Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
บทเรียนจากเชื้อโรค
•
ติดตาม
2 ก.พ. 2020 เวลา 23:42 • สุขภาพ
ไวรัสมัชฌิมาปฏิปทา
1
SARS กับ MERS ที่อัตราตายเยอะ ยังไม่น่ากลัวเท่า COVID-19 ที่อัตราตายน้อย
2
เชื้อโรคที่รุนแรงมากไม่ได้น่ากลัวเท่ากับเชื้อที่รุนแรงปานกลาง มาเรียนรู้อุปนิสัยของไวรัสไปด้วยกันเพื่อเตรียมพร้อมรับมือไวรัสสารพัดที่ผลัดเปลี่ยนดาหน้ากันมาโจมตีมนุษยชาติกันอยู่เนือง ๆ
1
ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจว่าไวรัสสามารถเพิ่มจำนวนเมื่ออยู่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอื่นเท่านั้น และนิสัยมันก็ค่อนข้างจะเลือกกินเหมือนเด็ก ชนิดของเซลล์ที่มันเข้าไปอาศัยเพิ่มจำนวนได้มีค่อนข้างจำกัด
1
เช่น ไวรัสตับอักเสบบี (human hepatitis B virus) ชอบเซลล์ตับ (hepatocyte) ของคนกับลิงบางชนิด ถ้าไวรัสไปเจอเซลล์ชนิดอื่น หรือ สัตว์ชนิดอื่น โอกาสติดเชื้อก็มีน้อย
อาจเรียกได้ว่ามนุษย์เราเป็นสัตว์เศรษฐกิจสำคัญที่ไวรัสเลี้ยงเอาไว้ มันฆ่าเรากินบ้าง แต่ก็ต้องเหลือมนุษย์ไว้ทำพันธุ์บางส่วน ถ้าเราตายหมดก็เสี่ยงที่มันจะสูญพันธุ์ตามไปด้วย
2
SARS-CoV-2 เครดิตภาพ: CDC/ Alissa Eckert, MS; Dan Higgins, MAM ที่มา: https://commons.m.wikimedia.org/wiki/File:2019-nCoV-CDC-23312_without_background.png#mw-jump-to-license
ข่าวดีคือไม่ต้องกลัวว่าไวรัสจะทำลายมนุษยชาติจนสิ้นโลก แต่ข่าวร้ายคือถ้ามันจะฆ่าซักหลายร้อยล้านคนก็คงไม่แปลกอะไร เพราะยังมีมนุษย์เหลือไว้ทำพันธุ์อีกหลายพันล้านคน
1
เชื้อที่มีความสามารถในการฆ่าล้างสปีชีส์จนสูญพันธุ์จะเป็นกลุ่มเชื้อรา เพราะมันอาศัยอยู่ในธรรมชาตินอกร่างกายเราเป็นหลัก เราเป็นแค่หนึ่งในอาหารจำนวนนับไม่ถ้วนที่มันย่อยสลายได้ เราตายหมดมันก็ไม่เดือดร้อน โชคดีที่เชื้อราไม่ค่อยมายุ่งกับสัตว์เลือดอุ่นอย่างเราซักเท่าไหร่ (อ่านเพิ่มเติมได้ใน ซีรี่ส์ "ภาษีเชื้อรา")
1
blockdit.com
บทเรียนจากเชื้อโรค
ภาษีเชื้อรา: ตอนที่ 1 ใครฆ่าไดโนเสาร์ คุณอาจร้องโอดโอยหากต้องจ่ายภาษีเกือบ 60% เมื่ออยู่ในประเทศสวีเดน แต่นั่นยังเทียบไม่ได้กับภาษีเชื้อรา 90% ที่มนุษย์ทุกคนต้องจ่ายเพื่อหลีกเลี่ยงการสูญพันธุ์
ไวรัสก็เหมือนสิ่งมีชีวิตอื่น แม้บางคนจะไม่อยากจัดว่ามันเป็นสิ่งมีชีวิตก็ตาม นั่นคืออยู่ภายใต้การคัดเลือกธรรมชาติ (Natural selection)
3
เฉพาะไวรัสที่มีคุณสมบัติเหมาะสมจึงจะสามารถเพิ่มจำนวนและคงอยู่ได้ ตัวที่ไม่เหมาะสมก็จะล้มหายตายจากสูญพันธุ์ไป
1
ถ้ามองในแง่ไวรัสกับมนุษย์ ไวรัสไม่ได้มีสมองที่จะมาคิดแค้นจองเวรไล่ฆ่ามนุษย์ มันก็เพียงแค่พยายามเพิ่มจำนวน การป่วยหรือตายของมนุษย์เป็นผลพลอยได้ (เสีย) มากกว่า
การที่เชื้อไวรัสจะติดต่อจากคนสู่คนได้ มันต้องเพิ่มจำนวนในเซลล์มนุษย์ให้มากเข้าไว้ ยิ่งมีจำนวนไวรัสมากโอกาสถ่ายทอดไวรัสให้อีกคนก็ยิ่งสูง
4
ปัญหามันอยู่ที่ว่าถ้าไวรัสเพิ่มจำนวนมากเกิน เซลล์ก็จะตายเยอะ การอักเสบก็จะมีมาก ทำให้มนุษย์ผู้เคราะห์ร้ายเจ็บป่วยรุนแรงจนเสียชีวิตในเวลาอันสั้น
ถ้าเจ็บป่วยรุนแรงนอนพะงาบอยู่บนเตียง แม้จะมีเชื้อเยอะพร้อมแพร่ แต่คนนั้นก็ไม่มีแรงพอที่จะไปพบปะผู้คน หรืออาจตายไปก่อน ทำให้การแพร่เชื้อถูกจำกัดไปโดยปริยาย
1
เชื้อจึงต้องปรับตัวให้มีความโหดกำลังดี (optimal virulence) นั่นคือมีปริมาณเชื้อเยอะพอให้แพร่ได้ แต่ไม่เยอะจนคนตายเร็วเกิน ไวรัสนั้นถึงจะคงอยู่ แพร่ระบาดโดยไม่สูญพันธุ์ได้
6
ดังนั้นโรคที่อัตราตายสูงมาก ๆ จึงไม่น่ากลัวนัก เพราะโอกาสแพร่ระบาดเป็นวงกว้างจะต่ำ เช่น มีผู้ติดเชื้อ 1,000 ราย อัตราตาย 80% ก็มีคนตายไป 800 คน
3
ในทางกลับกันโรคที่อัตราตายต่ำกว่า เช่น 1% แต่ระบาดไปทั่วโลก ถ้ามีผู้ติดเชื้อ 1 พันล้านคน ก็จะมีคนตาย 10 ล้านคน
เหมือนเราตั้งราคารถ 100 ล้านบาท แต่ขายได้แค่ 10 คัน ย่อมได้เงินไม่เท่าตั้งราคาแค่ 1 ล้าน แต่ขายได้ถึงล้านคัน
1
พวกไวรัสแปลก ๆ อัตราตายสูง ๆ มักจะมาจากสัตว์ ที่ตายกันเยอะเพราะไวรัสยังไม่ทันปรับตัวเข้ากับมนุษย์ เช่น ไข้หวัดนก (ตาย 50%) โรคพิษสุนัขบ้า (ตาย 100%) ซึ่งโอกาสติดเชื้อจากคนสู่คนจะต่ำมากหรือแทบไม่เกิดขึ้นเลย
4
ถ้ามันปรับตัวได้ความรุนแรงพอเหมาะ จนแพร่เชื้อได้ดี มันก็จะเข้ามาตั้งรกรากอยู่ในสังคมมนุษย์ เช่น
หัด น่าจะมาจาก Rinderpest virus ในวัวควาย เมื่อ 3,000 ปีก่อน
ไข้ทรพิษ คาดว่ามาจากเชื้อ poxvirus ของสัตว์ฟันแทะ เมื่อ 10,000 ปีก่อน
1
เอชไอวี-1(เอช=human, คน) น่าจะมาจากเชื้อ เอสไอวี (เอส=simian, ลิง) ของชิมแปนซี เมื่อ 100 ปีก่อน ถ้าเป็น เอชไอวี-2 จะมาจากลิงอีกชนิด (sooty mangabey)
3
ไข้หวัดใหญ่ 2009 จากเชื้อไข้หวัดใหญ่ของนก+คน+หมูอเมริกาเหนือ+หมูยุโรปเอเชีย
ไวรัสมีความสามารถในการกลายพันธุ์สูงมาก โดยเฉพาะพวกที่สารพันธุกรรมเป็นอาร์เอ็นเอ (RNA) เนื่องจากความผิดพลาดที่สูงถึง 1 ในหมื่น ในการก็อปปี้รหัสพันธุกรรม ไวรัสส่วนใหญ่มีสารพันธุกรรมยาวประมาณหมื่นถึงหลายแสนเบส นั่นแปลได้ว่าไวรัสทุกตัวจะมีตำแหน่งที่รหัสผิดเพี้ยนไปจากตัวต้นแบบ
2
ในเซลล์ เช่นเซลล์มนุษย์ เวลาแบ่งเซลล์ต้องมีการก็อปปี้สารพันธุกรรมที่เป็นดีเอ็นเอ (DNA) จะมีระบบพิสูจน์อักษร (proof reading) และระบบซ่อมแซมคู่ผิด (mismatch repair) ทำให้มีความแม่นยำสูงมาก โอกาสผิดพลาดน้อยถึง 1 ในพันล้าน ความหลากหลายทางพันธุกรรมของมนุษย์จึงมาจากการผสมพันธุ์ระหว่างเพศชายหญิง มากกว่าที่จะมาจากการกลายพันธุ์แบบในไวรัส
นั่นทำให้ไวรัสสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว จึงกระโดดข้ามสปีชีส์ที่ใกล้เคียงกันได้ เช่น ไพรเมทเหมือนกัน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเหมือนกัน หรือสัตว์เลือดอุ่นเหมือนกัน แม้ว่าส่วนใหญ่จะไม่ค่อยทำให้เกิดการติดเชื้อก็ตาม
2
ที่น่าสนใจคือพอไวรัสลดความโหดจนพอเหมาะพอดี สามารถระบาดได้ในวงกว้าง ซักพักมนุษย์ก็จะมีภูมิต้านทาน ไวรัสก็จะอยู่ไม่ได้ ต้องเพิ่มความโหดขึ้นเพื่อต่อกรกับภูมิคุ้มกันให้สมน้ำสมเนื้อ
