Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เทรดไปวันวัน
•
ติดตาม
21 ม.ค. 2019 เวลา 23:00 • การศึกษา
ย้อนอดีตสงครามไครเมีย เมื่อรัสเซียถูกกลุ่มชาติตะวันตกสั่งสอน จนต้องอยู่เงียบๆ เพื่อพัฒนาตัวเองไปหลายปี!
สงครามไครเมียเกิดขึ้นระหว่างปี 1853 – 1856 เป็นสงครามระหว่างรัสเซียและกลุ่มชาติพันธมิตรที่ประกอบไปด้วย ฝรั่งเศส อังกฤษ จักรวรรดิออตโตมัน และซาร์ดิเนีย โดยสงครามครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งในการแย่งชิงอำนาจกันเหนือดินแดนของจักรวรรดิออตโตมันที่กำลังอ่อนแอลง โดยเฉพาะพื้นที่ตรงคาบสมุทรไครเมีย ที่รัสเซียได้อ้างสิทธิในการครอบครองพื้นที่บริเวณดังกล่าว
ต่อมา ฝรั่งเศสได้เสนอตัวเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับจักรวรรดิออตโตมันที่นับถือศาสนาอิสลาม ส่วนหนึ่งก็เพื่อหาผลประโยชน์ขณะที่จักรวรรดิออตโตมันกำลังอ่อนแอลง ด้วยการส่งเรือปืนปิดช่องแคบคาร์ดาเนลส์ ทางเข้าออกทะเลดำที่เป็นเขตอิทธิพลของรัสเซีย ตามด้วยอังกฤษ ที่ตอนแรกเข้ามาเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างสองฝ่าย ทว่าเมื่อเวลาผ่านไป อังกฤษได้ตัดสินใจลงนามเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสรบกับรัสเซียทันที
4
กลุ่มชาติพันธมิตรตะวันตกอย่างอังกฤษและฝรั่งเศสอยากครอบครองช่องแคบคาร์ดาเนลส์และบอสฟอรัส เพราะเป็นเส้นทางการเดินเรือสำคัญ ขณะเดียวกันรัสเซียยิ่งต้องการช่องแคบนี้มาก เพราะมันเป็นเส้นทางเดินเรือเพียงทางเดียวที่ออกจากแหลมไครเมียในทะเลดำไปยังทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้
ฝ่ายพันธมิตร ฝรั่งเศส อังกฤษ ออตโตมันและซาร์ดิเนีย ระดมกำลังได้มากถึง 1,000,000 นาย ส่วนรัสเซียมีกำลังทหาร 720,000 นาย มีทหารล้มตายจากสงครามครั้งนี้ไม่ต่ำกว่า 500,000 คน สงครามไครเมียเป็นสงครามในยุคแรกๆ ที่มีการบันทึกภาพถ่ายและจดหมายที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ในขณะนั้นอย่างโทรเลขและทางรถไฟมาใช้ในการสงคราม และกล่าวได้ว่านี่คือสงครามครั้งแรกที่ประชาชนสามารถติดตามความเคลื่อนไหวได้แบบวันต่อวัน
สงครามครั้งนี้จบลงด้วยความพ่ายแพ้ของรัสเซีย เป็นความพ่ายแพ้ที่น่าอับอาย เพราะรัสเซียเคยคิดว่าตัวเองเหนือกว่าชาติใดๆ ในทวีปยุโรป จากความพ่ายแพ้ครั้งนี้รัสเซียตัดสินใจเก็บตัวเงียบไม่ยุ่งเกี่ยวกับกลุ่มประเทศยุโรปอยู่นานหลายปีเพื่อซุ่มพัฒนาประเทศให้เจริญทัดเทียมกับกลุ่มชาติยุโรปตะวันตกบ้าง
11 บันทึก
72
1
9
11
72
1
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย