21 ม.ค. 2019 เวลา 14:33 • ธุรกิจ
Agile <—> Hierarchy ศัพท์ใหม่ที่ต้องรู้
ช่วงนี้จะได้ยินคำว่า Agile (อะไจล์) บ่อยมาก ในทุกครั้งที่มีประเด็นเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างองค์กรให้รองรับการเปลี่ยนแปลงในยุค 4.0
อะไจล์ หรือ อะจิลิตี้ เป็นโครงสร้างการทำงานที่แบน มักเวิร์กงานกันเป็นทีม ในทีมจะมีคนเก่งในด้านต่างๆมารวมอยู่ด้วยกัน
“ลิสต์ปัญหา ขบคิดทางแก้ เลือกเทคโนโลยี ออกแบบบริการหรือผลิตภัณฑ์ใหม่” กระบวนการเหล่านี้ต้องการคนหลายแบบ เช่น ดิจิทัลแมน , ระบบไอที , การตลาด , ดูความเสี่ยง , ...ฯลฯ
วิธีการทำงานแบบอะไจล์ มีความรวดเร็ว ตัดขั้นตอนกระบวนการที่ไม่จำเป็นได้เยอะมาก ทำให้ผลงานออกสู่สาธารณชนหรือผู้บริโภคได้เร็วกว่าปกติหลายเท่าตัว เพราะไม่ต้องเสนออนุมัติหลายขั้นตอน
เทียบกับโครงสร้างการทำงานแบบลำดับชั้น ที่เรียกว่า Hierarchy หรือ ไฮราคี ซึ่งองค์กรบริษัทส่วนใหญ่ในประเทศไทย มีลักษณะการบังคับบัญชาแบบนี้
ไฮราคี เป็นโครงสร้างที่ไม่เหมาะกับองค์กรที่จะโกดิจิทัลอย่างสิ้นเชิง เพราะกว่าจะผ่านด่าน ฝ่ายปฏิบัติ > หัวหน้า > ผอ. > กลั่นกรอง > ..... > > กว่าจะอนุมัติ เทคโนโลยีหรือบริการนั่นก็ล้าสมัยกันพอดี
แต่โครงสร้างแบบไฮราคีสะสมกันเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่เก่าแก่ดุจมรดกผืนใหญ่ จะหั่นคน เลิกตำแหน่ง ตัดหัวโขน ให้มาเป็นโครงสร้างแบบ อะไจล์ หรือแบนราบ มันช่างยากเข็ญ ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีบาดเจ็บ ส่งผลกระทบไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
เปรียบเทียบให้เห็นภาพ เหมือนการถูก “กิโยติน” บั่นเป็นชิ้นๆ แล้วมากระจาย หรือ เทียบได้กับ ปราสาท“เลโก้” ที่ต่อเติมมาเรื่อยๆ จนใหญ่เท่าภูเขา แล้วถูกทลายลงไปกับตา (เลือกเลโก้เพราะดูแข็งแรงกว่าทราย😁)
ด้วย ผู้เล่นหน้าใหม่ ที่เข้ามาเป็นคู่แข่ง ที่เพรียวกว่า ต้นทุนต่ำกว่า หนีไม่พ้นที่องค์กรใหญ่จะดิ้นหาวิธีปรับตัว ชนิด “คลำทาง” เพราะไม่มีใครรู้อนาคตว่าสิ่งที่เลือกถูกต้องหรือไม่ แต่สัญชาตญาณบอกให้ไป ก็ต้องไป อย่างน้อยการทำตัวให้ยืดหยุ่นมากเท่าไหร่ก็ปรับตัวได้เร็วขึ้นเท่านั้น
เป็นกำลังใจให้แด่ทุกคนที่ถูก Disrup เราเป็นพี่น้องกัน
โฆษณา