2
ในมุมมองของกลุ่มประชากรที่มีภูมิพอสมควร เชื้อนี้ก็โหดกำลังดี เรียกได้ว่าศีลเสมอกัน อยู่ด้วยกันยืด
แต่ถ้าเชื้อนี้ที่ปรับตัวกับมนุษย์เป็นอย่างดีและเพิ่มความโหดแล้วไปเจอกลุ่มประชากรที่ไม่เคยเจอเชื้อนี้มาก่อน และไม่มีภูมิต้านทานเลย ไวรัสนั้นอาจจะโหดเกิน (hypervirulence) สามารถล้างบางประชากรกลุ่มนั้น จนอาณาจักรหรือบางอารยธรรมล่มสลายเลยทีเดียว ดังที่เราเคยได้ยินมาจากประวัติศาสตร์ที่เหล่าผู้ล่าอาณานิคมพาเชื้อข้ามทวีปไปปล่อยให้กับชาวพื้นเมืองผู้เคราะห์ร้ายอยู่หลายต่อหลายครั้ง
6
การปิดเมืองกักโรค ถ้าโรคระบาดหมดลงจนหายไปเลยก็คงดี แต่ถ้ามีประชากรเยอะพอให้เชื้อมันวนเวียนเพิ่มความโหดได้โดยเชื้อไม่หายไปเสียก่อน คนในเมืองนั้น ๆ ปรับตัวได้มีภูมิแล้วก็ไม่เป็นไรมาก แต่ถ้าวันดีคืนดีเชื้อหลุดออกมาสู่โลกภายนอกที่ไม่เคยเจอเชื้อมาก่อนคงน่ากลัวไม่น้อย
1
โดยสรุป เวลาเชื้อไวรัสจากสัตว์กระโดดเข้ามาในคน มันจะมีวิวัฒนาการตามลำดับ
2
อัตราตายสูงแต่ติดยาก
1
อัตราตายต่ำแต่ติดง่าย (เชื้อจะพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องให้คงอยู่ในสภาพนี้)
อัตราตายสูงและติดง่าย (ถ้ามันหลุดเข้าไปในประชากรที่ไม่มีภูมิเลย)
แต่นี่คงไม่ใช่กฎเหล็กตายตัวว่าจะต้องเป็นตามลำดับนี้เป๊ะ ๆ อย่างเชื้อเริ่มต้นจากอาการน้อยก่อนก็น่าจะมี แต่เราคงนึกว่าเป็นหวัดธรรมดา ก็ไม่มีการสืบสวนโรคแบบที่เราทำเวลาเชื้อโดดเข้ามาในมนุษย์แล้วคนตายเยอะ
เรารู้กันมานานแล้วว่าไวรัสจากสัตว์จะก่อให้เกิดการระบาดใหญ่ทั่วโลก (pandemic) ได้ เพราะมนุษย์ยังไม่มีภูมิ จึงได้มีความพยายามเข้าไปสำรวจค้นหาไวรัสในสัตว์ป่าในโครงการ Global Virome Project เพื่อพยายามเรียนรู้ ทำนาย และเข้าควบคุมไวรัสที่มีศักยภาพที่จะระบาดในมนุษย์ ในอนาคตเราอาจตัดไฟแต่ต้นลมได้สำเร็จ
1
จริง ๆ แล้ว โคโรนาไวรัส ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุของไข้หวัดอยู่แล้ว หลาย ๆ สายพันธุ์ที่เราเป็นกันก็อาจจะมีต้นกำเนิดจากสัตว์ สุดท้าย โคโรนาไวรัสตัวใหม่ ก็อาจจะกลายเป็นหนึ่งในเชื้อไข้หวัด เหมือนที่ไข้หวัดใหญ่ 2009 กลายเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลในปัจจุบัน
1
สุดท้ายนี้ขอให้ทุกท่านดูแลรักษาสุขภาพ เดินทางสายกลาง ไม่ประมาทหรือวิตกเกินไป จะได้ต่อกรกับโรคร้ายได้อย่างมีสติครับ
1
References:
3
https://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/j.1420-9101.2008.01658.x
1
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3234451/
https://emedicine.medscape.com/article/237229-overview
https://virologyj.biomedcentral.com/articles/10.1186/1743-422X-7-52
https://www.cdc.gov/h1n1flu/information_h1n1_virus_qa.htm
78 บันทึก
224
67
87
78
224
67
87
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย