Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Nok Creative Branding
•
ติดตาม
27 พ.ย. 2018 เวลา 04:35 • ธุรกิจ
ระวังลูกน้องที่ "ทำงานเก่งแต่นิสัยไม่ดี"
หัวหน้าควรชื่นชมคนแบบไหน ผมมีวิธีคิดหาคำตอบแบบง่ายๆ มานำเสนอครับ
ก่อนอื่นผมอยากให้คุณวาดตารางขึ้นมา โดยให้แนวนอนเป็นเรื่องของการทำงานว่า "เก่ง" หรือ "ไม่เก่ง" ส่วนแนวตั้งคือพื้นฐานความเป็นมนุษย์ (หรือจะเรียกว่านิสัยก็ได้) ว่า "ดี" หรือ "ไม่ดี"
ดังนั้น ตารางที่ได้จะมี 4 ช่องด้วยกัน คือ "ทำงานเก่งและนิสัยดี" "นิสัยดีแต่ทำงานไม่เก่ง" "ทำงานเก่งแต่นิสัยไม่ดี" และสุดท้าย "ทำงานไม่เก่งและนิสัยไม่ดี"
แน่นอนว่าลูกน้องที่หัวหน้าชื่นชมมากที่สุดน่าจะเป็นลูกน้องที่ "ทำงานเก่งและนิสัยดี" อยู่แล้ว แต่คนที่น่าชื่นชมรองลงมาควรจะอยู่ในช่องไหนล่ะ! ลูกน้องที่ "นิสัยดีแต่ทำงานไม่เก่ง" อาจทำให้หัวหน้าคิดว่าต้องเสียเวลามาสอน แต่แท้จริงแล้วไม่เป็นเช่นนั้นครับ เพราะถ้าเราค้นพบจุดที่เขาทำได้ดีและพัฒนาต่อยอดจากจุดนั้น "มันก็คุ้มค่าที่จะสอน"
2
ที่จริงแล้ว ลูกน้องกลุ่มที่น่าปวดหัวมากที่สุดคือ ลูกน้องที่อยู่ในช่อง "ทำงานเก่งแต่นิสัยไม่ดี" ต่างหาก หัวหน้าที่ต้องเจอลูกน้องประเภทนี้คงปวดหัวน่าดู
คนกลุ่มนี้มักจะพูดในทำนองว่า "แค่ได้ผลลัพธ์ออกมาก็พอแล้ว อย่าบ่นนักเลย" เขาอาจทำงานของตัวเองได้ดีและนำเสนอตัวเองเก่ง แต่ร่วมงานกับคนอื่นไม่ได้ ไม่ฟังคำพูดของหัวหน้า และก่อความวุ่นวายให้ทีม
นอกจากนี้ คนที่คุณต้องระวังเป็นพิเศษคือ คนที่ต่อหน้าบอกว่าทำเพื่อบริษัท แต่ลับหลังเป็นพวกเจ้าแผนการและคิดแต่จะปกป้องผลประโยชน์ของตัวเอง
ถ้าถามว่า... เราควรชื่นชมหรือมอบหน้าที่ให้ลูกน้องแบบนี้หรือไม่ คำตอบของผมคือ ไม่ครับ! ถ้าจะอธิบายให้ชัดเจนขึ้นก็คือ เราสามารถมอบหมายงานให้ลูกน้องประเภทนี้ได้ในระดับหนึ่ง แต่ไม่ควรมอบหมายงานใหญ่ที่ต้องอาศัยความรับผิดชอบสูงให้ เพราะสุดท้ายแล้ว เขาอาจไปสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่นได้ (ผมเองก็เคยพลาดมาหลายครั้งที่ประเมินคนเหล่านั้นสูงเกินไป)
แน่นอนว่า เมื่อมีผลงานเราก็ต้องประเมินไปตามนั้น คุณอาจใช้วิธีเพิ่มโบนัสให้เขาก็ได้ แต่สิ่งที่ห้ามทำเด็ดขาดคือ "ต้องไม่เลื่อนตำแหน่งให้เขาไปคุมคนอื่น" คนประเภทนี้ เราให้เงินได้แต่ให้ตำแหน่งไม่ได้ครับ
ผมเชื่อว่า การทำงานในองค์กรนั้น ยิ่งตำแหน่งสูงขึ้นมากเท่าไหร่ "นิสัย (คุณธรรม)" ก็ยิ่งมีความสำคัญกว่า "ทักษะ" มากขึ้นเท่านั้น ... และหัวหน้าที่มีนิสัยดีหรือมีคุณธรรมก็เป็นหัวหน้าในอุดมคติของผม
เราไม่ควรมอบหมายให้คนที่นิสัยไม่ดีหรือไม่มีคุณธรรมดูแลลูกน้องหลายคน คนที่ควรเลือกคือ คนที่พอมีความรู้ความสามารถในระดับหนึ่ง เขาอาจขาดทักษะบางอย่าง แต่ถ้าเป็นคนที่นิสัยดีและมีคุณธรรมก็ถือว่าเหมาะสมที่จะเป็นหัวหน้า เพราะคนที่ลูกน้อง "อยากอยู่ด้วย" ก็คือคนแบบนี้ จริงไหมล่ะครับ
จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษเคยกล่าวในทำนองว่า "เป็นคนดีสำคัญกว่าทำได้ดี" ผมจึงคิดว่า คนที่ทำงานเก่ง แต่ยังขาดคุณธรรมบางอย่างน่าจะจัดอยู่ในกลุ่ม "ทำได้ดี"
"หากตั้งเป้าหมายแค่ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี คนที่มีคุณสมบัติแค่ 'ทำได้ดี' ก็คงเพียงพอกับความต้องการ แต่เราควรตั้งเป้าให้สูงกว่านั้นด้วยการมุ่งสู่การ 'เป็นคนดี' ครับ
Source : 51 วิธีคิดของหัวหน้าที่ลูกน้องอยากทำงานด้วย โดย อิวะตะ มัตสึโอะ
อดีตซีอีโอของ Starbucks Coffee Japan
18 บันทึก
105
14
14
18
105
14
14
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย