29 ก.ย. 2020 เวลา 07:41 • สุขภาพ
🧿SpeakYourMigraine #Migraine #ไมเกรน
🧿มาลองใช้
"แบบประเมินผลกระทบจากไมเกรน" กัน!
ในแต่ละปี..ไมเกรนพรากเวลาจากชีวิตของทุกคนไปมากเท่าไรกันนะ? ตอบคำถามเพียงไม่กี่ข้อจาก แบบประเมินผลกระทบจากไมเกรน ก็สามารถรู้ได้ว่าไมเกรนมีผลกระทบต่อชีวิตแค่ไหน แล้วคุณจะได้ข้อมูลที่คุณสามารถส่งต่อให้แพทย์ ครอบครัว และเพื่อนๆของคุณทราบ ลองทำกันเลย!
คลิกที่นี่เพื่อทำแบบประเมินผลกระทบจากไมเกรน
🧿เมื่อปวดหัว…มันไม่ใช่แค่ปวดหัวธรรมดาอีกต่อไป ☹️
อาการปวดหัวเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นความเครียด การทำงานหนัก นอนไม่เพียงพอ ปวดเพราะอาการร่วมของโรคอื่นๆรวมอยู่ด้วย ซึ่งระดับในการปวดนั้นก็แตกต่างกันออกไป แต่สำหรับอาการปวดไมเกรนนั้น จะเป็นแบบตุบๆ ข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ บางคนอาจจะเห็นแสงแปลกๆ หรือมีอาการไวต่อแสงและเสียง หรือคลื่นไส้อาเจียน และมีอาการอื่นๆข้างเคียงร่วมด้วย การปวดหัวไมเกรนสามารถอยู่ได้นานเป็นชั่วโมง หรือเป็นวันๆเลยก็ได้
ใครที่ปวดหัวบ่อยๆ ลองเช็คกันดีกว่าว่าเป็นเพราะอะไรกันแน่ ! 👇
ถ้าหากรู้แล้วว่าอาการปวดหัวของตัวเองเป็นแบบไหน ก็อย่าลืมดูแลตัวเองกันนะคะ 😁
🧿อาการปวดศีรษะรูปแบบต่างๆ...มันหมายความว่าอะไรกันนะ?
อาการปวดศีรษะมักมีหลายรูปแบบแตกต่างกันไป แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าปวดแบบนี้แปลว่าอะไร เป็นไมเกรนรึเปล่า? วันนี้เรามีคำตอบค่ะ!
1. Migraine Headache
อาการปวดหัวไมเกรนคือการปวดหัวซีกเดียว เป็นได้ทั้งซีกซ้ายและซีกขวา โดยลักษณะการปวดจะเป็นอาการปวดแบบตุบๆเหมือนโดนค้อนทุบตลอดเวลา และมีอาการปวดมาก อาจมีอาการเวียนหัวคลื่นไส้และไวต่อแสงร่วมด้วยได้
2. Tension Headache
อาการปวดหัวตื้อๆบริเวณขมับ หน้าผาก กลางศีรษะ หรือบริเวณท้ายทอย มักมีอาการปวดมากกว่า24ชม. สาเหตุเกิดจากการใช้สายตามากเกินไปหรือมีความเครียดสูง
3. Cluster Headache
อาการปวดหัวแบบเฉียบพลันและรุนแรง มักปวดซีกเดียวหรือปวดบริเวณรอบดวงตา อาจมีอาการอื่นเช่นน้ำมูกไหลหรือเวียนหัวร่วมด้วยได้ สาเหตุเกิดจากอากาศร้อน สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์
4. Sinus Headache
อาการปวดหัวมึนๆบริเวณโหนกแก้ม ใต้ตา หรือ ขมับ ท้ายทอย หรือฟัน ร่วมกับอาการคัดจมูก สาเหตุเกิดจากอาการภูมิแพ้หรือเยื่อบุโพรงจมูกบวม
แต่..ไม่ว่าจะปวดหัวรูปแบบไหนก็ไม่ดีทั้งนั้นแหละ จริงไหมคะ? เพราะฉะนั้นพักผ่อนกันเยอะๆและดูแลรักษาสุขภาพกันด้วยนะคะ
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไมเกรนได้ที่นี่ www.speakyourmigraine.in.th/about/triggers/
🧿เมื่อพูดถึงไมเกรน 😭 ใครที่เป็นโรคนี้ย่อมรู้ดีว่า ไมเกรนมันไม่ใช่แค่ปวดหัว แต่มันปวดมากๆ ปวดแบบรุนแรงและเรื้อรัง นอกจากนี้บางคนยังมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น ไวต่อแสงและเสียง ตาพร่า เห็นแสงวิบวับ คลื่นไส้ อยากจะอาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย หนักลงมาถึงคอ บ่า ไหล่ และอาจจะเลยเถิดไปถึงอาการชาที่แขน ขา พูดจาไม่รู้เรื่องก็เป็นได้
ถ้าหากใครที่เป็นอยู่ อย่าลืมไปพบแพทย์เฉพาะทางเป็นประจำเพื่อการรักษาที่เหมาะสมนะคะ 🙂
⏲️“12 ชั่วโมง คือ เวลาที่เตือนเราก่อนเป็นไมเกรนนะครับ”
….
ไมเกรนนั้น มักจะมาไม่เงียบ จะมีสัญญาณมาเคาะประตูบอกให้รู้ว่ามันกำลังจะมาทักทาย
ในช่วงระยะหนึ่ง เราจะเรียกว่า ระยะ ก่อนเป็นไมเกรน หรือ Prodrome ซึ่งจะมีอาการ หิวน้ำบ่อย มีความอยากอาหารมากขึ้น อารมณ์แปรปรวน (irritable) กลัวแสง ทนเสียงดังไม่ได้ ปัสสาวะบ่อยๆ มีอาการหาวบ่อยๆ หรือ บางรายมีอาการพูดไม่ชัด
ช่วงระยะเวลาเตือนนี้ จะใช้เวลา 12 ชั่วโมง ซึ่ง วิธีป้องกัน คือ พยายามดื่มน้ำบ่อยๆ ยืดกล้ามเนื้อหรือออกกำลังกายเบาๆ เพื่อผ่อนคลาย หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้น เช่น แสงแดด เสียงดังรบกวน แอลกอฮอล์ กลิ่นน้ำหอม
ไมเกรน เป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท เพราะมีการเปลี่ยนสมดุลของสารสื่อประสาทบริเวณสมอง ดังนั้นเมือเป็นไมเกรน ควรปรึกษา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาทและสมอง ตั้งแต่แรกเริ่ม
แหล่งที่มา
1. Refhttps://www.healthcentral.com/slideshow/22-things-about-migraines-you-may-not-know?multisite=1
2. Refhttps://www.webmd.com/migraines-headaches/guide/migraine-phases#1
3. Refhttps://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3745475/
4. Refhttps://americanmigrainefoundation.org/resource-library/migraine-hangover/
🧿กำลังเป็นไมเกรนอยู่หรือไม่ มาเช็คกันดีกว่า 👇
1. A throbbing headache
2. Sensitivity to light and noise
3. Feeling sick (nausea), being sick (vomiting)
4. Lack of energy (lethargy)
5. Other symptoms of migraine can include: Abdominal pain, Diarrhea, Disruption in balance and/or dizziness, Feeling very hot or very cold,
Stiffness of the neck and shoulders, Blurred vision
🧿ถึงเวลาเข้าใจอาการไมเกรนของตัวเอง เพื่อได้รับการวินิจฉัยและทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง มาดูกันว่าคุณมีอาการขั้นไหนบ้าง ซึ่งบางคนอาจไม่แสดงอาการในทุกขั้นก็ได้
1. ระยะอาการบอกเหตุ (The warning / Prodrome) จะเกิดขึ้นในช่วงแรกไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วันก่อนที่อาการจะกำเริบ เช่น มีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ และความอยากอาหารบางอย่างเป็นพิเศษ
2. ระยะอาการเตือน (Aura) คือ อาการที่เกิดจากระบบประสาท เช่น มองเห็นแสงกระพริบ ๆ หรือสายตาพร่ามัว แต่โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยจะเป็นไมเกรนแบบไม่มีอาการเตือน
3. ระยะปวดหัว (Headache) จะมีอาการปวดหัวด้านใดด้านหนึ่ง โดยมีอาการปวดแบบตุบๆอย่างรุนแรง มาพร้อมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน และบางรายอาจไวต่อแสงหรือเสียงดัง
4.ระยะหายปวด (Postdrome) อาการจะค่อยๆลดลง ซึ่งอาจกินระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วันหลังจากอาการกำเริบ
🧿นี่ปวดหัวธรรมดาหรือปวดไมเกรนกันน๊า?
หลายคนอาจจะแยกไม่ออกว่าอาการปวดหัวที่พวกเขากำลังประสบคืออาการปวดหัวไมเกรนหรือแค่ปวดหัวธรรมดา ผู้ที่เป็นไมเกรนมักจะมีอาการอื่นๆร่วมด้วย ลองสังเกตอาการด้านล่างนี้เพื่อเช็คว่าอาการปวดหัวของคุณใช่ไมเกรนหรือไม่
-- คลื่นไส้
- อาเจียน
- คั่นเนื้อคั่นตัว
- เสียสมดุล / ไม่มีสมาธิ
- เหงื่อออกง่าย
- ร่างกายมีความไวต่อแสง เสียงรบกวนรวมถึงกลิ่นต่างๆ
- ปวดท้อง
หากอาการเหล่านี้ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เราแนะนำให้คุณไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาที่เหมาะสม
💻อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการของไมเกรนได้ที่นี่ https://www.speakyourmigraine.in.th/about/Symptoms/
🧿ถ้าต้องให้คะแนนความปวดจาก 1-10..อาการปวดหัวไมเกรนของคุณจะได้คะแนนเท่าไหร่?
1-4 ปวดเล็กน้อย..ทานยาแก้ปวดทั่วไปก็หาย
5-7 ปวดสุดๆ...เหมือนมีคนเอาค้อนมาทุบ
7-10 ปวดเหมือนจะตาย...ทำอะไรไม่ได้เลย!!!
📖บันทึกไมเกรน..สำคัญอย่างไร? วันนี้เราจะมาแชร์ 5 เหตุผลที่ทุกคนควรบันทึกไมเกรนกัน!
1. ช่วยให้หมอวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น
2. ช่วยให้หาสิ่งกระตุ้นและสัญญาณเตือนของตัวเองเจอ
3. ช่วยประเมินว่าการรักษาอาการเฉียบพลันและการรักษาเชิงป้องกันที่ใช้อยู่ได้ผลหรือไม่
4. ช่วยให้มีบทสนทนากับหมอได้ลื่นไหลขึ้น ตอบได้หมดว่ามีอาการบ่อยแค่ไหนและหนักแค่ไหน
5. นอกจากเป็นการบันทึกอาการไมเกรนของตัวเองแล้ว ยังเป็นการบันทึกพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของตัวเองด้วย ทำให้สามารถย้อนกลับไปดูว่าทำอะไรถูกแล้วบ้าง หรือมีพฤติกรรมที่ควรปรับเปลี่ยนไหม
หากใครยังไม่เคยจดบันทึกไมเกรนและไม่รู้จะเริ่มยังไง เรามีตารางบันทึกไมเกรนง่ายๆมาฝาก
🔊การพูดคุยกับแพทย์เป็นโอกาสดีที่จะได้ทำความ
เข้าใจเกี่ยวกับไมเกรนของคุณ รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับคุณได้ชัดเจนมากที่สุด คุณสามารถสร้าง
บทสนทนาที่มีประสิทธิภาพได้ ซึ่งจะนำไปสู่ทาง
เลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ
3 คำถามที่ควรเตรียมคำตอบก่อนไปพบแพทย์
1. มีอาการไมเกรนกี่ครั้งต่อเดือน? มีผลกระทบกับชีวิตประจำวันกี่วัน?
2. ทานยาอะไรบ้างเพื่อรักษาอาการไมเกรน?
3. ไมเกรนมีผลกระทบกับชีวิตของคุณอย่างไร?
รับรองว่าข้อมูลเหล่านี้จะมีประโยชน์กับแพทย์ของคุณอย่างแน่นอน นอกจากนี้ยังทำให้บทสนทนาลื่นใหลขึ้นอีกด้วยนะ
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไมเกรนได้ที่นี่ www.speakyourmigraine.in.th/about/tools/
🧿ว่าด้วยเรื่องของไมเกรน 💬 อาการปวดหัวที่ไม่รู้จะอธิบายให้เข้าใจได้อย่างไร ถ้าสมมติให้ลองเลือก 4 ข้อนี้ อาการปวดของหัวคุณเป็นแบบไหน ❓
ถ้าหากไม่แน่ใจว่าเป็นไมเกรนหรือไม่ รีบไปพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อปรึกษาวิธีการรักษาและติดตามอาการกันดีกว่าค่ะ 😃
🧿สิ่งที่เห็นเป็นเพียงแค่เสี้ยวเดียวของคนเป็นไมเกรนเท่านั้น 😂 เปรียบเสมือนยอดของภูเขาน้ำแข็ง ที่เราเห็นอยู่นิดเดียว แต่จริงๆแล้วยังมีที่ซ่อนอยู่ใต้น้ำอย่างยิ่งใหญ่อลังการงานสร้างกันเลยทีเดียว 🗻
🧿ก่อนไมเกรนกำเริบก็จะมีอาการต่างๆเกิดขึ้นมากมาย เปรียบได้กับการที่ฟ้าร้องก่อนพายุจะมา ผู้ป่วยบางคนจะมีอาการนำหรือการเตือนล่วงหน้าก่อนที่จะปวดศีรษะ ซึ่งเราเรียกช่วงระยะนี้ว่า 'อาการเตือน (Aura)'
ออร่าหมายถึงอะไร?
“ออร่า” เป็นคำที่ใช้อธิบายกลุ่มอาการเตือนชั่วคราวที่เกิดขึ้นก่อนไมเกรน อาการออร่ามักคงอยู่ระหว่าง 5 นาทีจนถึง 1 ชั่วโมง อาการออร่าที่เราพบนั้นแบ่งได้ 3 ชนิดใหญ่ๆด้วยกัน
1️⃣ อาการทางตา (Visual aura) คือ การมองเห็นผิดปกติ ประเภทนี้จะพบบ่อยที่สุด
2️⃣ อาการทางประสาทรับความรู้สึก (Sensory aura) อาการนี้มักเริ่มต้นกับมือข้างหนึ่งก่อนจากนั้นลามไปที่แขนก่อนที่จะไปถึงใบหน้า
3️⃣ อาการทางด้านการพูด (Aphasic aura)
👿แสงจ้า แสงวูบวาบก่อนปวดหัวไมเกรนมันคืออะไรกันนะ?
ออร่า เป็นอาการเตือนชั่วคราวที่เกิดขึ้นก่อนไมเกรนมักจะเกิดขึ้นล่วงหน้า 2-3 ชั่วโมงหรือหลายวันก่อนที่อาการจะกำเริบรุนแรง
ลองตั้งสติ สังเกตตัวเองดูสักหน่อยว่าตอนนี้คุณมีสัญญาณ 5 ออร่าเหล่านี้เกิดขึ้นกับตัวเองอยู่หรือเปล่า
• การมองเห็นผิดปกติ – ตัวอย่างเช่น เห็นแสงวูบวาบ เห็นเส้นซิกแซก หรือเห็นจุดมืดในภาพ
• อาการชาหรือรู้สึกเหมือนมีของแหลมทิ่มแทง – อาการนี้มักเริ่มต้นกับมือข้างหนึ่งก่อนลามไปที่แขนและใบหน้า
• รู้สึกวิงเวียน
• พูดลำบาก
• หมดสติ – แต่พบได้น้อยมาก
อาการออร่าเหล่านี้มักเกิดขึ้นต่อเนื่องราว 5 นาทีถึง 2 ขั่วโมง ถึงบางครั้งออร่าเหล่านี้จะไม่นำไปสู่อาการไมเกรนรุนแรงหรืออาการปวดศีรษะใดๆ เลยก็ตาม แต่กันไว้ดีกว่าแก้ รีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางดีกว่านะ
ศึกษาอาการของไมเกรนเพิ่มเติมได้ที่นี่: https://www.speakyourmigraine.in.th/about/Symptoms/
🧿เกร็ดความรู้วันนี้: ความแตกต่างระหว่างไมเกรนประเภทครั้งคราวกับประเภทเรื้อรัง
หากคุณเป็นอีกคนที่ต้องใช้ชีวิตอยู่กับไมเกรน ความเข้าใจเกี่ยวกับอาการ การรักษา หรือประเภทของไมเกรน จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ!
แล้วไมเกรนแบบครั้งคราวกับเรื้อรังนั้นต่างกันอย่างไร?
👉 Chronic Migraine หรือเรียกอีกอย่างว่า 'อาการปวดศีรษะเรื้อรัง' คือ มีอาการปวดศีรษะมากกว่า 15 วันต่อเดือน
👉 Episodic Migraine หรือ 'อาการปวดศีรษะเป็นครั้งคราว' จะมีความถี่ที่น้อยกว่า คือ ไม่เกิน 14 วันต่อเดือน
นอกจากทั้ง 2 ประเภทนี้แล้ว ไมเกรนยังมีอีกหลายประเภทที่ควรรู้จัก เรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่นี่ www.speakyourmigraine.in.th/about/types/
🧿มาดูกันว่าคุณเป็นไมเกรนประเภทไหน? 🤔
ไมเกรนนั้นมีหลายประเภท แต่ไมเกรนที่พบได้บ่อยที่สุด คือ ไมเกรนชนิดไม่มีออร่า (Migraine without aura), ไมเกรนชนิดมีออร่า (Migraine with aura) และไมเกรนออร่าที่ไม่มีอาการปวดศีรษะ (Migraine aura without headache) แต่อย่างไรก็ตามยังมีไมเกรนประเภทอื่นๆอีก ทั้งหมด 12 ประเภทที่คุณควรรู้จัก ซึ่งแต่ละประเภทนั้นจะมีอาการแตกต่างกันออกไป
ไปดูกันเลยค่ะว่ามีประเภทไหนอีกบ้าง 👉
อย่างไรก็ตาม อย่าลืมไปพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยกันนะคะ 👩⚕️
อ่านรายละเอัยดเพิ่มเติม
💊💊มาทำความรู้จักกับโรคปวดศีรษะเหตุใช้ยาเกิน (medication overuse headache) กันเถอะ!
รู้หรือไม่? การทานยาแก้ปวดมากเกินไป นอกจากจะทำให้การรักษายากขึ้นแล้ว ยังทำให้เกิดโรคปวดศีรษะเหตุใช้ยาเกินได้
 
โรคนี้มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยไมเกรนที่ใช้ยาแก้ปวดตัวเดิมเป็นเวลานาน (มากกว่า 10 วันต่อเดือน) แม้จะใช้ตามปริมาณที่ระบุอยู่บนฉลากก็สามารถเป็นโรคนี้ได้
เพื่อป้องกันไม่ให้โรคนี้เกิดขึ้นกับคุณ...เราแนะนำให้จดบันทึกว่าทานยาแก้ปวดตัวไหน ทานบ่อยแค่ไหน และมีอาการอย่างไรบ้าง หรือหากสงสัยว่าตัวเองอาจเป็นโรคปวดศีรษะเหตุใช้ยาเกิน ทางที่ดีที่สุดคือปรึกษาแพทย์ของคุณ
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไมเกรนได้ที่นี่ www.speakyourmigraine.in.th/about/treatment/
🧿อาการปวดหัวไมเกรนมีหลายระดับ แล้วเพื่อนๆจะรู้ได้อย่างไรละว่า เมื่อไหร่ถึงเวลาที่ต้องไปพบแพทย์? ลองสำรวจตัวเองว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่...
1. ปวดศีรษะเฉียบพลันที่สร้างความเจ็บปวดอย่างมาก ต่างจากที่เคยเป็นมาก่อน
2. ปวดศีรษะพร้อมกับมีไข้ คอแข็งตึง สับสนทางจิตใจ ชัก เห็นภาพซ้อน อ่อนแรงหรือชา
3. ปัญหาทางการพูด
4. อัมพาต หรือแขนอ่อนแรงหนึ่งหรือสองข้าง และ/หรือข้างหนึ่งข้างใดของใบหน้า
หากอาการดังกล่าวเหล่านี้เรื้อรังและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ อาจเป็นสัญญาณสำคัญว่าคุณกำลังเผชิญหน้ากับไมเกรนและควรรีบปรึกษาแพทย์อย่างเร่งด่วน
🧿ต้องเป็นหนักขนาดไหนถึงควรไปปรึกษาแพทย์?!
บางคนกำลังละเลยอาการไมเกรนของตัวเองโดยไม่รู้ตัว ไม่รู้ว่าอาการที่ตัวเองเป็นหนักพอที่จะไปพบแพทย์หรือยัง ไม่รู้ว่าต้องมีอาการถี่แค่ไหนถึงควรไปพบแพทย์ วันนี้เราเลยมีเช็คลิสท์มาให้ ถ้ามีอาการเหล่านี้มากกว่า 3 ข้อแล้วล่ะก็...ถึงเวลาไปปรึกษาแพทย์แล้วล่ะ!
-มีอาการปวดศีรษะรุนแรงมากกว่า 3-5 ครั้งต่อเดือน
-ทานยาแก้ปวดที่หาได้ทั่วไปแล้วไม่หาย
-ปวดศีรษะจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้
-มีอาการปวดหัวร่วมกับอาการวิงเวียนศีรษะ อาเจียน หรือเห็นแสงวูบวาบ
-มีอาการชาตามร่างกายหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง
-มีอาการเบลอ พูดไม่ค่อยชัด
📚บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
🔦📙ไมเกรน: 3 มิติ (Migraine: 3D)
อาการปวดหัวไมเกรน
🔦📙ไมเกรน - MIGRAINE - CGRP
🔦📙บทความวิชาการ
การใช้ยา ergotamine อย่างเหมาะสม
🔦📙อาการสงสัยว่าเป็นไมเกรน
🔊PODCAST
บรรยาย แนวทางรักษาโรคปวดศีรษะไมเกรน
โดย นพ.สุรัตน์ ตันประเวช
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
📺CLIP
วิชาการ เรื่อง "Management of Migraine and Tension-Type Headache.”
โดย อ.นพ. อธิวัฒน์ สุนทรพันธ์ หน่วยประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
📺CLIP
“ทางเลือกใหม่ในการรักษาไมเกรน."
โดย ผศ.นพ.สุรัตน์ ตันประเวช อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาทและสมอง
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
POSTED 2020.09.29
โฆษณา