6 ม.ค. 2019 เวลา 00:52 • ความคิดเห็น
พลังของ Story ทำไมเดี๋ยวนี้ Story น่าเล่นมากขึ้น
มีอยู่ช่วงนึงที่ Facebook โปรโมท Story ของตัวเองแบบบ้าพลังมาก ช่วงแรกตอนที่ Story มาก็จะเป็นกลมๆก่อน เหมือนกับ Instagram แต่พอเวลาผ่านไปตัว Story เปลี่ยนเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า แล้วโชว์ Story นั้นให้เห็น Preview แล้วบางทีมันโผล่มาใน News feed ด้วย
1
มันบ่งบอกให้เห็นว่า ทางเจ้าของ social network เขาผลักดัน Story มากถึงขนาดนี้ครับ และล่าสุด YouTube ก็เอาระบบ Story เข้าใน YouTube ของตัวเอง ทำให้ YouTube Creator สามารถอัพสตอรี่ของตัวเองให้คนที่ติดตามได้ดูได้
คำถามคือ ทำไมสมัยนี้ต้องผลักดัน Story มากขนาดนั้น  Story มันดีขนาดนั้นเลยเหรอ สำหรับผมผมเล่นสตอรี่มาปีหนึ่งแล้วตั้งแต่ Instagram แล้วก็มาเล่นใน Facebook ทีหลัง ผมพบข้อดีหลายอย่างในการเล่น Story ครับ แล้วตอนนี้มันเหมือนเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้แล้ว หลัง ๆ มาผมโพสต์แต่ใน Story จนลืมโพสต์ใน News feed ตามปกติเลย
เรื่องราวที่ลงสตอรี่มีอายุแค่ 1 วันเท่านั้น
กฎของสตอรี่ก็คือเรื่องราวที่ลงมีอายุเพียงแค่ 1 วันเท่านั้น ไม่ว่ารูปนั้นจะสวยเราจะแค่ไหน แต่มีอายุแค่ 1 วัน มันเป็นความจำกัดที่มีเสน่ห์สำหรับ feature Story ครับ
โดยเฉลี่ยแล้วคนที่เข้ามาดู Story ไม่มีการดูซ้ำ ถ้า Story เรื่องนั้นดูไปแล้ว คนเดิมที่ดูสตอรี่ก็จะดูเรื่องใหม่ นั่นหมายความว่าเราไม่จำเป็นต้องทำเรื่องราวใน Story นั้นให้มันดีเลิศเหมือนกับพวก Content ที่มีคุณภาพ เพราะช่องทาง Story เหมือนสื่อไปในทาง “เฮ้ยเพื่อน มีอะไรจะบอกว่ะ”
เรื่องราวในสตอรี่ไม่ได้หวังให้เกิดไวรัล แล้วมีการแชร์ต่อแบบสาธารณะ
เว้นแต่ว่ามีคนแคปหน้าจอแล้วเอาไปแชร์ในพื้นที่ Social Network ของตัวเอง ซึ่ง Story ที่โดนแชร์บ่อยๆมักจะเป็นสตอรี่ของคนดังๆ อย่างนักร้องไอดอลหรือดาราซะมากกว่า แต่ถ้าเป็นคนธรรมดาอย่างเราๆไม่ต้องหวังให้เกิดไวรัลอะไรหรอก
เพราะไม่ใช่ทุกคนที่อยากโพสอะไรแล้วจะเกิดไวรัล ปกติผู้โพสต์ทั่วไปถ้ามันโดนใจของคนอื่นมักจะแชร์ต่อจนเกิดเป็นไวรัล แต่ใน Story ต่อให้แชร์ มันก็แชร์ให้กับคนสนิทผ่านทางไดเร็คหรือทาง Message เท่านั้น ไม่ได้แชร์เข้าในโปรไฟล์ของตัวเอง เว้นแต่ว่าคุณแคปหน้าจอแล้วเอาไปแชร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทางเจ้าของ Social Network เขาไม่ได้ต้องการให้คนแชร์แบบนั้นครับ
ฟังก์ชั่น Story ออกแบบมาเพื่อมือถืออย่างแท้จริง
โจทย์ของการเล่นสตอรี่คือ เรื่องราวของคุณจะต้องเต็มหน้าจอ ซึ่งเรื่องราวที่เต็มหน้าจอของสตอรี่ทำให้คนที่เข้ามาดูเรื่องราวได้รับอรรถรสมากที่สุด แม้ว่าต่อที่เราสามารถดูได้ผ่านทาง Browser ของ Facebook ใน PC แต่มันก็เล็กมากๆดูได้ไม่เต็มอิ่ม
และการใช้งาน Story จากมือถือ ดูเหมือนออกแบบมาเครื่องมือถืออย่างแท้จริงครับ เวลาเราจะแชร์ในอะไรในสตอรี่เพียงแค่ถ่ายรูปแล้วใส่แคปชั่นหรือตกแต่งอะไรนิดๆหน่อยๆตามที่อยากจะทำ แค่นี้ก็ได้ Story 1 Story แล้วครับ
เรื่องราวจาก Story มีความ Real สูงมาก
เรื่องราวของสตอรี่จะไปในแนว “เฮ้ยเพื่อน มีอะไรจะบอกว่ะ” บางทีการที่โพสต์ข้อความอะไรยาว ๆ คนเขาไม่อ่านนะ คนเขาเลื่อนไป แต่ถ้าโพสต์นั้นมีรูปภาพที่เต็มหน้าจอ คนจะสนใจมากขึ้น
อย่างเช่นเวลาออกไปเที่ยวหรือเวลาไปที่ที่เรารู้สึกตื่นเต้น แล้วเราอยากจะแชร์เรื่องราวนั้นให้เพื่อนๆๆที่ใกล้ตัวได้เห็น เราก็แค่ถ่ายรูปแล้วก็อัพขึ้น Story นั้นเลย มันง่ายมาก
หรือถ้าอยากให้สตอรี่มันสวยๆเราก็เอาพวก G I F มาประดับตกแต่ง หรืออยากจะใส่แคปชั่นอะไรก็ใส่ไป ซึ่งผมมองว่าการที่ Sorry มันก็ง่ายนะใช้ก็ง่ายด้วยเอออยากจะพูดอะไรก็พูดไปเลย
ปัจจุบันตอนนี้ Story เปิดโอกาสให้คนที่เข้ามาอ่านตอบคำถาม หรือตอบโพล หรือจะถามคำถาม
นับวันสตอรี่เริ่มพัฒนาตัวเองมากขึ้นจากแต่ก่อนแค่ถ่ายรูปหรือคลิปวีดีโอที่อยากจะพูดในตอนนั้นว่าอยากจะพูดอะไร ตอนนี้มีฟังชั่นที่ให้คนที่เข้ามาดูสตอรี่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับเจ้าของ Story นั้นได้ด้วย อย่างเช่นตอบคำถามที่ถาม ตอบโพล หรือจะถามคำถาม สามารถทำได้หมด
มีอยู่ช่วงนึงที่มีช่องให้กรอกคำถาม และคนก็แห่กันเล่นใหญ่เลย จริงๆตัวสร้างคำถามเป็นหนึ่งในฟีเจอร์ที่น่าเล่นมากที่สุด แล้วตอนนั้น feature ถามคำถามในเวอร์ชั่น Android มันมีแค่พื้นหลังเป็นสีส้มๆ ม่วง ๆ ผิดกับ Version iOS ที่สามารถอัพรูปมาใส่ประกอบคำถามกันได้
แต่แนะนำไว้ก่อนว่าฟีเจอร์พวกให้คนมาตอบคำถามหรือถามคำถามจะต้องมีผู้ติดตามค่อนข้างเยอะประมาณนึงหรือมีเพื่อนสนิทที่เล่นอินสตาแกรมเป็นประจำ แล้วเข้ามาดูสตอรี่บ่อยๆ ไม่ใช่พวกไอดีผีที่เข้ามา follow อย่างนั้นแต่ไม่เคยมากดไลค์หรือไม่เคยมาดูสตอรี่อะไรเลย พ่อท่านสร้างสตอรี่ตอบคำถามหรือตอบหรือถามคำถาม มันไม่มีใครร่วมเล่น Story ของเราจริงๆ
เราสามารถเช็คได้ว่าใครเข้ามาดู Story ของเรา
มันเป็นจุดเด่นที่ News Feed แบบปกติไม่สามารถให้ได้ครับ เพราะถ้า News feed แบบปกติ เราจะเช็คได้เฉพาะผู้โพสต์จากเพจของเราแต่ไม่สามารถระบุระบุเลยว่าคนที่เข้ามาดูเขาเป็น User ชื่ออะไร แต่สำหรับพวกตอรี่ต่างๆที่เราโพสต์ เราสามารถเช็คได้เลยว่าใครเป็นคนดู
แต่มันแย่หน่อยที่ Story ของ Facebook ถ้าคนที่เข้ามาดูเขาไม่ได้เป็นเพื่อนกับเรา (อาจจะเป็นผู้ติดตามของเราอีกทีหนึ่ง) เราจะเช็คไม่ได้ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า Facebook ทำไมต้องกั๊กรายชื่อด้วย
การเช็คว่าใครเข้ามาดูสตอรี่ของเรา ผมนึกถึง Social Network สมัยก่อนที่จะมาใช้ Facebook อย่าง Hi5 ตอนนั้นจำได้เลยใครเข้ามาที่โปรไฟล์แล้วไม่มีการคุยกันก็จะเม้นกลับว่า “แอบส่องทำไม” ดูตอนนั้นเป็นวัยรุ่นด้วยความคิดก็มันจะเด็กๆนิดๆ เลยชอบคอมเม้นพวกที่เอาแต่ส่องแนวๆนี้แหละ
ซึ่งจำนวนคนที่เข้ามาดูสตอรี่ มันเป็นตัวชี้วัดที่ดีว่า เราสั่ง Story แล้วมีคนดูจริงๆหรือเปล่า ผืดกับใน News Feed ที่เราไม่สามารถเช็คได้เลยว่ามีคนดูจริงๆหรือเปล่า แล้วถ้าเรายิ่งโพสเรื่องราวใน News feed บ่อยๆ มันจะสร้างความรำคาญกับผู้ใช้ทั่วไปด้วย
เราสามารถลง Story ได้เยอะและต่อเนื่องโดยไม่ต้องกลัวว่าจะรก Feed
ถ้าอยากจะลงสตอรี่จริงๆก็ควรลงโดยเว้นห่างประมาณ 1 ชั่วโมงต่อครั้ง มันจะดีมาก เพราะถ้าเราลงสตอรี่ ผู้ Content ในสตอรี่ของเรามันก็จะพุ่งขึ้นอันดับแรกๆใน Feed สตอรี่ของเพื่อนๆ ซึ่งจุดเด่นของสตอรี่คือ เราจะลงสตอรี่กี่อันก็ได้ จะลงสตอรี่เป็นตะเข็บก็ได้ เพราะเรื่องราวที่ลงมาจากมัดรวมใน Story ของเราเป็นชุดเดียวกัน
เราสามารถกำหนดความส่วนตัวให้กับคนดู Story ของเราได้ด้วย
สำหรับฟีเจอร์การกำหนดความส่วนตัวผมยกให้ Social Network อื่นๆที่ให้บริการสตอรี่ที่ไม่ใช่ Facebook คือ Facebook การจัดการความส่วนตัวมันค่อนข้างหยาบกระด้างมาก เพราะมันมี Public Friend แล้วก็ไม่ให้ดูเป็นรายชื่อบุคคล ถ้าปรับแล้วมันจะส่งผลกระทบทั้งหมดกับ Story ที่เราลง อย่าง Story บางเรื่องเราก็ไม่ได้ให้คนนี้ดู ถ้าต่อไปกลายเป็นว่าทุกคนไม่ได้ดู
โฆษณา