26 ก.ค. 2020 เวลา 04:41 • ปรัชญา
ทำไมต้องบริหารระดับความมั่นใจให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม
1
ในปี 1995 นาย McArther Wheeler ได้ทำการปล้นธาคารในรัฐเพนซิลเวเนีย โดยปราศจากการสวมหน้ากากเพื่อปกปิดบังใบหน้าจากกล้องรักษาความปลอดภัย

เขาทำแบบเดียวกันถึง 2 ธนาคารในวันเดียวกัน ไม่เพียงเท่านั้นเขายังยิ้มให้กับกล้องอย่างมั่นใจอีกด้วย เรื่องนี้สร้างความแปลกให้กับคนที่อยู่ในเหตุการณ์นั้นอย่างยิ่งว่าเขามีดีอะไรกันแน่
McArther Wheeler ปล้นธนาคารโดยมั่นใจว่ากล้องจับภาพเขาไม่ได้
ทว่าในคืนวันนั้นเขาถูกทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุมอย่างง่ายดาย ซึ่งนาย Wheeler กลับอยู่อาการตกใจอย่างรุนแรง เขาแปลกใจอย่างยิ่งว่าตำรวจรู้ได้อย่างไรว่าเขาเป็นโจรที่ไปปล้นธนาคาร
เมื่อเจ้าหน้าที่ได้อธิบายไปว่ากล้องวงจรปิดมันบันทึกใบหน้าเขาอย่างชัดเจน
นั่นกลับทำให้นาย Wheeler ถึงกับอุทานว่า
"แต่...ก็ผมใช้น้ำมะนาวชะโลมหน้าแล้วนี่ !!!"
งงกว่านาย Wheeler ก็คือเจ้าหน้าที่ตำรวจและคนที่ได้ยินประโยคนี้จากปากนาย
Wheeler มันยากที่จะเชื่อใน logic ความคิดของนาย Wheeler เรื่องนี้มากๆ
เรื่องนี้มันมีที่มาเล็กน้อย ก่อนหน้านี้นาย Wheeler ได้เห็นเรื่องราวเทคนิคการเขียน
จดหมายด้วยหมึกล่องหน ซึ่งแท้ที่จริงเป็นการใช้น้ำมะนาวมาผสมน้ำเขียน
เมื่อมันแห้ง สายตามนุษย์จะไม่สามารถมองเห็นตัวหนังสือเหล่านั้น
ค้นความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพิ่มนิดหน่อยเราจะรู้กันไม่ยาก นั่นเพราะน้ำมะนาวเป็น
สารอินทรีย์ที่เปลี่ยนสีเป็นน้ำตาลหลังจากถูกความร้อน เราจะเห็นมันหลังจากเป็น
สีน้ำตาล ไม่ใช่สีใสๆที่ตามนุษย์ยากจะแยกแยะ
แต่การเอาความรู้นี้ไปต่อยอดที่ว่าจะทำให้ใบหน้าล่องหนจากกล้องวงจรปิด
ได้ด้วยน้ำมะนาวของโจรคนนี้นี่มันไม่สมเหตุผลเอามากๆเลย
น้ำมะนาว แม้จะใสใกล้เคียงกับน้ำเปล่า แต่จะเปลี่ยนเป็นสีต้ำนาลเมื่อถูกความร้อน
แม้ว่าตำรวจจะทำการสาธิตให้นาย Wheeler ดู ว่าน้ำมะนาวไม่สามารถทำให้
ใบหน้าล่องหนได้จากกล่องวงจรปิด แทนที่จะเชื่อเขากลับคิดว่าเพราะน้ำมะนาวนั้น
เป็นของปลอม
เพราะเรื่องนี้เขาได้ทำการทดสอบแล้วโดยการถ่ายเซลฟี่ตัวเองด้วย
กล้องโพลารอยด์ และยืนยันว่าไม่สามารถทำได้จริงๆ เขามั่นใจในทฤษฏีนี้ของเขา
เองมากๆ
เราไม่อาจทราบได้ว่าจริงๆแล้วเกิดอะไรขึ้นกับโจรคนนี้ระหว่างที่เขาทำการทดลอง
เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับปล้นธนาคาร
แต่ลองจินตนาการถึงปี 1995 ในยุคที่การถ่ายเซลฟี่ไม่มีกล้องหน้า มันยากมากๆที่จะถ่ายได้ตรงจุดชัดอย่างที่ต้องการ
อย่างไรก็ดี ตำรวจมั่นใจว่าชายคนนี้ไม่ได้เสียสติแต่อย่างใด
ในขณะที่ทุกคนมึนงงในเรื่องที่เกิดขึ้น นักจิตวิทยาที่ชื่อว่า David Dunning และ
Justin Kruger ก็โดดเข้ามาร่วมวิเคราะห์ด้วยความสนใจ
มันเกิดอะไรขึ้นกับโจรคนนี้กันแน่
ทั้ง Dunning และ Kruger ได้ทำการทดสอบหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือการทำการ
เปรียบเทียบความมั่นใจระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่ม
กลุ่มเด็กนักเรียนที่เรียนได้ดีมากๆ และ กลุ่มเด็กนักเรียนที่เรียนได้แย่มากๆ
หลังจากให้ทำแบบทดสอบเดียวกันซึ่งแน่นอนเราเดาผลคะแนนการทำแบบทดสอบ
ได้ไม่ยากเพราะการเลือกกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มนี้มีความจงใจให้ได้ผลที่แตกต่าง
แต่สิ่งที่น่าแปลกใจมาจากผลการสัมภาษณ์ความมั่นใจของกลุ่มตัวอย่างต่างหาก
เมื่อ Dunning และ Kruger ทำการสัมภาษณ์ทั้งสองกลุ่มว่า คิดว่าตนเองได้คะแนน
เท่าไหร่ทั้งสองกลุ่มตัวอย่างตอบมาเหมือนกันว่า
“คิดว่าได้คะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย”
มันเป็นอย่างนั้นไปได้อย่างไรกันที่กลุ่มตัวอย่างที่รู้ว่าตัวเองเรียนได้แย่กลับคิดว่าได้คะแนนสูงเกินค่าเฉลี่ยเรื่องนี้มีหลักจิตวิทยามนุษย์ซ่อนอยู่
มนุษย์ทุกคนจะมีแนวโน้มคิดเข้าข้างตัวเอง ยึดถือความคิดของตัวเองว่าดีกว่าเสมอ และคิดว่าคนเกินครึ่งจะคิดเหมือนตนเอง เรื่องนี้อาจสามารถอธิบายการเมืองไทยที่
เมื่อไหร่แบ่งเป็นสองฝ่าย ต่างฝ่ายก็คิดว่าประชากรเกินครึ่งจะคิดเหมือนตัวเอง
ส่วนกรณีกลุ่มที่สองที่มีผลการเรียนอยู่ระดับท้อปๆ กลับคิดว่าตัวเองได้คะแนนเพียงสูงกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย ให้คำอธิบายเพิ่มเติมว่า
เพราะพวกเขาคิดว่าข้อสอบมันง่าย และเมื่อมันง่าย คนอื่นๆก็น่าจะทำได้เหมือนกัน
โดยสรุปการทดสอบทั้งนาย Dunning และ Kruger ได้นำเสนอเป้นกราฟแสดง
รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่าง ความมั่นใจกับประสบการณ์
1
โดยแรกเริ่มนั้น เมื่อมนุษย์ยังไม่มีความรู้ประสบการณ์เรื่องใดๆ ความมั่นใจจะเป็นศูนย์ต่อเมื่อเริ่มที่จะรู้เรื่องนั้นแม้เพียงเล็กน้อย จะมีระดับความมั่นใจที่สูงลิ่วทันที
เพราะมีความคิดเข้าข้างตัวเองตามจิตวิทยา
อย่างไรก็ตาม ยิ่งผ่านประสบการณ์มากขึ้น จะยิ่งรู้ว่ามีสิ่งที่
ตัวเองไม่รู้มากขึ้นความมั่นใจจะลดลงตามลำดับ
ก่อนจะค่อยๆมีความมั่นใจเพิ่มตามความรู้ประสบการณ์ที่ได้รับ
1
ความมั่นใจรอบใหม่นี้แม้ว่าจะมากขึ้น แต่จะไม่กลับไม่สูงเท่าเดิมอีกเลย...
Dunning-Kruger effect
ปัจจุบันนี้เราเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า Dunning–Kruger effect ซึ่งใช้ในการอธิบายความอคติของคน เพราะอคตินี้ทำให้มนุษย์ไม่สามารถประเมินความสามารถของตัวเองได้อย่างถูกต้องทั้งซึ่งนำมา ทั้งความความคิดที่ว่าตัวเองเก่งอยู่แล้วแม้จะมือใหม่ หรือ ตนยังบกพร่องทั้งๆที่เก่งอยู่ในระดับผู้เชี่ยวชาญอยู่แล้ว
เราเรียนรู้อะไรได้บ้างจากกรณ์ของโจรปล้นธนาคารผู้นี้
ความมั่นใจเป็นสิ่งที่เราต้องมีเพื่อดำเนินเรื่องราวที่เราต้องการให้ประสบความ
สำเร็จแต่ปริมาณของความมั่นใจเป็นสิ่งที่เราต้องบริหารจัดการ
ความมั่นใจที่สูงจากข้อมูลที่เรามีเพียงน้อยนิดมักจะให้ผลลัพธ์เป็นบทเรียน
ราคาแพงเสมอ
เพื่อป้องกันไม่ให้เราตกไปอยู่ในสถานะการ์ณที่ความมั่นใจพุ่งไปสูงเกินความรู้ที่เรามีเราต้องแยกให้ออกระหว่าง “ความจริง” กับ “ความเห็น”
ซึ่งจะว่ายากก็ไม่ยาก แต่มันก็ไม่ง่าย 
Dunning & Kruger แนะนำหลักเล็กๆที่ใช้ช่วยในการแยกแยะ ความจริงออกจากความเห็นคือ
ในขณะที่ความเห็นมันจะออกมาจากผู้เชี่ยวชาญ หรือ แม้แต่ตัวเราเอง
ความจริงสามารถยืนยันได้ด้วยหลักฐานเสมอ
แล้วคุณผู้อ่านเคยอยู่ในสถานะการณ์ Dunning Kruger Effect มั๊ย หรือว่ามีวิธีแยกแยะความจริงกับความเห็นอย่างไรบ้างครับ?
อ้างอิง
โฆษณา