Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ด.ดล Blog
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
7 ธ.ค. 2018 เวลา 00:09 • ธุรกิจ
Twitter ตอนที่ 4 : 1st Tweet
ต่อจากตอนที่แล้ว ตอนนี้ดูเหมือนโปรเจค โอดีโอ น่าจะไปไม่รอดเสียแล้ว หลังจากการเปิดตัวของ iTunes PodCast ของ apple แต่ยังมีโปรเจค ที่ยังพอเป็นความหวังครั้งใหม่ของทีมได้ แต่ตอนนี้มันยังไม่มีชื่ออย่างเป็นทางการ
1st Tweet
โนอาห์ ค่อนข้างหมกมุ่นกับเรื่องชื่อของโปรเจคนี้มาก ๆ พยามยามเปิดพจนานุกรม ค้นหาคำโดน ๆ ที่จะมาใช้เป็นชื่อของโปรเจ็คใหม่นี้
โนอาห์ (คนกลาง) ดูจะหมกมุ่นกับชื่อโปรเจคนี้มากกว่าใครเพื่อน
เขาแทบจะหมกตัวอยู่ด้านหลังของออฟฟิส เพียงคนเดียวทั้งอาทิตย์ หมกมุ่นอยู่กับการตั้งชื่อ และในวันหนึ่งที่อพาร์ทเมนต์ ขณะกำลังนั่งค้นหาในพจนานุกรมเหมือนเคย แต่มีบางสิ่งมาขัดจังหวะ มันคือ เสียงติ๊ด ๆ จากมือถือ
เขาจึงได้ใช้มือไปกดเป็น Mode “Vibrate” และเค้าก็ปิ๊ง idea ขึ้นมาทันที ว่ามันต้องเป็นคำที่เกี่ยวกับ “เขย่า สั่น หรือเต้นเป็นจังหวะ และขยับไปมาอย่างรวดเร็ว” มันทำให้โนอาห์ตื่นเต้นมากเข้าไปทุกที
Vibrate โหมด ของ มือถือ
โทรศัพท์ที่กำลังสั่น ทำให้นึกถึงการกระตุ้นของสมอง ที่ทำให้กล้ามเนื้อกระตุก “Twitch!” แต่มันก็ยังไม่ work เขาจึงเข้าไปค้นหาคนในหมวด tw ต่อในพจนานุกรม
เปิดไปเรื่อย ๆ เจอ Twitcher , Twitchy Twist tie , Twit , Twitch , Twitcher Twitchy , Twite แล้ว ก็ …
“เสียงร้องเบา ๆ ที่เกิดจากนกบางประเภท” เขาเริ่มตื่นเต้นมากขึ้นไปอีก เมื่ออ่านต่อ “เสียงที่มีความคล้ายกันโดยเฉพาะ คำพูด หรือ เสียงหัวเราะที่สั่นเบา ๆ ” คำกริยา คือ “Twitter” มันใช่เลย!! โนอาห์กล่าว
Twitter ชื่อที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกัน
เขารีบเขียน email เพื่อส่งชื่อดังกล่าวไปให้ทีมงานโดยทันที
เมื่อชื่อ “Twitter” ถูกเสนอขึ้นในกลุ่ม โนอาห์ ต้องมีการโน้มน้าวทุกคนพอสมควร เพราะต่างคนต่างคิดว่า ชื่อของตัวเองเจ๋งสุด แจ๊ค เสนอชื่อตรง ๆ ไปเลย “Status” บิซ เสนอ “Smssy” ส่วน เอฟ นั้นดูจะชื่อแปลกกว่าใครเพื่อนคือ “FriendStalker”
สุดท้ายทุกคนก็ลงความเห็นว่าควรใช้ Twitter และคิดว่าชื่อนี้เป็นชื่อ ที่ถูกต้องที่สุด และ บิซ ก็เริ่มทำการออกแบบ โลโก้ของมัน
Hackathon
เนื่องจากตอนนี้ สถานการณ์ของ โปรเจคโอดีโอ นั้นน่าจะไปไม่รอดอย่างแน่นอน และเอฟ เสนอกับนักลงทุนว่า จะทำการขายโปรเจคนี้ออกไป ให้กับผู้ที่อยากได้มันไปพัฒนาต่อ
แต่การฝากความหวังกับโปรเจคใหม่ ไว้เพียงแค่ Twitter เพียงอย่างเดียวนั้น ดูมันจะเสี่ยงเกินไปหน่อย บิซ เลยแนะนำให้จัด hackathon ขึ้น เพื่อให้พนักงานบริษัทลองเสนอ idea ใหม่ ๆ ดูก่อน เผื่อจะมีอะไรที่น่าสนใจมากกว่านี้ และมันไม่ควรที่จะเกี่ยวข้องกับ โอดีโอเลย ให้เหล่าพนักงานทิ้งและลืมมันไปซะ
จัด hackathon ให้พนักงานใน office มาเสนอ idea ให้บริษัทอยู่รอด
เมื่อเทศกาล แฮ็คเริ่มต้น พนักงานจะทำการหาทีมงาน และหา idea โดยมารวมกลุ่มกันเพื่อพัฒนาโปรเจคขึ้นมาจริง ๆ ซึ่งตอนนั้นในสำนักงานถือว่า วุ่นวายมาก แต่มันก็เป็นกิจกรรมที่สนุก สำหรับทุกคน แม้หลาย ๆ คนจะรู้ว่า โอดีโอกำลังจะไปไม่รอดแล้วก็ตาม
ถือเป็นการรีดเอาไอเดีย ในครั้งสุดท้าย จากพนักงาน ซึ่งเป็นแนวคิดที่ดีมาก เพราะอย่างน้อย ก็จะได้ช่วยกันคิด เพื่อหาทางให้บริษัทรอดพ้นจากวิกฤติ ครั้งนี้
สุดท้ายของการแฮ็ค นั้น มันเกิดสิ่งที่ดูคล้าย ๆ กันไปหมด ทั้ง twitter , Off the Chains , Ketchup , ShoutOut และไอเดียอื่น ๆ มันเป็นแนวคิดของการแบ่งปัน เป็นเครือข่ายสังคม และการส่งข้อความตัวอักษร แทบจะทั้งสิ้น
สุดท้ายเอฟ จึงตัดสินใจดันโปรเจค twitter แบบเต็มตัวเสียที และเอฟ รู้สึกมั่นใจกับโปรเจค twitter มากที่สุดในบรรดา โปรเจคทั้งหมดจากงาน hackathon ซึ่งสัญชาตญาณของเอฟ มันบอกว่า twitter จะต้องยิ่งใหญ่ได้อย่างแน่นอน
สำหรับโปรเจค twitter นั้นมีการมอบให้เป็นหน้าที่ของ แจ๊ค , โนอาห์ , บิซ และโปรแกรมเมอร์หนุ่มชาวเยอรมัน ฟลอเรียน เวเบอร์ โดยแจ๊ค และ บิซ จะสร้างต้นแบบขึ้นมา โดยฟรอเรียน จะเป็นวิศวกรหลักของโปรเจคนี้
1st Tweet
เอฟ นั้นหลังจากได้ข้อสรุปว่าจะลุยกับ Twitter เต็มตัวนั้น ก็ได้ตัดสินใจสร้างตัว version demo ของ twitter ขึ้นมา โดยใช้ code เก่าบางส่วนของ blogger มาดัดแปลงแล้วนำ idea มาพัฒนาขึ้นโดยเขาเรียกมันว่า Twittlog
ทดลองเอา blogger มาดัดแปลงเป็น twittlog เพื่อทดสอบว่าจะ work หรือไม่?
ซึ่งตัว Twittlog นี่เอง ทำให้เค้าสามารถทดลองอะไรบางอย่าง รวมถึงเห็นประสบการณ์การใช้งานของ twitter จริง ๆ ว่ามันจะเป็นอย่างไร ในระหว่างรอ แจ๊ค , บิซ และทีมงาน ที่กำลังพัฒนา twitter เวอร์ชั่นจริง อยู่
ซึ่งในระหว่างพัฒนา มันก็มี idea หลายอย่างที่ยังไม่ตกผลึกเสียทีเดียว เช่น ข้อความสถานะ เรื่องควรมีแค่อันเดียว หากใครอัปเดท สถานะเก่าควรที่จะหายไปหรือไม่?
แต่แนวคิดนี้ เอฟแย้งว่า ควรจะอัปเดทตลอด แล้วแสดงเหมือน blog โดยให้แสดงตามลำดับเวลา และโนอาห์ ยังเสนอให้ระบุเวลาที่อัพเดทลงไปด้วย เพื่อให้คนอื่นได้รู้ว่า มันถูกโพสต์ เมื่อไหร่
หลังจากใช้เวลาหลายวัน ที่ แจ๊ค บิซ โนอาห์ รวมถึง ฟลอเรียน ทำงานอย่างต่อเนื่องแทบจะไม่ได้พัก และในที่สุดหลังจากผ่านไปสองสัปดาห์ แจ๊ค ก็ได้ส่ง version แรกของ twitter ออกไป online ได้สำเร็จ
ซึ่ง Tweet แรกที่เป็นจุดเริ่มต้นของความยิ่งใหญ่ ที่กำลังจะมาถึง ของเครือข่ายที่ทรงพลังแห่งนี้ คือ Tweet ของ แจ๊ค ที่เขียนว่า “่just setting up my twttr” ซึ่งก็คือ เพิ่งสร้างทวิตเตอร์ของฉันเสร็จ นั่นเอง ในวันที่ 21 มีนาคม 2006
Tweet แรกจาก แจ๊ค
จากนั้น บิซ ก็เริ่มลงทะเบียนแล้วส่ง tweet แรกของตัวเองออกไป “เพิ่งสร้างทวิตเตอร์ของฉันเสร็จ” หลังจากนั้นพนักงานใน office ก็แห่ตามมาใช้งาน twitter เป็นขบวน และ update status กันอย่างสนุกสนาน ตอนนี้เอฟรู้แล้วว่าทุกคนจะต้องใช้มันจนติดอย่างแน่นอน มันจะไม่เหมือน โอดีโอ โปรเจคแรกที่เป็นความล้มเหลวของเขาอีก เขามั่นใจอย่างยิ่ง
Twitter ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ณ บัดนาว
ต้องบอกว่า ใครที่เห็น twitter ในครั้งแรกนั้น หลาย ๆ คนคงจะคิดว่า มันเป็นอะไรที่เรียบง่าย ไม่มีอะไรซับซ้อนเลยด้วยซ้ำ แค่ โพสต์ status update ของตัวเอง แล้วแสดงเป็น timeline ให้เพื่อนมาติดตามได้
แต่ไม่มีใครรู้ว่า สิ่งนี้ ๆ ที่พวกเค้ากำลังทำขึ้นมานั้น มันไม่เคยมีใครที่คิดทำมาก่อนแม้ว่ามันจะเป็น idea ที่เรียบง่าย แต่มันกำลังลังจะสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในเรื่องข้อมูลข่าวสารในโลกของเราไปตลอดกาล
แล้ว twitter idea ง่าย ๆ แบบนี้ มันดังกระฉูด จนฉุดไม่อยู่ได้อย่างไร ? แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเค้าทั้ง 4 ผู้ที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ไปอย่างสิ้นเชิง โปรดติดตามตอนต่อไป
อ่านตอนที่ 5 : Winners vs Loser
https://www.blockdit.com/articles/5c115dc6224d2f0a828d81f9
Credit แหล่งข้อมูลบทความ
https://www.blockdit.com/articles/5c057747c5626410f2dc4a7c
ช่องทางติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
Fanpage :
facebook.com/tharadhol.blog
Twitter :
twitter.com/tharadhol
Instragram :
instragram.com/tharadhol
Website :
www.tharadhol.com
m.facebook.com
You’re Temporarily Blocked
14 บันทึก
75
25
4
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Twitter (The War of Tweet)
14
75
25
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย