เราว่า มันคือธุรกรรมต้องห้ามตามบทบัญญัติที่ประมวลอยู่บนการฉ้อฉล และการหลอกลวง และความฝันลม ๆ แล้ง ๆ และยังเข้าข่ายการพนัน และยังมีความไม่แน่นอนอีกด้วย ดังนั้นข้อตัดสินบนมันคือไม่อนุญาตให้ทำธุรกรรมกับบริษัทดังกล่าว”
ดังนั้นผู้ที่เข้ามาเป็นสมาชิกในธุรกิจดังกล่าวนี้จะเข้ามาโดยการถูกล่อลวงด้วยกับคำว่ารวย (โดยการโฆษณาถึงผลกำไรที่ล้นหลาม) เพื่อให้เขาจ่ายเงินค่าสมัครเพื่อเข้าร่วมกับธุจกิจแชร์ลูกโซ่
แต่ในความเป็นจริงนั้นความหน้าจะเป็นที่จะเป็นไปได้ในภาพรวมคือ การเสียเปรียบขาดทุนหลายเท่าตัว และสิ่งเหล่านี้ก็ยังคลุมเครือไม่มีความแน่นอน ซึ่งเป็นรายได้ที่คลุมเครือที่เป็นที่ต้องห้ามในบทบัญญัติที่ท่านศาสดาได้ห้ามเอาไว้
อิหม่ามอัรรอมลีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “นิฮายะตุลมั้วะห์ต้าจ” ว่า : “ความไม่แน่นอนและคลุมเครือ ( الْغَرَرُ ) คือสิ่งที่สามารถคาดคะเนไปได้ทั้งสองด้าน จะคาดคะเนไปในทางที่หนักแน่นกว่า หรือทางที่เบาบางกว่าก็ย่อมได้ (ไม่มีความแน่นอนในตัวของมันเอง)
โดยสรุปคือ ผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายโดยบริษัท ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่สัมผัสได้หรือไม่ก็ตาม เป็นเพียงแค่หน้ากากบังหน้าเพื่อที่จะเป็นเครื่องมือในล่อลวงผู้คนสู่การเข้าร่วมธุรกิจแบบแชร์ลูกโซ่ และการทำงานแชร์ลูกโซ่นี้จะมีค่าตอบแทนเป็นจำนวนเงินที่ไม่มีความแน่นอน และยังเป็นการบริโภคทรัพย์สินของมนุษย์โดยมิชอบตามหลักบทบัญญัติ
ดังนั้นกระบวนการของมันไม่ใช่แค่การเป็นนายหน้าอย่างที่บางคนกำลังคิด เนื่องจากการเป็นนายหน้านั้น คือการทำสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์ที่ผูกขาดว่า นายหน้าจะได้รับส่วนแบ่งจากการขาย โดยคิดเป็นส่วนเงินที่มาจากราคาสินค้า
สำหรับธุรกิจแบบพีระมิดนี้ ผู้ดำเนินการก็คือตัวของเขาเอง โดยที่เขาจะต้องจ่ายเงินส่วนหนึ่งเพื่อที่เขาจะเข้ามาอยู่ในระบบของแชร์ลูกโซ่ ซึ่งมันกลับกันโดยสิ้นเชิงกับการเป็นนายหน้า
และเช่นกันเป้าหมายในการทำธุรกิจแบบพีระมิดนี้ ไม่ใช่การขายสินค้า แต่เพื่อดึงดูดหาสมาชิกใหม่ ๆ ให้เข้ามาร่วมธุรกิจเพื่อล่อให้คนอื่น ๆ มาติดกับกันไปเป็นทอด ๆ จนเป็นสายโซ่ตามลำดับ”(2)
4.คณะกรรมาธิการเพื่อการวิจัยและชี้ขาดปัญหาศาสนาประเทศซาอุดิอาระเบียได้แถลงการผ่านทางเว็บไซต์ “อิสลาม ทูเดย์” ว่า :
إِنَّ هَذَا النَّوْعُ مِنَ الْمُعَامَلَاتِ مُحَرَّمٌ، وَذَلِـكَ أَنَّ مَقْصُوْدَ الْمُعَامَلَةِ هُوَ الْعُمُوْلَاتُ وَلَيْسَ الْمُنْتَجُ، فَالْعُمُوْلَاتُ تَصِلُ إِلَى عَشَرَاتِ الْآلَافِ، فِيْ حِيْنٍ لَا يَتَجَاوَزُ ثَمَنُ الْمُنْتَجِ بِضْعَ مِئَاتٍ، وَكُلُّ عَاقِلٍ إِذَا عَرَضَ عَلَيْهِ الْأَمْرَانِ فَسَيَخْتَارُ الْعُمُوْلَاتِ، وَلِهَذَا كَانَ اعْتِمَادُ هَذِهِ الشَّرِكَاتِ فِيْ التَّسْوِيْقِ وَالدِّعَايَةُ لِمُنْتِجَاتِهَا هُوَ إِبْرَازُ حَجْمِ الْعُمُوْلَاتِ الْكَبِيْرَةِ الَّتِيْ يُمْكِنُ أَنْ يَحْصُلَ عَلَيْهَا الْمُشْتَرِكُ، وَإِغْرَاؤُهُ بِالرِّبْحِ الْفَاحِشِ مُقَابِلَ مَبْلَغٍ يَسِيْرٍ هُوَ ثَمَنُ الْمُنْتَجِ، فَالْمُنْتَجُ الذِّيْ تُــسَــوِّقُهُ هَــذِهِ الشَّـرِكَـاتُ مُجَرَّدُ سِتَـارٍ وَذَرِيْعَةٌ لِلْحُصُوْلِ عَلَى الْعُمُوْلَاتِ وَالْأَرْبَاحِ، وَلَمَّا كَانَتْ هَذِهِ هِيَ حَقِيْقَةُ هَذِهِ الْمُعَامَلَةِ، فَهِيَ مُحَرَّمَةٌ شَرْعًا.
“การทำธุรกรรมชนิดนี้ “เป็นสิ่งที่ต้องห้ามในบทบัญญัติ” ดังกล่าวนี้เนื่องด้วยเหตุที่ว่า แท้จริงแล้วเป้าหมายของการทำธุรกรรมนี้คือรายได้หรือเม็ดเงินไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ หรือสินค้าจริง ๆ
ดังนั้นเม็ดเงินอาจจะมีจำนวนหลายหมื่น ในขณะที่ราคาผลิตภัณฑ์มีมูลค่าไม่กี่ร้อย และคนที่มีสมองมีสติปัญญาทุก ๆ คน เมื่อมีการเสนอให้เขาเลือกสองสิ่งนี้ (เม็ดเงินหรือสินค้า) แน่นอนว่าเขาจะต้องเลือกเม็ดเงินที่จะเป็นค่าคอมมิชชั่นอย่างแน่นอน
ด้วยเหตุนี้ บริษัทเหล่านี้จึงอาศัย และมุ่งมั่นต่อธุรกิจแชร์ลูกโซ่นี้ และอาศัยการโฆษณาผลิตภัณฑ์ของตน (บังหน้า) ด้วยเหตุนี้บริษัทจะใช้วิธีโฆษณาสินค้าโดยการบอกถึงจำนวนเม็ดเงินที่มากมาย และผู้เข้าร่วมจะได้รับและจูงใจด้วยกำไรที่เกินคาดดังที่เห็น”
5.สภานิติศาสตร์อิสลาม ได้มีข้อมติออกมาว่า :
إن الاشتراك في شركة بزناس وما يشابهها من شركات التسويق الشبكي لا يجوز شرعاً لأنه قمار .
“การเข้าร่วมกับบริษัทบิสเนสและอื่นๆที่เป็นบริษัทธุรกิจแบบเครือข่าย ไม่เป็นที่อนุญาตในศาสนาอิสลาม เพราะถือว่าเป็นการพนัน”
إن نظام شركة بزناس وما يشابهها من شركات التسويق الشبكي لا صلة له بعقد السمسرة كما تزعم الشركة.
“ระบบของบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับแชร์ลูกโซ่และบริษัทอื่น ๆ ที่คล้ายกันไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อตกลงนายหน้าตามที่บริษัทอ้าง”
สรุปสาเหตุหลักที่ทำให้ธุรกรรมนี้เป็นสิ่งต้องห้ามหรือผิดหลักการศาสนา
ประการที่ 1.
