15 ธ.ค. 2018 เวลา 07:13 • การศึกษา
สอนลูกให้ “ดักจับ ความคิดสร้างสรรค์” กันเถอะ
1
ชื่อว่า “ความคิดสร้างสรรค์” แต่เราสั่งให้เกิดไม่ได้
.
หลายคนคงเคยอ่านบทความเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์มามากมาย
.
บางตำราบอกว่าเกิดในช่วงก่อน 3 ขวบปีแรกสอดคล้องกับการเติบโตของสมองซีกขวาในเวลานั้น
.
บางสำนักพูดถึงการเรียนแบบเล่นของเด็กเพื่อสร้างความคิดสร้างสรรค์
.
แต่หลายครั้งทำไมเด็กที่ดูเหมือนจะมีความคิดสร้างสรรค์ที่ดีโตขึ้นกลับเสมือนเป็นผู้ใหญ่ที่ไร้ซึ่งจินตนาการ
.
นั่นเพราะความคิดสร้างสรรค์เปรียบเสมือนอากาศ
.
เรารู้สึกถึงมันได้แต่เมื่อไหร่ที่พยายามจะจับมันมันจะหายไปในทันที
.
มันเพราะอะไร???
.
นั่นเพราะเรากำลังใช้สมองผิดวงจร
.
วงจรพื้นฐานในการทำงานของสมองมนุษย์เรามีอยู่ 2 อย่างหลักๆ
 
.
หนึ่งวงจรคิดเอาเรื่อง
 
 
.
 
สองวงจรคิดเอาเล่น
 
 
.
เมื่อเราต้องการทำงานที่ใช้สมาธิเป็นตรรกะและเหตุผลอย่างจริงจังอยู่ในโลกแห่งเหตุผลและความเป็นจริงเราจะใช้วงจรคิดเอาเรื่อง(Executive function)
.
แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เรากำลังปลดปล่อยอารมณ์ทำใจล่องลอยแบบที่เราเรียกว่าใจลอย(Mind wandering) หรือฝันกลางวัน(Day dreaming) เราจะใช้วงจรคิดเอาเล่น หรือมีอีกชื่อเรียกว่า
Default Mode Network(DMN)
.
ดังนั้นการที่เราพยายามจะจับสร้างบีบเค้นความคิดสร้างสรรค์ออกมาอย่างตั้งใจกลับกลายเป็นว่าเรากำลังใช้สมาธิในการคิดแบบเอาเหตุผลซึ่งนั่นเป็นการไปเรียกใช้วงจรคิดเอาเรื่อง(EF) ออกมาแทน
.
วงจรนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการคิดแบบเอาเหตุเอาผล
.
แต่ความคิดสร้างสรรค์หรือจินตนาการนั่นมีชื่อเรียกอีกอย่างว่าการคิดไร้สาระ
.
เมื่อเราจะคิดไร้สาระเราต้องเรียกใช้สมองส่วนใจลอยหรือฝันกลางวันซึ่งก็คือวงจรส่วน คิดเอาเล่น(DMN) นั่นเอง
.
ซึ่งมีการศึกษาถึงการทำงานของสมองด้วยเครื่องสแกนการทำงานของสมองที่มีชื่อเรียกว่า fMRI ยืนยันถึงวงจรเหล่านี้ว่ามีอยู่จริง
.
แล้วเราจะสลับสวิทซ์จากวงจรคิดเอาเรื่อง(EF) ไปสู่วงจรคิดเอาเล่น(DMN) ได้อย่างไร
.
จะมาเล่าต่อในตอนหน้านะครับ
Doctor T Neuro
คิดปรับมุม Brain Chef
โฆษณา