ทำไมกางเกงนักเรียนเอกชนเป็นสีน้ำเงิน
.
เคยสงสงสัยไหมว่าเหตุใดเครื่องแบบนักเรียนจึงมีหลากหลายสี มีทั้งกากี ดำ น้ำเงิน แดง แต่เอาไปที่จุดเริ่มต้นของกางเกงน้ำเงินก่อนว่ามีที่มาอย่างไร
.
จุดเริ่มต้นกำเนิดจาก “โรงเรียนอัสสัมชัญ” ซึ่งได้ให้กำเนิดเครื่องแบบนักเรียนกางเกงน้ำเงินขึ้นมาในปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยให้นักเรียนที่เปิดเทอมใหม่ต้องตัดชุดยูนิฟอร์มคือ สวมเสื้อกระดุมห้าเม็ด ติดกระดุมลงยาอักษรโรงเรียน นุ่งกางเกงสีน้ำเงินหรือกรมท่า สวมถุงเท้ายาวและสวมรองเท้าหนัง สวมหมวกกะโล่ขาว
.
บันทึกของอัสสัมชัญเล่าเรื่องการแต่งยูนิฟอร์มใหม่ว่า ต้นปี ๒๔๗๕ มีเด็กไทยคนหนึ่งเมื่อโรงเรียนอัสสัมชัญตีระฆังเข้าโรงเรียนแล้ว เด็กชายผู้นี้อยู่ ม.๘ นุ่งผ้าม่วง ตัดผมทรงหลักแจว จูงหมาตัวหนึ่งมาเข้าแถวด้วย ทำให้นักเรียนทั้งหมดหันไปมองเป็นตาเดียวกัน อีกไม่กี่เดือนโรงเรียนอัสสัมชัญก็มีเครื่องแบบขึ้น .... ตอนมีเครื่องแบบนั้นพวกเราเห่อกันมาก เราแต่งตัวกันเสียเปี๊ยบมากๆ พิถีพิถันแข่งกัน กางเกงต้องเอาที่ซักใหม่ๆ รีดกลีบโง้ง รองเท้าขัดมันขลับ ถุงเท้าซักขาว หมวกพอกแป้งขาว กระดุม A.C. ก็ขัดให้เงาวับ กางเกงขาสั้นนิยมขากว้างๆ ยิ่งกว้างยิ่งสมาร์ท
ทำไมต้องสีน้ำเงิน ?
.
ทั้งนี้ชุดดังกล่าวนั้นถือกำเนิดมาจากก่อนหน้านี้นักเรียนอัสสัมชัญมีหลากหลาย มีไทย จีน พม่า แขก ฝรั่ง เรียนปะปนกันและแต่งกายตามเชื้อชาติ บ้างก็นุ่งผ้าม่วง บ้างนุ่งกางเกงไทย บ้างนุ่งโสร่ง เป็นต้น ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๗ การแต่งกายของข้าราชการและการแต่งกายที่สุภาพของผู้ใหญ่นั้นนิยมการแต่งกายสวมเสื้อราชประแตนและนุ่งผ้าม่วง (ในที่นี้ผ้าม่วงหมายถึงประเภทผ้าที่นุ่งโจง อาจมีหลายสีได้ เช่น น้ำเงิน ม่วง เขียว โดยเรียกผ้าม่วงทั้งหมด)
.
และทั้งนี้ผ้าม่วงที่ได้นิยมแต่งกายกันคือ เน้นสีน้ำเงินเป็นหลักจึงได้ถูกปรับย่อลงมาให้นักเรียนได้ใส่กัน แต่ให้เป็นกางเกงสีน้ำเงินล้อผ้าม่วงนั่นเอง การใส่กางเกงเพื่อที่จะให้นักเรียนทั้งหลายเชื้อชาติได้ใส่กางเกงอย่างสากล ใส่ได้ทุกเชื้อชาติเท่าเทียมกันหมด นี่จึงเป็นที่มาของการแต่งกายเครื่องแบบนักเรียนเอกชนในยุครัชกาลที่ ๗ ก่อนที่จะมีประกาศบังคับการแต่งกายในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามให้นักเรียนทุกโรงเรียนแต่งกายให้เรียบร้อยเป็นระเบียบ
.
ภาพนักเรียนอัสสัมชัญแต่งกายในสมัย ร.๖