ธุรกรรมประเภทนี้ประมวลอยู่บนการกินดอกเบี้ยทั้งสองประเภท “ดอกเบี้ยประเภทเหลื่อมล้ำ” ( رِبَا الْفَضْلِ ) และ “ดอกเบี้ยประเภทผัดผ่อนหรือล่าช้า” ( رِبَا النَّسِيْئَةِ ) เนื่องจากสมาชิกจะจ่ายเงินจำนวนน้อย เพื่อที่จะได้รับเงินจำนวนมากกว่าที่จ่ายไป
ดังนั้นสิ่งนี้คือ การแลกเงินตรากับเงินตราโดยมีความเหลื่อมล้ำทางด้านมูลค่า ซึ่งเข้าในรีบาประเภทแรก และก็ยังมีความล่าช้าในการส่งมอบ ซึ่งก็เข้ารีบาประเภทที่สอง สิ่งนี้คือดอกเบี้ยที่ต้องห้ามในบทบัญญัติ และเป็นมติเอกฉันท์ของปวงปราชญ์
ในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่านได้ระบุไว้ว่า :
وَأَحَلَّ اللهُ البَيْعَ وَحَرَّمَ الرِّبَا
“พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงทำให้การค้าขายนั้นเป็นสิ่งที่อนุญาต และได้ทำให้การกินดอกเบี้ยนั้นเป็นสิ่งต้องห้าม”
ส่วนผลิตภัณฑ์ที่บริษัทขายให้แก่สมาชิกหรือลูกค้า ก็เป็นเพียงหน้ากากบังหน้าเพื่อให้เห็นว่า มีการแลกเปลี่ยนซื้อขายซึ่งมันไม่ใช่เป้าหมายของสมาชิก ดังนั้นจึงไม่มีผลสะท้อนใดๆ ในการที่บริษัทจะมากล่าวอ้างว่ามันอยู่ในฮุก่มการขาย
ประการที่ 2.
การทำธุรกรรมนี้เป็นชนิดหนึ่งจาก “การค้าที่คลุมเครือ หรือ ไม่มีความแน่นอนในรายได้” ( بَيْعُ الْغَرَرِ ) ซึ่งเป็นที่ต้องห้ามในบทบัญญัติ เพราะสมาชิกไม่สามารถทราบได้ว่า เขาประสบความสำเร็จในการเก็บเกี่ยวเลเวล หรือแต้มจากการเชิญชวนให้ผู้อื่นมาเป็นสมาชิกหรือไม่?
และธุรกิจแบบพีระมิดนี้ แม้ว่ามันยังคงดำเนินไปเรื่อยๆ แต่มันก็ต้องดำเนินไปยังจุดสิ้นสุดแล้วหยุดลงในที่สุด ในสภาพที่สมาชิกเมื่อเขาเข้าสู่งานนี้แล้ว เขาก็ไม่สามารถล่วงรู้ได้ว่า เมื่อธุรกรรมนี้สิ้นสุดลง เขาจะอยู่ในระดับเลเวลขั้นสูงและจะมีจุดจบเป็นกำไร?
หรือจะตกต่ำลงมาอยู่เลเวลขั้นต่ำและจะมีจุดจบคือขาดทุน?
และภายใต้ความเป็นจริงโดยภาพรวมแล้ว เมื่อสิ้นสุดลงสมาชิกส่วนใหญ่ที่ได้อยู่จุดสูงสุดของระบบแชร์ลูกโซ่จะเป็นผู้ขาดทุน เว้นแต่สมาชิกส่วนน้อยมากที่อยู่ก่อนจะได้รับกำไร
ดังนั้นโดยทั่วไปแล้ว นี่คือความคลุมเครือ ความไม่แน่นอนในผลลัพธ์อย่างแท้จริง มันจะมีความถี่ที่จะเบี่ยงเบนไปมาระหว่างสองสิ่งระหว่างผู้ชนะและผู้แพ้ เพราะแท้จริงท่านศาสดาได้ห้ามไม่ให้มีการค้าขายที่คลุมเครือ ดังที่ได้ระบุในรายงานของมุสลิมว่า :
نَهَى رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَنْ بَيْعِ الْحَصَاةِ وَعَنْ بَيْعِ الْغَرَرِ.
