Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ตำราต้องห้าม
•
ติดตาม
26 ม.ค. 2019 เวลา 03:26 • ประวัติศาสตร์
EP.8-7 กลยุทธ์ถ่วงดุลอำนาจของรัชกาลที่ 5 ทำให้ไกเซอร์แห่งเยอรมนีประกาศค้ำประกันอิสรภาพของสยาม เพื่อป้องกันการคุกคามจากอังกฤษและฝรั่งเศส
2
การเสด็จประพาสเยอรมนีครั้งแรกในปี C.1897 นั้น เป็นการตอกย้ำจุดยืนของหลักการเดิมที่ได้เริ่มต้นมาตั้งแต่ในรัชกาลที่ 4 และมาเข้ม ข้นอีกภายหลังที่พระองค์เจ้าปฤษฏางค์ ทรงเสนอให้ตั้งสถานทูตสยามขึ้นที่เบอร์ลินในปี C.1883
รัชกาลที่ 5 ทรงตระหนักว่าชาวเยอรมันน่าจะ เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศและสร้างปัจจัยพื้นฐานที่มีความจำเป็นต่อความมั่นคง เช่น พัฒนากองทัพ และโครงสร้างทางเศรษฐกิจซึ่งไทยยังขาดแคลน และชาวยุโรปเข้ามาทดแทนได้รัฐบาลสยามซึ่งเห็นว่าชาวเยอรมันมิได้ผูกขาดอยู่เฉพาะกับคู่กรณีของไทย (เช่น อังกฤษและฝรั่งเศส)
Kaiser Wilhelm II
จึงได้รณรงค์ให้มีการว่าจ้างชาวเยอรมันเข้ามาดำเนินกิจการพื้นฐานของประเทศอย่างกว้างขวาง ในตำแหน่งที่ไม่ปรารถนาจะใช้ชาวยุโรปชาติอื่นให้เข้ามายุ่งเกี่ยวด้วย เพราะเหตุผลด้านความมั่นคง มีอาทิ การไปรษณีย์ การรถไฟ การพาณิชย์นาวี และการธนาคาร
สำหรับอังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งมีผลประโยชน์มากอยู่ในสยาม และแถบประเทศใกล้เคียงเริ่มไม่พอใจกับการตัดสินใจในการที่สยามให้สิทธิพิเศษกับชาวเยอรมันซึ่งเป็นคู่แข่งของพวกตน
หากเป็นเฉพาะกิจการไปรษณีย์ หรือ พาณิชย์นาวีนั้น อาจจะพอรับได้ แต่กิจการรถไฟและระบบขนส่งซึ่งเป็นสายเลือดใหญ่ของการพัฒนาการคมนาคมขนส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ และกำลังพลนั้นเป็นการกระทบ กระเทือนเสถียรภาพด้านการทหาร และความมั่นคงในภูมิภาคนี้โดยตรง ซึ่งเยอรมนีไม่เคยมีบทบาทหรืออิทธิพลมาก่อน อังกฤษและฝรั่งเศสจึงไม่พอใจอย่างออกนอกหน้า และหาทางขัดขวางตลอดเวลา
รัชกาลที่ 5 ทรงยืนบนหมอนรางรถไฟ ก่อนทรงทดลองนั่งรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ที่ชาวอังกฤษเป็นแม่งานสร้าง (ภาพจากหนังสือพิมพ์อังกฤษ BLACK AND WHITE, 2 May 1896 หนังสือพิมพ์หายากของ ไกรฤกษ์ นานา)
การว่าจ้างชาวเยอรมันให้ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ดังกล่าวนี้ เป็นการช่วยส่งเสริมอิทธิพลทางการเมือง และการค้าของเยอรมนีในประเทศสยาม และที่สำคัญก็คือ ก่อให้เกิดปฏิกิริยาจากหลายวงการ
3
โดยเฉพาะจากอังกฤษซึ่งถือว่าการว่าจ้าง แฮร์ เบทเก (Herr Karl Bethge) ชาวเยอรมันเป็นเจ้ากรมรถไฟคนแรก แสดงให้เห็นว่ากรมรถไฟตกอยู่ใต้อิทธิพลของเยอรมนีโดยสิ้นเชิง
นอกจากนี้ อังกฤษยังเชื่อว่า เจ้ากรมรถไฟย่อมมีอิทธิพลมาก ในการตัดสินใจซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการสร้างทางรถไฟ
หนังสือพิมพ์ไทมส์ (Times) จากลอนดอนก็รายงานว่าในการสร้างทางรถไฟครั้งนี้ กรมรถไฟจะต้องใช้วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ผลิตในเยอรมนีมากกว่าจะใช้ของอังกฤษแน่ๆ นอกจากนี้ รัฐบาลอังกฤษยังพิจารณาว่าการว่าจ้างชาวเยอรมันให้ดำรงตำแหน่งเจ้ากรมรถไฟครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า พวกเยอรมันได้ฉกฉวยผลประโยชน์ไปจากวิศวกรชาวอังกฤษ ซึ่งทำการสำรวจเส้นทางรถไฟมาก่อน
1
วันที่ 21 ธันวาคม C.1900 สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จทรงเปิดทางรถไฟสายแรกของสยามพระบาท
อังกฤษเริ่มรู้สึกว่าเยอรมนีได้กลายเป็นคู่แข่งที่สำคัญของตนแล้ว เหตุการณ์ดังกล่าวนี้เป็นตัวเร่งให้อังกฤษเกิดความมุ่งมั่นที่จะปกป้องผลประโยชน์ของตนในประเทศสยาม
ส่วนฝรั่งเศสเองก็ไม่คาดฝันว่าเยอรมนี ซึ่งเพิ่งจะเริ่มเป็นประเทศที่มีความสำคัญประเทศหนึ่งในสยามจะมีอิทธิพลต่อการสร้างทางรถไฟมาก และรวดเร็วถึงเพียงนั้น ฝรั่งเศสตระหนักว่าการสร้างทางรถไฟสายนี้ ย่อมจะมีผลกระทบอันใหญ่หลวงต่อกิจการค้าภายในลาวอันเป็นเขตอิทธิพลฝรั่งเศส สินค้าจากลาวเป็นจำนวนมากย่อมหลั่งไหลไปสู่ตลาดใหม่คือกรุงเทพฯ
หนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสชื่อ อองชู (Anjou) แสดงความเห็นว่าการจ้าง แฮร์ เบทเก เป็นที่ปรึกษาของกรมรถไฟไม่เพียงแต่จะทำให้รัฐบาลสยามต้องซื้อวัสดุอุปกรณ์รถไฟจากเยอรมนีมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังจะทำให้จำนวนวิศวกรเยอรมันในประเทศสยามทวีขึ้นอีกด้วย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเจริญสัมพันธไมตรีกับไกเซอร์วิลลเฮล์มที่ 2 ในประเทศเยอรมนี
นอกจากนี้ ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสมีความเห็นว่าอัครราชทูตเยอรมันมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของรัฐบาลสยามในการว่าจ้าง แฮร์ เบทเก และยังอ้างว่าเหตุการณ์ที่ปรากฏขึ้นนี้แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลเยอรมันได้ยื่นมือเข้ามาแทรกแซงในกิจการของกรมรถไฟสยาม
1
อันที่จริงแล้วการว่าจ้างชาวเยอรมันนี้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย เพื่อความอยู่รอดของสยาม รัฐบาลสยามไม่พึงประสงค์ที่จะปล่อยให้อังกฤษ และฝรั่งเศสมีอิทธิพลในสยามมากจนเกินไป เพราะจะเป็นผลเสียต่อสยามได้ ถ้ารัฐบาลสยามยินยอมให้ฝรั่งเศสดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟแล้ว ฝรั่งเศสอาจจะเรียกร้องสิทธิพิเศษ ต่างๆ บางประการ หรือถ้ารัฐบาลสยามยินยิมให้อังกฤษเข้าควบคุมทางรถไฟแล้ว ผลประโยชน์ย่อมตกอยู่ในมือของพ่อค้าชาวอังกฤษมากกว่ารัฐบาลสยาม
ที่สำคัญก็คือ ถ้าฝรั่งเศสหรืออังกฤษก็ตามได้รับสัมปทานแล้วก็อาจจะก่อให้เกิดความขัดแย้ง เกี่ยวกับผลประโยชน์ขึ้นระหว่างสองมหาอำนาจนี้ อันจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของประเทศสยามตั้งแต่การลงนามในสนธิสัญญาฉบับปี C.1962 แล้ว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จไปเยี่ยมเยียนบิสมาร์กในปี C.1897
เยอรมนีไม่เคยแสดงท่าทีคุกคามประเทศสยาม นอกจากนี้ เยอรมนียังเป็นประเทศที่ไม่มีอาณานิคมในบริเวณใกล้เคียงอีกด้วย อย่างไรก็ดี เมื่อเยอรมนีได้กลายเป็นชาติมหาอำนาจในยุโรป (หลังจากรบชนะฝรั่งเศสในสงครามฟรังโก-ปรัสเซียแล้ว) อังกฤษและฝรั่งเศสก็ติดตามการเคลื่อนไหวของเยอรมนีในภูมิภาคต่างๆ ด้วยความสนใจและความกังวลใจยิ่ง
ในที่สุดการสร้างรถไฟสายกรุงเทพฯ-โคราช ก็เริ่มขึ้นในเดือนธันวาคม C.1890 และเสร็จสิ้นทันได้ใช้งานขนส่งทหาร และอาวุธยุทโธปกรณ์ในแนวหน้าเมื่อรบกับ ฝรั่งเศสในปี C.1893 หรือในวิกฤติการณ์ ร.ศ. 112
นักประวัติศาสตร์อาจจะปฏิเสธไม่ได้ว่าภายหลังการเปลี่ยนแผ่นดินในปี C.1888 เมื่อไกเซอร์วิลเฮล์มที่ 2 เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นจักรพรรดิเยอรมันองค์ใหม่แล้ว พระองค์ทรงมีนโยบายทางการเมือง และการต่างประเทศแตกต่างออกไปจากบิสมาร์คมาก
Otto Van Bismarck ถวายการต้อนรับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะเสด็จประพาสท่องเที่ยวในยุโรปปี C.1897
ทรงเล็งเห็นว่ากองทัพจะสามารถสร้างความยิ่งใหญ่ให้แก่เยอรมนีได้ จึงทรงมุ่งมั่นที่จะใช้สมรรถภาพของกองทัพในการขยายอำนาจ และอิทธิพลของเยอรมนีออกไปทั่วโลก ซึ่งเป็นการขัดต่อแนวคิด และอุดมกาณ์ของบิสมาร์คที่พยายามจะหลีกเลี่ยงปัญหาความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ และการแข่งขันกับมหาอำนาจยุโรปอื่นๆ
พระองค์ได้ทรงประกาสใช้โครงการเทอร์พิตซ์ (Tirpitz Plan)ในปี C.1898 เพื่อสร้างแสนยานุภาพทางทะเลและขยายตลาดการค้าของเยอรมนีในเอเชีย ในเวลานั้น เยอรมนีมุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นการใหญ่ และขยายอาณานิคมจากทวีปแอฟริกาไปสู่ดินแดนทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิกด้วย ซึ่งเท่ากับประกาศตนเป็นคู่แข่งทางจักรวรรดินิยมอย่างเต็มตัว และจะทำทุกวิถีทางที่จะปะทะกับการต่อต้านของอังกฤษและฝรั่งเศส
และเพื่อควบคุมเส้นทางพาณิชย์ และขยายแสนยานุภาพทางเรือของตน เยอรมนีพยายามแสวงหาสู่ทางสร้างฐานทัพเรือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นเหตุให้อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย เกิดปฏิกิริยาทันทีอย่างเปิดเผย และทำการต่อต้านเยอรมนีในการขยายอิทธิพลทั้งทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ
โครงการเทอร์พิตซ์ (Tirpitz Plan)ในปี C.1898 เพื่อสร้างแสนยานุภาพทางทะเลและขยายตลาดการค้าของเยอรมนี
ในปี C.1890 รัฐบาลอังกฤษจากหนังสือพิมพ์สแตนดาร์ด (Standard) กล่าวว่ารัฐบาลเยอรมันกำลังวิ่งเต้นขอเช่าที่ดินใกล้าเกาะปีนังจากสยามเพื่อใช้เป็นสถานีเชื้อเพลิง ข่าวนี้สร้างความกังวลใจแก่รัฐบาลการอังกฤษเป็นอย่างมาก และเป็นการยากที่อังกฤษจะยินยอมให้มหาอำนาจชาติใดมาตั้งสถานีเชื้อเพลิงใกล้เขตอิทธิพลของตนในอ่าวเบงกอล
อังกฤษถือว่าการที่เยอรมันจะสร้างสถานีเชื้อเพลิงในบริเวณดังกล่าว ไม่เพียงแต่จะเพิ่มอิทธิพลทางการค้า และการเมืองให้แก่เยอรมนีเท่านั้น แต่อังกฤษยังเกรงว่าเยอรมนีอาจจะใช้สถานีเชื้อเพลิงดังกล่าวเป็นบันไดก้าวไปช่วงชิงผลประโยชน์ของอังกฤษในแหลมมลายูซึ่งมั่งคั่งด้วทรัพยากรธรรมชาติ
แม้ว่ารัฐบาลสยามจะปฏิเสธข่าวนี้อย่างแข็งขันก็ตาม กระทรวงอาณานิคมอังกฤษก็ยังไม่คลายความสงสัย และกลับมีความเห็นว่าถ้าเยอรมนี ตั้งสถานีเชื้อเพลิงในแหลมมลายูได้สำเร็จ เยอรมนีก็จะอยู่ในฐานะที่จะใช้สถานีเชื้อเพลิงนี้เป็นที่มั่นก้าวไปยึดอาณานิคมของฝรั่งเศสในอินโดจีน
เพื่อเป็นการสกัดกั้นความทะเยอทะยานของเยอรมนีอังกฤษ และฝรั่งเศสจึงได้รวมหัวกันทำข้อตกลงขึ้นมาฉบับหนึ่งเรียกปฏิญญาระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส (Anglo-French Declaration C.1896) ใจความสำคัญก็คือ
สยามเปรียบเสมือนขนมเค้ก ที่ค่อยๆถูกตัดแบ่งออกไปทีละนิดๆ ในช่วงปี C.1867-1909
ประกันความเป็นกลางและอธิปไตยเหนือบริเวณภาคกลางของสยาม เพื่อป้องกันกันมิให้ชาติอื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเยอรมนีขยายอิทธิพลเข้าไปสู่บริเวณดังกล่าว เท่านั้นยังไม่พออังกฤษซึ่งเกรงว่าปฏิญญาดังกล่าวประกันเฉพาะภาคกลางของสยามเท่านั้น แต่เยอรมนีอาจล่วงล้ำเข้าไปยังภาคใต้ที่อุดมไปด้วยดีบุก และทรัพยากรอีกมาก
อังกฤษจึงขอให้สยามทำสัญญาลับเพิ่มเติมอีกฉบับหนึ่งในปี C.1897 เพื่อผูกมัดสยามว่าจะไม่ยินยอมให้ประเทศใด (หมายถึงเยอรมนี) ซื้อ เช่า หรือถือกรรมสิทธิ์ดินแดนสยามตั้งแต่บริเวณใต้ตำบลบางสะพานประจวบคีรีขันธ์ลงไป โดยที่ไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลอังกฤษก่อน
เพื่อเป็นการตอบแทน รัฐบาลอังกฤษ จะให้ความช่วยเหลือแก่สยามถ้าชาติอื่นรุกราน จะเห็นได้ว่าอนุสัญญาลับฉบับนี้ เปิดโอกาสให้อังกฤษเป็นชาติเดียวที่มีอิทธิพลทั้งการเมือง และทางเศรษฐกิจตั้งแต่ได้ตำบลบางสะพานลงไปจนตลอดแหลมมลายู
1
ในการลงนามในอนุสัญญาฉบับนี้ อังกฤษมุ่งมั่นที่จะสกัดกั้นอิทธิพลของเยอรมนีทุกวิถีทางให้พ้นไปจากแหลมมลายู แต่ประเทศที่ต้องเป็นฝ่ายเสียเปรียบมากคือสยาม เพราะต้องเป็นฝ่ายสูญเสียอำนาจอธิปไตยในดินแดนดังกล่าว
สี่รัฐทางภาคใต้ของสยามได้แก่ Syburi(ไทรบุรี), Palit (ปะลิส), Kalantan (กลันตัน) และ Trangkanu (ตรังกานู) ซึ่งอังกฤษหวังอยากจะมีไว้ในครอบ เนื่องจากมีทรัพยากรทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และมีเเร่ธาตุจำนวนมาก
นอกจากนี้ เมื่อสยามถูกฝรั่งเศสเรียกร้องให้ยกดินแดนบนฝั่งขาวของแม่น้ำโขงให้ตนในปี C.1903 อังกฤษก็มิได้ช่วยเหลือสยามเลย แต่ที่รัฐบาลสยามยอมลงนาม เพราะคิดว่า ตนว่าควรให้อังกฤษเป็นผู้ค้ำประกันดินแดนแถบนี้ดีกว่าที่จะให้อังกฤษมายึดครองไปเฉยๆ นอกจากนี้ รัฐบาลสยามรู้สึกพอใจที่อังกฤษเป็นผู้ค้ำประกันดินแดนของตน เพราะตนเองไม่มีกำลังพอที่จะต่อต้านมหาอำนาจที่สามใดๆ ได้ (ฝรั่งเศส)
หากย้อนกลับไปพิจารณาปฏิญญาระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสฉบับปี C.1896 แล้วก็จะพบว่าถึงแม้ทั้ง 2 ชาติจะทำทีว่าเคารพเอกราช และบูรณภาพของดินแดนสยาม แต่ฝรั่งเศสก็ยังคงคุกคามที่จะยึดดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงซึ่งอยู่ใต้การปกครองของสยามในขณะนั้น ไกเซอร์วิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนีทรงแนะนำให้รัชกาลที่ 5 ทรงขอความร่วมมือจากประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และรัสเซียประกันเอกราชและบูรณภาพของอาณาเขตของสยาม
รัชกาลที่ 5 ทรงหยั่งความเห็นของรัฐบาลอังกฤษในเรื่องนี้ แต่อังกฤษไม่เห็นด้วย นายโรแลง เชเกอแมง (Rolin Jacquemyns) ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินของสยาม ซึ่งเป็นชาวเบลเยียมจึงวางแผนการที่จะเดินทางไปยังเยอรมนีเพื่อเฝ้าไกเซอร์เกี่ยวกับเรื่องนี้
แผ่นดินที่หลงเหลืออยู่เพียงน้อยนิด ที่อังกฤษเเละฝรั่งเศส เหลือทิ้งไว้ให้ชาวสยามได้ซุกหัวนอนในยุคจักรวรรดินิยม
แต่ก็ต้องยกเลิกแผนการนี้ในที่สุด เนื่องจากถูกอังกฤษขัดขวาง อังกฤษกลัวว่าถ้าเยอรมนีตกลงประกันเอกราชของสยามแล้ว รัฐบาลสยามอาจจะตอบแทนรัฐบาลเยอรมันด้วยการอนุญาติให้สร้างสถานีเชื้อเพลิงที่เกาะใดเกาะหนึ่งของประเทศก็ได้ อังกฤษไม่มีวันที่จะยินยอมได้
ความล้มเหลวของแผนการของ นายโรแลง เชเกอแมง ครั้งนี้ มีผลทำให้สยามจำต้องยกดินแดนบนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศสไปในปี C.1903
ในยุโรป ความสัมพันธ์ระหว่างกับอังกฤษกับเยอรมนีไม่ราบรื่น เนื่องจากเยอรมนีพยายามทุกวิถีทางที่จะแข่งกับอังกฤษในการเสริมสร้างแสนยานุภาพทางเรือของตนให้เป็นที่หนึ่งในโลก
เพื่อการนี้เยอรมนีประกาศใช้กฏหมายนาวีฉบับที่ 2 ในปี C.1900 ผลก็คือ อังกฤษตัดสินใจยกเลิก “นโยบายอยู่อย่างโดดเดี่ยว” ของตนแล้วหันไปแสวงหาพันธมิตรทันที อีก 2 ปีต่อมา อังกฤษก็ผูกไมตรีกับญี่ปุ่นได้สำเร็จ โดยลงนามในสนธิสัญญาพันธมิตรต่อกัน (Anglo-Japanese Alliance)
และอีก 2 ปีต่อมา อังกฤษและฝรั่งเศสสามารถแก้ไขกรณีพิพาทระหว่างกันได้เป็นผลสำเร็จ
1
สนธิสัญญาพนธมิตร แองโกล - ญี่ปุ่น ลงนามในลอนดอนที่ Lansdowne House เมื่อวันที่ 30 มกราคม C.1902 โดย Lord Lansdowne รัฐมนตรีต่างประเทศของอังกฤษอังกฤษ และ Hayashi Tadasu รัฐมนตรีต่างประเทศของญี่ปุ่น
และลงนามในความเข้าใจฉันมิตร (Entente Cordiale) ต่อกัน ตั้งแต่นี้ไปทั้ง 2 ประเทศถือว่า ภาคตะวันออกของสยามเป็นเขตอิทธิพลของฝรั่งเศส ส่วนภาคตะวันตกและภาคใต้ของสยามเป็นเขตอิทธิพลของอังกฤษ ต่างฝ่ายต่างจะไม่เข้าไปแสวงหาผลประโยชน์ใดๆ ในเขตอิทธิพลของอีกฝ่ายหนึ่ง
1
การที่อังกฤษทำความตกลงฉันมิตรกับฝรั่งเศส ซึ่งเคยเป็นศัตรูคู่แข่งของอังกฤษมาก่อนครั้งนี้ ทำให้รัฐบาลสยามตระหนักว่าต่อไปนี้สยามคงจะหวังพึ่งความช่วยเหลือจากอังกฤษอีกต่อไปไม่ได้ ระหว่างนั้นไกเซอร์วิลเฮล์มที่ 2 ซึ่งทรงปรารถนาดีต่อสยาม และทรงประสงค์จะช่วยเหลือสยามให้พ้นจากการคุกคามของมหาอำนาจอื่น ทรงเสนอว่า
Anglo-Japanese Alliance, 30 January 1902
ถ้าสยามถูกคุกคามโดยมหาอำนาจใดๆ ก็ตาม เยอรมนีจะจัดให้มีการประชุมทำนองเดียวกับการประชุมที่เมืองอัลเจอซิรัส (Algeciras Conference) ซึ่งเยอรมันเคยเป็นเจ้าภาพมาก่อน
การประชุมที่อัลเจอซิรัสเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16-17 เมษายน C.1906
นับเป็นการประชุมครั้งสำคัญที่เยอรมนีเข้าไปแสดงบทบาทตุลาการเพื่อแก้ไขปัญหาภายในประเทศโมร็อกโกในอันที่จะขัดขวางมิให้ฝรั่งเศสเป็นเพียงมหาอำนาจชาติเดียวที่ปกครองประเทศนั้น แต่ให้มีชาติที่เป็นกลางอื่นๆ เช่น สวิส และสเปนเข้าไปมีอำนาจในการปกครองด้วย ที่สำคัญคือ เยอรมนีได้ทดสอบความแข็งแกร่งของความตกลงฉันมิตรระหว่างอังกฤษ-ฝรั่งเศสว่าจริงใจต่อกันแค่ไหน
ทูตโมร็อกโกเดินทางมาถึงการประชุม Algeciras ในสเปน การประชุมจัดขึ้นเพื่อแก้ไขวิกฤติที่เกิดขึ้นในปี 2448 เมื่อเยอรมนีพยายามที่จะป้องกันไม่ให้ฝรั่งเศสจากการจัดตั้งอารักขาโมร็อกโก
ดังนั้น การที่ไกเซอร์วิลเฮล์มที่ 2 ทรงเสนอการประชุมทำนองเดียวกันในกรณีของสยามก็เท่ากับท้าทายอังกฤษ-ฝรั่งเศส ไม่ให้ทำตัวเป็นนักเลงข่มเหงประเทศเล็ก ประเทศน้อยตามอำเภอใจ ซึ่งเยอรมนีก็ได้แสดงให้เห็นถึงความจริงใจ และความมีใจกว้างที่จะปกป้องเอกราช และอธิปไตยมิได้หวังผลตอบแทน
Reference
1.
http://www.chaoprayanews.com/2014/07/06/ความสัมพันธ์-สยาม-เยอรม/
50 บันทึก
120
3
21
50
120
3
21
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย