5 ก.พ. 2019 เวลา 07:00 • ประวัติศาสตร์
ตำนานอมตะ...ธรรมะไซอิ๊ว!
คอหนังจีนคงไม่มีใครไม่รู้จักพระถังซัมจั๋ง ซุนหงอคง ตือโป๊ยก่าย ซัวเจ๋ง กับเรื่องราวอัญเชิญพระไตรปิฎก
https://m.pantip.com/topic/31715999
พุทธศาสนาฝ่ายนิกายทิเบตกล่าวว่า
ลมหายใจคือม้า จิตคืออัศวินผู้ขี่ม้า
ม้าและผู้บังคับม้า
จะต้องร่วมกันเดินทางข้ามหมื่นปีแสนล้านชาติภพ
เพื่อไปประสบกับ "พระนิพพาน" ในยามละสังขารครั้งสุดท้ายของดวงจิต
และมิตรหรือศัตรูร่วมทางของจิตและลมหายใจ
จะเป็นใครไปไม่ได้นอกเสียจาก โลภะ โทสะ โมหะ
ซึ่งก็คือ
ซุนหงอคง (ราชาวานร - โทสะ)
ตือโป๊ยก่าย (เทพสุกร - โลภะ)
ซัวเจ๋ง (ปิศาจคนเขลา - โมหะ)
นิยายไซอิ๋วดูเผินๆ เหมือนกับเป็นนิทานก่อนนอนที่ผู้ใหญ่เอาไว้สอนเด็กให้เป็นคนมุมานะพยายาม
แต่ความหมายเชิงปรัชญาที่แท้จริงมีนัยแฝงสำแดง
ลึกกว่านั้น
https://www.sine.tv/tvshows/journey-to-the-west/
พระนิกายลามะในทิเบต รวมทั้งพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายานในจีนโบราณอาศัย "รสวรรรณคดี"
ในตำนานไซอิ๋วเป็นเสมือนใบเบิกทางผ่านสู่
"พระนิพพาน" อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของทั้ง
พุทธศาสนามหายานและเถรวาท
การเดินทางยาวนานนับหมื่นลี้ที่พระถังซัมจั๋งและคณะร่วมทางกัน ก็เสมือนวันเวลาอันยาวนาน
กว่าที่บุคคลๆหนึ่งจะเข้าถึงพระนิพพานได้
จะต้องประสบพบเจอกับบททดสอบหรือปิศาจมากมาย
ระหว่างทาง
และข้างในใจตนเองนั้นก็ยังต้องเผชิญกับความโกรธ (ซุนหงอคง) ความโลภ (ตือโป๊ยก่าย) และความเขลา (ซัวเจ๋ง)
ซึ่งอาศัยอยู่ภายในจิตใจอย่างไม่รู้จักจบจักสิ้น
เป็นบททดสอบสุดหินที่อัศวิน (พระถังซัมจั๋ง) จะต้องฟันฝ่าจนกว่าจะนำพาคณะทั้งหมด
ไปเฝ้าพระพุทธองค์ที่ชมพูทวีปได้!
https://th.m.wikipedia.org/wiki/อาทิพุทธะ#/media/ไฟล์%3AVajradhara7.jpg
เช่นนี้อาจมีผู้ที่สงสัยว่าเหตุใดผู้แต่งจึงยกให้ ซุนหงอคง (โทสะ) เป็นเสมือนพระเอกที่ทำหน้าที่ปราบปรามปีศาจ
ทั้งที่ได้ประกาศเอาไว้ชัดเจนแล้วว่าโลภะ โทสะ โมหะ เป็นเสมือนกำแพงขวางกั้นทางอันไปสู่พระนิพพาน
เป็นเสมือนมารที่คอยผจญมิให้คนล่วงพ้นวัฏสงสารได้
เรื่องนี้คงต้องย้อนกลับไปเมื่อสมัยเจ้าชายสิทธัตถะ
ทรงมุมานะบากบั่นจนประจัญและเอาชนะมารตรัสรู้เป็นสมเด็จพระบรมครูมหาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้
แม้กระนั้นก็ตาม
พระองค์ก็มิเคยได้ทรงตรัสว่าพระองค์ทรงสามารถ
"ฆ่ามาร" ได้
และไม่มีใครสามารถทำเช่นนั้นได้ด้วย!
แม้ในยามที่พระองค์ตรัสรู้แล้ว
มารก็ยังมาทูลเชิญอยู่บ่อยๆ ให้ปลดปล่อยภาระ
ละสังขารปรินิพพานเสีย
http://dhamma.serichon.us/ปกิณกะ/พุทธกิจ-๔๕-พรรษา-ของสมเ/
ก็แล้วถ้าขนาดว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ท่านยังไม่สามารถสังหารมารลงได้
แล้วจะนับประสาอะไรกับคนที่ยังมีกิเลส เดินดินกินข้าวแกงอย่างเราๆ ท่านๆ
ฉะนั้นแล้วตำนานไซอิ๋วจึงไม่ปฏิเสธการมีอยู่ของ
พลังงานโลภะ โทสะ โมหะ
ในรูปของลิง หมู และคนเขลา
หรือก็คือ ซุนหงอคง ตือโป๊ยก่าย และซัวเจ๋ง
ที่จะต้องร่วมเดินทางไปกับเรา (พระถังซัมจั๋ง)
ตลอดเวลา
โดยหลายครั้งที่พบเจอกับปัญหา
เมื่อจิตใจมีพลังปัญญา (พระถังซัมจั๋ง)
ก็จะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังความโกรธหรือโทสะ
(ซุนหงอคง)
ให้กลายเป็นความมุมานะในการ "ทลาย" ด่านอุปสรรคทั้งหลาย
อันเป็นนัยแห่งการ "ปราบปีศาจ" อันเป็นอุปสรรคจากภายนอกนั่นเอง
http://www.mamao.in.th/ชมภาพ-พระเอก-ไซอิ๋ว-ล่าส/
แต่เมื่อพลัง "โทสะ" มีมากไปจนกลายเป็นความ
"เกรี้ยวกราด"
ก็เสมือนซุนหงอคงที่อาละวาดเพราะควบคุม
ตัวเองไม่อยู่
พระถังซัมจั๋งจึงมักต้องเร่งสวดพระคาถาในเวลาที่เจ้าลิง (ซุนหงอคง) องค์ลงส่งเสียงเจี๊ยกจ๊ากอาละวาดไม่หยุด
ต้องคอยฉุดเจ้าหมู (ตือโป๊ยก่าย) ในเวลาที่มันเกิดกระสันในเรื่องอย่างว่ากับเพศตรงข้ามขึ้นมา
และต้องคอยเทศนาพ่อคนเขลา (ซัวเจ๋ง) ที่มักเห็นผิดให้กลับมาเห็นชอบอยู่ในทำนองคลองธรรม
คาถา / คำสอน / ทำนองกลอนธรรมของพระถังซัมจั๋ง
ก็คือ "สติ" ของเราเองที่คอยสอนสั่งไม่ให้
โลภะ โทสะ โมหะ
มีอำนาจครอบงำจิตใจจนพาให้อัศวินขี่ม้าบ่ายหน้า
ออกนอกเส้นทางสู่ชมพูทวีป (พระนิพพาน) ได้นั่นเอง
ไซอิ๊ว : facebook.com
ในบทเพลงเล่าขานตำนานไซอิ๋ว
กล่าวว่าพระถังซัมจั๋งมัก "หิ้ว" ถุงย่ามอย่างหนึ่งไว้ตลอดเวลาเดินทาง
หรือบางครั้งก็ฝากฝังให้ซัวเจ๋งเอาไปผูกไว้กับม้า
เพื่อบรรเทาเบาบางความปวดเมื่อยลง
ของมงคลในย่ามทั้ง 8 สิ่ง คือคัวแทนของพุทธศาสนาฝ่ายนิกายลามะ รวมทั้งมหายานในจีน
เป็นเสมือนอุปกรณ์ช่วย "ชูสติ"
ทำนองเดียวกับ "ผ้าประเจียด" หรือ "ปริตรทลี"
ที่ผู้เขียนเคยกล่าวถึงในบทของ "ผ้าประเจียด...
พระอาจารย์ธรรมโชติ" ที่ผ่านมา
ก็ในเมื่อพระในศาสนานิกายเถรวาทยังมีของดี
ประจำตัวแล้ว
ฝ่ายมหายานก็ไม่แคล้วมีของดีดุจทำนองเดียวกัน
อันได้แก่
https://www.amazon.com/Thai-Amulets-Tibetan-Buddhism-Protection/dp/B00IK8GZU8
1) สุวรรณมัสยา คือปลาทองคู่ เปรียบได้กับการได้รับความช่วยเหลือให้ก้าวพ้นวัฎสงสารและเป็นสัญลักษณ์ของโชคดี
2) หอยสังข์ เป็นสัญลักษณ์ของพระธรรมที่แผ่กระจายออกไปทั่วทุกทิศเสมือนเสียงที่เป่าออกมาจากแตรสังข์
3) ธรรมจักร หรือกงล้อแห่งพระธรรม
4) ปัทม หรือดอกบัว สัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์
และความเมตตากรุณา
5) ธวัช คือธงแห่งชัยชนะ เป็นสัญลักษณ์ของชัยชนะของพระพุทธศาสนาที่มีเหนือหมู่อวิชชาทั้งปวง
6) เงื่อนอนันตภาคย์ เป็นสัญลักษณ์ของปัญญาธิคุณ
อันไม่สิ้นสุดของพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า
7) ฉัตร คือร่มที่ปกป้องสัตว์โลกให้พ้นจากภัยต่างๆ
8) โถรัตนะ แทนความสมประสงค์ทั้งทางโลกและทางธรรม และยังแทนการมีทรัพย์และร่างกายที่สมบูรณ์
แข็งแรง อำนวยให้สามารถปฏิบัติธรรมได้อย่างราบรื่น
https://www.ebay.com/itm/Tibetan-Tibet-Buddhist-Gilding-OM-Ghau-Prayer-Wheel-lection-Amulet-Pendant-/162830617977
เค้าโครงเดิมจาก
นัยยะ-พุทธธรรม-จากไซอิ๋ว : facebook.com
พุทธตันตระ : สมเกียรติ์ โล่เพ็ชรรัตน์
มายาศาสตร์เร้นลับในดินแดนทิเบต : บรรยง บุญฤทธิ์
เรียบเรียงใหม่โดย
//The Chariot
โฆษณา