21 พ.ย. 2018 เวลา 15:10 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
จะทยอยลงนะครับ มันเยอะมากๆเลย 🙏
โพสต์นี้ผมจะไปพาไปทัวร์ชีวนิเวศทั้ง 12 กันครับ
เผื่อเพื่อนๆ อยากไปวางแพลนเที่ยวชมธรรมชาติครับ อ่านเพลินๆกันยาวๆหรือจะเป็นข้อมูลก็ดีเหมือนกันครับ
ชีวนิเวศ หรือ "ไบโอม" (biome)
คือ บริเวณที่แบ่งตามเขตภูมิศาสตร์ที่มีปัจจัยทางกายภาพและชีวภาพคล้ายคลึงกัน
จะแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่
ไบโอมบนบก (terrestrial biomes) 10 ไบโอม
ไบโอมในน้ำ (aquatic biomes) 2 ไบโอม
เรามาทัวร์กันทีละไบโอม เริ่มกันด้วยบนบก
• ไบโอมดิบชื้น (tropical rain forest biome)
tropical rain forest biome
• พบบริเวณที่พบ
ใกล้เส้นศูนย์สูตร บริเวณแม่น้ำขนาดใหญ่หรือทะเลของทวีปต่างๆที่อยู่บริเวณนี้
พบในไทยเฉพาะภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระ
จ. ระนอง ลงไปจนสุดแหลมมลายู และภาค
ตะวันออกพบที่ จ. ตราดและจันทบุรีเท่านั้น
เช่น ฮาลา-บาลา จ. นราธิวาส/อุทยานแห่งชาต
ิเขาสก จ. สุราษฎร์ธานี
ป่าที่พบเป็นป่าดิบชื้น (tropical rain forest)
• ลักษณะเด่น
- เป็นป่าไม่ผลัดใบ เขียวครึ้มตลอดทั้งปี
- พืชมีความแตกต่างสูง เรือนยอดแผ่กว้างปรากฏเป็นชั้นๆ ด้านล่างเป็นไม้เล็กๆเจริญหนาแน่น
-มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงสุด
• สัตว์ป่าที่พบ
เก้งหม้อ ชะนีมือดำ วัวแดง ช้างป่า นกเงือกหัวแรด นมแต้วแล้วท้องดำ
• พันธุ์ไม้ที่พบ
ไม้ยืนต้นชั้นบน : ยาง ตะเคียน สะยา
ไม้ชั้นกลาง : ตีนเป็ดแดง จิกเขา ปาล์ม
ไม้ชั้นล่าง : ไม้พุ่ม ไผ่ หวาย เถาวัลย์
พืชอิงอาศัย : กล้วยไม้ เฟิน เห็ดป่า มอส ไลเคน
• ไบโอมป่าดิบแล้ง (dry evergreen forest biome)
• บริเวณที่พบ
ส่วนตอนในของทวีปอเมริกากลาง/อเมริกาใต้/แอฟริกา/เอเชียใต้และตะวันออกเฉียงใต้
ในไทยพบที่ตอนบนของเทือกเขาตะนาวศรีจาก จ. ชุมพร ขึ้นมาจนถึงเทอกเขาถนนธงชัยในภาคเหนือ และเทือกเขาดงพญาเย็นจนถึง จ. ระนอง
เช่น อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ. นครราชสีมา
• ป่าที่พบเป็นป่าดิบแล้ง (dry evergeen forest)
• ลักษณะเด่น
- เป็นป่าโปร่งๆ ไม่ผลัดใบ
- มีช่วงแห้งแล้งชัดเจนอย่างน้อย 3-4 เดือน
• สัตว์ที่พบ
ชะนีมงกุฎ ช้างป่า วัวแดง เนื้อทราย เสือโคร่ง หมีควาย เต่าบก ไก่ฟ้าพญาลอ
• พรรณไม้ที่พบ
ไม้เรือนยอด : ยางแดง มะค่าโมง ตะแบก
ตะเคียนหิน กระบาก
ไม้ชั้นรอง : พลอง กระเบากลัก กัดลิ้น
• ไบโอมป่าผลัดใบเขตอบอุ่น (temperate deciduous forest biome )
• บริเวณที่พบ
บริเวณเส้นละติจูดที่ 30 ถึง 60 องศาเหนือ
ทวีปอเมริกาเหนือ / ยุโรป / เอเชียตะวันออก
• ป่าที่พบเป็นป่าเบญจพรรณ (mixed deciduous forest)
• ลักษณะเด่น
- ป่าผลัดใบ
- ป่าโปร่ง ต้นไม้ขนาดใหญ่และขนาดกลาง
- ดินร่วนปนทราย มีซากอินทรีย์มาก ทำให้ไม้พุ่มและไม้ล้มลุกเจริญได้ดี มีพืชชั้นต่ำมากมาย
- ในไทยพบบริเวณที่สูงของทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ เช่น ทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก
- มีช่วงอุณหภูมิที่กว้าง มี 4 ฤดูชัดเจน หนาวเย็นในฤดูหนาว (0 °C) ส่วนหน้าร้อนอุณหภูมิค่อนข้างสูง (30°C)
• สัตว์ป่าที่พบ
นกยูง ควายป่า กวางป่า กระต่ายป่า
• พรรณไม้ที่พบ
- พรรณไม้ 5 ชนิดหลัก สัก มะค่าโมง แดง ประดู่ ชิงชัน
-พรรณไม้รอง สะเดา ตะแบก รกฟ้า มะกอก งิ้วป่า
หญ้า กก ไผ่ ชนิดต่างๆ
ไบโอมป่าสน ( coniferous forest biome )
• บริเวณที่พบ
ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปเอเชีย ยุโรป
ในไทยพบตามภูเขาสูงในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน
เช่น ภูกระดึง จ.เลย ภูสอยดาว จ.อุตรดิตถ์
ป่าที่พบคือป่าสนเขา (coniferous forest)
• ลักษะเด่น
- ป่าไม่ผลัดใบ
- ป่าในพื้นที่ภูเขาสูง ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ทำให้ต้นไม้มีใบเรียวเล็ก พืชที่อยู่ในบริเวณนี้จะแก้ปัญหาการขาดแคลนแร่ธาตุโดยมี ราที่ชื่อว่า mycorrhiza ทำหน้าที่ช่วยดูดซึมฟอสเฟต
• สัตว์ป่าที่พบ
แมวป่า หมาป่า ชะมด เม่น สัตว์กินเมล็ดของพวกสน (กระรอก นก)
• พรรณไม้ที่พบ
สนสองใบ สนสามใบ ไพน์ เฟอ สพรูซ เฮมลอค
ที่มา : หนังสือ Biology TCAS 2303 TAXO & ECO
เขียนโดย : นพ. วีรวัช เอนกจำนงค์พร
โฆษณา