Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Do you know?
•
ติดตาม
27 ธ.ค. 2018 เวลา 05:55 • การศึกษา
พบลำไส้เป็นอีกอวัยวะหนึ่งที่ผลิตเซลล์เม็ดเลือดได้
เป็นที่ทราบกันมานานว่าเซลล์เม็ดเลือดในร่างกายคนเรา ทั้งเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวถูกสร้างขึ้นจากไขกระดูกเท่านั้น แต่ล่าสุดทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียของสหรัฐฯ ได้ค้นพบว่ายังมีอีกอวัยวะหนึ่งที่ผลิตเซลล์เม็ดเลือดได้มากถึง 10% ของที่ไหลเวียนอยู่ในร่างกาย ซึ่งอวัยวะที่คาดไม่ถึงนี้ก็คือลำไส้นั่นเอง
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นักวิจัยบางกลุ่มได้สังเกตเห็นว่าผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายลำไส้ซึ่งได้มาจากผู้บริจาค จะมีภาวะของการเกิดเลือดผสม (Blood chimerism) ซึ่งผู้ได้รับการปลูกถ่ายจะมีเซลล์เม็ดเลือดทั้งของตนเองและจากเจ้าของลำไส้เดิมปะปนกันอยู่ แสดงว่าลำไส้ที่ปลูกถ่ายเข้าไปใหม่สามารถผลิตเซลล์เม็ดเลือดด้วยตนเองขึ้นมาได้
แบคทีเรียในลำไส้มนุษย์ผลิตไฟฟ้าได้เม็ดเลือดแดงรูปเคียวเกิดจากยีนกลายพันธุ์ในเด็กคนหนึ่งเมื่อ 7,300 ปีก่อน7 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ที่ชาญฉลาดกับฉายา "สมองที่ 2" ของมนุษย์พบแบคทีเรียอาศัยอยู่ในสมองคนได้เหมือนกับในลำไส้
ตามปกติแล้ว การผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะจะทำให้คนไข้มีเซลล์เม็ดเลือดของผู้บริจาคอยู่ในร่างกายระยะหนึ่ง ซึ่งต่อมาก็จะค่อย ๆ หายไป แต่ในกรณีของผู้รับการปลูกถ่ายลำไส้ 21 รายที่ทีมผู้วิจัยได้ติดตามศึกษาเป็นเวลานานถึง 5 ปีนั้น ลำไส้ใหม่ของพวกเขายังคงผลิตเซลล์เม็ดเลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เป็นส่วนหนึ่งของภูมิคุ้มกัน โดยเซลล์เม็ดเลือดขาวนี้ไม่เข้าโจมตีต่อต้านร่างกายของผู้รับบริจาคอวัยวะอีกด้วย
ทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยโคลัมเบียตีพิมพ์ผลการศึกษาปรากฏการณ์แปลกประหลาดนี้ลงในวารสาร Cell Stem Cell โดยระบุว่าลำไส้น่าจะเป็นอีกอวัยวะหนึ่งของมนุษย์ ที่มีเนื้อเยื่อผลิตเซลล์เม็ดเลือดทั้งขาวและแดงอยู่ในตัว โดยพบร่องรอยของเซลล์ต้นกำเนิดและเซลล์โพรเจนิเตอร์ของเม็ดเลือด (HSPC) ที่เป็นของผู้บริจาคอวัยวะ ในเยื่อเมือกของลำไส้ที่ได้รับการปลูกถ่าย รวมทั้งในตับและต่อมน้ำเหลืองทั่วร่างกายของผู้รับการปลูกถ่ายดร. เมแกน ไซค์ส ผู้นำทีมวิจัยบอกว่า "เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะ เซลล์เม็ดเลือดขาวของคนแปลกหน้าที่ไม่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านนี้ จะถูกเซลล์เม็ดเลือดขาวจากเจ้าของร่างกายเข้าแทนที่ ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนั้นเสมือนกับว่า เกิดการสื่อสารกันระหว่างเซลล์เม็ดเลือดขาวสองชุด ทำให้พวกมันเป็นมิตรกัน"
"ดูเหมือนเซลล์เม็ดเลือดขาวจากลำไส้ของผู้บริจาคได้รับการสอนตั้งแต่แรกว่า ร่างกายของผู้รับการปลูกถ่ายคือบ้านใหม่ ไม่ใช่สิ่งแปลกปลอมที่ต้องต่อต้าน และพวกมันจะค่อย ๆ ถูกแทนที่ด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาวของบุคคลผู้ได้รับการปลูกถ่ายลำไส้ในที่สุด"
"ยิ่งมีเซลล์ต้นกำเนิดของเม็ดเลือดจากผู้บริจาคลำไส้อยู่มากเท่าใด ก็ยิ่งเป็นผลดีต่อผู้รับการปลูกถ่ายมากขึ้นเท่านั้น โดยการที่ไม่ต้องให้ยากดภูมิคุ้มกันจะทำให้คนไข้หายเร็วขึ้น และคาดว่าการผ่าตัดปลูกถ่ายลำไส้จะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาโรคลำไส้ร้ายแรงบางชนิดเช่นโรคโครห์น (Crohn's Disease อันเป็นความผิดปกติเรื้อรังของลำไส้ใหญ่ทำให้เกิดการระคายเคืองและทางเดินอาหารบวม) ได้อีกด้วย" ดร. ไซค์ส กล่าว
Cr. BBC NEWS
2 บันทึก
17
2
17
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย