.
มันเกิดอะไรกันขึ้น? ทำไมเราอยู่ในยุคที่เทคโนโลยีพอจะพาเราไปดาวอื่นได้ แต่เที่ยวบินบนโลกใบนี้กลับช้าลง?
.
ปัจจัยมีหลากหลาย ส่วนหนึ่งมาจากการที่ทุกวันนี้มีเที่ยวบินมากขึ้นสนามบินเลยแออัด แต่ละเที่ยวบินออกได้ช้าลง ส่วนหนึ่งมาจากการที่สายการบินมักจะเคลมเวลาของไฟลท์นานขึ้น เพื่อให้ลงจดได้ตรงเวลา หรือ “ไม่ดีเลย์” มากขึ้น
.
แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุด เกิดจากการที่ทุกสายการบินพร้อมใจกันบินช้าลงเพราะมันประหยัดน้ำมันขึ้น
.
ใช่ครับ ทุกวันนี้เครื่องบินพาณิชย์ที่บิน ๆ กัน ไม่ได้บินเต็มสปีดของเครื่อง เพื่อให้ประหยัดน้ำมันที่สุด จะได้ประหยัดงบที่สุด
.
ซึ่งจุดหักเหสำคัญคือยุค 1990’s ที่ราคาน้ำมันโดดขึ้นเป็นหลายเท่าตัว สายการบินทั้งหลายก็เลยต้องพยายามจะลดต้นทุนให้ธุรกิจไปต่อได้ และสายการบินก็เรียนรู้ว่าถ้าบินช้าลง จะประหยัดงบไปได้อีกเยอะ ก็เลยพร้อมใจกันค่อย ๆ บินช้าลง จนเป็นสปีดแบบที่เราเห็นในปัจจุบัน
.
ดังนั้นการเดินทางด้วยเครื่องบินของเราทุกวันนี้ มันไม่ได้บินด้วยความเร็วเต็มความสามารถของเทคโนโลยี
.
ซึ่งจริง ๆ สิ่งที่ชัดเจนที่สุดก็คือการเจ๊งของเครื่องบิน Concorde
.
เด็ก ๆ เราอาจเคยได้ยินเกี่ยวกับเครื่องบิน Concorde มาบ้าง แต่พอโต ๆ เราไม่ได้ยินแล้ว เพราะมันเจ๊งไปเมื่อปี 2003 หลังจากสองสายการบินที่ให้บริการเครื่องบิน Concorde อย่าง British Airways กับ Air France เลิกใช้เครื่องบินนี้
.
Concorde คือเครื่องบินที่บินเร็วกว่าเสียงสองเท่า ซึ่งเครื่องบินปกติที่บิน ๆ กันบินต่ำกว่าความเร็วเสียง ซึ่งผลคือ ถ้าบินด้วย Concorde การเงินทางจาก London ไป New York นั้นจะใช้เวลาเพียง 3 ชั่วโมงครึ่ง ในขณะที่เครื่องบินปกติต้องใช้เวลาถึง 7-8 ช.ม.
.
แต่การบินด้วยความเร็วเหนือเสียงนั้นต้องใช้น้ำมันมากกว่าการบินปกติอย่างมากมายมหาศาล ซึ่งนั่นหมายถึงต้นทุนมหาศาล และทำให้เที่ยวบินบนเครื่องบิน Concorde มีค่าตั๋วไปกลับแพงกว่าค่าตั๋วไปกลับที่ถูกที่สุดในเส้นทางเดียวกันถึง 30 เท่าตัว
.
ทุกวันนี้เราอาจรู้สึกว่ามนุษย์ต้องการอะไรก็ได้ที่เร็วที่สุด แต่ในความเป็นจริงทุกคนคำนึงถึงต้นทุนของความเร็วด้วย เพราะแม้แต่คนรวยจำนวนมาก ก็ไม่ได้รู้สึกว่าการประหยัดเวลาไปขาละ 3-4 ชม. แต่ต้องเสียเงินเพิ่มเป็นแสน ๆ บาทนั้นจะเป็นเรื่องคุ้มค่าในการบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก (ส่วนชนชั้นกลางยันคนจนก็ยิ่งไม่ต้องพูดถึง)
.
ผลก็คือคนก็บิน Concorde น้อย และยิ่งน้อยลงอีกหลังค่าตั๋วต้องพุ่งขึ้นไปพร้อมกับค่าน้ำมันในช่วง 1990’s และทำให้มันเจ๊งในที่สุดในปี 2003
.
และก็อย่างที่ว่ามาจริง ๆ แล้วภายหลังน้ำมันขึ้นและเครื่องบินบินช้าลง มันไม่ได้ทำให้เครื่องบินกินน้ำมันอย่าง Concorde เจ๊งเท่านั้น แต่มันทำให้สายการบินต่าง ๆ บินช้าลงด้วย เพราะมันทำให้ประหยัดน้ำมันขึ้น
.
สายการบินต่าง ๆ เริ่มเรียนรู้เทคนิคการประหยัดน้ำมันเครื่องบินมากขึ้น ๆ และเริ่มตระหนักว่า ถ้าเครื่องบินยิ่งบรรทุกสำภาระเบาลง มันก็ยิ่งประหยัดน้ำมันขึ้น นี่ทำให้เกิดการลดโควต้าน้ำหนักกระเป๋า และการคิดค่าน้ำหนักกระเป๋าที่มากขึ้น ซึ่งวิธีการแบบนี้มันไปสุดที่แนวคิดแบบสายการบินโลว์คอสต์ที่จะโหลดกระเป๋าต้องเสียเงินทันที
.
แต่ก็แน่นอน วีธีคิดว่า “บินยังไงให้ประหยัดที่สุด” แบบทั่วทั้งอุตสาหกรรมการบินที่ว่ามันนำมาสู่การขยายตัวของสายการบินโลว์คอสต์ทั่วโลกด้วย
.
หรือพูดง่าย ๆ เรามาถึงยุคที่ “ใคร ๆ ก็บินได้” เพราะทั้งอุตสาหกรรมการบินนั้นพร้อมใจกันเปลี่ยนวิธีคิดจาก “ทำยังไงให้ถึงที่หมายเร็วที่สุด” มาเป็น “ทำยังไงให้ต้นทุนการบินประหยัดที่สุด” นี่เองครับ
.
แน่นอนวิธีคิดแบบนี้ ทำให้การเดินทางด้วยเครื่องบินล้วนช้าลงกว่าเมื่อ 30-40 ปีก่อน แต่อีกด้านหนึ่งมันก็ทำให้คนทั่วโลกมีโอกาสได้เดินทางมากขึ้น เพราะเมื่อ 30-40 ปีก่อน ใครจะบินได้นี่ก็คงจะต้องเป็นคนที่อยู่ในฐานะที่ร่ำรวยพอสมควรเท่านั้น เพราะค่าตั๋วเครื่องบินมันแพงสุด ๆ ไม่ว่าจะบินใกล้หรือบินไกล
.
#BrandThink