Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Psychologise
•
ติดตาม
8 ธ.ค. 2018 เวลา 13:08 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์
โมเดลลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ที่อาจสื่อสารผิดไปจากทฤษฎี
Maslow นักจิตวิทยาที่พัฒนาแนวคิดลำดับขั้นของความต้องการ (maslow's hierarchy of needs)
หลักการคือ มนุษย์ต้องเติมเต็มความต้องการของตนเองโดยพิจารณาความต้องการในรูปแบบสัมพัทธ์ (relative) คือให้น้ำหนักความต้องการแต่ละรูปแบบต่างกันไป
โดยความต้องในขั้นล่างทีอิทธิพลที่จะทำให้บุคคลตอบสนองก่อนจะตอบสนองความต้องการในลำดับถัดไป แต่ก็มี Dynamic ในการตอบสนองความต้องการของตนเอง
ซึ่งตอนที่เขาตีพิมพ์งานวิจัย A Theory of Human Motivation (1943) ไม่ได้มีการกำหนดกรอบแนวคิดว่าต้องเป็นรูปพีระมิด ทำให้หลายคนเข้าใจผิด
การกำหนดว่าลำดับขั้นความต้องการเป็นรูปพีระมิดทำขึ้นจากคนอื่นๆที่ไม่ใช้เจ้าของทฤษฎี
นี่ทำให้การรับรู้ของคนอาจบิดเบือนจากภาพว่าคนส่วนใหญ่ใช้การตอบสนองความต้องการในระดับล่างและเป็นลำดับขัั้นที่ชัดเจน
แต่จริงๆแนวคิดต้นกำเนิดของ Maslow คือ
"คนส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่ได้รับอิทธิพลที่ส่งผลต่อการตอบสนองความต้องการความปลอดภัยทางกายภาพ หรือขั้นล่างๆมากกว่าขั้นถัดๆไป"
ซึ่งจากแนวคิดข้างต้นนี้ มีการเสนอโมเดลที่น่าจะสอดคล้องกับความหมายเชิงทฤษฎีที่ Maslow ตั้งใจจะสื่อสารมากกว่า
โมเดลที่น่าจะสอดคล้องกับแนวคิดที่ Maslow ต้องการสื่อสาร
โมเดลนี้สะท้อนความหมายที่ Maslow ต้องการสื่อสารว่ามากกว่า
เพราะแสดงถึงระดับความต้องการหลายรูปแบบในเวลาเดียวกัน
แต่จะมีการถูกความต้องการรูปแบบใดและสนใจที่จะตอบสนองความต้องการรูปแบบใด
ขึ้นอยู่กับพัฒนาการ ประสบการณ์ในแต่ละเรื่อง ซึ่งสะท้อนความมีพลวัตรและซับซ้อนได้ตรงกับการทำงานของสมองมนุษย์มากกว่าภาพพีระมิด
แต่ก็โมเดลที่น่่าจะถูกต้องกว่าก็ไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เพราะภาพจำของคนได้ใช้พีระมิดในการอ้างอิงจนเคยชินแล้ว
และที่สำคัญมนุษย์มีแนวโน้มที่จะประหยัดการใช้ปัญญา
ซึ่งมีที่มาจาก cognitive bias ตัวหนึ่งที่มีชื่อว่า availability heuristic ซึ่งเป็น bias ที่ถูกค้นพบโดยนักจิตวิทยาชื่อดังสองคนนั่นก็คือ เเดเนียล คาห์นีเเมน (Daniel Kahneman) เเละเอมอส ทเวอสกี้ (Amos Tversky) ในปี ค.ศ. 1973
โดยหลักการของ availability heuristic คือ คนเรามักใช้ประสบการณ์ส่วนตัวที่เห็นอยู่บ่อยๆ หรือจากความทรงจำที่สามารถเรียกกลับมาใช้ใหม่ได้ทันทีในการตัดสินใจ
ทำให้ความเชื่อที่ผิดๆ จึงตายยากละยังคงอยู่ในสังคม
2 บันทึก
6
2
2
6
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย