22 มิ.ย. 2020 เวลา 11:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
CHAPTER [20] -QUALITY MAINTENANCE [Part 1] การบำรุงรักษาเชิงคุณภาพ [QM Pillar]
กลับมาอีกครั้งกับบทความ TPM ที่จะมา Clear ประเด็นที่หลาย ๆท่านคาใจและมีข้อสงสัยในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในบริษัทหรือองค์กรของท่าน สำหรับ Page นี้จะมาสรุป บีบให้เข้าใจง่ายๆ และกระชับที่สุดในภาษาบ้าน ๆ style The Syndicate เท่านั้น (โยนวิชาการออกไป)
1
สำหรับ Chapter นี้ก็มาถึงเสาที่ 6 ของ TPM นั้นก็คือเสา Quality Maintenance หรือ QM Pillar เรียกกันในภาษาไทยว่าเสาการบำรุงรักษาเชิงคุณภาพ ใน Chapter นี้เราจะมาดูกันว่าบริบทและวัตถุประสงค์พื้นฐานของเสานี้คืออะไร เริ่มกันเลยละกัน
แนวคิดในการทำงานพื้นฐานเกี่ยวกับคุณภาพของ TPM คืออะไร ถ้าจะมองให้ง่าย ๆแบบเข้าใจ ก็จะมีตัวแปรพื้นฐานอยู่ 5 หัวข้อคือ
1.เครื่องจักร 2.วิธีการ 3.ระบบสารสนเทศ 4.ผู้ปฏิบัติงานหรือคน 5.ความต้องการของลูกค้า
โดยทั้ง 5 หัวข้อมีจุดมุ่งหมายที่ไม่ต่างกันก็คือ สร้างไลน์การผลิตที่ไม่สร้างของเสีย สร้างคุณภาพตั้งแต่การ
เตรียมการผลิต สร้างคนที่เก่งในเรื่องของคุณภาพ
ซึ่งแต่ละเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายที่ต้องการ ในการดำเนินการจะมีความสัมพันธ์กับเสา TPM ต่าง ๆที่เกี่ยวข้องเช่น เสา AM ดำเนินกิจกรรมบำรุงรักษาเครื่องจักร เสา FI เสาะแสวงหาสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดของเสีย และทำการแก้ไข เสา EM มีมาตรการล่วงหน้าต่อเรื่องคุณภาพโดยการใช้ MP Information เสา ET พัฒนาบุคลากรที่สามารถวิเคราะห์ควบคุมได้ โดยรายละเอียดที่นอกเหนือจากนี้ทุกท่านสามารถย้อนกลับไปอ่านบทความก่อนหน้านี้ที่เกี่ยวข้องกับแต่ละเสาได้ครับผมได้เขียนอธิบายไว้หมดแล้ว
บทความที่เกี่ยวข้องก่อนหน้า
รวม Link บทความ TPM PART 3-1 https://www.blockdit.com/articles/5edc5b0a8561ce0f947b518e
โดยเป้าหมายสำคัญที่เป็นหัวใจของเสา QM ที่จะต้องมุ่งหน้าไปให้ถึงให้ได้คือ
“ ZERO DEFECT ”
ซึ่งมีแนวคิด และวิธีการดำเนินการของเสาอยู่ 6 ข้อคือ
1.แนวคิดสมุติฐานของเสา QM
2.วัตถุประสงค์ของกิจกรรม
3.แนวคิดพื้นฐาน
4.การดำเนินกิจกรรม
5.แนวคิดการดำเนินการเสา QM
6.ขั้นตอนการดำเนินการ
และขั้นตอนการดำเนินการ มีองค์ประกอบหรือขั้นตอนดำเนินงานการบำรุงรักษาเชิงคุณภาพประกอบด้วยหัวข้อย่อย 10 ขั้นตอนดังนี้
1. จัดเตรียม QA Matrix
2. จัดเตรียมตารางวิเคราะห์ ปัจจัยการผลิต (4M)
3. จัดเตรียม Problem Chart
4. ประเมินความรุนแรงของปัญหา (FMEA)
5. ใช้ P-M Analysis เพื่อหาสาเหตุของปัญหา
6. กำหนดผลกระทบของมาตรการแก้ไขที่นำเสนอ
7. ดำเนินการปรับปรุง
8. ทบทวนสภาพปัจจัยการผลิต
9. รวบรวมและยืนยันจุดตรวจเช็ค (Check Point)
10. จัดเตรียมตารางควบคุม Quality Component และควบคุมอย่างเคร่งครัดเพื่อมั่นใจในคุณภาพ
จากรายละเอียดที่ได้อธิบายดังกล่าวเป็นเพียงเปลือกของกิจกรรมเบื้องต้นเท่านั้นเพื่อให้ทุกท่าน ทั้งที่เคยใด้ใช้งานหรือเริ่มเรียนรู้ใหม่ได้ทำความเข้าใจ Step คร่าว ๆ ของเสา QM เสียก่อน และใน Chapter หน้าผมจะมาอธิบายเพิ่มเติมแต่ละหัวข้อของการดำเนินกิจกรรมโดยละเอียดแบบช้า ๆเพื่อให้เข้าใจและสามารถนำไปใช้งานจริงได้ สำหรับ Chapter นี้ขอจบไว้ที่หัวข้อรายละเอียดข้างต้นสวัสดีครับ
#ถ้าเห็นว่าบทความมีประโยนช์ช่วยแชร์และติดตามด้วยนะครับ สำคัญมากสำหรับกำลังใจในการเขียนบทความต่อ ๆไป ขอบคุณครับ #TheSyndicate #นักอุตสาหกรรม
บทความ TPM ที่น่าสนใจ
41. [CHAPTER 16] – PART 4
42. [CHAPTER 16] – PART 5
43. [CHAPTER 16] – PART 6 (Final)
44. [CHAPTER 16] – EM Pillar Spacial
45.SPECIAL CONTENT 3-1 : รวม Link บทความนักอุตสาหกรรม By TheSyndicate https://www.blockdit.com/articles/5edc5b0a8561ce0f947b518e
46.SPECIAL CONTENT [18]
TPM Award Achievement 2019
สุดยอดบริษัทไทย..ที่คว้ารางวัล TPM Award ปี 2019
47.SPECIAL CHAPTER [19] - 17 บริษัทดีที่สุดทั่วโลกที่คว้ารางวัล TPM Award ปี 2019 จาก JIPM https://www.blockdit.com/articles/5eecf38fc33d040cdd0748cc
โฆษณา