13 ม.ค. 2019 เวลา 04:30 • ท่องเที่ยว
ทำไมร้านค้าในอินเดียใช้ “ลูกอม” แทนเงินทอน?
1
จะซื้อของที่ร้านขายของชำ ซื้อข้าวกินที่โรงอาหารของมหาวิทยาลัย หรือตามร้านอาหารทั่วไป ถ้าเงินทอน คือ หนึ่งรูปี สองรูปี หรือห้ารูปี สิ่งที่คุณจะได้รับกลับมาคือ . . ลูกอม ช็อกโกแล๊ตแท่ง หรือหมากฝรั่ง
2
“ลูกอม” แทนเงินทอนหนึ่งรูปี หรือไม่เกินห้ารูปี และ “ช็อกโกแล๊ตแท่ง”, “หมากฝรั่ง” หรือบางครั้งก็ “บิสกิต” ห่อเล็ก ๆ แทนเงินทอนห้ารูปี
แม้แต่ห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาเก็ต หลายเจ้าก็มี “ระบบเงินทอนผสม” แบบนี้
ภายในลิ้นชักเก็บเงินของแคชเชียร์บ้านเขา นอกจากใส่ธนบัตรต่าง ๆ เขาก็ใส่ลูกอมรสชาติต่าง ๆ ช๊อกโกแล๊ตแท่ง หมากฝรั่ง เตรียมพร้อมไว้ใช้แทนเงินทอนให้ลูกค้า
แล้วทำไมเขาถึงให้ของเหล่านี้แทนเงิน?
เหตุผลหลัก ๆ คือ ร้านค้าได้กำไรเพิ่มขึ้น ลองนึกดูดี ๆ ราคาต้นทุนของลูกอมหนึ่งเม็ด ไม่เกิน 45 เปซ่า (paise หรือเงินสตางค์บ้านเรา) แต่ถูกร้านค้าใช้แทนเงินทอนมูลค่าถึงหนึ่งรูปีให้กับลูกค้า
นอกจากร้านค้าจะได้กำไรเพิ่มขึ้น ธุรกิจลูกอม/ช็อกโกแล๊ต/บิสกิตของอินเดียก็คงอยู่ต่อไปได้เรื่อย ๆ ตราบใดที่ธรรมเนียมปฏิบัติ “เงินทอนผสม” ยังมีอยู่
เรามีสิทธิปฏิเสธ และยืนยันขอรับเงินทอนเป็น “เงิน” ได้ไหม?
ได้ . . ไม่มีกฎหมายข้อไหนของอินเดีย ระบุหรือรับรองให้ ลูกอมหรือช็อกโกแล๊ตแท่งถูกใช้แทนเงินสดได้
แต่คงไม่มีใครอยากเสียเวลา ทำเรื่องร้องเรียน เพื่อเงินจำนวนหนึ่งรูปี หรือเมื่อตีเป็นเงินไทยแล้ว แทบไม่ถึง 50 สตางค์ด้วยซ้ำไป
ไหนจะเจอลูกง้อ ลูกอ้อน (เรียกให้ดูน่ารักน่าถนุถนอมไปอย่างนั้น) ของพ่อค้าแม่ค้าอินเดียแต่ละคน . . ต่อให้เรานั่งยัน นอนยันว่า ไม่เอาขนม หลายเจ้าก็จะพูดโน้มน้าวให้เราซื้อของอย่างอื่นตามมูลค่าของเงินทอนอยู่ดี . . บอกตรง ๆ กิน ๆ ขนมไป ก็สบายใจดี เพราะเถียงกับพี่แกแล้ว โคตรเหนื่อยเลย
1
โฆษณา