“ท่านศาสดาได้ห้ามไม่ให้มีการขายแบบคว้างด้วยหิน และการขายคลุมเครือที่ไม่มีความแน่นอน”
ประการที่ 3.
ธุจกิจนี้จะมีการทำธุรกรรมที่ประมวลอยู่บนการบริโภคทรัพย์สินของผู้คนโดยมิชอบ โดยที่ไม่มีใครได้รับผลประโยชน์อย่างแท้จริงจากการทำสัญญานี้ ยกเว้นบริษัทและผู้ที่อยู่บนจุดสูงสุดของพีระมิดเท่านั้น ที่จะกอบโกยผลประโยชน์อย่างมั่นคง ส่วนผู้ที่เดือดร้อนมากที่สุดคือผู้ที่อยู่ฐานล่างของพีระมิด
และบริษัทจะพยายามปลุกเร้าด้วยกับสโลแกนสวยหรูต่าง ๆ ให้บรรดาสมาชิก โดยที่เขาถูกหลอกว่าเป็นการค้า
แต่ที่จริงบริษัทแค่ต้องการค่าสมัครของเขามาเป็นเงินหมุนเวียนให้กับคนเก่า ๆ และให้ค่าคอมมิชชั่นแก่เขา ด้วยเงื่อนไขให้เขาทำการเชิญชวนคนอื่นต่อ ๆ กันมา
ซึ่งโดยความจริงแล้วนั่นก็คือการหลอกลวงคนอื่น ๆ ไปในตัวโดยที่เขารู้ หรือไม่รู้เรื่องก็ตาม เพื่อให้ผู้คนมาสู่เครือข่าย ด้วยการโฆษณาชวนเชื่อว่าเป็นการขายผลิตภัณฑ์เช่นกัน แต่อันที่จริงเขาเพียงเพื่อต้องการเงินค่าสมัครของสมาชิกคนใหม่ ๆ เท่านั้นเอง
ส่วนผลิตภัณฑ์และสินค้าต่าง ๆ นั้น เป็นแค่ฉากบังหน้า เพื่อให้เงินจำนวนมากหมุนเวียนต่อไปโดยไม่รู้จบ และเม็ดเงินนั้นก็ไม่ได้มาจากตัวสินค้าเลย แต่จำนวนเงินที่มากมายนั้นได้มาจากการล่อลวงให้ผู้คนมาสมัครเป็นสมาชิกเป็นทอด ๆ นั่นเอง
มีระบุในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่านว่า :
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ لاَ تَأْكُلُواْ أَمْوَالَكُمْ بَيْنَكُمْ بِالْبَاطِلِ
“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย สูเจ้าจงอย่าได้บริโภคทรัพย์สินระหว่างสู่เจ้ากันเองโดยไม่เป็นธรรม”
ในการทำธุรกิจแบบพีระมิดนี้มีการฉ้อโกง และปิดบังอำพรางต่อผู้คนว่า บริษัทเรามีการขายสินค้าเป็นหลัก ให้เสมือนกับว่ามันเป็นเป้าหมายหลักในการทำธุรกรรม แต่ในความเป็นจริงนั้นกลับตรงกันข้าม และอีกแง่มุมหนึ่งคือ การที่บริษัทล่อลวงลูกค้า ด้วยกับค่าคอมมิชชั่นจำนวนมาก ซึ่งโดยทั่วไปแล้วไม่สามารถหาเงินจำนวนดังกล่าวได้โดยง่าย
หลักการของนิติศาสตร์อิสลามได้ระบุไว้ว่า :
الْعِبْرَةُ فِيْ الْعُقُوْدِ بِالْمَقَاصِدِ وَالْمَعَانِي لَا الْاَلْفَاظِ وَالْمَبَانِي.
“การทำข้อตกลงต่างๆ นั้น ต้องดูที่เจตนาและความหมาย ไม่ใช่คำพูดหรือ รูปแบบโครงสร้างภายนอก”
และนี่คือการหลอกลวงอำพรางที่ต้องห้ามในบทบัญญัติอย่างแท้จริง และแท้จริงท่านศาสดา ได้กล่าวว่า :
مَنْ غَشَّ فَلَيْسَ مِنِّي.
“ใครที่หลอกลวงอำพราง ดังนั้นเขาก็ไม่ใช่สวนหนึ่งจากผู้ที่ดำเนินตามแนวทางของฉัน”
และยังมีรายงานวจนะของบรมศาสดาจากท่านบุคอรีย์และท่านมุสลิม จากท่านศาสดาอีกว่า :
الْبَيِّعَانِ بِالْخِيَارِ مَا لَمْ يَتَفَرَّقَا، فَإِنْ صَدَقَا وَبَيَّنَا بُورِكَ لَهُمَا فِي بَيْعِهِمَا، وَإِنْ كَتَمَا وَكَذَبَا مُحِقَتْ بَرَكَةُ بَيْعِهِمَا.
“ผู้ที่ตกลงทำการซื้อขายทั้งสองฝ่าย มีสิทธิ์ในการเลือกเฟ้น ตราบใดที่ทั้งสองยังไม่แยกจากกัน ดังนั้นหากทั้งสองมีสัจจะและโปร่งใส การค้าของเขาทั้งสองก็จะถูกทำให้มีความศิริมงคล แต่หากทั้งสองไม่มีสัจจะ และปิดบังอำพราง ดังนั้นความมศิริมงคลในการค้าของพวกเขาก็จะถูกปิดกั้น”
ประการที่ 5.
มันถูกจัดอยู่ในฮุก่มของ “สองการตกลงทางการค้าที่ทับซ้อนในการตกลงทางการค้าหนึ่ง” ( بَيْعَتَانِ فِيْ بَيْعَةٍ )
ที่ว่านี้ก็คือ การตกลงทางการค้าอันแรกคือค่าสมัครที่จ่ายโดยผู้ร่วมหุ้นนั่นเอง เพราะสิ่งนี้ก็จะถูกคิดแทนที่การซื้อสินค้าในการขายแบบปรกติ ส่วนการตกลงทางการค้าอีกอันคือ การว่าจ้างเป็นนายหน้าหาลูกค้านั่นเอง
ซึ่งการตกลงอย่างแรกเป็นการตกลงเข้าสมัครเป็นสมาชิกแทนการซื้อขาย และการตกลงอย่างที่สองนี้ เป็นการตกลงในเรื่องการว่าจ้าง ซึ่งทั้งสองการตกลงซื้อขายนั้นเกิดขึ้นพร้อมกันและซ้อนกันอยู่ในรายได้อันเดียวกัน รายได้ที่ว่าคือค่าคอมมิชชั่น และการทำข้อตกลงซ้อนกันในรายได้เดียวกันนั้น ไม่เป็นที่อนุญาตในบทบัญญัติด้วยรายงานวจนะดังนี้
نَهَى رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَنْ بَيْعَتَيْنِ فِي بَيْعَةٍ.
“ท่านศาสดาได้ห้ามไม่ให้มีการตกลงทางการค้าสองอย่างทับซ้อนกันในอันเดียว”
ประการที่ 6.
การทำธุรกรรมประเภทนี้เข้าข่าย “การพนัน”
การพนันคืออะไร? การพนันคือ การเสี่ยงโชคที่ต้องจ่ายเงินเดิมพันเพื่อเสี่ยงกับการได้เสียที่ไม่แน่นอน ซึ่งจะมีความถี่ที่จะเบี่ยงเบนไปมาระหว่างสองสิ่ง ผู้ชนะ และผู้แพ้ ผู้ชนะเท่านั้นที่จะรับเงินเดิมพันไป
เสมือนกับว่าการสมัครเข้าสู่ธุรกิจนี้ มีการเดิมพันด้วยเงินค่าสมัคร ซึ่งเดิมพันกับการเสี่ยงโชคในการได้รับกำไรก่อนที่เครือข่ายพีระมิดนี้จะสิ้นสุดลง ซึ่งตัวเขาเองก็ไม่มีทางล่วงรู้ได้ว่า รายได้จากการเดิมพันนั้นเขาจะได้เท่าไหร่ ยิ่งเลเวลระดับสูง เงินทองก็ยิ่งไหลมาเทมา แต่ถ้าเลเวลต่ำ เงินทองก็หดหาย กระทั้งเข้าเนื้อตัวเอง
ในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานได้ระบุว่า :
“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย แท้จริงแล้วเหล้า และการพนัน และแท่นหินที่เชือดสัตว์เพื่อบู ชา และไม้เสี่ยงทาย เป็นส่วนหนึ่งในการงานของซัยตอน พวกเจ้าจงหลีกห่าง เพื่อที่พวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ”
ข้ออ้างของทางบริษัทและการโต้แย้ง
1.สำหรับข้ออ้างที่ว่า :
“ธุรกรรมประเภทนี้ก็ถูกจัดเป็นส่วนหนึ่งของการค้าที่มีนายหน้าเป็นตัวกลาง ( السَّمْسَرَةُ)”
การกล่าวอ้างดังกล่าวนี้ไม่ถูกต้อง เนื่องจากการค้าที่มีนายหน้าเป็นตัวกลางนั้น คือการทำสัญญาว่าจ้างระหว่างบริษัทกับนายหน้า โดยมีเงื่อนไขว่าให้นายหน้าเป็นตัวแทนในการขายผลิตภัณฑ์ โดยที่นายหน้าคนนี้ จะได้รับค่าจ้างเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ตามที่ตกลงกันไว้ ซึ่งค่าจ้างดังกล่าวมาจากหลักทรัพย์ที่ได้มาจากการขายผลิตภัณฑ์
ส่วนกรณีของแชร์ลูกโซ่นั้น สมาชิก (ที่บริษัทอ้างว่าเหมือนกับนายหน้า) คือผู้ที่ต้องจ่ายเงินเป็นค่าสมัคร เพื่อที่ตนจะเข้าสู่บริษัท ซึ่งเขาจะได้รับรายได้จากการหาสมาชิคคนต่อไปเรื่อย ๆ ไม่ใช่ได้มาจากการเป็นตัวแทนการขาย
ด้วยเหตุนี้แหล่ะที่สมาชิกทุกคน แทนที่พวกเขาจะแข่งขันกันขายผลิตภัณฑ์ พวกเขาต้องมาแข่งขันกันในการหาสมาชิกใหม่ให้มาอยู่ภายใต้สายของตนแทน ซึ่งแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับนายหน้าที่ได้รับค่าจ้างด้วยเหตุการเป็นตัวแทนในการขายอย่างแท้จริง ดังนั้นความแตกต่างระหว่างทั้งสองนั้นชัดเจนโดยไม่ต้องหมุนเสา
2. สำหรับการกล่าวอ้างว่า :
“แท้จริงแล้วค่าคอมมิชชั่นที่สมาชิกจะได้รับจากการที่เขาหาสมาชิกใหม่ๆ มาให้บริษัทได้นั้น มันก็คือการให้เป็นรางวัล ( الْهِبَةُ )”
ก็ถือว่าไม่ถูกต้องอีกเช่นกัน มาตรแม้นว่ามันคือการให้ ( الْهِبَةُ ) จริงตามที่ทางบริษัทกล่าวอ้างแล้ว ก็ใช่ว่าทุกๆ การให้ จะถูกต้องตามบทบัญญัติเสมอไป และหากเป็นการให้ตามที่กล่าวอ้างจริง การให้นั้นก็สามารถกลายเป็นการให้ที่ไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติได้เช่นกัน เนื่องจากการให้ใน ณ ที่นี้นั้น
1.มันจะจัดอยู่ใน “การให้บนการกู้ยืม” ( الْهِبَةُ عَلَى الْقِرَاضِ ) และการให้บนการกู้ยืมนั้นไม่เป็นที่อนุญาตตามบทบัญญัติเนื่องจาก “ดอกเบี้ย” นั่นเอง
ด้วยเหตุนี้ได้มีรายงานว่าอับดุลลอฮ์ ได้กล่าวกับอบู บัรดะห์ว่า :
إِنَّكَ بِأَرْضٍ الرِّبَا بِهَا فَاشٍ إِذَا كَانَ لَكَ عَلَى رَجُلٍ حَقٌّ، فَأَهْدَى إِلَيْكَ حِمْلَ تِبْنٍ أَوْ حِمْلَ شَعِيرٍ أَوْ حِمْلَ قَتٍّ فَلَا تَأْخُذْهُ، فَإِنَّهُ رِبًا.
“อันที่จริงแล้ว ท่านอยู่บนผืนแผ่นดินที่กระจัดกระจายไปด้วยดอกเบี้ย เนื่องจากเมื่อใครก็ตามที่ท่านมีสิทธิ์บนทรัพย์ของเขา (เขาเป็นหนี้ท่านอยู่) แล้วเขาก็นำของกำนัลมาให้ท่านเป็นแร่ทอง หรือข้าวบาเล่ หรือธัญพืช แท้จริงแล้วสิ่งเหล่านี้คือรีบา”
2.“การให้” ( الْهِبَةُ ) นั้นจะเข้าข่ายการรับ “สินบน” ( الرَّشْوَةُ ) ซึ่งการวินิจฉัยฮุก่มที่จะได้มานั้นจะถูกพิจารณาฮุก่มของมันด้วยกับสาเหตุแห่งการเกิดขึ้นของการให้ว่าสาเหตุที่ให้นั้นมันอยู่ในฮุก่มอะไร?
และด้วยเหตุนี้และท่านศาสดาเคยกล่าวกับเจ้าหน้าที่เก็บซะกาตคนหนึ่ง ซึ่งเขารับของกำนัลจากชาวบ้านเป็นสินบน โดยกล่าวว่า อันนี้ของพวกท่าน ส่วนอันนี้เป็นของกำนัลสำหรับฉัน ท่านศาสดาจึงกล่าวแก่เขาขึ้นมาว่า
أَفَلَا قَعَدْتَ فِي بَيْتِ أَبِيكَ وَأُمِّكَ فَتَنْظُرَ أَيُهْدَى إِلَيْكَ أَمْ لَا؟
“พึงทราบเถิดว่า หากว่าท่านนั่งอยู่ที่บ้านพ่อแม่ของท่าน (ไม่ได้ถูกแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่เก็บซากาตอย่างนี้) ก็ลองพิจารณาดูว่าจะมีใครมาให้ของกำนัลแก่ท่านอยู่อีกหรือไม่?”
จากวจนะดังกล่าวนี้ท่านอัลค้อฏฏอบีย์ได้กล่าวว่า วจนะของบรมศาสดานี้บ่งชี้ถึงกฎทางด้านนิติศาสตร์อิสลามว่า :
أَنَّ كُلَّ أَمْرٍ يُتَذَرَّعُ بِهِ إِلَى مَحْظُورٍ فَهُوَ مَحْظُورٌ، وَكُلُّ دَخِيلٍ فِي الْعُقُودِ يُنْظَرُ هَلْ يَكُونُ حُكْمُهُ عِنْدَ الِانْفِرَادِ كَحُكْمِهِ عِنْدَ الِاقْتِرَانِ أَمْ لَا؟
“แท้จริงแล้วทุกๆ การงานที่เป็นสื่อนำพาไปสู่สิ่งที่ศาสนาได้ห้าม ดังนั้นมันเองก็เป็นสิ่งต้องห้าม และทุกๆ การงานที่เข้าไปอยู่ในสัญญาข้อตกลงหนึ่งๆนั้น ต้องพิจารณาดูว่าข้อกำหนดของมันก่อนเข้าสู่สัญญาข้อตกลงนั้น เหมือนดั่งเช่นภายหลังที่เข้าไปอยู่ในข้อตกลงแล้วหรือยัง?”
วจนะข้างต้นนั้นอัลค้อฏฏอบีย์ได้ทำการกลั่นกรองข้อกำหนดทางบทบัญญัติออกมาสองเรื่อง
หนึ่งในนั้นคือการรับ “สินบน” ( الرّشْوَةُ ) โดยพิจารณาในเรื่องของกำนัล ซึ่งการรับของกำนัลนั้น เป็นสิ่งที่อนุมัติหะล้าลตั้งแต่เดิม แต่เมื่อมันนำพาไปสู่หนทางแห่งสินบน ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามและการที่เจ้าหน้าที่รับของกำนัลนั้นจะกลับกลายเป็นสินบน ดังนั้นการรับของกำนัลก็ต้องห้ามเช่นกัน
และเช่นกันตอนที่เขายังไม่ถูกแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บซะกาต ให้พิจารณาดูว่ามีใครบ้างที่ให้ของกำนัลแก่เขา และเมื่อเขาถูกแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่แล้ว ก็สามารถรับของกำนัลจากคนที่เคยให้เขาแต่ก่อนได้ แต่สำหรับคนที่เมื่อก่อนนี้เขาไม่เคยให้ของกำนัลแก่เขาเลย แต่พอหลังจากถูกแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่แล้ว มีคนมาให้ของกำนัลเยอะแยะซึ่งเขารับไว้ไม่ได้ เนื่องจากมีอะไรแอบแฝงอยู่ ดังกล่าวมันเข้าข่ายสินบนที่ต้องห้าม
และเมื่อเรามากลับมาดูเรื่องค่าคอมมิชชั่นที่บริษัทอ้างว่าเป็นการให้แบบ “ฮิบะฮ์” ( الْهِبَةُ ) ซึ่งเดิมฮิบะฮ์นั้นเป็นที่อนุมัติ แต่ลองพิจารณาดูว่า ก่อนที่เขาจะเป็นสมาชิกนั้นบริษัทเคยให้ฮิบะฮ์แก่เขาบ้างหรือไม่? ตอบคือ ไม่เลย
ดังนั้นการให้ก็เนื่องจากเขาเป็นสมาชิกของธุรกิจแช์ลูกโซ่เท่านั้น ซึ่งที่จริงแล้วมันมีอะไรแอบแฝงมากกว่า และธุรกิจนี้ก็เ็นสิ่งต้องห้ามเนื่องจากเป็นสินบน ดังนั้นการให้ฮิบะฮ์ก็เป็นสิ่งต้องห้ามเช่นกัน ข้อบัญญัติของมันจึงตกที่เป็นสิ่งต้องห้ามนั่นเอง
วิธีการรับมือกับธุรกิจแชร์ลูกโซ่หรือธุรกิจที่อาจเข้าข่ายและเกิดความสงสัย
อย่าตอบตกลงหรือจ่ายเงินค่าสมาชิกหรือค่าสินค้าให้แก่กลุ่มบุคคลนั้น ๆ จนกว่าจะแน่ใจว่านั่นคืองานที่ท่านต้องการทำจริง ๆ และท่านไม่ได้ถูกหลอก ลองค้นหาชื่อบริษัทนั้น ๆในเว็บ Google แล้วทำการศึกษาข้อมูล ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยท่านในการตัดสินใจว่างานหรือธุรกิจที่ท่านเลือกตรงกับสิ่งที่ท่านต้องการจริง ๆ
แนะนำให้ค้นหา คำว่า แชร์ลูกโซ่ ธุรกิจหลอกลวง หรือชื่อบริษัทที่จะทำการสมัคร
หากอ้างว่าเป็นบริษัทที่จดทะเบียนอย่างถูกต้องมาหลายปีแล้ว ก็สามารถเช็ความผิดปกติของงบการเงินได้จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ก่อนหางานควรหาข้อมูลของบริษัทนั้น ๆ ให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจ เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของตัวท่านเอง เพราะ “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน”
══════════════════════════════════════════
ติดตามเราได้ที่ :
Page Facebook -
1
สำนักพิมพ์เพื่อการค้นคว้าวิจัยด้านนิติศาสตร์อิสลาม
Instagram -
Reference :
(1) ยัสอะลูนะกา อัน มุอามะลาต อัล-มาลีย์ยะฮ์ อัล-มุอาศิเราะฮ์ หน้าที่ 309 เล่มที่ 1.
(2) ฟัตวา อัชชับกะฮ์ อัล-อิสลามียะฮ์ หน้าที่ 4271 เล่มที่ 12 ฟัตวาวันที่ 25 ซุลหิจญะฮ์ ปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 1423.
(3) คณะกรรมาธิการเพื่อการวิจัยและชี้ขาดปัญหาศาสนาประเทศซาอุดิอาระเบีย ฟัตวาเลขที่ 22935, สถาบันชี้ขาดปัญหาศาสนาประเทศอิรัก ฟัตวาเลขที่ 586.
บรรณานุกรม :
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
โฆษณา