Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
KruMayExplorer
•
ติดตาม
30 พ.ย. 2018 เวลา 04:29 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เซอร์ไอแซค นิวตันจอมแสบกับการผลงานที่ไม่ธรรมดา
วันนี้ขอเม้าท์เรื่อง เซอร์ไอแซค นิวตัน นักวิทยาศาสตร์จอมแสบหน่อยนะคะ
1
เราทราบกันดีว่านิวตันเป็นคนฉลาดปราดเปรื่อง และสร้างทฤษฏีไว้มากมาย แต่ใครจะรู้บ้างว่าแท้จริงแล้วเขาเป็นคนชอบอยู่คนเดียว ไม่ค่อยมีอารมณ์ขัน ตรงไปตรงมามาก แถมยังขี้เหนียวอีกต่างหาก
แต่นอกเหนือไปจากนั้นแล้ว นิวตันยังเป็นคนขี้สงสัยอย่างสุดขั้วด้วย ขนาดสอดเข็มเข้าไปในตาของตัวเอง เพราะอยากจะรู้ว่าเอาเข้าไปได้ลึกแค่ไหน! โชคดีมากๆที่ลูกกะตาปลอดภัยดีค่ะ แล้วก็ยังไม่พอ ตาที่น่าสงสารของนิวตันยังต้องไปจ้องพระอาทิตย์นานๆ เพราะว่าเค้าสงสัยว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นกับการรับภาพในตาของเขา.. ปรากฏว่านิวตันเกิดโลกมืดไปหลายวันเลย ว่าที่จะกลับมามองเห็นอีกรอบ
2
ดวงตาที่น่าสงสารของนิวตัวก็อยู่ได้อย่างปกติสุขต่อมาค่ะ
นิวตันไม่ใช่แค่คนช่างสงสัย แต่นิวตันทำทุกอย่างเพื่อให้หายสงสัยค่ะ ครั้งหนึ่งแกคิดวิธีการคำนวนแบบใหม่ (ที่ตอนนี้เราเรียกกันว่าแคลคูลัส) ได้ เนื่องจากต้องการวิธีการคำนวนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ แกก็ไม่บอกใครเลยเป็นเวลา 27 ปี.. เป็นคนเก็บตัวจริงๆด้วยค่ะ สงสัยเรื่องแสง แกก็ทำงานศึกษาค้นคว้าเรื่องแสงและสเปกตรัมไว้มากมาย แล้วก็ไม่บอกใครไปอีกกว่า 30 ปีค่ะ
3
ดูท่าทางเป็นนักวิทยาศาสตร์อัจริยะแปลกๆใช่ไหมคะนี่
นิวตันนั้นมีชื่อเสียงเรื่องการคำนวนการเคลื่อนที่ ควาวเร็ว ทั้งบนโลกและดาวต่างๆในอวกาศ หลังจากที่นิวตัวเสียชีวิตได้พักใหญ่ๆ ก็มีคนเอาอกสารต่างๆของนิวตันไปประมูล (มันเยอะมาก คิดว่าเค้าก็คงไม่ได้อ่านกันก่อน เพราะว่ามาเป็นรถบรรทุกเลยค่ะ) คนประมูลได้ไปตื่นเต้นมาก คิดว่าจะได้อ่านวิธีการคำนวนการเคลื่อนที่ของดาวต่างๆ ปรากฏว่า อ้าว.. นิวตันกลับหมกมุ่นอยู่กับการทำโลหะไม่มีค่าให้เป็นทองคำซะงั้น กว่าครึ่งเป็นเรื่องราวการเล่นแร่แปรธาตุค่ะ และตอนวิเคราะห์ผมของนิวตันก็พบว่า มีปรอทมากกว่าคนปกติถึง 40 เท่า (จะเอาปรอทไปทำอะไร ฮึ!)
6
แต่ก็ไม่ได้แปลว่าการคำนวนเรื่องแรง แรงดึงดูด และการเคลื่อนที่ของนิวตันจะไม่โด่งดังนะคะ เรื่องนี้ก็ตลกมากเหมือนกัน
1
ความเดิมมีอยู่ว่า นิวตันได้คุยกับเพื่อน เพื่อนก็ถามว่า เอ ดาวต่างๆที่โคจรรอบดวงอาทิตย์นี่มันโคจรเป็นวงแบบไหนกันนะ นิวตันก็ตอบไปว่า "เป็นวงรี" เพื่อนเลยถามว่ารู้ได้ไง นิวตันตอบว่า "ก็คำนวนเสร็จแล้วไง"
เพื่อนก็เลยบอกว่า อย่างมาโม้ เอาที่คำนวนมาให้ดูซะดีๆ นิวตันเลยเดินไปค้นเอกสารที่คำนวนจากโต๊ะที่รกมากๆ และตามคาดค่ะ หันมาบอกเพื่อนว่า “อุ้ย หาไม่เจอ”
3
แต่ไม่เป็นไร เดี๋ยวจะเขียนมาให้ใหม่ละกัน .. เอาแบบอ่านรู้เรื่องเต็มๆเลย หายไปนานสองนาน กลับมาไม่ใช่แค่กระดาษทดคำนวนค่ะ แต่มาเป็นปึกเลย และนี่เองเป็นจุดกำเนิดหนังสือฟิสิกส์ – เลข ที่โด่งดังที่สุดในปฐพีนี้ จนทุกวันนี้ก็ยังมีคนกล่าวขาน หนังสือเล่มนี้เองชื่อว่า “Principia” มีชื่อเต็มๆที่แปลเป็นอังกฤษแล้วว่าMathimatical principle of Natural Philosophy (หลักคณิตศาสตร์ของปรัชญาในธรรมชาติ)
3
ขึ้นชื่อว่าเป็นนิวตัน ย่อมทำอะไรไม่ธรรมดา หนังสือเล่มนี้ทำให้นิวตันโด่งดันจนได้รับยศอัศวิน (ท่านเซอร์) โดยไม่ต้องไปสู้รบปรบมือกับใครเลยค่ะ สมองล้วนๆ แต่เพราะว่านิวตัวไม่อยากให้คนไม่รู้เรื่องมาวิพากษ์วิจารณ์หนังสือของเขา เค้าเลยตั้งใจเขียนให้มันอ่านยากมาก จนกลายเป็นหนังสือที่ติดอันดับหนังสือที่ไม่ปราณีคนอ่านเลยเล่มหนึ่ง แสบไหมคะตาคนนี้
2
อย่างไรก็ตาม หนังสือเล่มนี้ดีมากเสียจน นาย Leibniz ผู้ที่ไม่ลงรอยกับนิวตันมายาวนาน เถียงกันว่าใครเป็นบิดาผู้ให้กำเนิดแคลคูลัสกันแน่ยังต้องออกมาชื่นชมปนชาบูหนังสือเล่มนี้อย่างสุดซึ้งด้วยค่ะ
1
ส่วนหนึ่งของหนังสือนี้ นักเรียนไทย และนักเรียนส่วนมากในโลกจะได้เรียนตอน ม.ปลายค่ะ กฎ 3 ข้อที่เราเรียนกันก็คือ
1. ถ้าไม่ยุ่งกับวัตถุอะไรเลย ของมันก็จะอยู่เรื่อยๆของมันอย่างนั้น ถ้ามันวิ่งมันก็จะไม่ช้าขึ้นหรือเร็วลง
2. แต่ถ้าไปออกแรงยุ่ง ของจะวิ่งช้าลงหรือเร็วขึ้นหรือไม่ก็เปลี่ยนทิศทาง
3. แรงกิริยา = แรงปฏิกิริรยา (action = reaction)
1
แต่กว่าจะตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้ได้ก็แทบจะหืดขึ้นคอทีเดียวนะคะ เพื่อนของนิวตันคนที่คุยกันย่อหน้าข้างบนเนี่ยแหล่ะค่ะ ชื่อดร.ฮัลเลย์ ชื่อเดียวกับดาวหางนั่นแหล่ะค่ะ ก็เป็นคนค้นพบดาวหางฮัลเลย์นี่คะ ก็บอกว่า มา เดี๋ยวตีพิมพ์ให้ .. นิวตันก็เป็นคนที่คาดเดาได้ง่ายค่ะ อิอิ .. ไม่จ่ายอีกเช่นเคย ให้เพื่อนจ่ายไปคนเดียว
2
แต่ไม่ว่านิวตันจะแสบไปถึงทรวงขนาดไหน เราก็ได้รับผลประโยชน์มากมาย และความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่งดงามจริงๆจากนักวิทยาศาสตร์คนนี้ค่ะ ทำให้ผุ้คนในอดีตเข้าใจการเคลื่อนไหวของดวงดาว คำนวนขนาดโลกได้แม่นยำขึ้น วิชาดาราศาสตร์ได้พัฒนาขึ้นมาก เป็นพื้นฐานของวิทยาศาสตร์แทบทุกแขนงเลย
มาติดตามเรืื่องราวสนุกๆกันได้ที่นี่
1
#สนุกกับความรู้ #KruMayExplorer
23 บันทึก
203
26
19
23
203
26
19
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย