Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
The Chariot
•
ติดตาม
9 ก.พ. 2019 เวลา 11:05 • ประวัติศาสตร์
ตำรายา...กรมหลวงชุมพร!
เมื่อมียศเขาปลดให้อดสู!...แต่ใจกูมิยอมน้อมลงต่ำ!...ใครจักชอบใครจักชังช่างเขาทำ!...กูจักทำแต่ดีให้โลกดู!!!
3
http://navy24.org/tag/กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศัก/
//The Chariot
ย้อนกลับไปเมื่อสมัยช่วงปี พ.ศ.2454 - 2460
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
ทรงถูกพักราชการ!
ตลอดเวลานาน 6 ปีที่ในวังนั้นพระองค์ทรงใช้เงิน
ส่วนพระองค์มาลงทุนทำห้อง Lab
อันเป็นที่ๆ พระองค์บูรณาการศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน
จนกลายเป็นวิทยาการด้านการแพทย์ขั้นเอกอุ
ที่ยากจะมีผู้ใดบรรลุมาเทียบชั้นฝีมือพระองค์ได้
ด้วยพระองค์ได้นำวิชาความรู้สายต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็น
วิทยาศาสตร์การแพทย์ จิตตสรีระศาสตร์สายพุทธ สมุนไพรไทย กายภาพบำบัด รวมถึงพุทธมนตร์คาถา
มารวมกัน
กำเนิดเป็นศาสตร์ส่วนพระองค์!
ที่คงความอัศจรรย์จนมีผู้วาดฝันว่าเป็น "อภินิหาร"
มาจวบจนกระทั่งทุกวันนี้
ท่านผู้อ่านที่มีความสนใจเกี่ยวกับหลักการพื้นฐาน
ของวิชาทั้งหมดดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้
สามารถย้อนกลับไปอ่าน
"ตำราแพทย์...กรมหลวงชุมพร"
https://m.tnews.co.th/contents/362698
ที่ผู้เขียนได้โพสต์ไว้เมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2562 ที่ผ่านมา
สำหรับในวันนี้จะขอกล่าวถึงตำรา "จิตสรีระศาตร์"
ของพระพุทธศาสนา
ที่เสด็จในกรมฯ น่าจะทรงได้รับการสืบทอดมาจาก
พระครูวิมลคุณากร
หรือหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
ที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ของการทำงานของส่วนต่างๆ ภายในร่างกายมนุษย์
ว่ามีโครงสร้างใกล้เคียงกับ "พลังงานจักรวาล"
และมีความใกล้เคียงกับวิชา "ฟิสิกส์" อันเกี่ยวกับความสัมพันธ์และการเคลื่อนที่ของพลังงานจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง
มากกว่าวิชา "ชีววิทยา" ตามที่ตำราการแพทย์ยุคใหม่นิยมนำมาใช้นิยามความหมายกัน
ดังที่เคยกล่าวไว้แล้วในบทก่อนหน้านี้
http://thn243488social.blogspot.com/2016/08/blog-post.html?m=1
ว่าภิกษุที่มีอภิญญาแก่กล้าในสมัยพุทธกาล
ได้เรียนรู้โครงสร้างร่างกายมนุษย์ผ่าน "อสุภกรรมฐาน"
จนเข้าใจในกระบวนการ "ประสาน" และการ "ย่อยสลาย"
ของร่างกายมนุษย์ได้เป็นอย่างดี
ยังมีตำราว่าด้วยการทำสมาธิอีกแบบหนึ่ง
ซึ่งเป็นตำราที่แยกออกจากการทำ "วิปัสนากรรมฐาน" อันมีการวางหลักสูตรเพื่อพัฒนา "ปัญญา"
มีหลักสูตรว่าด้วยการเพ่งดูมองศพอย่าง "อสุภกรรมฐาน" เป็นหนึ่งในหลักสูตรย่อยภายในหลักสูตรใหญ่
จนนำไปสู่ความเข้าใจในหลักแห่งการหลุดพ้น
แต่ในตำรา "สมถกัมมัฎฐาน" ซึ่งเป็นการเน้นการ
เพ่งสมาธิ ณ จุดเดียวเพื่อประคับประคองอารมณ์
ไม่ให้เกิดอาการสั่นไหว
โดยไม่ได้พิจารณาในข้อธรรมคำสอน มุ่งแต่ปฏิบัติจนจิตเป็นสมาธิไม่สั่นคลอน ณ ชั่วขณะใดขณะหนึ่งนั้น
ได้บรรจุหลักสูตรย่อยเอาไว้ที่มีชื่อว่า "กสิณายตนะ"
เป็นการใช้จักษุประสาทเพ่งมองดูธาตุ ต่างๆ ในโลก
http://www.khaosukim.org/khaosukim/index.php/dhramma/159-2011-07-16-14-27-09
อันประกอบไปด้วย
ธาตุ สี แสงสว่าง และ ความว่าง
ธาตุ ได้แก่
.
ดิน - ปถวีธาตุ
น้ำ - อาโปธาตุ
ลม - วาโยธาตุ
ไฟ - เตโชธาตุ
สี ได้แก่
.
สีเขียวหรือสีดำ - นีละ
สีเหลือง - ปีตะ
สีแดง - โลหิตะ
สีขาว - โอทาตะ
แสงสว่าง - อาโลกะ
ความว่าง - อากาสะ
ตามประสบการณ์ค้นพบในทางพุทธศาสนาสาย
"สมถกัมมัฎฐาน"
ได้มีการนำเอาประสบการณ์ค้นพบดังว่านี้
มาตีความเป็นโครงสร้างเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางพลังงานและกายภาพของมนุษย์
1
ในทำนองเดียวกับการกำหนด "จุด" และ "เส้น" ตามหลักสูตร "อสุภกรรมญาน" ของ "วิปัสนากรรมฐาน"
ดังที่ได้เคยอธิบายไว้ในบทก่อน
https://www.opendesktop.org/p/1247560/
โดยมีการกำหนดว่า
แสงสว่าง (อาโลกะ) และความว่าง (อากาสะ)
เป็นคุณสมบัติพื้นฐานของจิต
ธาตุ 4 เป็นคุณสมบัติขั้นพื้นฐานของวัตถุ
หรือองค์ประกอบในโลกแห่งวัตถุ
ส่วนสี เป็นองค์ประกอบขั้นพื้นฐานของทั้งจิตและวัตถุ
โดยเมื่อนำการค้นพบเรื่องจุดและเส้น
อันเป็นผลงานของพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสนากรรมฐาน
ผ่านกระบวนการเพ่งมองดูศพ (อสุภกรรมฐาน)
มาประกอบกับการเพ่งมองดูวัตถุธาตุ
อันเป็นผลงานการค้นพบของพุทธศาสนาฝ่าย
สมถกัมมัฎญานผ่านกระบวนการ "กสิณายตนะ"
จึงถือกำเนิดเป็นศิลปศาสตร์การแพทย์ "ทวัตติงสาการ"
อันเลื่องลือในสมัยพุทธกาลโดยมีหลักการบนพื้นฐานว่า
https://dokkaew.wordpress.com/2012/10/20/เส้นประธาน/
องคาพยพที่ประกอบด้วยอวัยวะน้อยใหญ่
ภายในภายนอกของสัตวบุคคล เมื่อจำแนกออกมาตามคุณสมบัติของธาตุ 4 จะมี 32 ประการ
แยกเป็นคุณสมบัติธาตุดิน 20 ประการ
และ ธาตุน้ำ 12 ประการ
อันได้แก่
กลุ่มที่ 1 "หนังกลุ่ม 5" (ตจะปัญจกะ) ประกอบด้วย
1 เกศา - ผม
2 โลมา - ขน
3 นขา - เล็บ
4 ทันตา - ฟัน
5 ตะโจ - หนัง
กลุ่มที่ 2 "ม้ามกลุ่ม 5" (วักกะปัญจกะ) ประกอบด้วย
1 มังสัง - เนื้อ
2 นะหารู - เอ็น
3 อัฏฐิ - กระดูก
4 อัฏธิมิญชัง - เยื่อในกระดูก
5 วักกัง - ม้าม
กลุ่มที่ 3 "ปอดกลุ่ม 5" (ปับผาสะปัญจกะ) ประกอบด้วย
1 หะทะยัง- หัวใจ
2 ยะกะนัง - ตับ
3 กิโลมะกัง - พังผืด
4 ปิหะกัง - ไต
5 ปับผาสัง - ปอด
กลุ่มที่ 4 "สมองกลุ่ม 5" (มัตถลุงคะฉักกะ) ประกอบด้วย
1 อันตัง - ลำไส้ใหญ่
2 อันตะคุณัง - ลำไส้เล็ก
3 อุทริยัง - อาหารใหม่
4 กะรีสัง - อาหารเก่า
5 มัตถะลังคัง - มันสมอง
กลุ่มที่ 5 "มันข้นกลุ่ม 6" (เมทัจฉักกะ) ประกอบด้วย
1 ปิตตัง - น้ำดี
2 เสมะหัง - น้ำลาย เสลด
3 ปุพโพ - นำ้เหลือง น้ำหนอง
4 โลหิตัง - น้ำเลือด
5 เสโท - เหงื่อ
6 เมโท - มันข้น ไคล
กลุ่มที่ 6 "น้ำมูตรกลุ่ม 6" (มุตตัจฉักกะ) ประกอบด้วย
1 อัสสุ - น้ำตา
2 วะสา - มันเหลว
3 เขโฬ - น้ำลาย
4 สิงฆานิกา - น้ำมูก
5 ละสิกา - น้ำหล่อลื่นข้อ ไขข้อ
6 มุตตัง มูตร - น้ำปัสสาวะ อุจจาระ
https://m.pantip.com/topic/30876909?
ภิกษุในพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาลมีการกล่าวเปรียบเทียบว่าการทำงานของร่างกาย
และการกำเนิดของโรคต่างๆ
นั้นเปรียบเสมือนการทำงานของ "พลังงาน"
และ "สนามของแรง"
ซึ่ง "พลังงาน" ก็คือสสารต่างๆ ที่เข้ามากระทบ
ต่อร่างกาย
และ ""สนามของแรง" ในที่นี้ก็หมายถึงร่างกายปกติ
ของคนเราดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
เมื่อปัจจัยจากภายนอก และความเข้มข้นของจิต
(อากาสะ - ความว่าง / อาโลกะ - แสงสว่าง / สีต่างๆ)
มีความแปรปรวน
ความต่อเนื่องของการเคลื่อนที่ของพลังงานตาม
"จุด" และ "เส้น" จึงมีความผิดปกติ
เป็นที่มาของโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ
เมื่อเป็นเช่นนี้จึงจำเป็นต้องมีการ "ชาร์ต" หรือ "ประจุ" กระแสไฟ
ซึ่งอาจเป็นได้โดยวิธีการต่างๆ ทั้งการใช้ชีวเคมี
ฤาษีดัดตน เวทย์มนตรํคาถา??? ตำรายาสมุนไพร
การนวดแผนไทย ฯลฯ
เพื่อให้ "องคาพยพ" บรรจบเป็นปรกติกลับมานั่นเอง
https://www.insidescience.org/news/how-lab-courses-can-teach-more-science
การอธิบายศาสตร์การแพทย์ซึ่งก้าวล้ำหน้ายิ่งกว่าวิทยาการสมัยใหม่
โดยการใช้ "ฟิสิกส์" เป็นพื้นฐานนับเป็นการยากยิ่ง
ที่จะอธิบายให้ผู้คนเข้าใจไม่ว่าด้วยหลักภาษาศาสตร์แบบไหนก็ตาม
นิยามการแพทย์แผนไทยที่ละเอียดลึกซึ้ง ซึ่งเป็นคุณูปการของพุทธศาสนาทั้งสองฝ่ายคือ
วิปัสนากรรมฐาน ปรากฎใน "ธรรมจักรกัปวัตนสูตร"
และ สมถกัมมัฎฐาน ปรากฎใน "ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก"
ได้มีการ "บูรณาการ" ภายใน Lab ส่วนพระองค์
ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
เพื่อให้เข้ากับวิชาการแพทย์สมัยใหม่อย่างไร้ที่ติ!
แต่ว่าคนในยุคปัจจุบันมักละทิ้งสมบัติของบรรพบุรุษ
ไปอย่างน่าเสียดาย!
เรื่องราวของวีรชนคนกล้าหลายๆ ท่านจึงมักถูกกล่าวขานเป็นตำนานอภินิหารเพื่อความบันเทิงเริงใจไปเพียงเท่านั้นเอง...!
http://pikanasaya.blogspot.com/2014/04/blog-post_2.html?m=1
ในบทต่อๆไปจะได้กล่าวถึงการตั้งธาตุ การหนุนธาตุ
รวมทั้งวิธีการรักษาแบบโบราณทั้งการสักยันต์
และพุทธมนต์โอสถ
ขอให้ท่านผู้สนใจได้โปรดติดตามตอนต่อไป!
เนื้อหาเดิมจาก
เวนิสา เสนีวงศ์ : กรมหลวงชุมพรฯ
พระบิดาทหารเรือไทย
ศักดิ์สิทธิ์ สิทธินันท์ : ตำราพรหมชาติ
อัตถนิช โภคทรัพย์ : มหาเวทย์มวยไทย : จิตสรีระศาสตร์
เรียบเรียงใหม่โดย
//The Chariot
27 บันทึก
147
2
21
27
147
2
21
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย