••03.02.2562
✺งานรักษาความปลอดภัยทำโอทีก็ไม่มีทางได้โอทีไปได้ มันเป็นยังไง❓❔
👉LINE@ : 🔹 https://goo.gl/LpxiYk
👉f Messenger : 🔹 http://m.me/AJK.sciArtist/
⚖️ เรื่องที่ไม่เคยแปลกใจ...ในความคิดของผม
✺ที่ว่าพนักงานตรวจแรงงานผู้ใช้กฎหมายแรงงานจะตีความกฎหมายผิดพลาด ออกคำสั่งไม่ถูกต้อง แถมเข้าใจกฎกระทรวงที่ตนเองคิด|ทำ และประกาศใช้ผิดพลาดแบบไม่เข้าใจว่าจะคุ้มครองแรงงานได้จริงๆ แค่ไหน ผมเข้าใจว่าภารกิจกระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการฯ คือ เพื่อสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (คือคุ้มครองลูกจ้าง) ไม่ใช่คุ้มครองผู้ประกอบการหรือนายจ้าง แต่ก็น่าจะมีความรู้ความเข้าใจกฎหมายแรงงานให้ลึกซึ้ง
•••✺โดยเฉพาะกฎที่ท่านออกเองควรต้องโฟกัสให้มันถ่องแท้ด้วยซ้ำไป จะได้เป็นที่พึ่งลูกจ้างอย่างถูกต้อง เป็นธรรม หากพิจารณาวินิจฉัยผิดๆ พลาดๆ แพ้คดีขึ้นมา หลายคดีแล้วด้วย โดยเฉพาะคดีนี้ นายจ้างชนะคดี ลูกจ้างก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการหยิบกฎกระทรวงผิดฉบับ ทั้งๆ ที่กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานออกเอง ใช้เอง ตรวจเอง สั่งเอง ควบคุมเองซะด้วย อาการหยิบผิดแบบนี้ สั่นคลอนศรัทธาไม่น้อย ผมได้ได้แนะนำว่าฟ้องศาลไปดีที่สุด หากมีปัญหากฎหมายแรงงานปรึกษาอาจารย์กฤษฎ์ซะ ผมว่า ผมไม่ให้คำแนะนำที่เคลือบยาผิดหรอกหน่า จริงๆ
🔘 ผ่าประเด็น บริหาร “ฅน” ชี้ถูกผิด “กฎหมายแรงงาน” ว่าด้วย...คำพิพากษาศาลฎีกาที่นายจ้าง |เจ้าของ |หัวหน้า |ผู้จัดการ |ฝ่ายบุคคล |และตัวลูกจ้างเองควรรู้
✵จึงขอนำเสนอฎีกา งาน รปภ. ทำวันละ 12 ชั่วโมง ที่เกิน 4 ชั่วโมงต่อวันเป็นโอทีต้องห้าม
⏹⏹⏹⏹
♾ จาก คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 352/2561
🔸 เรื่อง พนักงานรักษาความปลอดภัยฯ ทำงานวันละ 12 ชั่วโมงนี้ มันมีประเด็นไม่ยากอะไรนัก
•••✺แค่หยิบกฎกระทรวงผิดฉบับมาใช้ ไม่รอบคอบและคิดไปอีกแบบจึงเป็นอันพลิกทันที ว่ากันเป็นประเด็นๆ อาจารย์จะวิเคราะห์เป็นข้อๆ ดังนี้
▫️[1] นายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับการทำงาน 8 ชั่วโมง เป็นเงิน 300 บาท (สมัยที่เป็นความนั้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันพอดีครับ) และจ่ายค่าตอบแทนการทำงานอีก 4 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 37.50 บาท ((300 ➗8) ✖️ 4) เป็นเงิน 150 บาท รวมแล้วจ่ายวันละ 450 บาท ศาลท่านว่าชอบ (คือถูกต้อง) ตามมาตรา 65 (9) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
✵ประกอบกฎกระทรวงกำหนดงานที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาและค่าล่วงเวลาในวันหยุด พ.ศ. 2552 แล้ว [คือต้องอ้างกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวถึงจะถูก ไม่มีการระบุฉบับที่ไว้ครับ อย่าไปหลงอ้างกฎกระทรวงฉบับที่ 8 นะ เพราะถูกยกเลิกไปแล้ว แต่อาจารย์นำมาให้ดูไว้ด้วย กันการหลงๆ งงๆ เทียบเคียงให้ดีๆ]
▪️[2] การที่พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าตอบแทนสำหรับเวลาทำงาน 4 ชั่วโมง ในอัตรา 1.5 เท่า จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
♦️[3] คดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ที่ 9/2558 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2558 กรณีที่พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้โจทก์ไม่จ่ายค่าตอบแทนสำหรับเวลาทำงานที่เกิน 8 ชั่วโมง แก่นาย ม. ลูกจ้าง โดยอ้างกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2541) ประกอบกฎกระทรวงฉบับที่ 13 ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โจทก์ไม่เห็นด้วย เนื่องจากประเภท และ ลักษณะงานของโจทก์ที่จ้างนาย ม. ทํางาน เป็นงานเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินตามมาตรา 65 (9) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกอบกฎกระทรวงกำหนดงานที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับ ค่าล่วงเวลาและค่าล่วงเวลาในวันหยุด พ.ศ. 2552 (ย้ำอีกที ไม่ใช่กฎกระทรวงฉบับที่ 8 นะครับ) กรณีจึงไม่อาจนำกฎกระทรวงตามที่จำเลยอ้างมาใช้ได้
▫️[4] จําเลย คือ พนักงานตรวจแรงงาน ให้การครับว่า โจทก์กำหนดให้นาย ม. ทำงานในหน้าที่รักษาความปลอดภัย คือ รปภ. ซึ่งรับค่าจ้างเป็นรายวัน ทำงาน สัปดาห์ละ 6 วัน วันละ 12 ชั่วโมง นาย ม. ลูกจ้าง จึงได้รับความคุ้มครองตามกฎกระทรวงฉบับที่ 13 ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 คือ ไปอ้าง ข้อ 2. ครับ (ไปดูตามนะ อาจารย์เอามาแนบให้หมดแล้ว) พนักงานตรวจแรงงานอ้างว่า “จำเลยมิได้สั่งให้โจทก์จ่ายค่าล่วงเวลา เพราะทราบดีว่า นาย ม. ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา แต่นาย ม. มีสิทธิได้รับค่าตอบแทน โจทก์ไม่เคย ขอความยินยอมจากนาย ม. เพื่อให้ทำงานล่วงเวลา เหตุผลที่โจทก์ฟ้องเป็นคนละเรื่องกับเหตุผลที่จำเลย มีคำสั่ง คำสั่งของจำเลยจึงชอบ” คือพนักงานตรวจแรงงานมองว่าไม่ใช่ OT ครับ แกมองเป็นเรื่อง ทำงานเกินวันละ 8 ชั่วโมง สำหรับรายวันแล้ว ต้องจ่าย ค่าตอบแทนไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าซิ ถ้ามองว่า OT ก็จะไม่ไปเที่ยวสั่งอะไรพรรค์นั้นหรอก เอ้าก็ว่าไป กลายเป็นเรื่อง "Two men look out the same prison bars, one sees mud and the other stars" Frederick Langbridge หรือ...
"✩สองฅนยลตามช่อง คนหนึ่งเห็นโคลนตม คนหนึ่งตาแหลมคม เห็นดวงดาวอยู่พราวพราย” นั่นแหล่ะ
▪️[5] ศาลแรงงานภาค 6 (เป็นศาลที่ไปฟ้องกัน) พิจารณาแล้วเห็นว่า นาย ม. จำเลยร่วมมีหน้าที่เฝ้าดูแลสถานที่หรือ ทรัพย์สินของบริษัทห้างที่เป็นลูกค้าโจทก์ โจทก์กำหนดวันและเวลาว่า ทํางานสัปดาห์ละ 6 วัน วันเสาร์ เป็นวันหยุด วันหนึ่งแบ่งเป็น 2 กะ กะละ 12 ชั่วโมง กะกลางวันเวลา 06.00 - 18.00 น. กะกลางคืน เวลา 18.00 - 06.00 น. จําเลยร่วมทํางานกะกลางคืนวันละ 12 ชั่วโมง โจทก์จ่ายค่าจ้างสำหรับ การทำงาน 8 ชั่วโมง 300 บาท และการทำงานอีก 4 ชั่วโมงโจทก์จ่ายค่าตอบแทนเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อ ชั่วโมง (คือ ✖️1 เท่าปกติ ไม่ใช่ 1.5 เท่า) ออกมาก็ชั่วโมงละ 37.50 บาท รวมแล้วการทำงาน 12 ชั่วโมงโจทก์จ่ายค่าจ้างและค่าตอบแทนแก่จำเลยร่วม 450 บาท ดังนั้น จึงชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 65 (9)
♦️[6] การที่จำเลย (พนักงานตรวจแรงงาน) อ้างกฎกระทรวงฉบับที่ 7 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 ฯ มาใช้ออกคําสั่งให้โจทก์จ่ายค่าตอบแทน สําหรับเวลาทํางาน 4 ชั่วโมง โดยใช้อัตรา 1.5 เท่านั้น เป็นคําสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย พิพากษาให้เพิกถอน คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ 9/2558 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2558 เฉพาะส่วนที่ให้โจทก์จ่ายค่าตอบแทน สำหรับเวลาทำงานที่ทำเกิน 8 ชั่วโมง คำขออื่นให้ยก จำเลยคือพนักงานตรวจแรงงานไม่ยอมครับ จึงได้อุทธรณ์ต่อศาลฎีกาแผนกคดีแรงงาน
▫️[7] ✺ศาลฎีกาท่านก็เห็นเหมือนกันว่าเมื่องานเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินอันเป็นหน้าที่การทํางานปกติ มีกฎกระทรวงกำหนดงานที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาและค่าล่วงเวลาในวันหยุด พ.ศ. 2552 กําหนดไว้เฉพาะ (กฎกระทรวงกำหนดงานที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาและค่าล่วงเวลาในวันหยุด พ.ศ. 2552 ไม่ระบุฉบับว่าที่เท่าไหร่ไว้) กำหนดให้งานเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินอันเป็นหน้าที่การทำงานปกติของลูกจ้าง เป็นงานที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 61 จึงไม่อาจนํากฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2541) และกฎกระทรวงฉบับที่ 13 ออกตามความ ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาใช้บังคับกับงานเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินอันเป็นหน้าที่การทำงานปกติดังที่จำเลยอ้าง หน้าที่การทํางานปกติดังที่จําเลยอ้าง นาย ม. จำเลยร่วมซึ่งมีตำแหน่งพนักงานรักษาความปลอดภัยทำงาน เฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินอันเป็นหน้าที่การทำงานปกติ จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา คงมีสิทธิได้รับ ค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ ซึ่งในวันทำงานของจำเลย ร่วมระหว่างวันที่ 8 มิถุนายน 2556 - 14 เมษายน 2558 โจทก์จ่ายค่าตอบแทนการทำงานให้จำเลย ครบถ้วนแล้ว
▪️ที่ศาลแรงงานภาค 6 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ✵พิพากษายืน
👨🏻‍🦱 ครับก็ชัดเจน ในเมื่อมีกฎกระทรวงกำหนดงานที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาและค่าล่วงเวลาในวันหยุด พ.ศ. 2552 เขียนออกมาจะๆ ชัดๆ บ่งบอกถึงงาน รปภ.ไว้แล้ว จะมาเอากฎกระทรวง ฉบับที่ 7 + 13 มาร่วมด้วยช่วยให้ รปภ. ได้ค่าตอบแทนมากขึ้น ✵มันแถ และกลายเป็นการอาศัยกฎกระทรวงที่ตนเองออกมาเที่ยวตีความตามจังหวัดใจ (✤ใหญ่กว่าอำเภอใจ) มันไม่ถูก ไม่งั้นการออกกฎหมายมาขัดแย้งกันเพื่อให้เลือกตีความได้สมใจอยาก ✤ขื่อแปบ้านเมืองคงยุ่งเหยิงฉิบหายกันไปเลยทีเดียวซิ จริงม๊ะ❓
🔹 🔸 🔹 🔸
✎ข้อกฎหมายจากคำพิพากษาศาลฎีกาและเพิ่มเติมจากอาจารย์กฤษฎ์ในการวิเคราะห์ :
⚖️ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 65 (9) (ขอยกมาทั้งมาตรา)
(วรรค 1) "ลูกจ้างซึ่งมีอํานาจหน้าที่หรือซึ่งนายจ้างให้ทํางานอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามมาตรา 61 และค่าล่วงเวลาในวันหยุดตามมาตรา 63 แต่ลูกจ้างซึ่งนายจ้างให้ทํางานตาม (3) (4) (5) (6) (7) (8) หรือ (9) มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทํางานตามจํานวนชั่วโมงที่ทํา
(1) ▫️ลูกจ้างซึ่งมีอํานาจหน้าที่ทําการแทนนายจ้างสําหรับกรณีการจ้าง การให้บําเหน็จ หรือการเลิกจ้าง
(2) ▪️งานเร่ขายหรือชักชวนซื้อสินค้าซึ่งนายจ้างได้จ่ายค่านายหน้าจากการขายสินค้าให้แก่ลูกจ้าง
(3) ▫️งานขบวนการจัดงานรถไฟ ซึ่งได้แก่งานที่ทําบนขบวนรถและงานอํานวยความสะดวกแก่การเดินรถ
(4) ▪️งานเปิดปิดประตูน้ำหรือประตูระบายน้ำ
(5) ▫️งานอ่านระดับน้ำและวัดปริมาณน้ำ
(6) ▪️งานดับเพลิงหรืองานป้องกันอันตรายสาธารณะ
(7) ▫️งานที่มีลักษณะหรือสภาพต้องออกไปทํางานนอกสถานที่ และโดยลักษณะหรือสภาพของงานไม่อาจกําหนดเวลาทํางานที่แน่นอนได้
(8) ▪️งานอยู่เวรเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินอันมิใช่หน้าที่การทํางานปกติของลูกจ้าง
(9) ▫️งานอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
(วรรค 2) ทั้งนี้เว้นแต่นายจ้างตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาหรือค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้าง"
⚖️ กฎกระทรวง ฉบับที่ 7 , 13 (ดูในเอกสารแนบ)
⚖️ กฎกระทรวงกำหนดงานที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาและค่าล่วงเวลาในวันหยุด พ.ศ. 2552
"อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และมาตรา 65 (9) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
🔸ข้อ 1 ให้ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
🔹ข้อ 2 งานที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามมาตรา 61 และค่าล่วงเวลาในวันหยุดตามมาตรา 63 แต่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ ได้แก่ งานเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินอันเป็นหน้าที่การทำงานปกติของลูกจ้าง
▪️ให้ไว้ ณ วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ไพฑูรย์ แก้วทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน"
♾∞♾∞♾∞♾∞♾∞
👨🏻อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์
🔻นักวิทย์ศิลป์
🔻ผู้เชี่ยวชาญ HRM HRD OD Strategic Management TQM ISO
🔻ผู้นำแห่งกฎหมายแรงงานแบบบูรณาการ อันดับหนึ่งในประเทศไทย
🔻ผู้ไม่เคยแพ้คดีแรงงาน เชี่ยวชาญการบริหาร เข้าใจนายจ้างลูกจ้าง
🔺🅑🅛🅞🅖| http://AJK.bloggang.com
“ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เป็นธรรม ย้ำหลักสุจริต ไม่คิดเอาเปรียบ”
✺Credit : 👨🏻อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์
Credit : ꍏj.Kяιꌗz∂ ꀎ-✞ɧąıཞaṭⒸ
อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์ นักวิทย์ศิลป์ S⃕c̫ίArϯίṧt
🕸ωωω.ƘRISZD.ꉓom
📥KDV@KRISZD.com 📧
#สำนักงานอาจารย์กฤษฎ์ #AJK_MDC #อาจารย์กฤษฎ์ #AJK #AjKriszd #SciArtist #อาจารย์กฤษฎ์อุทัยรัตน์ #นักวิทย์ศิลป์ #กฎหมายแรงงานในประเทศไทย
#ที่ปรึกษากฎหมายแรงงานอันดับหนึ่ง #ผ่าประเด็นบริหารฅน #LabourProtection #LabourRelation #KriszdUthairatn #คดีแรงงาน #ชนะคดีแรงงาน #ไม่เคยแพ้คดีแรงงาน #สัญญาจ้างแรงงาน #อันดับ1คดีแรงงาน #ระเบียบข้อบังคับและแนวปฏิบัติ #คำพิพากษาศาลฎีกา #ฎีกาแรงงาน #แผนกคดีแรงงาน #รปภ_ไม่ได้โอทีต่อให้ทำโอที #งานรักษาความปลอดภัยOTไม่ได้ #กฎกระทรวงกำหนดงานที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาและค่าล่วงเวลาในวันหยุด2552
Cr. 👨🏻‍🦱| อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์ “ผ่าประเด็น บริหาร “ฅน” ชี้ถูกผิด “กฎหมายแรงงาน”
โฆษณา