1 ธ.ค. 2020 เวลา 04:50 • ธุรกิจ
ก้าวย่างที่ท้าท้ายของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์จากปี 63 สู่ปี 64
โครงการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ x ลงทุนแมน
2
ตั้งแต่ต้นปี 2563 นี้ ดูเหมือนว่าแทบจะไม่มีข่าวสารหรือปัจจัยใดที่เป็นผลบวกต่อวงการอสังหาริมทรัพย์เลย โดยหากไล่ timeline ดูจะเห็นว่ามีแต่สถานการณ์ที่เป็นอุปสรรคเสียมากกว่าโอกาสให้กับผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็น ปรากฏการณ์ของฝุ่น PM2.5, การเกิดโรคระบาดโควิด 19, สงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา, การบังคับใช้กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, การชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มนักเรียนนักศึกษา ในขณะที่ผลกระทบจากมาตรการอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (Loan to Value: LTV) ยังคงอยู่
1
จากสถานการณ์ต่างๆ ที่ได้กล่าวถึงนี้ ล้วนแต่ร่วมกันส่งผลกระทบที่สำคัญในทางลบต่อผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั้งสิ้น โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจทั่วไปที่สามารถเพิ่มหรือรักษายอดขายได้จากการส่งออกหรือการหาช่องทางอื่น ๆ อย่างธุรกิจออนไลน์ แต่อสังหาริมทรัพย์เป็นสินค้าที่ไม่สามารถส่งออกได้ และต้องพึ่งพากำลังซื้อที่มีจำกัดอยู่เฉพาะภายในประเทศเท่านั้น ก็ยิ่งทำให้ความเชื่อมั่นในการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ลดน้อยถอยลงเป็นอย่างมาก
3
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย (Residential Real Estate) อสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ (Commercial Real Estate) และอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรม (Industrial Real Estate) ล้วนแล้วแต่ได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อย ทำให้กลุ่มความต้องการ (Demand) ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มนักลงทุน (Investor) กลุ่มเก็งกำไร (Speculator) กลุ่มความต้องการที่แท้จริง (Real Demand) ตลอดจน กลุ่มชาวต่างชาติ ที่มีกำลังซื้อ ต่างหายไปจากตลาดอย่างเห็นได้ชัด
3
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย อย่างคอนโดมิเนียมที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นที่นิยมของนักลงทุนไทยมาตลอด รวมถึงนักลงทุนชาวจีนที่มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ก็ได้รับผลกระทบในเชิงลบ ทำให้หลายโครงการมียอดขายลดลงทั้งในเชิงจำนวนและมูลค่า หรือแม้ว่ายอดขายเท่าเดิมหรือเพิ่มมากขึ้นแต่ก็จะมีสัดส่วนของกำไรที่ลดลง
1
สืบเนื่องจากวิกฤตโควิด 19 ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า new normal ซึ่งส่งผลต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นไปอย่างชั่วคราวหรือถาวร ก็อาจจะเป็นการสร้างหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ให้กับวงการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะต้องวิเคราะห์และเตรียมแผนการรองรับกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้วและกำลังจะเกิดขึ้น เช่น ปริมาณและอัตราผลตอบแทนในการเช่าของชาวต่างชาติ ที่อาจจะต่ำลงอย่างถาวรจากการหดตัวอย่างรุนแรง อันเนื่องจากการจำกัดการเดินทาง, ความต้องการเช่าที่น้อยลงของกลุ่ม Expat เพราะสามารถใช้เทคโนโลยีหรือรูปแบบใหม่ในการจัดการที่จะช่วยประหยัดต้นทุนในการเดินทางพักอาศัยให้กับองค์กรได้, การที่ก่อนช่วงโควิด 19 จะระบาด แนวคิดของการใช้พื้นที่ร่วมกันได้มีความแพร่หลายเป็นอย่างมาก ทั้ง Co Working Space, Co Kitchen Space, Co Learning Space ก็อาจจะต้องเปลี่ยนแปลงมาสู่การจัดสรรพื้นที่ส่วนตัวมากขึ้น ก็เป็นได้, หรือแม้แต่การที่ผู้บริโภคได้ถูกเร่งให้เข้าสู่การใช้เทคโนโลยีในการซื้อของออนไลน์ก็ย่อมเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้พฤติกรรมต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน
สำหรับปี 2564 นั้นอุปสรรคที่ทำให้เศรษฐกิจไทยตกต่ำลงอันสืบเนื่องจากวิกฤตโรคระบาดโควิด 19 คือ การรอคอยการพัฒนาวัคซีนว่าจะสำเร็จเมื่อไร และผลกระทบจากการบอบช้ำที่เกิดขึ้นในปี 2563 ตลอดจนสถานการณ์ของประเทศต่าง ๆ ที่ยังไม่สามารถควบคุมโรคระบาดได้ ดังนั้นเศรษฐกิจไทยที่ขึ้นอยู่กับ การท่องเที่ยวและการส่งออกเป็นสำคัญ ก็ย่อมจะส่งผลต่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ที่ยากที่จะกลับมาฟื้นตัวได้โดยเร็วเช่นกัน
3
ด้วยองค์ประกอบทั้งหมดที่กล่าวมานี้ทำให้ ในปี 2564 ดูจะยังไม่ใช่ปีแห่งโอกาสของชาวอสังหาริมทรัพย์ หากแต่ยังคงเป็นปีแห่งการประคับประคองธุรกิจต่อไป ซึ่งแนวทางในการรักษาชีวิตขององค์กรในยามนี้ ดูเหมือนว่าจะต้องให้ความสำคัญกับการจัดการระบบภายในของแต่ละองค์กร ด้วยการรักษาสภาพคล่อง/ การจัดการต้นทุน ขององค์กรไม่ว่าจะใหญ่ กลางหรือเล็ก เพื่อที่จะรักษาชีวิตขององค์กรออกไปให้นานที่สุดจนถึงยามที่สถานการณ์ต่าง ๆ กลับมาดีขึ้น ซึ่งอาจจะกินเวลาออกไปหลายปี
1
ในขณะเดียวกัน ก็ต้องพยายามหาลูกค้าหรือธุรกิจอื่นเพื่อประคับประคองรายรับให้กับองค์กรด้วยไม่ว่าจะเป็นกลุ่มความต้องการที่แท้จริง กลุ่มลูกค้าที่ไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด 19 กลุ่มที่ได้รับโอกาสจากวิกฤต กลุ่มผู้มีรายได้สูง หรือกระทั่งการผันตัวเองไปทำธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องหรือฉีกออกนอกกรอบไปเลยก็ตาม
1
โดยพื้นฐานที่สำคัญในการปรับตัวในยามนี้คือ “การคิดนอกกรอบ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสถานการณ์โรคระบาดในปัจจุบันเป็นสิ่งที่ไม่เคยบรรจุในตำราใด ไม่เคยมีอยู่ในแผนประเมินความเสี่ยงขององค์กรใด ดังนั้น วิธีการที่จะนำไปสู่เป้าหมายและสิ่งที่คาดหวังในรูปแบบใหม่ก็ย่อมต้องการ การปฏิวัติความคิดและการลงมือทำอย่างรวดเร็วที่สุดเช่นกัน
5
ดังเช่นที่หลายองค์กรอสังหาริมทรัพย์ได้ออกกลยุทธ์ใหม่ในแบบที่แทบจะไม่เคยมีมาก่อน ไม่ว่าจะเป็น การออกหุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ (Perpetual Bond), การตั้งกองทุนของกลุ่มทุนใหญ่เพื่อใช้โอกาสในการซื้อสะสมพอร์ตโรงแรมที่ไม่สามารถไปต่อได้, การชะลอการซื้อ ขายหรือพัฒนาที่ดินออกไป เพื่อการรักษาสภาพคล่องทางการเงินของตน, การปรับเปลี่ยนสัดส่วนของผลิตภัณฑ์ระหว่างโครงการแนวสูง-แนวราบ โครงการเพื่อการเช่าหรือซื้อ, การออกแคมเปญอยู่ฟรี 2 ปี หรือแม้แต่การเรียกร้องต่อภาครัฐให้เปิดโอกาสในการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของชาวต่างชาติในสัดส่วนที่มากขึ้นกว่าเดิม เป็นต้น
ทั้งนี้ทางการบริหารจัดการถือว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นนั้น จะเป็นตัวเร่งเร้าให้แต่ละองค์กรผลักดันให้เกิดนวัตกรรมและผลิตภาพอย่างรวดเร็ว และถือได้ว่า “วิกฤต” คือสถานการณ์ที่สะท้อนให้เห็นถึง ความแข็งแรงที่แตกต่างกันไปในแต่ละองค์กรและบุคคล ดังคำกล่าวที่คุ้นหูกันดีว่า “วิกฤตอาจเป็นบ่อเกิดของผู้กล้า สถานการณ์สร้างวีรบุรุษ” และ “ในทุกวิกฤตย่อมมีโอกาส”
1
โครงการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือจากธนาคารโลก กรมที่ดิน และ University of South Australia ตลอดจน ด้วยความเชี่ยวชาญของคณาจารย์ ความร่วมมือจากองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทำให้หลักสูตรเป็นที่ยอมรับและได้การรับรองมาตรฐานจากองค์กรทางด้านมาตรฐานการศึกษาระดับโลกอย่าง Association to Advance Collegiate Schools of Business (AACSB), European Quality Improvement System (EQUIS) นอกจากนี้ ยังได้รับการจัดอันดับให้อยู่ใน Top 100 ของโลกมาโดยตลอดจาก Eduniversal/ Best Masters Ranking
1
โดยหลักสูตรปริญญาโท Master of Science in Real Estate Business (MRE) รุ่นที่ 21(MRE #21) เริ่มเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ตั้งแต่วันนี้ ถึง 3 พฤษภาคม 2564
ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2613-2260, 0-2613-2297
หรือ www.re.tbs.tu.ac.th
และอีเมล์ property@tbs.tu.ac.th
โฆษณา